หลักไร้ประโยชน์ (Principle of futility)
สวัสดีค่ะคุณหมอ
ได้อ่านบล็อคของคุณหมอ รู้สึกว่าคุณหมอมีอารมณ์ขันดีนะคะ อธิบายหรือตอบคำถามของ
คนถามก็ยาวแบบลงรายละเอียดแสดงถึงความใส่ใจในแต่ละคำถามซึ่งนับว่าคุณหมอได้ทำ
บุญให้แก่คนที่มีความทุกข์ใจจริง ๆ ไม่อยากพรรณาความดีให้ยาวเดี๋ยวคุณหมอจะหาว่าทำ
เป็นชมเพื่อจะอยากถาม (คือชมก็ชมด้วยความจริงใจนะคะ อยากถามก็อยากถามค่ะ)
เรื่องคือว่าคุณแม่อายุ 70 ปีท่านเป็นความดันสูงมาตั้งแต่ก่อนอายุ 50 ปี แล้วมาเมื่อ 4 ปีที่
แล้วพบว่าเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ก็ทำการผ่าตัดเอามะเร็งออกและยกลำไส้มาไว้ที่หน้าท้อง
ทำทวารเทียม จากนั้นหมอก็นัดไปตรวจเรื่อย ๆ ผลค่าเลือดก็ไม่ลดลงเท่าไหร่ หมอทำเท
ส นู่นนั่นนี่ก็หาไม่เจอว่ามันมีเซลล์มะเร็งที่ไหน ก็เลยนัดห่าง ๆ ออกไปจากทุกเดือนเป็นทุก
สามเดือนเป็นทุกหกเดือน ระหว่างนั้นก็จะมีติดเชื้อในลำไส้บ้างไรบ้างประมาณหกเดือนเข้า
โรงพยาบาลที จนมาครั้งสุดท้ายเดือน กพ.58 ปวดท้องฉี่ไม่ออกเลยเข้าโรงพยาบาล หมอ
ตรวจแล้วบอกว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เลยใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปสลายนิ่ว ระหว่างทาง
ส่องกล้องหมอพบชิ้นเนื้อที่น่าสงสัยเลยตัดไปตรวจ ผลออกมาว่าเป็นมะเร็งและเซลล์ชนิด
เดียวกันกับมะเร็งลำไส้ หมอก็เลยอยากทำคีโม ฉายแสงไม่ได้เพราะเคยฉายแสงไปเมื่อ
ตอนคุณแม่สาว ๆ (ตอนนั้นเป็นมะเร็งที่มดลูกตัดทิ้งไปเมื่อสามสิบห้าปีที่แล้ว) แต่คุณแม่
ตัดสินใจว่าไม่ทำคีโมเพราะว่าตอนผ่าลำไส้ทำไปแล้วและแพ้มาก ตอนนี้กลัวร่างกายไม่
ไหวเพราะทรุดโทรมมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คุณแม่ตกลงว่าจะอยู่ไปอย่างนั้น หมอทางเดิน
ปัสสาวะก็บอกว่าพอเนื้องอกโตขึ้นมันจะไปเบียดท่อปัสสาวะทำให้ฉี่ไม่ออกถึงเวลานั้นก็แก้
กันไปทีละเปลาะละกัน คุณแม่ก็เตรียมใจไว้แล้วพวกเราลูก ๆ ก็ทำใจกันล่วงหน้าว่าวันนั้น
จะมาถึง
พอมาวันที่ 4 กค.นี้ความดันคุณแม่ขึ้นไปเกือบ 200 ก็เลยไปหาหมอ หมอให้นอนโรง
