น้ำมันทำอาหาร ไขมันในเลือด กับคุณขายอะไร
หน้าที่ประจำของผมอีกอันหนึ่งก็คือเป็นหมอประจำตัวของผู้ป่วยที่มาเข้าแค้มป์ป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตัวคุณเอง (RD camp) บางครั้งสมาชิกบางคนก็ถามปัญหาโดยวิธีเขียนมาเข้าไลน์ของกลุ่ม บางคำถามอย่างเช่นคำถามข้างล่างนี้ ผมเห็นว่าเป็นคำตอบที่ท่านผู้อ่านทั่วไปจะได้ประโยชน์ด้วย จึงก๊อปมาให้อ่านกัน
คุณหมอครับ
ผมส่งบทความนี้มาเข้ากลุ่ม อยากขอความเห็นของคุณหมอด้วยครับ ถ้าไม่มีเวลาอ่านผมสรุปประเด็นให้ว่า
1. ที่ว่าน้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเมื่อทอดได้ความร้อนจะกลายเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคหลอดเลือด คนกินมังสะวิรัติผัดทอดอาหารด้วยน้ำมันไม่อิ่มตัวจริงเป็นโรคหลอดเลือด จริงไหม
2. ที่ว่าสัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 และ 3 มีผลต่อสุขภาพ น้ำมันพืชไม่อิ่มตัวมีโอเมก้า 6 สูงควรลดการกินจริงไหม
3. ประเด็นเน้นเครื่องเทศว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด จริงไหม
4. ประเด็นควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง ดีต่อร่างกาย จริงไหม
5. ที่งานวิจัยเพ็นซิลวาเนียว่าสัดส่วนไขมันรวมหารด้วยไขมันดีทำนายโรคได้แม่นกว่าโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นจริงไหม
6. ที่ว่าเป้าหมายการป้องกันโรคไม่ใช่การลดโคเลสเตอรอลหรือ LDL แต่ควรเป็นการเพิ่ม HDL โดยการกินน้ำมันมะพร้าว จริงไหม
..............................................
ตอบครับ
ผมขอซอยประเด็นคำถามให้ย่อยลงไปอีกนะ เพราะคุณถามมาแยะ เดี๋ยวตัวผมเองจะงงเสียเอง
1.. ถามว่าที่เขาว่ากันว่าน้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลือง) เมื่อได้ความร้อนจะกลายเป็นไขมันทรานส์ จริงไหม ตอบว่าจริงครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรุงอาหารจนอุณหภูมิเพิ่มสูงถึงจุดเดือดของน้ำมัน (245 องศา กรณีน้ำมันถั่วเหลือง) มีงานวิจัยพิสูจน์เรื่องนี้ที่เมืองจีนพบว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกทำให้ร้อนมากมีส่วนหนึ่ง (ประมาณ 4%) กลายเป็นไขมันทรานส์
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “น้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลือง ไม่เหมาะที่จะใช้ปรุงอาหารแบบใช้ความร้อนสูงเช่นทอด หากจะใช้ปรุงอาหาร ควรใช้ปริมาณน้อยๆ ใช้ความร้อนต่ำๆ และให้เวลาน้ำมันสัมผัสความร้อนสั้นๆ หรือใช้น้ำมันพ่นทับหน้าอาหารหลังจากปรุงอาหารสุกแล้วด้วยน้ำหรือด้วยลมร้อนโดยไม่ใช้น้ำมัน หรือจะให้ดีที่ซู้ด..ไม่ใช้น้ำมันปรุงอาหารเลย”
2.. ถามว่าไขมันทรานส์เป็นไขมันก่อโรคหลอดเลือดใช่ไหม ตอบว่า "ใช่" แน่นอนชัวร์ป๊าด..ด ครับ ปัจจุบันในยุโรปและอเมริกาได้ออกกฎหมายใหม่ห้ามใช้ไขมันทรานส์ทำหารสำเร็จรูปขาย ระดับที่ยอมรับได้คือ “0” กรัม เท่านั้น โดยขีดเส้นตายไว้สามปีต้องเกลี้ยงหิ้ง นั่นก็คือสามปีจากนี้ไปเครื่องจักรและวัตถุดิบผลิตอาหารจากไขมันทรานส์จะถูกโละมาขายหรือมาผลิตในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยแลนด์อันเป็นที่รักของเรา
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ชั่วร้ายที่ซู้ด..ดในทางโภชนาการ มันมาสู่ตัวเราในรูปของครีมเทียมในกาแฟทรีอินวัน (ไม่ใช่ตัวกาแฟ) เนยเทียม เค้ก คุ้กกี้ ขนมกรุบกรอบ และอาหารบรรจุเสร็จในกล่องในซองต่างๆ และสามปีข้างหน้านี้มันจะมากันมากขึ้น และราคามันจะถูกลง ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน เอ๊ย ไม่ใช่ ท่านดูแลตัวเองให้ชีวิตปลอดไขมันทรานส์ไว้ก็จะดีนะครับ”
