ผมเสียค่าโง่ หรือว่าผมทำถูกแล้ว
เรียนคุณหมอสันต์
ผมอายุ 61 ปี น้ำหนัก 82 กก. เป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง เมื่อวันที่ .... ผมเกิดอาการหน้ามืดหมดแรงดื้อและแน่นในหน้าอก จึงรีบไปรพ. ... หมอบอกว่าจะต้องทำการฉีดสีสวนหัวใจฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะต้องทำการขยายหลอดเลือดฉุกเฉินแล้วใส่ลวดถ่าง บอกด้วยว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 300,000 บาท ผมบอกว่าผมขอใช้สิทธิ์สามสิบบาทของผมได้ไหม เพราะผมทราบว่าผมมีสิทธิกรณีฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ของรพ.บอกผมว่าสิทธินั้นจำกัดวงเงินไว้น้อยมากเป็นหลักหมื่นต้นๆ หากเกินวงเงินผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเองภายหลัง และได้เล่าให้ผมฟังถึงเรื่องที่รพ.เอกชนชนะคดีศาลบังคับให้ผู้ป่วยชำระหนี้ส่วนที่เกินสิทธินั้น ลูกๆหารือกันแล้วตัดสินใจให้เดินหน้ารักษาโดยลงขันกันจ่าย ซึ่งตอนนี้ผมผ่านมาแล้ว และได้มารักษาต่อกับหมอโรคหัวใจที่รพ. ... ซึ่งเป็นรพ.ที่ผมใช้บัตรประกันสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่เพื่อนก็บอกผมว่าทำไมผมไม่ใช้สิทธิ์เพราะผมป่วยฉุกเฉินต้องเบิกจากหลวงได้ทุกบาท เพื่อนบอกว่าผมเสียค่าโง่แล้ว ผมจึงสอบถามไปที่สป.สช.ก็ไม่สำเร็จ เพราะโทรศัพท์ไปก็มีแต่เสียงหุ่นยนต์รับสายวนอยู่สองสามรอบแล้วตัดสายทิ้ง เป็นอย่างนี้ทุกทีจนผมเลิกราไปเอง
ผมรบกวนถามคุณหมอสันต์ว่า
1. ผมจะเบิกเงินที่ลูกๆจ่ายไป (จ่ายจริง 480,000 บาท) คืนจากสปสช.โดยใช้สิทธิกรณีป่วยฉุกเฉินได้ไหม
2. ถ้าเบิกไม่ได้แล้ว หากครั้งหน้าผมมีป่วยฉุกเฉินขึ้นอีกโดยผมตั้งหลักทัน ผมจะเข้ารักษาที่ใกล้บ้านโดยเบิกฉุกเฉินได้ไหม ต้องมีวิธีทำอย่างไร
3. ที่ผ่านมานั้นผมเสียค่าโง่หรือว่าผมทำถูกแล้ว
ขอบพระคุณครับ
..............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าป่วยฉุกเฉิน เข้ารักษารพ.จนผ่านระยะฉุกเฉินกลับมาอยู่บ้านแล้ว จะขอเบิกค่าป่วยฉุกเฉินได้ไหม ตอบว่าโธ่..ลุง ฟังสำนวนแล้วลุงคงเคยเล่นไพ่มาก่อน ลุงทิ้งไพ่จนหลังเย็นไปแล้วบอกวงไพ่ว่า
"เฮ้ย..ย ไม่เอา ขอเปลี่ยนเอาไพ่ใบนั้นกลับมาก่อน ขอทิ้งใบใหม่"
แบบนี้ก็มีหวังวงไพ่แตกใช่ไหมครับ
ฉันใดก็ฉันเพล การจะใช้สิทธิเบิกค่ารักษาฉุกเฉินจากสามกองทุนคือกองทุนสามสิบบาท ประกันสังคม และราชการ ที่เรียกกันว่ายูเซ็พ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) นั้น คุณจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบทันที ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รถฉุกเฉินของสพฉ. หรือเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินของรพ.ไม่ว่าจะเป็นรพ.รัฐหรือรพ.เอกชนก็ตาม แจ้งเขารพ.ทราบทันทีที่เข้าไปถึงรพ. แจ้งยืนยันด้วยว่าคุณจะใช้สิทธิ UCEP เนื่องจาก UCEP เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งมีผลบังคับตั้งแต่ เมย. 2560 จึงเป็นไปได้ว่าพยาบาลหรือแพทย์ห้องฉุกเฉินบางรพ.