เครื่องช็อกหัวใจแบบฝังใน AICD ขายขาดไม่รับคืน
เรียนคุณหมอสันต์
ผมติดตามบทความอาจารย์มาตลอด และ ได้ปฏิบัติตามเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย แต่ผมมีเรื่องปรึกษาดังที่จะเล่าต้นสายปลายเหตุดังนี้ครับ
เมื่อประมาณ6ปีมาแล้วผมเกิดหัวใจหยุดเต้น แต่เนื่องจากใกล้หมอเลยปั๊มหัวใจรอดมาได้ แต่คุณหมอได้ใส่เครื่องaicdเพื่อช่วยปั๊มหากหัวใจหยุดเต้นอีก ทีนี้ผมอยากเอาออกเพราะจะครบอายุแบตเตอร์รี่ที่จะหมดในปีหน้า แต่คุณหมอที่ดูแลไม่อยากให้เอาออกให้ ตั้งแต่ใส่มาไม่เคยมีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจตามกราฟที่ปริ้นออกจากเมมเครื่อง
ตอนตรวจเช็คทุก6เดือน ผมไม่เคยกินยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ไม่มีเบาหวาน ไขมัน ความดันสูง ผมอยากเอาออก เพราะผมนั่งคิดแล้วว่าที่ตอนหยุดเต้นมันอาจจะเป็นจากสาเหตุการปฏิบัติตัวในตอนนั้น ลืมบอกว่าผมเป็นภูมิแพ้ ตอนนั้นผมใช้ยาเสตียรอย ใช้สมุนไพร และไม่ได้พักผ่อนเกือบครึ่งเดือน อาจทำให้หัวใจผมเต้นผิดจังหวะจนเกิดการหยุดเต้นได้ในตอนนั้น ผมจึงอยากปรึกษาการเอาเครื่องออกครับ ช้อมูลส่วนตัวดังนี้ครับ
ชาย อายุ 47 ปี
ส่วนสูง 172
น้ำหนัก 68
Sugar 99
Hb A1c 5.7
BUN 8
eGFR 79.5
Creatinine 1.06
Cholesterol 182
Triglyceride 107
HDL 43
LDL 123
SGOT 21
ความดัน 119/79
ไม่ได้กินยา ไขมัน เบาหวาน ความดัน ตั้งแต่ต้น ออกกำลังกายด้วยวิ่งสั้นเร็วแบบวิ่งแข่ง100เมตร
กินผักผลไม้ปั่นมื้อเช้า ไม่กิน ผัด ทอด ลดเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และส่วนผสมนม เนย
ปฏิบัติตามบทความคุณหมอสันต์ ทำให้ทิ้งยารักษาภูมิแพ้ เพราะทานมาเกือบ20กว่าปี
ตอนนี้สุขภาพดีตัวเบาโล่ง ผมเลยอยากเอาเครื่องออกครับผมไม่กล้าไปบอกหมอที่เก่าเพราะ
กลัวท่านปรับอัตราการเต้นของ เซนเซอร์ใหม่เดี๋ยวผมโดนช๊อต 55555 ผมเลยอยากปรึกษาคุณหมอ
เรื่องการเอาออกครับ
กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
( ผมโทรไปหาพยาบาลเลขาส่วนตัวคุณหมอที่ พญาไท2 แล้วครับ เขาบอกว่าคุณหมองานล้น ให้ผมเขียนถามในบล็อกนี้แทนครับ ผมชื่อ นาย..... )
......................................................