3.. ถามว่าคนกินมังสะวิรัติที่ผัดทอดอาหารด้วยน้ำมันไม่อิ่มตัว จะเป็นโรคหลอดเลือดมากขึ้นจริงไหม ตอบว่า คนกินไขมันมาก ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากน้ำมันชนิดไหนก็จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็งมากขึ้นด้วยกันทั้งนั้นแหละครับ เพราะน้ำมันในอาหารทุกชนิดล้วนเพิ่มไขมันในเลือดมากบ้างน้อยบ้าง รวมทั้งคนกินมังสะวิรัติในเวอร์ชั่นน้ำมันเยิ้มด้วย ไม่ว่าจะเยิ้มด้วยน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันแกลบ น้ำมันรำ น้ำมันมะกอก น้ำมันปาลม์ หรือน้ำมันมะพร้าว นี่ผมสรุปบนพื้นฐานหลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูง หมายถึงระดับที่ทำวิจัยในคนจริงๆโดยเอาผลลัพธ์ (out come) ของโรคเป็นตัวชี้วัด ซึ่งสรุปได้ชัดแล้วว่าไขมันในอาหารนำไปสู่ไขมันในเลือดสูง แล้วนำไปสู่การบาดเจ็บหรืออักเสบและสูญเสียการทำงานของหลอดเลือด แล้วก็นำไปสู่จุดจบที่เลวร้ายของโรคหลอดเลือด
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “คนที่อ้วนหรือไขมันในเลือดสูง ควรกินอาหารที่มีไขมันให้น้อยที่สุด ไม่ใช้น้ำมันผัดทอดอาหารเลยยิ่งดี ไม่ว่าน้ำมันอะไรก็ไม่ต้องใช้ท้ังนั้น แล้วไม่ต้องกล้วชีวิตจะขาดไขมัน เพราะท่านจะได้ไขมันจากอาหารธรรมชาติเช่นถั่วต่างๆและนัทเพียบอยู่แล้ว"...
4.. ถามว่าคนกินมังสะวิรัติดังๆอย่างพลตรี.. และด๊อกเตอร์... ป่วยเป็นโรคหลอดเลือด แสดงว่าคนกินมังสะวิรัติชอบป่วยเป็นโรคหลอดเลือดจริงไหม ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ การป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเป็นโรคพื้นฐานของโรคหัวใจและอัมพาตนั้น เกิดจากปัจจัยเสี่ยงของโรค ได้แก่
(1) สูบบุหรี่
(2) มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากการกินไขมันในอาหารมาก
(3) มีความดันเลือดสูง
(4) เป็นเบาหวาน
(5) ไม่ได้ออกกำลังกาย
(6) มีสารโฮโมซีสเตอีน (homocysteine)ในเลือดสูง ซึ่งสารตัวนี้จะคั่งในร่างกายเมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายได้จากอาหารเนื้อสัตว์ ไม่ได้จากอาหารพืช
(7) มีพันธุกรรม
คนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง ไม่ว่าคนไหน ไล่ไปเถอะ จะตั้งต้นด้วยปัจจัยเสี่ยงไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่งในเจ็ดตัวนี้แหละ แต่ว่าท่านไหนเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอะไร โดยจริยธรรมของแพทย์แล้วถึงผมรู้ผมก็ไม่เอามาป่าวประกาศหรอกครับ
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “คนกินอาหารมังสะวิรัติมีโอกาสขาดวิตามินบี.12 มากกว่าคนทั่วไป ควรกินวิตามินบี.12 เสริม เพราะการขาดวิตามินบี.12 จะนำไปสู่การคั่งของสารโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดได้.."
5.. ถามว่าการที่สัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 มากๆมีผลเสียต่อสุขภาพ จึงควรลดการกินน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวซึ่งสัดส่วนของโอเมก้า 6 สูงจริงหรือไม่ ตอบว่าจริงหรือไม่ไม่มีใครทราบหรอกครับ เพราะ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจากการวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบที่เชื่อถือได้ มีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาบ่งชี้เลาๆว่าชาติพันธ์ที่กินอาหารมีสัดส่วนของไขมันโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 ในเลือดไม่ต่างกันมาก จะเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดน้อยกว่าชาติพันธ์ที่มีสัดส่วนของไขมันโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 มากๆ ประกอบกับข้อมูลในห้องแล็บบ่งชี้ไปทางว่าไขมันโอเมก้า 3 มีฤทธิต่อต้านการอักเสบได้ ทำให้มู้ดของคนทั่วไปสวิงไปทางที่จะกินไขมันโอเมก้า 3 มากๆ และลดการกินไขมันโอเมก้า 6 ลง
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ชาติพันธ์ที่อาหารของเขามีสัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 ต่อ 3 ใกล้เคียงกันนั้นเป็นชาติพันธ์ที่ส่วนใหญ่กินอาหารพืชเป็นหลัก รวมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆและนัทด้วย โดยกินในรูปแบบอาหารจากธรรมชาติ ไม่สกัดออกมาเป็นน้ำมัน ถ้าท่านจะเอาความรู้ข้อนี้ไปใช้ก็กินแบบเขาเถอะครับ อย่าไปพยายามกินน้ำมันที่เขาสกัดออกมาขายเลย เพราะไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่ามีประโยชน์อะไร"