อาจจะไม่ทราบ ให้คุณบอกเขาว่าผมได้แจ้งคุณแล้วนะมีคนคนนี้ (ชี้ไปที่พวกกันเองที่ยืนอยู่ข้างๆ) เป็นพยาน แค่นี้สิทธิของคุณก็มีผลแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะปฏิเสธการรักษาคุณ เพราะกฎหมายใหม่ตั้งแต่ปี 60 บังคับให้เขารักษาคุณและบังคับให้กองทุนของคุณเป็นผู้จ่ายเงินให้เขา แต่ถ้าคุณไม่ทำอย่างนี้ สิทธินั้นก็จะไม่มีผลใดๆ แปลไทยเป็นไทยว่าป่านฉะนี้แล้ว คุณเบิกเงินฉุกเฉินไม่ได้หรอกครับ
2. ถามว่าถ้าครั้งนี้เบิกไม่ได้ หากครั้งหน้าจะทำอย่างไรจึงจะเบิกได้ แหม นี่กะจะรอให้ป่วยฉุกเฉินซ้ำซากโดยไม่คิดจะลงทุนลงแรงดูแลตัวเองเลยหรืออย่างไรเนี่ย แต่เอาเถอะ การตอบคำถามนี้มีประโยชน์มากกับผู้ป่วยทั่วไปและแพทย์พยาบาลที่ยังไม่รู้จักกฎหมาย UCEP ตอบว่าขั้นตอนการใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP มีดังนี้
2.1 UCEP แปลว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients มีผลบังคับใช้กับลูกค้าของสามกองทุน คือ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, (2) กองทุนประกันสังคม (3) กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งก็คือครอบคลุมประชาชนคนไทย 100% นั่นเอง
2.2 ผู้ที่คิดจะใช้ประโยชน์จาก UCEP จะต้องตรวจสอบสิทธิของตัวเองก่อนว่าตัวเองมีสิทธิในกองทุนไหน ไม่งั้นหน้าสิ่วหน้าขวานจะเสียเวลามาก วิธีตรวจสอบสิทธิก็คือเข้าไปในเว็บ https://www.nhso.go.th แล้วทำตามผมทีละขั้นดังนี้นะ เพราะมีผู้สูงอายุพยายามทำตรงนี้แล้วไม่สำเร็จเพราะทำอะไรเป็นขั้นตอนไม่เป็น ให้ทำดังนี้
2.2.1 จะเห็นรูปวงกลมเรียงแถวขึ้นมาห้าวง ให้คลิกเข้าไปตรงวงที่สี่ที่มีชื่อว่า "ตรวจสอบสิทธิบัตรประกันสุขภาพ"
2.2.2 จะเห็นช่องให้กรอกเลขบัตรประชาชน ก็กรอกลงไป
2.2.3 จะเห็นช่องให้กรอกวันเดือนปีเกิด ก็กรอกลงไป
2.2.4 จะเห็นช่องที่เขาเขียนว่า " ระบุตัวอักษรตามภาพด้านบน" ตรงนี้เป็นช่องปราบคนแก่นะ ระวัง ให้คุณมองดูช่องสี่เหลี่ยมสี่ม่วงที่บรรทัดถัดขึ้นไป ในช่องนั้นมองให้ดีจะมีอักษรภาษาอังกฤษขึ้นมา ให้คุณอ่าน แล้วพิมพ์กรอกตามไปทีละตัวๆอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ดูให้ดี กรอกให้เหมือนเขา
2.2.5 จะเห็นปุ่ม "ตรวจสอบสิทธิ" ให้คุณคลิกเข้าไปในปุ่มนั้นแล้วเขาก็จะแจ้งข้อมูลมาให้ว่าคุณมีสิทธิอยู่ในกองทุนอะไร มีรพ.อะไรเป็นต้นสังกัด ให้คุณจดข้อมูลนั้นไว้ใช้ได้
3. เมื่อมีเหตุให้เข้ารักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของรพ.ว่าคุณมีสิทธิกองทุนอะไร และประสงค์จะใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP ถ้าเขาทำหน้าเหรอหราไม่รู้เรื่องคุณก็หาพยานไว้คนหนึ่งแล้วย้ำกับเขาว่าคุณแจ้งขอใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP ต่อเขาแล้วนะ
4. ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องของรพ. คือเขาจะดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด (Pre-authorization) ในกรณีที่เขามีปัญหาในการคัดแยก เป็นหน้าที่ของเขาทีจะปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.(หมายเลข 02-8721669) ซึ่งในกรณีเถียงกันไม่ตกฟาก กม.กำหนดให้ศูนย์นี้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฉุกเฉินอยู่ประจำตลอดเวลา 24 ชม. และให้แพทย์คนนี้ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเคาะการวินิจฉัยว่าคุณจะได้หรือไม่ได้สิทธิฉุกเฉิน (สิทธิป้ายแดง) คำวินิจฉัยของแพทย์คนนี้กฎหมายให้ถือเป็นที่สุด เมื่อแพทย์คนนี้เคาะแล้ว ก็จะลงทะเบียนคุณเป็นผู้มีสิทธิฉุกเฉิน ซึ่งภาษาคนทำงานเรียกว่าออก PA code แล้วแจ้งยืนยันให้รพ.ว่าผู้ป่วยคนนี้ได้โค้ดนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายใดๆใน 72 ชั่วโมงแรกสามารถเรียกเก็บกับสำนักงาน UCEP ได้ ทั้งนี้สำนักงาน UCEP จะประสานงานกับกองทุนต้นสังกัดของคุณให้ดำเนินการจ่ายเงินให้รพ.เอง และอาจจะประสานงานกับรพ.ต้นสังกัดแล้วรพ.ต้นสังกัดเอารถมารับไปรักษาที่รพ.ต้นสังกัดก็ได้ ถ้าเขามารับเมื่อใด คุณก็ต้องยอมไปเมื่อนั้น ถ้าคุณไม่ยอมไป ค่าใช้จ่ายใดๆนับตั้งแต่เวลาที่คุณไม่ยอมไปนั้น คุณต้องออกเอง
5. เกณฎฑ์ที่จะบอกว่าใครจะได้สิทธิป้ายแดงเป็นกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
6. ถ้าสพฉ.ประเมินว่าคุณไม่ใช่เป็นป้ายแดง แต่เป็นป้ายเหลืองหรือป้ายเขียว (ด่วนแต่ไม่ฉุกเฉิน) คนไข้แบบนี้สมัยก่อนเขาเรียกว่าคนไข้มาตรา 7 สมัยนี้เขาเรียกว่า Non UCEP ซึ่งหากแจ้งเขาภายใน 24 ชม. กองทุนต้นสังกัดจะจ่ายเงินให้ในวงเงินจำกัดเฉพาะการรักษาใน 24 ชม.แรก กล่าวคือ (1) กรณีรักษาแบบคนไข้นอกจ่ายไม่เกิน 700 บาท (2) กรณีรักษาแบบคนไข้ในจ่ายไม่เกิน 4,500 (3) กรณีผ่าตัดไม่เกินสองชม. จ่ายไม่เกิน 8,000 บาท (4) กรณีผ่าตัดเกินสองชม.หรือเข้าไอซียู.จ่ายไม่เกิน 14,000 บาท หลัง 24 ชม.ไปแล้วถ้าย้ายได้แต่คุณไม่ยอมย้ายก็จ่ายเอง ถ้าย้ายไม่ได้ทางกองทุนจะเจรจาต้าอวยกับรพ.ผู้รักษาเองว่าจะจ่ายกันอย่างไร
7. ถ้าสพฉ.ประเมินว่าคุณเป็นพวกป้ายขาว (ไม่ด่วนไม่ฉุกเฉิน) ถ้าไม่ใช่รพ.คู่สัญญาของคุณเอง คุณเบิกไม่ได้สักบาท ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
8. ถ้าคุณสงสัยคุณจะโทรศัพท์ไปถามเขาก็ได้นะ ตามสายด่วนที่เขาเปิดไว้ กล่าวคือ สายด่วนสปสช. 1330 สายด่วนประกันสังคม 1506 สายด่วนสพฉ. 1669 หรือแม้จะถามว่าอย่างนี้เป็นฉุกเฉินป้ายแดงไหมก็ถามได้ที่เบอร์ 028721669 ในการใช้สายด่วนและไม่ด่วนทั้งหลายคุณต้องทำใจหน่อยนะว่าที่นี่ประเทศไทย ได้แค่ไหนให้คุณเอาแค่นั้นก็พอ