ตอบครับ
มาจะกล่าวบทไป การจะมีชีวิตอยู่ในโลกที่จี้ๆใบนี้คุณต้องเรียนรู้กฏเกณฑ์บางข้อ รวมทั้งกฎที่ว่าสินค้าบางอย่างขายแล้วขายขาดไม่รับคืน ยกตัวอย่างเช่นคุณไปขอแต่งลูกสาวเขามาเป็นเมียพอเบื่อแล้วคุณจะกล้าเอาไปคืนให้แม่ยายคุณไหมล่ะ (ฮี่ ฮี่..พูดเล่น) ฉันใด ก็ฉันเพล เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝังในหรือ AICD นี้ก็เป็นฉันนั้น ผมรับจ้างใส่ แต่ผมไม่รับจ้างถอดออก (ฮี่ ฮี่..พูดเล่นอีกละ)
มาพูดกันจริงๆดีกว่านะ คือเครื่องนี้เขาออกแบบมาให้เป็นเครื่องช่วยชีวิตคนที่เกิดหัวใจหยุดเต้น (VF)ไปแล้ว จึงต้องหาวิธีส่งไฟฟ้าไปช็อกหัวใจให้ได้ชัวร์ๆ เขาไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้ให้ลากสายออก ความข้อนี้หมอส่วนใหญ่ แม้หมอหัวใจที่ชั่วโมงบินยังไม่ถึงก็มักจะยังไม่ทราบ การที่คุณไปหาหมอของคุณแล้วคุณหมอท่านอิดออดโยกโย้ไม่อยากเอาออกนั้น แสดงว่าคุณหมอของคุณท่านเป็นหมอที่มีชั่วโมงบินถึงขั้นแล้ว เพราะว่าการจะลากเอาสาย (lead) ของเครื่องนี้ออกมาจากหัวใจมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสายนี้มันหัวบานเป็นร่มและฝังอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจ ลากไปลากมามันลากเอาผนังหัวใจให้บุ๋มเข้าไปในห้องหัวใจด้วย เคราะห์หามยามร้ายกล้ามเนื้อหัวใจก็ทะลุ เลือดออก ช็อค ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอกฉุกเฉินเข้าไปแก้ แก้ทันก็แก้ แก้ไม่ทันก็...เด๊ด สะมอเร่ ในรายที่โชคดีลากออกมาได้ บางคนก็โดนขาของร่มที่ปลายสายลากเอาลิ้นหัวใจไตรคัดปิดฉีกขาดออกมาด้วย..เป็นเรื่องอีก ถึงแม้สมัยนี้จะมีปลอกวิเศษใส่เข้าไปหุบร่มที่ปลายสาย ปลอกนี้บางชนิดก็สามารถส่งความร้อนหรือเลเซอร์เข้าไปเลาะตัดพังผืดที่ติดยึดปลายสายได้ด้วย แต่ปลอกวิเศษก็ปลอกวิเศษเหอะ บ่อยครั้งมันไม่วิเศษสมชื่อ ใช้แล้วก็ยังเกิดเรื่องอยู่ดี โอกาสเกิดเรื่องเนี่ยไม่ใช่น้อยนะครับ สถิติจากคนไข้ที่ลากสายออก 5,339 คน เก็บสถิติในช่วงเวลาสิบปี พบว่าที่ถึงขั้นตายหรือคางเหลือง (major complication) เพราะการลากสายออกนี้มีถึง 1.6% ซึ่งมากระดับน้องๆอัตราตายของการทำบอลลูนหรือผ่าตัดบายพาสหัวใจเลยเชียวนะ ดังนั้นอย่าแปลกใจที่มีหมอหัวใจที่รับจ้างใส่มาก แต่ที่รับจ้างถอดมีน้อย