6.. ถามว่าเครื่องเทศและพืชสมุนไพรเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด จริงไหม ตอบว่าจริงครับ และคนเขาก็รู้กันทั่วไป และมารตฐานทางโภชนาการทุกสำนักมาตรฐานก็แนะนำให้กินเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมากขึ้น
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “เครื่องเทศและพืชสมุนไพรเป็นของดีและเป็นเอกลักษณ์สำหรับกะเหรี่ยงอย่างเรา จึงควรกินให้มากๆเป็นนิสัย ทั้งกระเทียม หัวหอม พริก ขิง ข่า ขมิ้น ฯลฯ"
7.. ถามว่าควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะผลไม้และผักทำให้ร่างกายมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้สุขภาพดีขึ้น จริงไหม ตอบว่า เอาทีละประเด็นนะ
ประเด็นกินผลไม้และผักมากๆสุขภาพดีขึ้นจริงไหมตอบว่าจริงครับ ทุกงานวิจัยให้ผลในเรื่องนี้เหมือนกันเป็นเอกฉันท์ แทบจะเป็นประเด็นเดียวในทางโภชนาการที่ได้ผลวิจัยสอดคล้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ก็ว่าได้
ประเด็นผลไม้และผักมีความเป็นด่าง จริงไหม ตอบว่าจริงครับ เมื่อเทียบกับอาหารเนื้อสัตว์
ประเด็นความเป็นด่างทำให้สุขภาพกายดีขึ้นจริงไหม ตอบว่าจริงครับ ถ้าใช้ตัวชี้วัดบางตัวเช่นไขมันในเลือดเป็นตัวบอกนิยามว่าสุขภาพดี หมายความว่างานวิจัยเพิ่มอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นด่างทำให้ไขมันในเลือดลดลงระดับหนึ่ง
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ไม่ต้องเดือดร้อนไปซื้อน้ำด่่างกิน หรือซื้อกระดาษมาวัดความเป็นกรดด่างปัสสาวะตัวเองหรอกครับ แค่ให้กินผักผลไม้และพืชเยอะๆ จะทำให้สุขภาพดีในทุกมุมมองและทุกตัวชี้วัดแน่นอน"
8.. ถามว่างานวิจัยเพ็นซิลวาเนียที่ว่าสัดส่วนไขมันรวม หารด้วยไขมันดี (Chol/HDL) ถ้าต่ำจะทำนายโรคได้แม่นกว่าโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นจริงไหม ตอบว่า "จริง" ในเชิงคณิตศาสตร์ของระบาดวิทยา แต่ว่ามันเป็นความแตกต่างที่เล็กน้อยจนไม่มีประโยชน์อะไรในทางปฏิบัติ เพราะหากไขมันเลว LDL สูง ก็จะทำให้ค่าโคเลสเตอรอลรวมสูง ผลหารออกมาก็จะสูง (คือแย่) ตามกันไปอยู่ดีแม้ว่าไขมันดี HDL จะเท่าเดิมก็ตาม อีกประการหนึ่ง นี่เป็นแค่ประเด็นการทำนายโรค ไม่ใช่ประเด็นการเปลี่ยนผลลัพธ์ (outcome) ของโรคนะ
ในแง่ของการเปลี่ยนผลลัพธ์ของโรค ปัจจุบันนี้แพทย์ใช้ไขมันเลวในเลือด (LDL) เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนผลลัพธ์ของโรค เนื่องจากไขมันเลวในเลือด (LDL) มันสัมพันธ์แน่นอนกับอาหารไขมันที่เรากิน (อาหารไขมันทุกชนิดเพิ่ม LDL ทั้งนั้นมากบ้างน้อยบ้าง) และสัมพันธ์แน่นอนกับยาลดไขมันที่เรากิน และสัมพันธ์ค่อนข้างแน่นอนกับการเป็นโรค จนเราใช้มันเป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนอาหารและปรับเปลี่ยนขนาดยาจนนำไปสู่ผลดีต่อโรคในงานวิจัยระดับสูงจำนวนมาก
ขณะที่ HDL มีความสัมพันธ์มากกับอุบัติการณ์ของโรคก็จริง แต่มีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับการออกกำลังกาย ยิ่งมีความสัมพันธ์น้อยมากกับอาหารและระดับยาลดไขมันที่กิน วงการแพทย์จึงไม่นิยมใช้ HDL เป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนอาหารหรือปรับขนาดยาหรือปรับเปลี่ยนสไตล์การใช้ชีวิตเลย
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “จะเอาอะไรวัดว่าไขมันในเลือดสูงนั้นไม่สำคัญ เพราะถ้ากินไขมันมาก ไม่ว่าจะวัดด้วยตัวไหนมันก็บ่งชี้ว่ามีความเสียงสูงอยู่วันยังค่ำ กรณีไปเจาะเลือดที่รพ. ให้ใช้ค่าโคเลสเตอรอลหรือไขมันเลว LDL ตัวใดตัวหนึ่งก็ใช้ได้แล้ว ความสำคัญอยู่ที่เมื่อไหร่ท่านจะปรับลดไขมันในอาหารให้ไขมันในเลือดมันลงต่ำเสียที.."
