อยากให้เขากอด (Hug therapy)
“..อยากให้เขากอด สวมสอด ซบทรวงเป็นสุข
อยากให้เขาปลุก ฉันตื่น จากความฝัน
อยากให้เขาจูบ แผ่ว แผ่ว แล้วมองตากัน
อยากให้เขา รักฉัน มากกว่าใคร
ฝันของฉัน จะมีวัน เป็นจริงไหมหนอ
ฉันจะต้องรอ รอ รอ ไปสักแค่ไหน
ฉันทำตาเศร้า ดูซิเขา ยังไม่เข้าใจ
จบวิชา เผยความนัย บอกคุณแล้วเอย..”
นั่นเป็นเพลง “อยากให้เขากอด” ของ พิทยา บุญรัตน์พันธ์ นักร้องเรท อาร์. ในดวงใจของวัยรุ่นอย่างหมอสันต์เมื่อปีพ.ศ. 2511 ผมคิดถึงเพลงนี้ขึ้นมาเพราะเหลือบไปเห็นภาพพยาบาลสวมชุดขาวหมวกขาวเตะตาอยู่บนหน้าปกของหนังสือ MUSE ซึ่งให้มาพร้อมกันหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จึงเปิดอ่านดูรายละเอียด เป็นเรื่องของเธอผู้อยู่บนปก พยาบาลอาชีพอายุ 57 ปี เล่าเรื่องชีวิตของเธอ เนื้อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ผมขออนุญาตแปลนะ
ประมาณว่าเมื่อสามีถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก็รักษาด้วยเคมีบำบัด แต่ไม่สนองตอบต่อเคมีบำบัด ให้ยาไปแล้วสองคอร์สน้ำหนักหายไป 25 กก. ผอมหนังติดกระดูก ผมร่วงเกลี้ยงศีรษะ และวันหนึ่งขณะที่เธอเปิดประตูห้องผู้ป่วยพิเศษในรพ.ที่สามีนอนรักษาตัวอยู่ซึ่งเป็นตึกสูง ก็เห็นสามียืนอยู่บนขอบหน้าต่างในท่าเตรียมพร้อมกำลังจะกระโดดลงไปข้างล่าง..ฆ่าตัวตาย
เธอรีบเข้าไปห้ามเขา ดึงเขาลงมา แล้วกอดเขาไว้แน่น ทั้งสองกอดกันแน่นและต่างก็ร้องไห้น้ำตาพร่างพรู
“..ฉันบอกเขาว่าฉันรักเขา และบอกว่าเราจะเลิกรักษามะเร็งที่โรงพยาบาลเสียทั้งหมด แล้วจะกลับไปอยู่บ้านของเราด้วยกัน”
นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันเธอกอดเขา บอกให้เขามั่นใจว่าเธอรักเขา และปลอบโยนทุกครั้งที่เขาท้อและเศร้า สิ่งนี้กลายเป็นยาวิเศษ ที่ทำให้สามีของเธอกลับมีพลังขึ้น เขากลับมาทานอาหาร เข้มแข็งขึ้น และหายจากมะเร็งได้ เก้าปีผ่านไป ทุกวันนี้สามีของเธอกลับไปทำงานออฟฟิศได้อีกครั้ง
เธออยู่บ้านหลังเล็กๆ ใช้รถมือสองคันเก่าๆ เธอเคยมีความฝันว่าถ้ามีเงินจะหาบ้านหลังใหญ่ขึ้นสักหน่อย และจะเปลี่ยนเป็นรถที่ใหม่ขึ้นอีกสักหน่อย แต่ตอนนี้เธอไม่ต้องการมันแล้ว เธอบอกว่าได้อยู่กับคนที่เธอรักอีกวันหนึ่ง เธอพอแล้ว เธอใช้เวลาหลังเลิกงานสอนที่วิทยาลัยพยาบาลไปตระเวนเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย วันหนึ่งเธอเยี่ยมได้สามสี่คน เธอสวมกอดพวกเขา ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้ยืมอุปกรณ์เช่นออกซิเจนและเตียง ซึ่งเธอซื้อจากเงินที่เธอเจียดซุกไว้ที่ฐานองค์พระพุทธรูปตอนที่สามีป่วย โดยตั้งใจว่าจะเอาไว้ทำบุญให้เขา เธอทำสิ่งนี้นอกเหนือจากงานในหน้าที่ปกติ เพราะมันเป็นเสียงเรียกร้องจากก้นบึ้งหัวใจของพยาบาลอาชีพ เธอเชื่อในพลังของการกอด เธอช่วยให้ความปรารถนาของคนใกล้ตายเป็นจริง เธอเล่าว่าคนไข้มะเร็งปอดระยะสุดท้ายรายหนึ่งอยากเห็นลูกรับปริญญา แต่ว่าวันรับปริญญานั้นยังอีกตั้งเจ็ดเดือนซึ่งคนไข้คงจะอยู่ไม่ถึง