พูดถึงหมอหัวใจชอบใส่มากกว่าชอบถอด เมื่อไม่นานมานี้มีคนไข้ฝรั่งมาหาผมที่เมืองไทยนี้คนหนึ่งด้วยปัญหาอื่นแต่เมื่อเอ็กซเรย์ทรวงอกดูแล้วเห็นสายอะไรต่อมิอะไร ทั้งสาย pace maker เก่าและใหม่ สาย AICD อีกสองเส้น บางเส้นทั้งพันทั้งขดอยู่ในหัวใจเต็มไปหมดราวกับพยาธิในหัวใจน้องหมา (สมัยผมเป็นนักเรียนแพทย์ เคยเอาร่างสุนัขที่เรียนวิชาสรีรวิทยาเสร็จแล้วมาผ่าดูหัวใจ พบว่ามีพยาธิสาระพัดพัวพันอัดกันแน่นอยู่ในหัวใจราวกับเส้นหมี่ผัดซีอิ้ว..บรื๊อว์)
ผมชวนคนไข้คุยว่า
"รู้สึกว่าคุณจะมีเส้นสายอยู่ในหัวใจหลายเส้นอยู่นะ"
(You seem to have quite a few leads in your heart)
คนไข้ตอบผมอย่างคนมีอารมณ์ขันว่า
"Yeh, cause those docs they know how to put things in but don't know how to pull things out"
(ช่าย..เพราะพวกหมอเขารู้แต่วิธีใส่แต่ไม่รู้วิธีถอดออก)
นี่คือสัจจธรรมเกี่ยวกับสายลวดต่างๆที่ใส่เข้าไปในหัวใจ คือมันเข้าง่ายออกยาก หมอที่เต็มใจจะลากออกให้คุณมีอยู่สองคนเท่านั้น คือหมอจบใหม่ กับ..พยาธิแพทย์ (หิ หิ พูดเล่น)
เอาละ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณอย่างเป็นทางการนะ
1. ถามว่าตั้งแต่ใส่เครื่องช็อกไฟฟ้าแบบฝังในมาห้าปีไม่เคยช็อกเลยสักจึ๊กเดียว ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจต่างๆก็ไม่มี คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ปกติมาตลอด จำเป็นต้องมีเครื่องช็อกไฟฟ้าฝังในไว้ไหม ตอบว่าไม่จำเป็นหรอกครับ
2. ถามว่านี่แบตเตอรี่เก่าจะหมดอายุรับประกันแล้ว หมอก็จะให้เปลี่ยนแบต แต่ใจไม่อยากเปลี่ยนแล้ว จะทำอย่างไรดี ตอบว่า ก็ไม่ต้องเปลี่ยนสิครับ อยู่กับแบตเก่านั่นแหละไป ไฟหมดก็คือหมด
3. ถามว่าทั้งเครื่องและสายถ้าแบตหมดแล้วก็ไร้ประโยชน์ เอาออกซะไม่ดีกว่าหรือ ตอบว่าดีครับ ถ้ามีคนยอมเอาออกให้คุณ
4. ถามว่าถ้าเป็นหมอสันต์มีเครื่อง AICD อยู่ในตัวและไม่ต้องการใช้แล้วจะทำอย่างไร ตอบว่าผมก็ปล่อยให้แบตหมด แล้วทิ้งมันไว้อย่างนั้นไม่เอาออกเพราะผมกลัวตายจากภาวะแทรกซ้อนจากการลากสายออก แต่ผมจะเขียนพินัยกรรมบอกลูกเมียไว้ว่าถ้าผมเดินทางไปถึงระยะสุดท้ายของชีวิต สมองฟั่นเฟือน สติเลอะเลือนแล้ว อย่าลืมให้หมอเขาดับไฟเครื่องกระตุ้นหัวใจผมด้วยนะ เพราะตอนผมจะตาย ขอผมตายดีๆหน่อย หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. F M Farooqi, S Talsania, S Hamid, C A Rinaldi Extraction of cardiac rhythm devices: indications, techniques and outcomes for the removal of pacemaker and defibrillator leads. Int. J. Clin. Pract.: 2010, 64(8);1140-7
...................................................
จดหมายจากผู้อ่าน
ถ้าสมองตายแล้วไม่ได้ดับไฟเคื่องกระตุ้นหัวใจ แล้วตายไม่ดี คือเป็นยังไงคะ?