9.. ถามว่าที่เขาว่าเป้าหมายการป้องกันและรักษาโรคไม่ใช่การลดโคเลสเตอรอลหรือลดไขมันเลว LDL แต่ควรเป็นการเพิ่มไขมันดี HDL จริงไหม ตอบว่า ไม่จริงครับ เป้าหมายของการป้องกันและรักษาโรค ไม่ใช่ทั้งการพยายามลดไขมันเลวในเลือดหรือการพยายามเพิ่มไขมันดีในเลือดซึ่งเป็นเพียงตัวเลขเชิงคณิตศาสตร์ แต่เป็นการปรับอาหารการกินและการใช้ชีวิตไปในทิศทางที่ทำให้ไม่เป็นโรคหรือถ้าเป็นโรคแล้วก็ทำให้โรคหาย (total lifestyle modification) เพราะความเป็นไปบนร่างกายเรานี้มันซับซ้อนไม่ใช่จะวัดง่ายๆด้วยคณิตศาสตร์บรรทัดเดียวหรือด้วยตัวเลขสองสามตัว การแก้ไขคณิตศาสตร์ไม่ได้แก้ไขปัญหาของร่างกายโดยรวม ผลวิจัยระดับสูงที่ทำในคนจริงๆสรุปได้ว่าการจะไม่เป็นโรคหรือหายจากโรคหัวใจหลอดเลือด อยู่ที่สี่อย่างคือ
(1) อาหาร
(2) การออกกำลังกาย
(3) การจัดการความเครียด และ
(4) การมีการเกื้อหนุนกันทางสังคมที่ดี
การปรับอาหารนั้นหมายถึงการกินอาหารที่มีพืชเป็นหลัก (plant based) และเป็นอาหารที่อยู่ในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ (whole food) ไม่ใช่อาหารที่สกัดหรือขัดสีเอาแต่แคลอรี่เน้นๆออกมากิน อย่างเช่นคุณกินถั่วเหลืองต้ม นี่เป็น whole food ซึ่งดีที่สุด แต่ถ้าคุณดื่มน้ำเต้าหู้ นี่เป็นการสกัดเล็กๆแล้ว ถือว่าของดีๆค่อยๆลดลงไป แต่ถ้าคุณกินน้ำมันถั่วเหลือง นี่เป็นการสกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมาแล้ว ของดีไม่เหลือ แทบจะเหลือแต่แคลอรี่ หรือเช่นคุณกินมะพร้าวทั้งลูก นี่เป็น whole food ซึ่งถือว่าดี แต่ถ้าคุณกินกะทิ นี่เป็นการสกัดน้อยๆแล้ว ความดีก็ลดลงไป แต่ถ้าคุณกินน้ำมันมะพร้าว นี่เป็นผลจากการสกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมา ถือว่าไม่ดี อาหารที่สกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมากินในชีวิตประจำวันของเรามีสองอย่างเท่านั้น คือ “น้ำตาล” กับ “น้ำมัน” ส่วนอาหารขัดสีในชีวิตประจำวันก็คือ “ข้าวขาว” กับ “แป้งขัดขาว” ซึ่งข้อมูลปัจจุบันบอกเราว่าอาหารที่สกัดหรือขัดสีทำให้เราป่วยด้วยโรคแคลอรี่มากเกินแต่ขาดสารอาหารที่มีคุณค่าเช่นสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลาย
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ตัวชี้วัดสุขภาพในภาพใหญ่มีเจ็ดตัว คือ (1)น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) น้ำตาล (5) การออกกำลังกาย (6) การกินพืชผักผลไม้ (7) การสูบุรหรี่ ให้ท่านสนใจมองสุขภาพในภาพใหญ่ด้วยตัวชี้วัดทั้งเจ็ดตัวนี้ดีกว่าไปสนใจจุดเล็กว่าวัดไขมันด้วยตัวนั้นดีกว่าตัวนี้"
10. ถามว่าที่เขาแนะนำให้กินน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มไขมันดี HDL แล้วจะทำป้องกันและรักษาโรคหัวใจหลอดเลือดได้นั้นจริงไหม ตอบว่า ฮั่นแน่..พูดกันมาตั้งนาน เพิ่งรู้ว่าคุณอยากขายอะไร หิ หิ ผมแยกตอบเป็นสองข้อนะ
ข้อที่ว่าน้ำมันอิ่มตัวอย่างน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู เพิ่มไขมันดี HDL ในเลือดได้เล็กน้อย นี่เป็นความจริง แต่มันก็เพิ่มไขมันเลว LDL ด้วยนะ
ส่วนข้อที่ว่ากินน้ำมันมะพร้าวแล้วจะป้องกันและรักษาโรคหัวใจได้นั้น ไม่เป็นความจริง อย่างน้อยนับถึงวันนี้ผมก็ยังไม่เห็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูงแม้แต่ชิ้นเดียวที่จะบอกว่าน้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคหัวใจได้ มีแต่คนพยายามเอาความจริงกระท่อนกระแท่นที่อาจจะไม่เกี่ยวกันเลยมาต่อกันแบบตรรกะ ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบว่า
“..ไขมันดี HDL สัมพันธ์กับการเป็นโรคหัวใจต่ำ
น้ำมันมะพร้าวเพิ่ม HDL
น้ำมันมะพร้าวจึงป้องกันรักษาโรคหัวใจได้...”
คนทั่วไปที่แยกตรรกะกับวิทยาศาสตร์ไม่ออกฟังแล้วอาจจะบอกว่าเออ เข้าท่านะ เอาใหม่นะ คราวนี้ผมพูดว่า
“..การฆ่าสิ่งมีชีวิตเนี่ยเป็นบาป
โบราณว่าฆ่าแมวเนี่ยเท่ากับฆ่าพระเลยนะ
ดังนั้นฆ่าพระองค์หนึ่งก็บาปเท่ากับฆ่าแมวตัวเดียวเท่านั้นเอง..”