เธอจัดงานรับปริญญาเล็กๆขึ้นในห้องคนไข้ เธอไปขอให้คณบดีมาให้ปริญญาล่วงหน้าในห้องนั้น และให้คนไข้ได้แต่งตัวสวยในชุดผ้าไหมถ่ายรูปกับลูกสาวในชุดบัณฑิต ถ่ายในห้องแล้วคนไข้ขอถ่ายรูปที่สนามข้างล่างด้วย คนไข้มีความสุขมาก บอกว่าพันธะกิจในชีวิตของฉันในฐานะแม่หม้ายลูกติดคนหนึ่งสำเร็จแล้ว และสิบวันหลังจากนั้นเธอก็เสียชีวิตอย่างสงบโดยที่มือยังถือภาพรับปริญญาของลูกอยู่บนหน้าอก
ทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องราวที่เป็นที่มาของชื่อหัวเรื่องบทความวันนี้..”อยากให้เขากอด”
เรื่องคุณประโยชน์ของการกอด ไม่ใช่เรื่องวิทยาศาสตร์ ผมจึงไม่มีข้อมูลอะไรในเรื่องนี้มากนัก ผมจำได้ว่ามีหนังสือเรื่องนี้เล่มหนึ่งออกมานานราวยี่สิบปีมาแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิด คนเขียนเป็นพยาบาลชื่อ Kathleen Keating เธอเขียนสรรเสริญการรักษาคนป่วยด้วยการกอด (hug therapy) ซึ่งรายละเอียดผมจำไม่ได้แล้วว่าทำอย่างไรและมันดีอย่างไร รู้แน่ๆว่ามันเป็นเพียงเรื่องเล่า ไม่ใช่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบแต่อย่างใด
อีกเรื่องหนึ่งที่นึกขึ้นได้ คือตอนที่ไปประชุมกันที่เมืองดัลลัส เพื่อนที่เป็นหมออยู่ที่แคลิฟอร์เนียคนหนึ่งเล่าให้ฟังแบบตลกๆว่ามีเจ้าพีเอ็ชดี.คนหนึ่ง (พีเอ็ชดี. เป็นคำเรียกที่พวกหมอชอบใช้เรียกคนที่ไม่ใช่หมอแต่จบปริญญาเอกที่ชอบมายุ่งกับกิจการของหมอ) ทำงานเป็นผู้ช่วยอยู่ที่คลินิกบรรเทาปวดที่มหาลัยแคลิฟอร์เนีย (ยูซีแอลเอ.) เขารักษาผู้หญิงที่ป่วยด้วยอาการปวดเรื้อรังคนหนึ่งด้วยการให้สามีของเธอกอดเธอวันละสี่ครั้งแล้วรายงานว่าหญิงคนนั้นอาการปวดเรื้อรังทุเลาลง ผมยังพูดตลกๆว่าโชคดีที่เมียผมไม่มีโอกาสได้รู้จักกับเจ้าพีเอ็ชดี.คนนั้น ไม่งั้นชีวิตผมลำบากแน่
แต่ที่ผมจำได้แม่นเป็นเรื่องของผู้พิพากษาเกษียณแล้วที่ซานฟรานซิสโกคนหนึ่งชื่อชาปิโร (Shapiro) ซึ่งใช้ชีวิตหลังเกษียณเที่ยวเผยแพร่ความรักสู่ผู้คนด้วยการทำกล่องมีหัวใจแดงเล็กๆอยู่ในนั้นแล้วเที่ยวแจกชาวบ้านแลกเปลี่ยนกับการยอมให้เขากอดหนึ่งครั้ง ซึ่งกิจกรรมบ้าๆบอๆเล็กๆแบบนี้ก็พอทำให้เขามีชื่อขึ้นมาในฐานะผู้เผื่อแผ่ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข เขาชอบเที่ยวไปรับคำท้าของหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ว่าใครที่หัวใจหินที่สุดหยาบที่สุดหรือก้าวร้าวที่สุดอยู่ที่ไหนขอให้บอกเขาจะไปกอดให้ดู
วันหนึ่งเขารับเชิญทีวีไปเยี่ยมวอร์ดที่คนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ปัญญาอ่อนแถมเป็นอัมพาตด้วย เขาเที่ยวไล่แจกหัวใจแดงและกอดคนไข้ไปจนมาถึงคนไข้คนสุดท้ายซึ่งเป็นคนไข้หินที่สุดชื่อลีโอนาร์ดซึ่งกำลังนอนเอกเขนกหน้าตายแบบเซียนไพ่โป๊กเกอร์ น้ำลายกำลังไหลยืดลงราดผ้ากันเปื้อนอยู่