ตอบครับ
เครื่องช็อกหัวใจแบบฝังในก่อปัญหาให้แก่คนใกล้ตายได้สองแบบคือ
1. ถ้าเครื่องใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบกลไกการปล่อยไฟฟ้าเสียอย่างสิ้นเชิง (complete heart block)ด้วย แม้สมองของคนไข้ตายไปแล้วแต่หัวใจจะไม่ยอมหยุดเต้น เพราะมันเต้นตามเครื่อง ทำให้หมอประกาศว่าตายแล้วไม่ได้เพราะคลื่นหัวใจยังมีหัวใจเต้นอยู่ ต้องเอาโปรแกรมเครื่องมาสั่งให้เครื่องหยุดปล่อยคลื่น ปัญหาคือโรงพยาบาลที่คนไข้ไปตายอาจจะไม่มีเครื่องสำหรับโปรแกรมคำสั่งเพราะเครื่องโปรแกรมคำสั่งนี้มีแต่ในศูนย์หัวใจที่เป็นผู้ใส่เครื่องเท่านั้น หรือบางทีมีเครื่องแต่หมอไม่ยอมสั่งให้เครื่องหยุดเพราะไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นคนทำให้คนไข้ตาย เดือดร้อนต้องให้ญาติเป็นคนหมุนปุ่มสั่งหยุดเอง ซึ่งเป็นการก่อความรู้สึกแย่ๆกับญาติได้มากเหมือนกัน ญาติบางคนก็ไม่กล้าทำ ก็เลยต้องยื้อกันต่อไปจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้
2. ในคนทั่วไปที่ประสงค์จะตายและใกล้จะตายจริงๆแล้ว หัวใจจะค่อยๆหยุดเต้น คลื่นจะเปลี่ยนจากคลื่นแบบปกติ (sinus) ไปเป็นหัวใจห้องล่างเต้นรัว (VF) ก่อนที่จะหยุดสนิท (stand still) แต่แค่ลงมาเป็น VF แค่นั้นแหละ เครื่องเจ้ากรรมนี้ก็จะช็อคคนไข้ปุ๊ง อีกสองนาที่ก็จะช็อกอีก ปุ้ง ปุ้ง ปุ้ง บางครั้งช็อกแล้วคลื่นไฟฟ้าก็กลับมาเป็น sinus ใหม่ ทำให้ตายไม่ได้สักที หรือตายยากตายเย็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมติดตามบทความอาจารย์มาตลอด และ ได้ปฏิบัติตามเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย แต่ผมมีเรื่องปรึกษาดังที่จะเล่าต้นสายปลายเหตุดังนี้ครับ
เมื่อประมาณ6ปีมาแล้วผมเกิดหัวใจหยุดเต้น แต่เนื่องจากใกล้หมอเลยปั๊มหัวใจรอดมาได้ แต่คุณหมอได้ใส่เครื่องaicdเพื่อช่วยปั๊มหากหัวใจหยุดเต้นอีก ทีนี้ผมอยากเอาออกเพราะจะครบอายุแบตเตอร์รี่ที่จะหมดในปีหน้า แต่คุณหมอที่ดูแลไม่อยากให้เอาออกให้ ตั้งแต่ใส่มาไม่เคยมีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจตามกราฟที่ปริ้นออกจากเมมเครื่อง
ตอนตรวจเช็คทุก6เดือน ผมไม่เคยกินยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ไม่มีเบาหวาน ไขมัน ความดันสูง ผมอยากเอาออก เพราะผมนั่งคิดแล้วว่าที่ตอนหยุดเต้นมันอาจจะเป็นจากสาเหตุการปฏิบัติตัวในตอนนั้น ลืมบอกว่าผมเป็นภูมิแพ้ ตอนนั้นผมใช้ยาเสตียรอย ใช้สมุนไพร และไม่ได้พักผ่อนเกือบครึ่งเดือน อาจทำให้หัวใจผมเต้นผิดจังหวะจนเกิดการหยุดเต้นได้ในตอนนั้น ผมจึงอยากปรึกษาการเอาเครื่องออกครับ ช้อมูลส่วนตัวดังนี้ครับ