9. อันนี้ไม่เกี่ยวกับคำถามของคุณ แต่ผมขอปรารภไว้หน่อยตามประสาหมอแก่ขี้บ่น ว่าการที่มีกฎหมาย UCEP ขึ้นมานี้เป็นดาบสองคม ไม่ว่าดาบนั้นจะถือโดยผู้ป่วยหรือโดยแพทย์ก็มีสองคมอยู่ดี ในส่วนที่ถือโดยผู้ป่วยนั้นก็คือคนไทยเรานี้มีพันธุกรรมขี้งกและชอบของฟรี ฟรีแบบงี่เง่าก็เอา หมายความว่าหากของฟรีนั้นจะเป็นเหตุให้ตัวเองเสียหายหรือตายง่ายขึ้นก็ยังจะเอา เพราะว่ามันเป็นของฟรี ไม่ได้ก็จะรบเอา ยกตัวอย่างเช่นคนไข้เวลาเป็นหวัดมาหาแพทย์ก็จะรบเอายาปฏิชีวนะ พอแพทย์อธิบายว่ามันมีผลเสียมากกว่าผลดีก็โมโหลมออกหูเพราะมองแพทย์ว่าเป็นผู้ขัดลาภที่ตนเองมีสิทธิจะได้ และผมเคยเห็นคนไข้ตัดสินใจทำผ่าตัดหลังของตัวเองทั้งๆที่แพทย์ก็บอกว่าโอกาสที่การผ่าตัดจะทำให้ดีขึ้นกว่าการไม่ผ่านั้นยังไม่แน่ แต่ผู้ป่วยก็เอา เพราะว่าได้ผ่าฟรี..อามิตตาภะ พุทธะ
ความเป็นดาบสองคมด้านคนไข้อีกอย่างหนึ่งคือทุกวันนี้คนไข้จำนวนหนึ่งยอมทำตัวดีใส่ใจอาหารการออกกำลังกายของตัวเองก็เพราะกลัวเวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินแล้วจะตายข้างถนนเอาง่ายๆ เพราะแม้จะมีสิทธิ์แต่ทุกคนก็ทราบดีว่ามันต้องไปเข้าคิว หากไปรพ.เอกชนได้โดยไม่ต้องรอคิวผู้ป่วยส่วนนี้ก็จะคิดง่ายๆแบบย่ามใจว่าเออ ดีแล้ว ไม่ต้องไปลำบากลำบนดูแลตัวเองหรอก ฉุกเฉินมาก็ยังเข้ารพ.เอกชนได้แม้จะไม่มีเงิน เท่ากับว่ามี UCEP แล้วสุขภาพของผู้คนกลับแย่ลง เพราะคนใช้ประโยชน์จากของดีไม่เป็น
ผมอายุ 61 ปี น้ำหนัก 82 กก. เป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง เมื่อวันที่ .... ผมเกิดอาการหน้ามืดหมดแรงดื้อและแน่นในหน้าอก จึงรีบไปรพ. ... หมอบอกว่าจะต้องทำการฉีดสีสวนหัวใจฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะต้องทำการขยายหลอดเลือดฉุกเฉินแล้วใส่ลวดถ่าง บอกด้วยว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 300,000 บาท ผมบอกว่าผมขอใช้สิทธิ์สามสิบบาทของผมได้ไหม เพราะผมทราบว่าผมมีสิทธิกรณีฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ของรพ.บอกผมว่าสิทธินั้นจำกัดวงเงินไว้น้อยมากเป็นหลักหมื่นต้นๆ หากเกินวงเงินผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเองภายหลัง และได้เล่าให้ผมฟังถึงเรื่องที่รพ.เอกชนชนะคดีศาลบังคับให้ผู้ป่วยชำระหนี้ส่วนที่เกินสิทธินั้น ลูกๆหารือกันแล้วตัดสินใจให้เดินหน้ารักษาโดยลงขันกันจ่าย ซึ่งตอนนี้ผมผ่านมาแล้ว และได้มารักษาต่อกับหมอโรคหัวใจที่รพ. ... ซึ่งเป็นรพ.ที่ผมใช้บัตรประกันสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่เพื่อนก็บอกผมว่าทำไมผมไม่ใช้สิทธิ์เพราะผมป่วยฉุกเฉินต้องเบิกจากหลวงได้ทุกบาท เพื่อนบอกว่าผมเสียค่าโง่แล้ว ผมจึงสอบถามไปที่สป.สช.ก็ไม่สำเร็จ เพราะโทรศัพท์ไปก็มีแต่เสียงหุ่นยนต์รับสายวนอยู่สองสามรอบแล้วตัดสายทิ้ง เป็นอย่างนี้ทุกทีจนผมเลิกราไปเอง
ผมรบกวนถามคุณหมอสันต์ว่า
1. ผมจะเบิกเงินที่ลูกๆจ่ายไป (จ่ายจริง 480,000 บาท) คืนจากสปสช.โดยใช้สิทธิกรณีป่วยฉุกเฉินได้ไหม
2. ถ้าเบิกไม่ได้แล้ว หากครั้งหน้าผมมีป่วยฉุกเฉินขึ้นอีกโดยผมตั้งหลักทัน ผมจะเข้ารักษาที่ใกล้บ้านโดยเบิกฉุกเฉินได้ไหม ต้องมีวิธีทำอย่างไร
3. ที่ผ่านมานั้นผมเสียค่าโง่หรือว่าผมทำถูกแล้ว
ขอบพระคุณครับ