ชาปิโรคิดว่ามุกของเขาคงจะแป๊กแน่ๆวันนี้ แต่จนแล้วจนรอดในที่สุดเขาก็ก้มลงไปกอดลีโอนาร์ด ลีโอนาร์ดทำเสียงดัง เอ๊..เอ๊.. แล้วก็มีเสียงคนไข้ปัญญาอ่อนคนอื่นเอาข้าวของเครื่องใช้เคาะกันเสียงดังคล้งเคล้งๆ ลั่นวอร์ดไปหมด จนชาปิโรเป็นงง จึงหันไปถามพยาบาลว่าเกิดอะไรขึ้น พยาบาลตอบว่า
“นี่เป็นครั้งแรกใน 23 ปีที่เราเห็นลีโอนาร์ดยิ้ม”
ชาปิโรเก็บเรื่องนี้มาเล่าซ้ำซากหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งเขามักตบท้ายว่า
“ลองกอดเขาดูสิ คุณจะเปลี่ยนชีวิตเขาได้นะ”
หลักฐานวิทยาศาสตร์
หลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูงที่เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบในคนถึงผลของการกอดต่อโรคมะเร็งนั้น ยังไม่มีใครทำวิจัยไว้ มีแต่ผลของการเกื้อกูลเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น
งานวิจัยเชิงระบาดวิทยางานหนึ่งทำกับผู้ชายที่ติดตามดูสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) จำนวน 318 คนโดยวิเคราะห์เทียบภูมิหลังการมีความเครียดเชิงสังคม (เหงา ไร้เพื่อน ซึมเศร้า) กับการมีเพื่อนคุยมีคนปลอบ พบว่าคนที่มีเพื่อนคุยมีคนปลอบ มีระดับสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าคนที่เหงาซึมเศร้าและไม่มีเพื่อน พูดง่ายๆว่าคนไม่มีเพื่อนมีโอกาสเป็นมะเร็งง่ายกว่าคนมีเพื่อน
อีกงานวิจัยหนึ่งเอาหญิงที่เริ่มแรกถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 578 คนมาลงทะเบียนไว้ แล้วตรวจวัดและบันทึกแง่มุมต่างทางจิตวิทยา เช่น การมีความรู้สึกอยากสู้กับโรค การทำใจได้ การมีความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง คะแนนความกังวลและซึมเศร้า แล้วตามดูหญิงเหล่านี้ไป 5 ปี พบว่าหญิงเหล่านี้ตายไป 133 คน โดยเมื่อวิเคราะห์และจำแนกแล้วพบว่าหญิงเป็นมะเร็งที่มีคะแนนกังวลและซึมเศร้าสูง มีความเสี่ยงตายสูงกว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ไม่มีความกังวลและซึมเศร้าถึง 3.5 เท่า
งานวิจัยระดับสูงที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์งานหนึ่ง ได้เอาหญิงเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย (แพร่กระจายแล้ว) มา 235 คน สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้เข้าพบปะเพื่อนในลักษณะกลุ่มเพื่อนเกื้อกูลสัปดาห์ละครั้ง อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตปกติโดยไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล แล้วตามดูหญิงเหล่านี้ไป พบว่าหญิงที่เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูลมีความทุกข์ทางใจน้อยกว่า และมีอาการปวดน้อยกว่าหญิงที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล
หอสมุดโค้กเรนได้ทำการวิจัยแบบเมตาอานาลัยซีสโดยเอาข้อมูลจากงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบสิบงานมารวมวิเคราะห์ใหม่ มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายรวม 1378 คน พบว่าหญิงเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนเกื้อกูลนอกจากจะมีสุขภาพจิตดีกว่าแล้ว ยังมีอัตรารอดชีวิตในปีแรกดีกว่าหญิงที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล แต่ว่าระยะยาวหลังจากหนึ่งปีอัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกัน
อีกงานวิจัยหนึ่งเอาหญิงเป็นมะเร็งเต้านมมา 112 คนแล้วสัมภาษณ์บันทึกพฤติกรรม การปฏิบัติและความเชื่อเรื่องธรรมะเรื่องพระเรื่องเจ้า (spirituality) โดยนิยามว่าการมี spirituality ว่าคือการไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาของตนบ่อย การให้ความสำคัญกับศาสนา การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา แล้วเจาะเลือดหญิงเหล่านี้ดู พบว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ปฏิบัติธรรมะเอาพระเอาเจ้า มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงกว่า กล่าวคือมีเม็ดเลือดขาวรวมและเม็ดเลือดขาวชนิดฆ่าเซลมะเร็ง (NK) มากกว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ไม่เอาพระเอาเจ้า
หลักฐานทั้งหมดนี้มากพอที่จะสรุปได้ว่าสำหรับคนเป็นมะเร็ง การได้รับความอบอุ่นทางใจ ไม่ว่าจะจากคู่ชีวิต ญาติ เพื่อน คนที่ดีๆกัน หรือแม้แต่ธรรมะ พระ เจ้า จะช่วยให้รับมือกับมะเร็งได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยเพิ่มความยืนยาวของชีวิตขึ้นอย่างน้อยก็ระยะหนึ่ง ความอบอุ่นทางใจอาจช่วยรักษามะเร็งโดยผ่านกลไกการช่วยปลดเปลื้องความเครียดที่เกิดจากความกังวล ความกลัว และความว้าเหว่ ซึ่งวงการแพทย์ทราบมานานแล้วว่าความเครียดเป็นตัวกดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเผอิญเป็นระบบเดียวที่จะทำลายเซลมะเร็งลงได้ในกรณีที่ยาเคมีบำบัดไม่ได้ผลแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Pimchanok Phungbun Na Ayudhya. The power of hugging. MUSE, Bangkok Post. August 8-14, 2017; 9-10.
2. Stone AA, Mezzacappa ES, Donatone BA, Gonder M. Psychosocial stress and social support are associated with prostate-specific antigen levels in men: results from a community screening program. Health Psychology 1999;18(5):482-86
3. Watson M, Haviland JS, Greer S, Davidson J, Bliss JM. Influence of psychological response on survival in breast cancer: a population-based cohort study. Lancet. 1999 Oct 16;354(9187):1331-6.
4. Goodwin PJ, Leszcz M, Ennis M, Koopmans J, Vincent L, Guther H, Drysdale E, Hundleby M, Chochinov HM, Navarro M, Speca M, Hunter J. The effect of group psychosocial support on survival in metastatic breast cancer. N Engl J Med. 2001 Dec 13;345(24):1719-26.
5. Sephton SE, Koopman C, Schaal M, Thoresen C, Spiegel D. Spiritual expression and immune status in women with metastatic breast cancer: an exploratory study. Breast J. 2001 Sep-Oct;7(5):345-53.