พยาบาลพร้อมกับตรวจดูไตด้วยเพราะกลัวไตจะวาย ปรากฏว่าไตเริ่มเสียจริง ๆ หมอก็
รักษาเรื่องความดันจนมันลงมา ระหว่างนั้นคุณแม่ก็ทานอะไรไม่ค่อยได้ คลื่นไส้ หมอว่า
เป็นเพราะมะเร็งด้วย ไตไม่ดีด้วย ส่วนหมอไตก็บอกว่าควรจะเจาะท่อเอาปัสสาวะออกด้าน
ข้างเพื่อช่วยไต แต่หมอทางเดินปัสสาวะบอกว่าการเจาะท่อปัสสาวะนั้นมันปัญหาจะตามมา
จะเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลบ่อยมากเพราะจะเกิดการติดเชื้อ คุณภาพชีวิตจะแย่ แต่ถ้าไม่
เจาะท่อก็จะทำให้ไตวาย พอไตวายก็ทำการฟอกเลือดกันไปหรือจะไม่ฟอกเลือดถ้าของ
เสียเข้ากระแสเลือดเยอะ ๆ ก็จะเบลอและนอนไปเรื่อย ๆ จนจากไปก็ไม่เจ็บปวด แม่ฟัง
แล้วก็ว่าดีเหมือนกันไม่อยากเจ็บปวด ส่วนหมออายุรกรรมก็ว่าแล้วแต่คุณแม่ละกัน คุณแม่
เลยไม่เจาะท่อปัสสาวะ ก็กลับบ้านกันวันที่ 15 กลับมาบ้านแล้วคุณแม่ยังคลื่นไส้ตลอดทั้ง
ๆ ที่กินยาโมทีเลี่ยม กินอะไรไม่ได้ยิ่งขึ้นไปอีก พอวันที่ 18 หมอนัดตรวจเลือดดูนั่นนี่โน่น
ก็ไปตรวจค่าไรต่อไรต่ำไปมั่งแต่ไม่มาก ที่สำคัญน้ำหนักลดไปถึง 6 โล หมอให้ยา onsia
แก้คลื่นไส้มาก็ไม่เห็นได้ผล ยังคงคลื่นไส้โอ้กอ้ากอยู่ตลอด ณ เวลานี้กินอะไรไม่ได้
เหมือนเดิมวัน ๆ นึงเช้ากินไมโลซัก 150 ml กลางวันกินข้าวช้อนนึง เย็นกินลองกองสอง
สามลูก บางทีกินนมไวตามิลค์ไปซัก 150 ml แล้วดูตอนนี้ท่านเบลอ ๆ บางครั้งทำมือทำ
ไม้แปลก ๆ บางครั้งก็พูดซ้ำ ๆ เราตอบแล้วแต่ท่านไม่เข้าใจ แต่ไม่เป็นตลอด บางทีก็รู้เรื่อง
เหมือนปกติ
เลยอยากปรึกษาคุณหมอว่าควรจะทำยังไงต่อไปดี จะพาไปเพื่อให้น้ำเกลือหรือปล่อยให้
ท่านเป็นไปแบบนี้เพราะไม่รู้ว่ามันถึงเวลาหรือยัง กลัวตัดสินใจผิดพลาดค่ะ จะพาไปโรง
พยาบาลใส่สายฟีดอาหารก็กลัวว่าจะเป็นการยื้อให้ท่านทรมานไปเปล่า ๆ อาการปวดอะไร
ก็ไม่มี บางครั้งเสียดท้อง แต่ยังปัสสาวะได้อยู่แต่ได้น้อย ๆ บางครั้งสีคล้ำ ๆ เพราะ
หมอบอกให้ทานน้ำได้วันละ 800 ซี ซี
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
(....................)
.............................................................