คราวนี้คุณถึงบางอ้อหรือยังว่าตรรกะกับวิทยาศาสตร์ต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุณหมอครับ
ผมส่งบทความนี้มาเข้ากลุ่ม อยากขอความเห็นของคุณหมอด้วยครับ ถ้าไม่มีเวลาอ่านผมสรุปประเด็นให้ว่า
1. ที่ว่าน้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเมื่อทอดได้ความร้อนจะกลายเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคหลอดเลือด คนกินมังสะวิรัติผัดทอดอาหารด้วยน้ำมันไม่อิ่มตัวจริงเป็นโรคหลอดเลือด จริงไหม
2. ที่ว่าสัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 และ 3 มีผลต่อสุขภาพ น้ำมันพืชไม่อิ่มตัวมีโอเมก้า 6 สูงควรลดการกินจริงไหม
3. ประเด็นเน้นเครื่องเทศว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด จริงไหม
4. ประเด็นควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง ดีต่อร่างกาย จริงไหม
5. ที่งานวิจัยเพ็นซิลวาเนียว่าสัดส่วนไขมันรวมหารด้วยไขมันดีทำนายโรคได้แม่นกว่าโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นจริงไหม
6. ที่ว่าเป้าหมายการป้องกันโรคไม่ใช่การลดโคเลสเตอรอลหรือ LDL แต่ควรเป็นการเพิ่ม HDL โดยการกินน้ำมันมะพร้าว จริงไหม
..............................................
ตอบครับ
ผมขอซอยประเด็นคำถามให้ย่อยลงไปอีกนะ เพราะคุณถามมาแยะ เดี๋ยวตัวผมเองจะงงเสียเอง
1.. ถามว่าที่เขาว่ากันว่าน้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลือง) เมื่อได้ความร้อนจะกลายเป็นไขมันทรานส์ จริงไหม ตอบว่าจริงครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรุงอาหารจนอุณหภูมิเพิ่มสูงถึงจุดเดือดของน้ำมัน (245 องศา กรณีน้ำมันถั่วเหลือง) มีงานวิจัยพิสูจน์เรื่องนี้ที่เมืองจีนพบว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกทำให้ร้อนมากมีส่วนหนึ่ง (ประมาณ 4%) กลายเป็นไขมันทรานส์
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “น้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลือง ไม่เหมาะที่จะใช้ปรุงอาหารแบบใช้ความร้อนสูงเช่นทอด หากจะใช้ปรุงอาหาร ควรใช้ปริมาณน้อยๆ ใช้ความร้อนต่ำๆ และให้เวลาน้ำมันสัมผัสความร้อนสั้นๆ หรือใช้น้ำมันพ่นทับหน้าอาหารหลังจากปรุงอาหารสุกแล้วด้วยน้ำหรือด้วยลมร้อนโดยไม่ใช้น้ำมัน หรือจะให้ดีที่ซู้ด..ไม่ใช้น้ำมันปรุงอาหารเลย”
2.. ถามว่าไขมันทรานส์เป็นไขมันก่อโรคหลอดเลือดใช่ไหม ตอบว่า "ใช่" แน่นอนชัวร์ป๊าด..ด ครับ ปัจจุบันในยุโรปและอเมริกาได้ออกกฎหมายใหม่ห้ามใช้ไขมันทรานส์ทำหารสำเร็จรูปขาย ระดับที่ยอมรับได้คือ “0” กรัม เท่านั้น โดยขีดเส้นตายไว้สามปีต้องเกลี้ยงหิ้ง นั่นก็คือสามปีจากนี้ไปเครื่องจักรและวัตถุดิบผลิตอาหารจากไขมันทรานส์จะถูกโละมาขายหรือมาผลิตในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยแลนด์อันเป็นที่รักของเรา
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ชั่วร้ายที่ซู้ด..ดในทางโภชนาการ มันมาสู่ตัวเราในรูปของครีมเทียมในกาแฟทรีอินวัน (ไม่ใช่ตัวกาแฟ) เนยเทียม เค้ก คุ้กกี้ ขนมกรุบกรอบ และอาหารบรรจุเสร็จในกล่องในซองต่างๆ และสามปีข้างหน้านี้มันจะมากันมากขึ้น และราคามันจะถูกลง ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน เอ๊ย ไม่ใช่ ท่านดูแลตัวเองให้ชีวิตปลอดไขมันทรานส์ไว้ก็จะดีนะครับ”
3.. ถามว่าคนกินมังสะวิรัติที่ผัดทอดอาหารด้วยน้ำมันไม่อิ่มตัว จะเป็นโรคหลอดเลือดมากขึ้นจริงไหม ตอบว่า คนกินไขมันมาก ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากน้ำมันชนิดไหนก็จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็งมากขึ้นด้วยกันทั้งนั้นแหละครับ เพราะน้ำมันในอาหารทุกชนิดล้วนเพิ่มไขมันในเลือดมากบ้างน้อยบ้าง รวมทั้งคนกินมังสะวิรัติในเวอร์ชั่นน้ำมันเยิ้มด้วย ไม่ว่าจะเยิ้มด้วยน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันแกลบ น้ำมันรำ น้ำมันมะกอก น้ำมันปาลม์ หรือน้ำมันมะพร้าว นี่ผมสรุปบนพื้นฐานหลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูง หมายถึงระดับที่ทำวิจัยในคนจริงๆโดยเอาผลลัพธ์ (out come) ของโรคเป็นตัวชี้วัด ซึ่งสรุปได้ชัดแล้วว่าไขมันในอาหารนำไปสู่ไขมันในเลือดสูง แล้วนำไปสู่การบาดเจ็บหรืออักเสบและสูญเสียการทำงานของหลอดเลือด แล้วก็นำไปสู่จุดจบที่เลวร้ายของโรคหลอดเลือด
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “คนที่อ้วนหรือไขมันในเลือดสูง ควรกินอาหารที่มีไขมันให้น้อยที่สุด ไม่ใช้น้ำมันผัดทอดอาหารเลยยิ่งดี ไม่ว่าน้ำมันอะไรก็ไม่ต้องใช้ท้ังนั้น แล้วไม่ต้องกล้วชีวิตจะขาดไขมัน เพราะท่านจะได้ไขมันจากอาหารธรรมชาติเช่นถั่วต่างๆและนัทเพียบอยู่แล้ว"...