อยากให้เขาปลุก ฉันตื่น จากความฝัน
อยากให้เขาจูบ แผ่ว แผ่ว แล้วมองตากัน
อยากให้เขา รักฉัน มากกว่าใคร
ฝันของฉัน จะมีวัน เป็นจริงไหมหนอ
ฉันจะต้องรอ รอ รอ ไปสักแค่ไหน
ฉันทำตาเศร้า ดูซิเขา ยังไม่เข้าใจ
จบวิชา เผยความนัย บอกคุณแล้วเอย..”
นั่นเป็นเพลง “อยากให้เขากอด” ของ พิทยา บุญรัตน์พันธ์ นักร้องเรท อาร์. ในดวงใจของวัยรุ่นอย่างหมอสันต์เมื่อปีพ.ศ. 2511 ผมคิดถึงเพลงนี้ขึ้นมาเพราะเหลือบไปเห็นภาพพยาบาลสวมชุดขาวหมวกขาวเตะตาอยู่บนหน้าปกของหนังสือ MUSE ซึ่งให้มาพร้อมกันหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จึงเปิดอ่านดูรายละเอียด เป็นเรื่องของเธอผู้อยู่บนปก พยาบาลอาชีพอายุ 57 ปี เล่าเรื่องชีวิตของเธอ เนื้อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ผมขออนุญาตแปลนะ
ประมาณว่าเมื่อสามีถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก็รักษาด้วยเคมีบำบัด แต่ไม่สนองตอบต่อเคมีบำบัด ให้ยาไปแล้วสองคอร์สน้ำหนักหายไป 25 กก. ผอมหนังติดกระดูก ผมร่วงเกลี้ยงศีรษะ และวันหนึ่งขณะที่เธอเปิดประตูห้องผู้ป่วยพิเศษในรพ.ที่สามีนอนรักษาตัวอยู่ซึ่งเป็นตึกสูง ก็เห็นสามียืนอยู่บนขอบหน้าต่างในท่าเตรียมพร้อมกำลังจะกระโดดลงไปข้างล่าง..ฆ่าตัวตาย
เธอรีบเข้าไปห้ามเขา ดึงเขาลงมา แล้วกอดเขาไว้แน่น ทั้งสองกอดกันแน่นและต่างก็ร้องไห้น้ำตาพร่างพรู
“..ฉันบอกเขาว่าฉันรักเขา และบอกว่าเราจะเลิกรักษามะเร็งที่โรงพยาบาลเสียทั้งหมด แล้วจะกลับไปอยู่บ้านของเราด้วยกัน”
นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันเธอกอดเขา บอกให้เขามั่นใจว่าเธอรักเขา และปลอบโยนทุกครั้งที่เขาท้อและเศร้า สิ่งนี้กลายเป็นยาวิเศษ ที่ทำให้สามีของเธอกลับมีพลังขึ้น เขากลับมาทานอาหาร เข้มแข็งขึ้น และหายจากมะเร็งได้ เก้าปีผ่านไป ทุกวันนี้สามีของเธอกลับไปทำงานออฟฟิศได้อีกครั้ง
เธออยู่บ้านหลังเล็กๆ ใช้รถมือสองคันเก่าๆ เธอเคยมีความฝันว่าถ้ามีเงินจะหาบ้านหลังใหญ่ขึ้นสักหน่อย และจะเปลี่ยนเป็นรถที่ใหม่ขึ้นอีกสักหน่อย แต่ตอนนี้เธอไม่ต้องการมันแล้ว เธอบอกว่าได้อยู่กับคนที่เธอรักอีกวันหนึ่ง เธอพอแล้ว เธอใช้เวลาหลังเลิกงานสอนที่วิทยาลัยพยาบาลไปตระเวนเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย วันหนึ่งเธอเยี่ยมได้สามสี่คน เธอสวมกอดพวกเขา ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้ยืมอุปกรณ์เช่นออกซิเจนและเตียง ซึ่งเธอซื้อจากเงินที่เธอเจียดซุกไว้ที่ฐานองค์พระพุทธรูปตอนที่สามีป่วย โดยตั้งใจว่าจะเอาไว้ทำบุญให้เขา เธอทำสิ่งนี้นอกเหนือจากงานในหน้าที่ปกติ เพราะมันเป็นเสียงเรียกร้องจากก้นบึ้งหัวใจของพยาบาลอาชีพ เธอเชื่อในพลังของการกอด เธอช่วยให้ความปรารถนาของคนใกล้ตายเป็นจริง เธอเล่าว่าคนไข้มะเร็งปอดระยะสุดท้ายรายหนึ่งอยากเห็นลูกรับปริญญา แต่ว่าวันรับปริญญานั้นยังอีกตั้งเจ็ดเดือนซึ่งคนไข้คงจะอยู่ไม่ถึง เธอจัดงานรับปริญญาเล็กๆขึ้นในห้องคนไข้ เธอไปขอให้คณบดีมาให้ปริญญาล่วงหน้าในห้องนั้น และให้คนไข้ได้แต่งตัวสวยในชุดผ้าไหมถ่ายรูปกับลูกสาวในชุดบัณฑิต ถ่ายในห้องแล้วคนไข้ขอถ่ายรูปที่สนามข้างล่างด้วย คนไข้มีความสุขมาก บอกว่าพันธะกิจในชีวิตของฉันในฐานะแม่หม้ายลูกติดคนหนึ่งสำเร็จแล้ว และสิบวันหลังจากนั้นเธอก็เสียชีวิตอย่างสงบโดยที่มือยังถือภาพรับปริญญาของลูกอยู่บนหน้าอก
ทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องราวที่เป็นที่มาของชื่อหัวเรื่องบทความวันนี้..”อยากให้เขากอด”
เรื่องคุณประโยชน์ของการกอด ไม่ใช่เรื่องวิทยาศาสตร์ ผมจึงไม่มีข้อมูลอะไรในเรื่องนี้มากนัก ผมจำได้ว่ามีหนังสือเรื่องนี้เล่มหนึ่งออกมานานราวยี่สิบปีมาแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิด คนเขียนเป็นพยาบาลชื่อ Kathleen Keating เธอเขียนสรรเสริญการรักษาคนป่วยด้วยการกอด (hug therapy) ซึ่งรายละเอียดผมจำไม่ได้แล้วว่าทำอย่างไรและมันดีอย่างไร รู้แน่ๆว่ามันเป็นเพียงเรื่องเล่า ไม่ใช่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบแต่อย่างใด
อีกเรื่องหนึ่งที่นึกขึ้นได้ คือตอนที่ไปประชุมกันที่เมืองดัลลัส เพื่อนที่เป็นหมออยู่ที่แคลิฟอร์เนียคนหนึ่งเล่าให้ฟังแบบตลกๆว่ามีเจ้าพีเอ็ชดี.คนหนึ่ง (พีเอ็ชดี. เป็นคำเรียกที่พวกหมอชอบใช้เรียกคนที่ไม่ใช่หมอแต่จบปริญญาเอกที่ชอบมายุ่งกับกิจการของหมอ) ทำงานเป็นผู้ช่วยอยู่ที่คลินิกบรรเทาปวดที่มหาลัยแคลิฟอร์เนีย (ยูซีแอลเอ.) เขารักษาผู้หญิงที่ป่วยด้วยอาการปวดเรื้อรังคนหนึ่งด้วยการให้สามีของเธอกอดเธอวันละสี่ครั้งแล้วรายงานว่าหญิงคนนั้นอาการปวดเรื้อรังทุเลาลง ผมยังพูดตลกๆว่าโชคดีที่เมียผมไม่มีโอกาสได้รู้จักกับเจ้าพีเอ็ชดี.คนนั้น ไม่งั้นชีวิตผมลำบากแน่
แต่ที่ผมจำได้แม่นเป็นเรื่องของผู้พิพากษาเกษียณแล้วที่ซานฟรานซิสโกคนหนึ่งชื่อชาปิโร (Shapiro) ซึ่งใช้ชีวิตหลังเกษียณเที่ยวเผยแพร่ความรักสู่ผู้คนด้วยการทำกล่องมีหัวใจแดงเล็กๆอยู่ในนั้นแล้วเที่ยวแจกชาวบ้านแลกเปลี่ยนกับการยอมให้เขากอดหนึ่งครั้ง ซึ่งกิจกรรมบ้าๆบอๆเล็กๆแบบนี้ก็พอทำให้เขามีชื่อขึ้นมาในฐานะผู้เผื่อแผ่ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข เขาชอบเที่ยวไปรับคำท้าของหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ว่าใครที่หัวใจหินที่สุดหยาบที่สุดหรือก้าวร้าวที่สุดอยู่ที่ไหนขอให้บอกเขาจะไปกอดให้ดู
วันหนึ่งเขารับเชิญทีวีไปเยี่ยมวอร์ดที่คนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ปัญญาอ่อนแถมเป็นอัมพาตด้วย เขาเที่ยวไล่แจกหัวใจแดงและกอดคนไข้ไปจนมาถึงคนไข้คนสุดท้ายซึ่งเป็นคนไข้หินที่สุดชื่อลีโอนาร์ดซึ่งกำลังนอนเอกเขนกหน้าตายแบบเซียนไพ่โป๊กเกอร์ น้ำลายกำลังไหลยืดลงราดผ้ากันเปื้อนอยู่