ตอบครับ
1.. ไม่อยากพรรณนาความดีหมอสันต์ให้ยาวกลัวหมอสันต์ว่าเอา โธ่.. นี่ไม่รู้จักหมอสันต์เสียแล้ว ใครชมนะไม่เคยว่าเลยนะครับ เป็นความสัตย์จริง แต่ห้ามด่านะ หิ หิ หมอจั๋นไม่ค่อยจ้อบ
2.. คุณแม่เป็นมะเร็งระยะที่สี่ มีอาการไตวายและเบลอแล้ว ถามว่าจะทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นการมากเกินไป จะพาไปให้น้ำเกลือหรือใส่สายจมูกให้อาหารตรงเข้ากระเพาะก็จะเป็นการยื้อความทรมานหรือเปล่า เป็นคำถามที่คมดีมากครับ ซึ่งถ้าคุณไม่ถามตรงๆแบบนี้ หมอจำนวนมากก็ลืมไปเสียแล้วว่านี่เป็นประเด็นสำคัญ มัวแต่ไปเต้นแร้งเต้นกาทำโน่นนี่นั่นซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
คำถามของคุณเจาะเข้ากลางหลักวิชาจรรยาแพทย์ ข้อที่ว่าด้วยหลักไร้ประโยชน์ (principle of futility) เนื่องจากคนอ่านบล็อกนี้ที่เป็นหมอก็มีอยู่ไม่น้อย ผมขอถือโอกาสนี้ชวนเพื่อนแพทย์ฟื้นวิชานี้ไปด้วยกันซะเลย คือหลักจรรยาแพทย์ ว่ากันตามสูตรสากลมันมีหลักการอยู่เจ็ดอย่างแค่นั้นเองคือ
1. หลักไม่ทำร้ายคนไข้ (Non maleficence) เรียกว่าเป็นกฎข้อแรก คืออย่าทำอะไรที่จะเป็นผลร้ายกับคนไข้ เขาป่วยของเขานะไม่กระไรหรอก แพทย์อย่าไปซ้ำเหงาเข้าก็แล้วกัน
2. หลักให้อิสระคนไข้ (Autonomy) เขาอยากรักษา ไม่อยากรักษา อยากใช้วิธีนั้น ไม่อยากใช้วิธีนี้ เรื่องของเขา หมายความว่าต้องให้เขาเลือก ไม่ใช่หมอยัดเยียดให้
3. หลักยุติธรรมกับคนไข้ (Justice) ควรตัดสินใจแบ่งเฉลี่ยว่าใครควรจะได้รับการรักษาอะไรใครก่อนใครหลังอย่างยุติธรรม ไม่ว่าคนไข้จะสีผิวอะไร ศาสนาอะไร เสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง (อันสุดท้ายนี่ผมมั่วนิ่มใส่ให้เอง ไม่ใช่ของจริง)
4. หลักรักษาศักดิ์ศรีคนไข้ (Dignity) จะทำอะไร ต้องไม่ให้คนไข้เสียศักดิ์ศรีของความเป็นคน จะเปิดผ้าเปิดผ่อนต้องทำด้วยความเคารพมิดชิดไม่ให้คนไข้ได้อาย
5. หลักซื่อตรงต่อคนไข้ (Truthfulness) จะทำอะไรต้องเปิดเผยตรงไปตรงมา อย่ากุ๊กกิ๊กหรืออุ๊บอิ๊บอั๊บ ต้องบอกคนไข้ก่อนว่าสิ่งจะทำ จะทำอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ให้คนไข้ตัดสินใจยอมทำจึงค่อยทำ
6. หลักเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence) หมอจะทำอะไรก็ต้องเพื่อประโยชน์ของคนไข้เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของญาติ หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือเพื่อประโยชน์ของหมอซะเองโดยคนไข้เสียหาย
7. หลักไม่ทำสิ่งไร้ประโยชน์ (Principle of futility) คือแพทย์จะต้องไม่ทำการรักษาใดๆที่ไร้ประโยชน์ต่อคนไข้ คือหากคิดขยับจะทำอะไรที่ไร้ประโยชน์กับคนไข้ ให้แพทย์อยู่เฉยๆเอามือซุกหีบนิ่งไว้เสียยังดีกว่า ก่อนจะบอกว่าอะไรคือไร้ประโยชน์ก็ต้องตกลงกันก่อนว่าอะไรคือได้ประโยชน์ ในทางการแพทย์ คนไข้จะได้ประโยชน์ถ้าการรักษาให้อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ คือ
7.1 รักษาแล้ว คนไข้มีคุณภาพชีวิต (quality of life) ดีขึ้น (เช่นปวดน้อยลง ทรมานน้อยลง)