ชาย อายุ 47 ปี
ส่วนสูง 172
น้ำหนัก 68
Sugar 99
Hb A1c 5.7
BUN 8
eGFR 79.5
Creatinine 1.06
Cholesterol 182
Triglyceride 107
HDL 43
LDL 123
SGOT 21
ความดัน 119/79
ไม่ได้กินยา ไขมัน เบาหวาน ความดัน ตั้งแต่ต้น ออกกำลังกายด้วยวิ่งสั้นเร็วแบบวิ่งแข่ง100เมตร
กินผักผลไม้ปั่นมื้อเช้า ไม่กิน ผัด ทอด ลดเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และส่วนผสมนม เนย
ปฏิบัติตามบทความคุณหมอสันต์ ทำให้ทิ้งยารักษาภูมิแพ้ เพราะทานมาเกือบ20กว่าปี
ตอนนี้สุขภาพดีตัวเบาโล่ง ผมเลยอยากเอาเครื่องออกครับผมไม่กล้าไปบอกหมอที่เก่าเพราะ
กลัวท่านปรับอัตราการเต้นของ เซนเซอร์ใหม่เดี๋ยวผมโดนช๊อต 55555 ผมเลยอยากปรึกษาคุณหมอ
เรื่องการเอาออกครับ
กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
( ผมโทรไปหาพยาบาลเลขาส่วนตัวคุณหมอที่ พญาไท2 แล้วครับ เขาบอกว่าคุณหมองานล้น ให้ผมเขียนถามในบล็อกนี้แทนครับ ผมชื่อ นาย..... )
......................................................
ตอบครับ
มาจะกล่าวบทไป การจะมีชีวิตอยู่ในโลกที่จี้ๆใบนี้คุณต้องเรียนรู้กฏเกณฑ์บางข้อ รวมทั้งกฎที่ว่าสินค้าบางอย่างขายแล้วขายขาดไม่รับคืน ยกตัวอย่างเช่นคุณไปขอแต่งลูกสาวเขามาเป็นเมียพอเบื่อแล้วคุณจะกล้าเอาไปคืนให้แม่ยายคุณไหมล่ะ (ฮี่ ฮี่..พูดเล่น) ฉันใด ก็ฉันเพล เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝังในหรือ AICD นี้ก็เป็นฉันนั้น ผมรับจ้างใส่ แต่ผมไม่รับจ้างถอดออก (ฮี่ ฮี่..พูดเล่นอีกละ)
มาพูดกันจริงๆดีกว่านะ คือเครื่องนี้เขาออกแบบมาให้เป็นเครื่องช่วยชีวิตคนที่เกิดหัวใจหยุดเต้น (VF)ไปแล้ว จึงต้องหาวิธีส่งไฟฟ้าไปช็อกหัวใจให้ได้ชัวร์ๆ เขาไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้ให้ลากสายออก ความข้อนี้หมอส่วนใหญ่ แม้หมอหัวใจที่ชั่วโมงบินยังไม่ถึงก็มักจะยังไม่ทราบ การที่คุณไปหาหมอของคุณแล้วคุณหมอท่านอิดออดโยกโย้ไม่อยากเอาออกนั้น แสดงว่าคุณหมอของคุณท่านเป็นหมอที่มีชั่วโมงบินถึงขั้นแล้ว เพราะว่าการจะลากเอาสาย (lead) ของเครื่องนี้ออกมาจากหัวใจมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสายนี้มันหัวบานเป็นร่มและฝังอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจ ลากไปลากมามันลากเอาผนังหัวใจให้บุ๋มเข้าไปในห้องหัวใจด้วย เคราะห์หามยามร้ายกล้ามเนื้อหัวใจก็ทะลุ เลือดออก ช็อค ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอกฉุกเฉินเข้าไปแก้ แก้ทันก็แก้ แก้ไม่ทันก็...