ชาปิโรคิดว่ามุกของเขาคงจะแป๊กแน่ๆวันนี้ แต่จนแล้วจนรอดในที่สุดเขาก็ก้มลงไปกอดลีโอนาร์ด ลีโอนาร์ดทำเสียงดัง เอ๊..เอ๊.. แล้วก็มีเสียงคนไข้ปัญญาอ่อนคนอื่นเอาข้าวของเครื่องใช้เคาะกันเสียงดังคล้งเคล้งๆ ลั่นวอร์ดไปหมด จนชาปิโรเป็นงง จึงหันไปถามพยาบาลว่าเกิดอะไรขึ้น พยาบาลตอบว่า
“นี่เป็นครั้งแรกใน 23 ปีที่เราเห็นลีโอนาร์ดยิ้ม”
ชาปิโรเก็บเรื่องนี้มาเล่าซ้ำซากหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งเขามักตบท้ายว่า
“ลองกอดเขาดูสิ คุณจะเปลี่ยนชีวิตเขาได้นะ”
หลักฐานวิทยาศาสตร์
หลักฐานวิทยาศาสตร์ระดับสูงที่เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบในคนถึงผลของการกอดต่อโรคมะเร็งนั้น ยังไม่มีใครทำวิจัยไว้ มีแต่ผลของการเกื้อกูลเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น
งานวิจัยเชิงระบาดวิทยางานหนึ่งทำกับผู้ชายที่ติดตามดูสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) จำนวน 318 คนโดยวิเคราะห์เทียบภูมิหลังการมีความเครียดเชิงสังคม (เหงา ไร้เพื่อน ซึมเศร้า) กับการมีเพื่อนคุยมีคนปลอบ พบว่าคนที่มีเพื่อนคุยมีคนปลอบ มีระดับสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าคนที่เหงาซึมเศร้าและไม่มีเพื่อน พูดง่ายๆว่าคนไม่มีเพื่อนมีโอกาสเป็นมะเร็งง่ายกว่าคนมีเพื่อน
อีกงานวิจัยหนึ่งเอาหญิงที่เริ่มแรกถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 578 คนมาลงทะเบียนไว้ แล้วตรวจวัดและบันทึกแง่มุมต่างทางจิตวิทยา เช่น การมีความรู้สึกอยากสู้กับโรค การทำใจได้ การมีความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง คะแนนความกังวลและซึมเศร้า แล้วตามดูหญิงเหล่านี้ไป 5 ปี พบว่าหญิงเหล่านี้ตายไป 133 คน โดยเมื่อวิเคราะห์และจำแนกแล้วพบว่าหญิงเป็นมะเร็งที่มีคะแนนกังวลและซึมเศร้าสูง มีความเสี่ยงตายสูงกว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ไม่มีความกังวลและซึมเศร้าถึง 3.5 เท่า
งานวิจัยระดับสูงที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์งานหนึ่ง ได้เอาหญิงเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย (แพร่กระจายแล้ว) มา 235 คน สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้เข้าพบปะเพื่อนในลักษณะกลุ่มเพื่อนเกื้อกูลสัปดาห์ละครั้ง อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตปกติโดยไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล แล้วตามดูหญิงเหล่านี้ไป พบว่าหญิงที่เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูลมีความทุกข์ทางใจน้อยกว่า และมีอาการปวดน้อยกว่าหญิงที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล
หอสมุดโค้กเรนได้ทำการวิจัยแบบเมตาอานาลัยซีสโดยเอาข้อมูลจากงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบสิบงานมารวมวิเคราะห์ใหม่ มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายรวม 1378 คน พบว่าหญิงเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนเกื้อกูลนอกจากจะมีสุขภาพจิตดีกว่าแล้ว ยังมีอัตรารอดชีวิตในปีแรกดีกว่าหญิงที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อนเกื้อกูล แต่ว่าระยะยาวหลังจากหนึ่งปีอัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกัน
อีกงานวิจัยหนึ่งเอาหญิงเป็นมะเร็งเต้านมมา 112 คนแล้วสัมภาษณ์บันทึกพฤติกรรม การปฏิบัติและความเชื่อเรื่องธรรมะเรื่องพระเรื่องเจ้า (spirituality) โดยนิยามว่าการมี spirituality ว่าคือการไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาของตนบ่อย การให้ความสำคัญกับศาสนา การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา แล้วเจาะเลือดหญิงเหล่านี้ดู พบว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ปฏิบัติธรรมะเอาพระเอาเจ้า มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงกว่า กล่าวคือมีเม็ดเลือดขาวรวมและเม็ดเลือดขาวชนิดฆ่าเซลมะเร็ง (NK) มากกว่าหญิงเป็นมะเร็งที่ไม่เอาพระเอาเจ้า
หลักฐานทั้งหมดนี้มากพอที่จะสรุปได้ว่าสำหรับคนเป็นมะเร็ง การได้รับความอบอุ่นทางใจ ไม่ว่าจะจากคู่ชีวิต ญาติ เพื่อน คนที่ดีๆกัน หรือแม้แต่ธรรมะ พระ เจ้า จะช่วยให้รับมือกับมะเร็งได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยเพิ่มความยืนยาวของชีวิตขึ้นอย่างน้อยก็ระยะหนึ่ง ความอบอุ่นทางใจอาจช่วยรักษามะเร็งโดยผ่านกลไกการช่วยปลดเปลื้องความเครียดที่เกิดจากความกังวล ความกลัว และความว้าเหว่ ซึ่งวงการแพทย์ทราบมานานแล้วว่าความเครียดเป็นตัวกดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเผอิญเป็นระบบเดียวที่จะทำลายเซลมะเร็งลงได้ในกรณีที่ยาเคมีบำบัดไม่ได้ผลแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Pimchanok Phungbun Na Ayudhya. The power of hugging. MUSE, Bangkok Post. August 8-14, 2017; 9-10.
2. Stone AA, Mezzacappa ES, Donatone BA, Gonder M. Psychosocial stress and social support are associated with prostate-specific antigen levels in men: results from a community screening program. Health Psychology 1999;18(5):482-86
3. Watson M, Haviland JS, Greer S, Davidson J, Bliss JM. Influence of psychological response on survival in breast cancer: a population-based cohort study. Lancet. 1999 Oct 16;354(9187):1331-6.
4. Goodwin PJ, Leszcz M, Ennis M, Koopmans J, Vincent L, Guther H, Drysdale E, Hundleby M, Chochinov HM, Navarro M, Speca M, Hunter J. The effect of group psychosocial support on survival in metastatic breast cancer. N Engl J Med. 2001 Dec 13;345(24):1719-26.
5. Sephton SE, Koopman C, Schaal M, Thoresen C, Spiegel D. Spiritual expression and immune status in women with metastatic breast cancer: an exploratory study. Breast J. 2001 Sep-Oct;7(5):345-53.