7.2 รักษาแล้ว ชีวิตที่มีคุณภาพของคนไข้มีความยืนยาวขึ้น (length of life)
การรักษาใดๆที่ไม่ได้ประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งในสองอย่างนี้ เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ทั้งสิ้น การพยายามยืดชีวิตที่ทรมานและไม่มีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ซึ่งแพทย์ที่ยึดมั่นในหลักจริยธรรมวิชาชีพจะไม่ทำ แต่การรักษาอะไรที่ทำให้คุณภาพชีวิตในระยะสุดท้ายดีขึ้น แม้อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ชีวิตระยะสุดท้ายนั้นสั้นลง เช่นการใช้ยาแก้ปวดระดับแรงบรรเทาปวด ก็เป็นสิ่งที่แพทย์พึงทำ
ยกตัวอย่างในกรณีคุณแม่ของคุณ ซึ่งอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อวัยวะสำคัญสูญเสียการทำงาน สมองสับสนอยู่ในระยะกึ่งโคม่า การใส่สายเข้าไปทางจมูกเพื่อให้อาหารเหลวตรงเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ เพราะอาหารจะไม่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากสมองเสียการทำงานไปเพราะการคั่งของของเสียเพราะไตวายแบบแก้ไม่ได้แล้ว แม้การให้อาหารจะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ก็เป็นการยืดชีวิตที่ทรมานและไร้คุณภาพ จึงไม่ควรทำ ถ้าแพทย์คันมือก็ควรเอามือซุกหีบนิ่งๆไว้ดีกว่า การให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนภาวะขาดน้ำในร่างกายก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือไม่ควรทำ แต่ยกเว้นการแทงเส้นเปิดหลอดเลือดเลี้ยงน้ำเกลือไว้เผื่อฉีดยาบรรเทาปวดกรณีทรมานจากอาการปวดนะครับ นั่นเป็นสิ่งที่ควรทำ ดังนั้นตอบคำถามของคุณก็คือถ้าคุณแม่ไม่เจ็บปวด หรือถ้าท่านปวดแล้วท่านบอกว่าท่านรับมือได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องพาท่านกลับไปโรงพยาบาลครับ
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งเขียนมาหาผมสองเดือนก่อนซึ่งผมไม่มีเวลาตอบ ขอถือโอกาสรวบตอบเสียเลย รายนั้นพ่อเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายเขียนมาว่า
“..ผมพาพ่อกลับบ้านตามเจตจำนงของท่าน กลับไปอยู่บ้านได้เกือบเดือน มีเวลาจัดการพินัยกรรมและสั่งเสียต่างๆ ซึ่งลูกๆก็รู้สึกว่าตัดสินใจถูกที่ปฏิเสธการรักษาของแพทย์แล้วพาท่านกลับบ้าน แต่พอพ่ออาการหนักถึงขีด พ่อมีอาการหอบหน้าตั้งเหงื่อแตกและร้องว่าปวดมากแม้จะเพิ่งแปะยากินยาไปหมาดๆ ลูกๆสับสนวุ่นวาย ทุกคนทำอะไรไม่ถูกเลย ไม่รู้จะทำอย่างไรให้พ่อหายปวด ในที่สุดผมตัดสินใจทำในสิ่งที่พ่อห้ามไว้ คือพาพ่อกลับไปโรงพยาบาล... (เอกชน) หมอที่โรงพยาบาลให้ท่านใส่ท่อช่วยหายใจ ฉีดมอร์ฟีน จนท่านสงบลง แต่ต้องอยู่ในห้องไอซียู.อีกเดือนกว่าก่อนที่จะเสียชีวิตโดยสงบ โดยมีทั้งเครื่องช่วยหายใจสายน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ และยากระตุ้นหัวใจ หมดเงินไปสองล้านกว่าบาท ผมและลูกๆทุกคนไม่มีใครเสียดายเงิน แต่ผมเสียใจว่าผมไม่ทำตามที่รับปากกับคุณพ่อไว้...”