เด๊ด สะมอเร่ ในรายที่โชคดีลากออกมาได้ บางคนก็โดนขาของร่มที่ปลายสายลากเอาลิ้นหัวใจไตรคัดปิดฉีกขาดออกมาด้วย..เป็นเรื่องอีก ถึงแม้สมัยนี้จะมีปลอกวิเศษใส่เข้าไปหุบร่มที่ปลายสาย ปลอกนี้บางชนิดก็สามารถส่งความร้อนหรือเลเซอร์เข้าไปเลาะตัดพังผืดที่ติดยึดปลายสายได้ด้วย แต่ปลอกวิเศษก็ปลอกวิเศษเหอะ บ่อยครั้งมันไม่วิเศษสมชื่อ ใช้แล้วก็ยังเกิดเรื่องอยู่ดี โอกาสเกิดเรื่องเนี่ยไม่ใช่น้อยนะครับ สถิติจากคนไข้ที่ลากสายออก 5,339 คน เก็บสถิติในช่วงเวลาสิบปี พบว่าที่ถึงขั้นตายหรือคางเหลือง (major complication) เพราะการลากสายออกนี้มีถึง 1.6% ซึ่งมากระดับน้องๆอัตราตายของการทำบอลลูนหรือผ่าตัดบายพาสหัวใจเลยเชียวนะ ดังนั้นอย่าแปลกใจที่มีหมอหัวใจที่รับจ้างใส่มาก แต่ที่รับจ้างถอดมีน้อย
พูดถึงหมอหัวใจชอบใส่มากกว่าชอบถอด เมื่อไม่นานมานี้มีคนไข้ฝรั่งมาหาผมที่เมืองไทยนี้คนหนึ่งด้วยปัญหาอื่นแต่เมื่อเอ็กซเรย์ทรวงอกดูแล้วเห็นสายอะไรต่อมิอะไร ทั้งสาย pace maker เก่าและใหม่ สาย AICD อีกสองเส้น บางเส้นทั้งพันทั้งขดอยู่ในหัวใจเต็มไปหมดราวกับพยาธิในหัวใจน้องหมา (สมัยผมเป็นนักเรียนแพทย์ เคยเอาร่างสุนัขที่เรียนวิชาสรีรวิทยาเสร็จแล้วมาผ่าดูหัวใจ พบว่ามีพยาธิสาระพัดพัวพันอัดกันแน่นอยู่ในหัวใจราวกับเส้นหมี่ผัดซีอิ้ว..บรื๊อว์)
ผมชวนคนไข้คุยว่า
"รู้สึกว่าคุณจะมีเส้นสายอยู่ในหัวใจหลายเส้นอยู่นะ"
(You seem to have quite a few leads in your heart)
คนไข้ตอบผมอย่างคนมีอารมณ์ขันว่า
"Yeh, cause those docs they know how to put things in but don't know how to pull things out"
(ช่าย..เพราะพวกหมอเขารู้แต่วิธีใส่แต่ไม่รู้วิธีถอดออก)
นี่คือสัจจธรรมเกี่ยวกับสายลวดต่างๆที่ใส่เข้าไปในหัวใจ คือมันเข้าง่ายออกยาก หมอที่เต็มใจจะลากออกให้คุณมีอยู่สองคนเท่านั้น คือหมอจบใหม่ กับ..พยาธิแพทย์ (หิ หิ พูดเล่น)
เอาละ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณอย่างเป็นทางการนะ
1. ถามว่าตั้งแต่ใส่เครื่องช็อกไฟฟ้าแบบฝังในมาห้าปีไม่เคยช็อกเลยสักจึ๊กเดียว ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจต่างๆก็ไม่มี คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ปกติมาตลอด จำเป็นต้องมีเครื่องช็อกไฟฟ้าฝังในไว้ไหม ตอบว่าไม่จำเป็นหรอกครับ
2. ถามว่านี่แบตเตอรี่เก่าจะหมดอายุรับประกันแล้ว หมอก็จะให้เปลี่ยนแบต แต่ใจไม่อยากเปลี่ยนแล้ว จะทำอย่างไรดี ตอบว่า ก็ไม่ต้องเปลี่ยนสิครับ อยู่กับแบตเก่านั่นแหละไป ไฟหมดก็คือหมด