..............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าป่วยฉุกเฉิน เข้ารักษารพ.จนผ่านระยะฉุกเฉินกลับมาอยู่บ้านแล้ว จะขอเบิกค่าป่วยฉุกเฉินได้ไหม ตอบว่าโธ่..ลุง ฟังสำนวนแล้วลุงคงเคยเล่นไพ่มาก่อน ลุงทิ้งไพ่จนหลังเย็นไปแล้วบอกวงไพ่ว่า
"เฮ้ย..ย ไม่เอา ขอเปลี่ยนเอาไพ่ใบนั้นกลับมาก่อน ขอทิ้งใบใหม่"
แบบนี้ก็มีหวังวงไพ่แตกใช่ไหมครับ
ฉันใดก็ฉันเพล การจะใช้สิทธิเบิกค่ารักษาฉุกเฉินจากสามกองทุนคือกองทุนสามสิบบาท ประกันสังคม และราชการ ที่เรียกกันว่ายูเซ็พ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) นั้น คุณจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบทันที ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รถฉุกเฉินของสพฉ. หรือเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินของรพ.ไม่ว่าจะเป็นรพ.รัฐหรือรพ.เอกชนก็ตาม แจ้งเขารพ.ทราบทันทีที่เข้าไปถึงรพ. แจ้งยืนยันด้วยว่าคุณจะใช้สิทธิ UCEP เนื่องจาก UCEP เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งมีผลบังคับตั้งแต่ เมย. 2560 จึงเป็นไปได้ว่าพยาบาลหรือแพทย์ห้องฉุกเฉินบางรพ.อาจจะไม่ทราบ ให้คุณบอกเขาว่าผมได้แจ้งคุณแล้วนะมีคนคนนี้ (ชี้ไปที่พวกกันเองที่ยืนอยู่ข้างๆ) เป็นพยาน แค่นี้สิทธิของคุณก็มีผลแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะปฏิเสธการรักษาคุณ เพราะกฎหมายใหม่ตั้งแต่ปี 60 บังคับให้เขารักษาคุณและบังคับให้กองทุนของคุณเป็นผู้จ่ายเงินให้เขา แต่ถ้าคุณไม่ทำอย่างนี้ สิทธินั้นก็จะไม่มีผลใดๆ แปลไทยเป็นไทยว่าป่านฉะนี้แล้ว คุณเบิกเงินฉุกเฉินไม่ได้หรอกครับ
2. ถามว่าถ้าครั้งนี้เบิกไม่ได้ หากครั้งหน้าจะทำอย่างไรจึงจะเบิกได้ แหม นี่กะจะรอให้ป่วยฉุกเฉินซ้ำซากโดยไม่คิดจะลงทุนลงแรงดูแลตัวเองเลยหรืออย่างไรเนี่ย แต่เอาเถอะ การตอบคำถามนี้มีประโยชน์มากกับผู้ป่วยทั่วไปและแพทย์พยาบาลที่ยังไม่รู้จักกฎหมาย UCEP ตอบว่าขั้นตอนการใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP มีดังนี้
2.1 UCEP แปลว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients มีผลบังคับใช้กับลูกค้าของสามกองทุน คือ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, (2) กองทุนประกันสังคม (3) กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งก็คือครอบคลุมประชาชนคนไทย 100% นั่นเอง
2.2 ผู้ที่คิดจะใช้ประโยชน์จาก UCEP จะต้องตรวจสอบสิทธิของตัวเองก่อนว่าตัวเองมีสิทธิในกองทุนไหน ไม่งั้นหน้าสิ่วหน้าขวานจะเสียเวลามาก วิธีตรวจสอบสิทธิก็คือเข้าไปในเว็บ https://www.nhso.go.th แล้วทำตามผมทีละขั้นดังนี้นะ เพราะมีผู้สูงอายุพยายามทำตรงนี้แล้วไม่สำเร็จเพราะทำอะไรเป็นขั้นตอนไม่เป็น ให้ทำดังนี้
2.2.1 จะเห็นรูปวงกลมเรียงแถวขึ้นมาห้าวง ให้คลิกเข้าไปตรงวงที่สี่ที่มีชื่อว่า "ตรวจสอบสิทธิบัตรประกันสุขภาพ"
2.2.2 จะเห็นช่องให้กรอกเลขบัตรประชาชน ก็กรอกลงไป
2.2.3 จะเห็นช่องให้กรอกวันเดือนปีเกิด ก็กรอกลงไป