4.. ถามว่าคนกินมังสะวิรัติดังๆอย่างพลตรี.. และด๊อกเตอร์... ป่วยเป็นโรคหลอดเลือด แสดงว่าคนกินมังสะวิรัติชอบป่วยเป็นโรคหลอดเลือดจริงไหม ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ การป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเป็นโรคพื้นฐานของโรคหัวใจและอัมพาตนั้น เกิดจากปัจจัยเสี่ยงของโรค ได้แก่
(1) สูบบุหรี่
(2) มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากการกินไขมันในอาหารมาก
(3) มีความดันเลือดสูง
(4) เป็นเบาหวาน
(5) ไม่ได้ออกกำลังกาย
(6) มีสารโฮโมซีสเตอีน (homocysteine)ในเลือดสูง ซึ่งสารตัวนี้จะคั่งในร่างกายเมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายได้จากอาหารเนื้อสัตว์ ไม่ได้จากอาหารพืช
(7) มีพันธุกรรม
คนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง ไม่ว่าคนไหน ไล่ไปเถอะ จะตั้งต้นด้วยปัจจัยเสี่ยงไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่งในเจ็ดตัวนี้แหละ แต่ว่าท่านไหนเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอะไร โดยจริยธรรมของแพทย์แล้วถึงผมรู้ผมก็ไม่เอามาป่าวประกาศหรอกครับ
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “คนกินอาหารมังสะวิรัติมีโอกาสขาดวิตามินบี.12 มากกว่าคนทั่วไป ควรกินวิตามินบี.12 เสริม เพราะการขาดวิตามินบี.12 จะนำไปสู่การคั่งของสารโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดได้.."
5.. ถามว่าการที่สัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 มากๆมีผลเสียต่อสุขภาพ จึงควรลดการกินน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวซึ่งสัดส่วนของโอเมก้า 6 สูงจริงหรือไม่ ตอบว่าจริงหรือไม่ไม่มีใครทราบหรอกครับ เพราะ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจากการวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบที่เชื่อถือได้ มีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาบ่งชี้เลาๆว่าชาติพันธ์ที่กินอาหารมีสัดส่วนของไขมันโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 ในเลือดไม่ต่างกันมาก จะเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดน้อยกว่าชาติพันธ์ที่มีสัดส่วนของไขมันโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 มากๆ ประกอบกับข้อมูลในห้องแล็บบ่งชี้ไปทางว่าไขมันโอเมก้า 3 มีฤทธิต่อต้านการอักเสบได้ ทำให้มู้ดของคนทั่วไปสวิงไปทางที่จะกินไขมันโอเมก้า 3 มากๆ และลดการกินไขมันโอเมก้า 6 ลง
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ชาติพันธ์ที่อาหารของเขามีสัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 ต่อ 3 ใกล้เคียงกันนั้นเป็นชาติพันธ์ที่ส่วนใหญ่กินอาหารพืชเป็นหลัก รวมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆและนัทด้วย โดยกินในรูปแบบอาหารจากธรรมชาติ ไม่สกัดออกมาเป็นน้ำมัน ถ้าท่านจะเอาความรู้ข้อนี้ไปใช้ก็กินแบบเขาเถอะครับ อย่าไปพยายามกินน้ำมันที่เขาสกัดออกมาขายเลย เพราะไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่ามีประโยชน์อะไร"
6.. ถามว่าเครื่องเทศและพืชสมุนไพรเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด จริงไหม ตอบว่าจริงครับ และคนเขาก็รู้กันทั่วไป และมารตฐานทางโภชนาการทุกสำนักมาตรฐานก็แนะนำให้กินเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมากขึ้น