3. ถามว่าทั้งเครื่องและสายถ้าแบตหมดแล้วก็ไร้ประโยชน์ เอาออกซะไม่ดีกว่าหรือ ตอบว่าดีครับ ถ้ามีคนยอมเอาออกให้คุณ
4. ถามว่าถ้าเป็นหมอสันต์มีเครื่อง AICD อยู่ในตัวและไม่ต้องการใช้แล้วจะทำอย่างไร ตอบว่าผมก็ปล่อยให้แบตหมด แล้วทิ้งมันไว้อย่างนั้นไม่เอาออกเพราะผมกลัวตายจากภาวะแทรกซ้อนจากการลากสายออก แต่ผมจะเขียนพินัยกรรมบอกลูกเมียไว้ว่าถ้าผมเดินทางไปถึงระยะสุดท้ายของชีวิต สมองฟั่นเฟือน สติเลอะเลือนแล้ว อย่าลืมให้หมอเขาดับไฟเครื่องกระตุ้นหัวใจผมด้วยนะ เพราะตอนผมจะตาย ขอผมตายดีๆหน่อย หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. F M Farooqi, S Talsania, S Hamid, C A Rinaldi Extraction of cardiac rhythm devices: indications, techniques and outcomes for the removal of pacemaker and defibrillator leads. Int. J. Clin. Pract.: 2010, 64(8);1140-7
...................................................
จดหมายจากผู้อ่าน
ถ้าสมองตายแล้วไม่ได้ดับไฟเคื่องกระตุ้นหัวใจ แล้วตายไม่ดี คือเป็นยังไงคะ?
ตอบครับ
เครื่องช็อกหัวใจแบบฝังในก่อปัญหาให้แก่คนใกล้ตายได้สองแบบคือ
1. ถ้าเครื่องใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบกลไกการปล่อยไฟฟ้าเสียอย่างสิ้นเชิง (complete heart block)ด้วย แม้สมองของคนไข้ตายไปแล้วแต่หัวใจจะไม่ยอมหยุดเต้น เพราะมันเต้นตามเครื่อง ทำให้หมอประกาศว่าตายแล้วไม่ได้เพราะคลื่นหัวใจยังมีหัวใจเต้นอยู่ ต้องเอาโปรแกรมเครื่องมาสั่งให้เครื่องหยุดปล่อยคลื่น ปัญหาคือโรงพยาบาลที่คนไข้ไปตายอาจจะไม่มีเครื่องสำหรับโปรแกรมคำสั่งเพราะเครื่องโปรแกรมคำสั่งนี้มีแต่ในศูนย์หัวใจที่เป็นผู้ใส่เครื่องเท่านั้น หรือบางทีมีเครื่องแต่หมอไม่ยอมสั่งให้เครื่องหยุดเพราะไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นคนทำให้คนไข้ตาย เดือดร้อนต้องให้ญาติเป็นคนหมุนปุ่มสั่งหยุดเอง ซึ่งเป็นการก่อความรู้สึกแย่ๆกับญาติได้มากเหมือนกัน ญาติบางคนก็ไม่กล้าทำ ก็เลยต้องยื้อกันต่อไปจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้
2. ในคนทั่วไปที่ประสงค์จะตายและใกล้จะตายจริงๆแล้ว หัวใจจะค่อยๆหยุดเต้น คลื่นจะเปลี่ยนจากคลื่นแบบปกติ (sinus) ไปเป็นหัวใจห้องล่างเต้นรัว (VF) ก่อนที่จะหยุดสนิท (stand still) แต่แค่ลงมาเป็น VF แค่นั้นแหละ เครื่องเจ้ากรรมนี้ก็จะช็อคคนไข้ปุ๊ง อีกสองนาที่ก็จะช็อกอีก ปุ้ง ปุ้ง ปุ้ง บางครั้งช็อกแล้วคลื่นไฟฟ้าก็กลับมาเป็น sinus ใหม่ ทำให้ตายไม่ได้สักที หรือตายยากตายเย็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์