2.2.4 จะเห็นช่องที่เขาเขียนว่า " ระบุตัวอักษรตามภาพด้านบน" ตรงนี้เป็นช่องปราบคนแก่นะ ระวัง ให้คุณมองดูช่องสี่เหลี่ยมสี่ม่วงที่บรรทัดถัดขึ้นไป ในช่องนั้นมองให้ดีจะมีอักษรภาษาอังกฤษขึ้นมา ให้คุณอ่าน แล้วพิมพ์กรอกตามไปทีละตัวๆอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ดูให้ดี กรอกให้เหมือนเขา
2.2.5 จะเห็นปุ่ม "ตรวจสอบสิทธิ" ให้คุณคลิกเข้าไปในปุ่มนั้นแล้วเขาก็จะแจ้งข้อมูลมาให้ว่าคุณมีสิทธิอยู่ในกองทุนอะไร มีรพ.อะไรเป็นต้นสังกัด ให้คุณจดข้อมูลนั้นไว้ใช้ได้
3. เมื่อมีเหตุให้เข้ารักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของรพ.ว่าคุณมีสิทธิกองทุนอะไร และประสงค์จะใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP ถ้าเขาทำหน้าเหรอหราไม่รู้เรื่องคุณก็หาพยานไว้คนหนึ่งแล้วย้ำกับเขาว่าคุณแจ้งขอใช้สิทธิตามกฎหมาย UCEP ต่อเขาแล้วนะ
4. ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องของรพ. คือเขาจะดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด (Pre-authorization) ในกรณีที่เขามีปัญหาในการคัดแยก เป็นหน้าที่ของเขาทีจะปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.(หมายเลข 02-8721669) ซึ่งในกรณีเถียงกันไม่ตกฟาก กม.กำหนดให้ศูนย์นี้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฉุกเฉินอยู่ประจำตลอดเวลา 24 ชม. และให้แพทย์คนนี้ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเคาะการวินิจฉัยว่าคุณจะได้หรือไม่ได้สิทธิฉุกเฉิน (สิทธิป้ายแดง) คำวินิจฉัยของแพทย์คนนี้กฎหมายให้ถือเป็นที่สุด เมื่อแพทย์คนนี้เคาะแล้ว ก็จะลงทะเบียนคุณเป็นผู้มีสิทธิฉุกเฉิน ซึ่งภาษาคนทำงานเรียกว่าออก PA code แล้วแจ้งยืนยันให้รพ.ว่าผู้ป่วยคนนี้ได้โค้ดนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายใดๆใน 72 ชั่วโมงแรกสามารถเรียกเก็บกับสำนักงาน UCEP ได้ ทั้งนี้สำนักงาน UCEP จะประสานงานกับกองทุนต้นสังกัดของคุณให้ดำเนินการจ่ายเงินให้รพ.เอง และอาจจะประสานงานกับรพ.ต้นสังกัดแล้วรพ.ต้นสังกัดเอารถมารับไปรักษาที่รพ.ต้นสังกัดก็ได้ ถ้าเขามารับเมื่อใด คุณก็ต้องยอมไปเมื่อนั้น ถ้าคุณไม่ยอมไป ค่าใช้จ่ายใดๆนับตั้งแต่เวลาที่คุณไม่ยอมไปนั้น คุณต้องออกเอง
5. เกณฎฑ์ที่จะบอกว่าใครจะได้สิทธิป้ายแดงเป็นกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
6. ถ้าสพฉ.ประเมินว่าคุณไม่ใช่เป็นป้ายแดง แต่เป็นป้ายเหลืองหรือป้ายเขียว (ด่วนแต่ไม่ฉุกเฉิน) คนไข้แบบนี้สมัยก่อนเขาเรียกว่าคนไข้มาตรา 7 สมัยนี้เขาเรียกว่า Non UCEP ซึ่งหากแจ้งเขาภายใน 24 ชม. กองทุนต้นสังกัดจะจ่ายเงินให้ในวงเงินจำกัดเฉพาะการรักษาใน 24 ชม.แรก กล่าวคือ (1) กรณีรักษาแบบคนไข้นอกจ่ายไม่เกิน 700 บาท (2) กรณีรักษาแบบคนไข้ในจ่ายไม่เกิน 4,500 (3) กรณีผ่าตัดไม่เกินสองชม. จ่ายไม่เกิน 8,000 บาท (4) กรณีผ่าตัดเกินสองชม.หรือเข้าไอซียู.จ่ายไม่เกิน 14,000 บาท หลัง 24 ชม.ไปแล้วถ้าย้ายได้แต่คุณไม่ยอมย้ายก็จ่ายเอง ถ้าย้ายไม่ได้ทางกองทุนจะเจรจาต้าอวยกับรพ.ผู้รักษาเองว่าจะจ่ายกันอย่างไร