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “เครื่องเทศและพืชสมุนไพรเป็นของดีและเป็นเอกลักษณ์สำหรับกะเหรี่ยงอย่างเรา จึงควรกินให้มากๆเป็นนิสัย ทั้งกระเทียม หัวหอม พริก ขิง ข่า ขมิ้น ฯลฯ"
7.. ถามว่าควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะผลไม้และผักทำให้ร่างกายมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้สุขภาพดีขึ้น จริงไหม ตอบว่า เอาทีละประเด็นนะ
ประเด็นกินผลไม้และผักมากๆสุขภาพดีขึ้นจริงไหมตอบว่าจริงครับ ทุกงานวิจัยให้ผลในเรื่องนี้เหมือนกันเป็นเอกฉันท์ แทบจะเป็นประเด็นเดียวในทางโภชนาการที่ได้ผลวิจัยสอดคล้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ก็ว่าได้
ประเด็นผลไม้และผักมีความเป็นด่าง จริงไหม ตอบว่าจริงครับ เมื่อเทียบกับอาหารเนื้อสัตว์
ประเด็นความเป็นด่างทำให้สุขภาพกายดีขึ้นจริงไหม ตอบว่าจริงครับ ถ้าใช้ตัวชี้วัดบางตัวเช่นไขมันในเลือดเป็นตัวบอกนิยามว่าสุขภาพดี หมายความว่างานวิจัยเพิ่มอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นด่างทำให้ไขมันในเลือดลดลงระดับหนึ่ง
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ไม่ต้องเดือดร้อนไปซื้อน้ำด่่างกิน หรือซื้อกระดาษมาวัดความเป็นกรดด่างปัสสาวะตัวเองหรอกครับ แค่ให้กินผักผลไม้และพืชเยอะๆ จะทำให้สุขภาพดีในทุกมุมมองและทุกตัวชี้วัดแน่นอน"
8.. ถามว่างานวิจัยเพ็นซิลวาเนียที่ว่าสัดส่วนไขมันรวม หารด้วยไขมันดี (Chol/HDL) ถ้าต่ำจะทำนายโรคได้แม่นกว่าโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นจริงไหม ตอบว่า "จริง" ในเชิงคณิตศาสตร์ของระบาดวิทยา แต่ว่ามันเป็นความแตกต่างที่เล็กน้อยจนไม่มีประโยชน์อะไรในทางปฏิบัติ เพราะหากไขมันเลว LDL สูง ก็จะทำให้ค่าโคเลสเตอรอลรวมสูง ผลหารออกมาก็จะสูง (คือแย่) ตามกันไปอยู่ดีแม้ว่าไขมันดี HDL จะเท่าเดิมก็ตาม อีกประการหนึ่ง นี่เป็นแค่ประเด็นการทำนายโรค ไม่ใช่ประเด็นการเปลี่ยนผลลัพธ์ (outcome) ของโรคนะ
ในแง่ของการเปลี่ยนผลลัพธ์ของโรค ปัจจุบันนี้แพทย์ใช้ไขมันเลวในเลือด (LDL) เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนผลลัพธ์ของโรค เนื่องจากไขมันเลวในเลือด (LDL) มันสัมพันธ์แน่นอนกับอาหารไขมันที่เรากิน (อาหารไขมันทุกชนิดเพิ่ม LDL ทั้งนั้นมากบ้างน้อยบ้าง) และสัมพันธ์แน่นอนกับยาลดไขมันที่เรากิน และสัมพันธ์ค่อนข้างแน่นอนกับการเป็นโรค จนเราใช้มันเป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนอาหารและปรับเปลี่ยนขนาดยาจนนำไปสู่ผลดีต่อโรคในงานวิจัยระดับสูงจำนวนมาก
ขณะที่ HDL มีความสัมพันธ์มากกับอุบัติการณ์ของโรคก็จริง แต่มีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับการออกกำลังกาย ยิ่งมีความสัมพันธ์น้อยมากกับอาหารและระดับยาลดไขมันที่กิน วงการแพทย์จึงไม่นิยมใช้ HDL เป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนอาหารหรือปรับขนาดยาหรือปรับเปลี่ยนสไตล์การใช้ชีวิตเลย
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “จะเอาอะไรวัดว่าไขมันในเลือดสูงนั้นไม่สำคัญ เพราะถ้ากินไขมันมาก ไม่ว่าจะวัดด้วยตัวไหนมันก็บ่งชี้ว่ามีความเสียงสูงอยู่วันยังค่ำ กรณีไปเจาะเลือดที่รพ. ให้ใช้ค่าโคเลสเตอรอลหรือไขมันเลว LDL ตัวใดตัวหนึ่งก็ใช้ได้แล้ว ความสำคัญอยู่ที่เมื่อไหร่ท่านจะปรับลดไขมันในอาหารให้ไขมันในเลือดมันลงต่ำเสียที.."