7. ถ้าสพฉ.ประเมินว่าคุณเป็นพวกป้ายขาว (ไม่ด่วนไม่ฉุกเฉิน) ถ้าไม่ใช่รพ.คู่สัญญาของคุณเอง คุณเบิกไม่ได้สักบาท ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
8. ถ้าคุณสงสัยคุณจะโทรศัพท์ไปถามเขาก็ได้นะ ตามสายด่วนที่เขาเปิดไว้ กล่าวคือ สายด่วนสปสช. 1330 สายด่วนประกันสังคม 1506 สายด่วนสพฉ. 1669 หรือแม้จะถามว่าอย่างนี้เป็นฉุกเฉินป้ายแดงไหมก็ถามได้ที่เบอร์ 028721669 ในการใช้สายด่วนและไม่ด่วนทั้งหลายคุณต้องทำใจหน่อยนะว่าที่นี่ประเทศไทย ได้แค่ไหนให้คุณเอาแค่นั้นก็พอ
9. อันนี้ไม่เกี่ยวกับคำถามของคุณ แต่ผมขอปรารภไว้หน่อยตามประสาหมอแก่ขี้บ่น ว่าการที่มีกฎหมาย UCEP ขึ้นมานี้เป็นดาบสองคม ไม่ว่าดาบนั้นจะถือโดยผู้ป่วยหรือโดยแพทย์ก็มีสองคมอยู่ดี ในส่วนที่ถือโดยผู้ป่วยนั้นก็คือคนไทยเรานี้มีพันธุกรรมขี้งกและชอบของฟรี ฟรีแบบงี่เง่าก็เอา หมายความว่าหากของฟรีนั้นจะเป็นเหตุให้ตัวเองเสียหายหรือตายง่ายขึ้นก็ยังจะเอา เพราะว่ามันเป็นของฟรี ไม่ได้ก็จะรบเอา ยกตัวอย่างเช่นคนไข้เวลาเป็นหวัดมาหาแพทย์ก็จะรบเอายาปฏิชีวนะ พอแพทย์อธิบายว่ามันมีผลเสียมากกว่าผลดีก็โมโหลมออกหูเพราะมองแพทย์ว่าเป็นผู้ขัดลาภที่ตนเองมีสิทธิจะได้ และผมเคยเห็นคนไข้ตัดสินใจทำผ่าตัดหลังของตัวเองทั้งๆที่แพทย์ก็บอกว่าโอกาสที่การผ่าตัดจะทำให้ดีขึ้นกว่าการไม่ผ่านั้นยังไม่แน่ แต่ผู้ป่วยก็เอา เพราะว่าได้ผ่าฟรี..อามิตตาภะ พุทธะ
ความเป็นดาบสองคมด้านคนไข้อีกอย่างหนึ่งคือทุกวันนี้คนไข้จำนวนหนึ่งยอมทำตัวดีใส่ใจอาหารการออกกำลังกายของตัวเองก็เพราะกลัวเวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินแล้วจะตายข้างถนนเอาง่ายๆ เพราะแม้จะมีสิทธิ์แต่ทุกคนก็ทราบดีว่ามันต้องไปเข้าคิว หากไปรพ.เอกชนได้โดยไม่ต้องรอคิวผู้ป่วยส่วนนี้ก็จะคิดง่ายๆแบบย่ามใจว่าเออ ดีแล้ว ไม่ต้องไปลำบากลำบนดูแลตัวเองหรอก ฉุกเฉินมาก็ยังเข้ารพ.เอกชนได้แม้จะไม่มีเงิน เท่ากับว่ามี UCEP แล้วสุขภาพของผู้คนกลับแย่ลง เพราะคนใช้ประโยชน์จากของดีไม่เป็น
ความเป็นดาบสองคมในส่วนของแพทย์ก็จะมีปัญหาไม่แพ้กัน เพราะการแพทย์ทั่วโลกทุกวันนี้ที่แพทย์หลงภูมิใจว่ามันเป็นการแพทย์แบบอิงหลักฐานวิทยาศาสตร์ (evidence based medicine) นั้น แท้จริงแล้วมันเป็นการแพทย์ที่อิงสิทธิการเบิกจ่าย (reimbursement based medicine) คืออะไรที่คนไข้มีสิทธิ์เบิกได้ แพทย์ก็จะทำอันนั้น การให้คนไข้ได้สิทธิรักษาฉุกเฉินราคาแพงเป็นแสนเป็นล้านฟรีๆง่ายๆ แพทย์ก็จะทำการรักษาเหล่านั้นมากขึ้น เพราะมูลเหตจูงใจให้แพทย์เลือกวิธีการรักษาวิธีไหนนั้น มันมีหลายอย่าง ไม่ใช่จะมีเฉพาะความรู้ตามหลักวิชาแพทย์อย่างเดียว หากไม่มีกลไกป้องปรามการตัดสินใจของแพทย์ให้อยู่ในร่องในรอยให้ดี UCEP ก็อาจพาชาติล่มจมได้นะครับ แล้วท่านจำคำทำนายของหมอสันต์ไว้เลยนะ ระบบ UCEP จะล่มหรือไม่ล่มอยู่ที่แพทย์เท่านั้น ไม่ใช่อยู่ที่คนไข้ เพราะคนไข้ไม่ว่าจะงี่เง่าขนาดไหนแต่หากมาเจอแพทย์ที่แน่นปึ๊กในหลักจริยธรรมแล้วคนไข้ต้องเป็นฝ่ายหมอบราบคาบอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากมาเจอแพทย์ที่ข้ามเส้นจริยธรรมเสียเองแล้ว..อะไรก็เกิดขึ้นได้เลยครับคราวนี้
10. นึกว่าจบแล้ว แต่เพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ตอบคำถามสุดท้ายของคุณที่ว่าคุณเสียค่าโง่หรือว่าคุณทำถูกแล้ว ตอบว่าคุณทำถูกแล้วครับ การที่คุณยังรอดชีวิตมานั่งเขียนจดหมายนี้ได้แสดงว่าคุณทำถูกแล้ว แต่ที่ว่าอย่างนี้เรียกว่าเสียค่าโง่หรือไม่มันแล้วแต่จะมองออกมาจากจิตใจแบบไหน สำหรับผมมองว่าการที่คุณและลูกๆซึ่งเป็นคนมีฐานะพอจ่ายได้ควักเงินจ่ายค่ารักษาของตัวเองแทนเงินหลวงนั้น เป็นการทำบุญนะครับ ระบบก็จะมีเงินเหลือไปเอื้อประโยชน์ให้แก่คนที่เขาไม่มีปัญญาจะจ่ายได้อีกเป็นจำนวนมาก สรุปว่าคุณทำถูกแล้ว และได้ทำบุญด้วย ไม่ใช่การเสียค่าโง่ครับ
ปล. เพิ่มเติม
กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วจบไปแล้วแต่อยากจะขอใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาฉุกเฉินย้อนหลัง ให้ส่งคำร้องเรียนไปที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติทางอีเมล ucepcenter@miems.go.th หรอโทรศัพท์ 028721669 โดยเปิดดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องเรียนจากเว็บของสพฉ.ที่ http://www.niems.go.th/th/View/DataService.aspx?CateId=3162
แล้วกรอกแบบฟอร์มแนบหลักฐานตามนั้น ก็จะไปเข้าระบบการพิจารณาของสพฉ.ว่าจะได้เงินย้อนหลังหรือไม่ได้โดยอัตโนมัติ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
10. นึกว่าจบแล้ว แต่เพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ตอบคำถามสุดท้ายของคุณที่ว่าคุณเสียค่าโง่หรือว่าคุณทำถูกแล้ว ตอบว่าคุณทำถูกแล้วครับ การที่คุณยังรอดชีวิตมานั่งเขียนจดหมายนี้ได้แสดงว่าคุณทำถูกแล้ว แต่ที่ว่าอย่างนี้เรียกว่าเสียค่าโง่หรือไม่มันแล้วแต่จะมองออกมาจากจิตใจแบบไหน สำหรับผมมองว่าการที่คุณและลูกๆซึ่งเป็นคนมีฐานะพอจ่ายได้ควักเงินจ่ายค่ารักษาของตัวเองแทนเงินหลวงนั้น เป็นการทำบุญนะครับ ระบบก็จะมีเงินเหลือไปเอื้อประโยชน์ให้แก่คนที่เขาไม่มีปัญญาจะจ่ายได้อีกเป็นจำนวนมาก สรุปว่าคุณทำถูกแล้ว และได้ทำบุญด้วย ไม่ใช่การเสียค่าโง่ครับ
ปล. เพิ่มเติม
กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วจบไปแล้วแต่อยากจะขอใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาฉุกเฉินย้อนหลัง ให้ส่งคำร้องเรียนไปที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติทางอีเมล ucepcenter@miems.go.th หรอโทรศัพท์ 028721669 โดยเปิดดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องเรียนจากเว็บของสพฉ.ที่ http://www.niems.go.th/th/View/DataService.aspx?CateId=3162
แล้วกรอกแบบฟอร์มแนบหลักฐานตามนั้น ก็จะไปเข้าระบบการพิจารณาของสพฉ.ว่าจะได้เงินย้อนหลังหรือไม่ได้โดยอัตโนมัติ