9.. ถามว่าที่เขาว่าเป้าหมายการป้องกันและรักษาโรคไม่ใช่การลดโคเลสเตอรอลหรือลดไขมันเลว LDL แต่ควรเป็นการเพิ่มไขมันดี HDL จริงไหม ตอบว่า ไม่จริงครับ เป้าหมายของการป้องกันและรักษาโรค ไม่ใช่ทั้งการพยายามลดไขมันเลวในเลือดหรือการพยายามเพิ่มไขมันดีในเลือดซึ่งเป็นเพียงตัวเลขเชิงคณิตศาสตร์ แต่เป็นการปรับอาหารการกินและการใช้ชีวิตไปในทิศทางที่ทำให้ไม่เป็นโรคหรือถ้าเป็นโรคแล้วก็ทำให้โรคหาย (total lifestyle modification) เพราะความเป็นไปบนร่างกายเรานี้มันซับซ้อนไม่ใช่จะวัดง่ายๆด้วยคณิตศาสตร์บรรทัดเดียวหรือด้วยตัวเลขสองสามตัว การแก้ไขคณิตศาสตร์ไม่ได้แก้ไขปัญหาของร่างกายโดยรวม ผลวิจัยระดับสูงที่ทำในคนจริงๆสรุปได้ว่าการจะไม่เป็นโรคหรือหายจากโรคหัวใจหลอดเลือด อยู่ที่สี่อย่างคือ
(1) อาหาร
(2) การออกกำลังกาย
(3) การจัดการความเครียด และ
(4) การมีการเกื้อหนุนกันทางสังคมที่ดี
การปรับอาหารนั้นหมายถึงการกินอาหารที่มีพืชเป็นหลัก (plant based) และเป็นอาหารที่อยู่ในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ (whole food) ไม่ใช่อาหารที่สกัดหรือขัดสีเอาแต่แคลอรี่เน้นๆออกมากิน อย่างเช่นคุณกินถั่วเหลืองต้ม นี่เป็น whole food ซึ่งดีที่สุด แต่ถ้าคุณดื่มน้ำเต้าหู้ นี่เป็นการสกัดเล็กๆแล้ว ถือว่าของดีๆค่อยๆลดลงไป แต่ถ้าคุณกินน้ำมันถั่วเหลือง นี่เป็นการสกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมาแล้ว ของดีไม่เหลือ แทบจะเหลือแต่แคลอรี่ หรือเช่นคุณกินมะพร้าวทั้งลูก นี่เป็น whole food ซึ่งถือว่าดี แต่ถ้าคุณกินกะทิ นี่เป็นการสกัดน้อยๆแล้ว ความดีก็ลดลงไป แต่ถ้าคุณกินน้ำมันมะพร้าว นี่เป็นผลจากการสกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมา ถือว่าไม่ดี อาหารที่สกัดเอาแต่แคลอรี่ข้นๆออกมากินในชีวิตประจำวันของเรามีสองอย่างเท่านั้น คือ “น้ำตาล” กับ “น้ำมัน” ส่วนอาหารขัดสีในชีวิตประจำวันก็คือ “ข้าวขาว” กับ “แป้งขัดขาว” ซึ่งข้อมูลปัจจุบันบอกเราว่าอาหารที่สกัดหรือขัดสีทำให้เราป่วยด้วยโรคแคลอรี่มากเกินแต่ขาดสารอาหารที่มีคุณค่าเช่นสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลาย
คำตอบข้อนี้ ส่วนที่ท่านผู้อ่านจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้คือ หมอสันต์แนะนำว่า “ตัวชี้วัดสุขภาพในภาพใหญ่มีเจ็ดตัว คือ (1)น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) น้ำตาล (5) การออกกำลังกาย (6) การกินพืชผักผลไม้ (7) การสูบุรหรี่ ให้ท่านสนใจมองสุขภาพในภาพใหญ่ด้วยตัวชี้วัดทั้งเจ็ดตัวนี้ดีกว่าไปสนใจจุดเล็กว่าวัดไขมันด้วยตัวนั้นดีกว่าตัวนี้"
10. ถามว่าที่เขาแนะนำให้กินน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มไขมันดี HDL แล้วจะทำป้องกันและรักษาโรคหัวใจหลอดเลือดได้นั้นจริงไหม ตอบว่า ฮั่นแน่..พูดกันมาตั้งนาน เพิ่งรู้ว่าคุณอยากขายอะไร หิ หิ ผมแยกตอบเป็นสองข้อนะ
ข้อที่ว่าน้ำมันอิ่มตัวอย่างน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู เพิ่มไขมันดี HDL ในเลือดได้เล็กน้อย นี่เป็นความจริง แต่มันก็เพิ่มไขมันเลว LDL ด้วยนะ
ส่วนข้อที่ว่ากินน้ำมันมะพร้าวแล้วจะป้องกันและรักษาโรคหัวใจได้นั้น ไม่เป็นความจริง อย่างน้อยนับถึงวันนี้ผมก็ยังไม่เห็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูงแม้แต่ชิ้นเดียวที่จะบอกว่าน้ำมันมะพร้าวป้องกันและรักษาโรคหัวใจได้ มีแต่คนพยายามเอาความจริงกระท่อนกระแท่นที่อาจจะไม่เกี่ยวกันเลยมาต่อกันแบบตรรกะ ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบว่า
“..ไขมันดี HDL สัมพันธ์กับการเป็นโรคหัวใจต่ำ
น้ำมันมะพร้าวเพิ่ม HDL
น้ำมันมะพร้าวจึงป้องกันรักษาโรคหัวใจได้...”
คนทั่วไปที่แยกตรรกะกับวิทยาศาสตร์ไม่ออกฟังแล้วอาจจะบอกว่าเออ เข้าท่านะ เอาใหม่นะ คราวนี้ผมพูดว่า
“..การฆ่าสิ่งมีชีวิตเนี่ยเป็นบาป
โบราณว่าฆ่าแมวเนี่ยเท่ากับฆ่าพระเลยนะ
ดังนั้นฆ่าพระองค์หนึ่งก็บาปเท่ากับฆ่าแมวตัวเดียวเท่านั้นเอง..”
คราวนี้คุณถึงบางอ้อหรือยังว่าตรรกะกับวิทยาศาสตร์ต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์