นี่ก็เป็นคำถามเชิงจริยธรรม ที่คมคายอีกเหมือนกัน ดูคล้ายกับกรณีของคุณ แต่ไม่เหมือน เพราะกรณีหลังนี้คุณพ่อของเขาปวด และทรมาน การบรรเทาปวดและบรรเทาความทรมานเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตในบั้นปลาย ซึ่งตามหลักจริยธรรมทางแพทย์เป็นสิ่งพึงต้องทำ แต่อยู่ที่บ้านจะทำอย่างไรละ เพราะไม่มีใครรู้วิธีบรรเทาปวด จะจ้างพยาบาลมาฉีดยาแก้ปวดให้ที่บ้านก็ไม่ได้เพราะไม่มีหมอสั่งพยาบาลที่ไหนจะกล้าฉีดมอร์ฟีนให้คนไข้ เนื่องจากมอร์ฟีนเป็นยาที่มีการควบคุมเข้มงวดมาก จะตามหาหมอมาฉีดยาให้ที่บ้าน จะไปหาหมอที่ไหนละ เพราะหมอที่หากินโดยทำการตระเวนไปเยี่ยมตามบ้าน (house call) สมัยนี้เมืองไทยไม่มีแล้ว ถ้าเป็นเมืองนอก คนไข้แบบนี้มักจะอยู่ในบ้านผู้สูงอายุ (assisted living) ซึ่งมีหมอตระเวนไปเยี่ยม สั่งมอร์ฟีน และมีพยาบาลที่ทำงานอยู่ใน assisted living แห่งนั้นฉีดยาตามหมอสั่งให้ แต่เมืองไทยสถานที่แบบนั้นไม่มี มันก็เหลือที่ไปอยู่ที่เดียวคือ โรงพยาบาล และเมืองไทยนี้ถ้าพะงาบขนาดนี้ก็ต้องเอาเร็วเข้าว่า คือต้องไปตั้งหลักในรพ.เอกชนซึ่งมีเตียงรับชัวร์ๆ รพ.เอกชนเขามีกฎเหล็กว่าคนไข้หนักระดับไหนต้องเอาเข้าไอซียู. จะเอาไว้ตามวอร์ดไม่ได้เพราะเขากลัวถูกฟ้อง ก็ต้องไปอยู่ตั้งหลักอยู่ในไอซียู. แต่ว่าตั้งหลักแล้วถอดหลักไม่ได้ ก็ต้องหมดไปเป็นล้านๆอย่างเงี้ยแหละครับ แต่ว่าโดยสรุป คุณผู้ชายซึ่งเป็นลูก ได้ทำหน้าที่ได้ถูกต้องดีเยี่ยมแล้วแม้ว่าจะไม่ค่อยถูกสตางค์เท่าไหร่ ทำไงได้..เพราะเมืองไทยมันไม่มีทางเลือกอื่นนี่ครับ
คุยมาถึงตอนนี้ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะ คือก่อนที่จะหยิบจดหมายของคุณขึ้นมาตอบ ผมกำลังทำงานตรวจแบบก่อสร้างให้มูลนิธิสอนช่วยชีวิตอยู่ เรื่องมันจึงติดอยู่ในหัว ขอพูดถึงหน่อยนะ คือผมนี่มีหมวกหลายใบ นอกจากจะเป็นหมอสันต์ที่ตอบคำถามสุขภาพเล่นๆทางบล็อกแล้ว ผมยังเป็นประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิตด้วย มูลนิธินี้ปกติเขาทำงานช่วยบริหารจัดการทางการเงินเพื่อให้การสอนช่วยชีวิตแก่แพทย์และพยาบาลทั่วประเทศทำได้โดยสะดวก ซึ่งก็ยังทำอยู่จนทุกวันนี้ แต่ตอนนี้มูลนิธิได้จัดตั้งกองทุนใหม่ขึ้นมาทำเรื่องใหม่ คือกองทุกฝึกอบรมผู้ดูแล (caregiver training fund) เป็นโครงการที่จะฝึกสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังให้ได้สะเป๊คอย่างที่ควรจะได้ การจะทำการฝึกอบรมแบบนี้ได้ก็จะต้องมีสถานที่ มูลนิธิฯจึงมีแผนจะจัดตั้ง “บ้านเมตตาธรรม” ขึ้นมาเป็นบ้านผู้สูงอายุ หรือสถานพยาบาลผู้สูงอายุในลักษณะให้บริการสองอย่างควบคือฟื้นฟูผู้สูงอายุ (assisted living) แก่ผู้สูงอายุที่พอจะดูแลตัวเองได้แต่ต้องการคนช่วยบ้าง และให้การดูแลระยะยาว (long term care) แก่ผู้สูงอายุที่ทุพลภาพอย่างสิ้นเชิงนอนแบ็บช่วยตัวเองไม่ได้เลย ในอนาคตถ้าท่านผู้อ่านมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะอยู่บ้านก็ทรมานเพราะความปวด จะไปอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยก็ไม่ยอมไปเพราะกลัวถูกจับใส่เครื่อง บ้านเมตตาธรรมเนี่ยแหละจะเป็นตัวอย่างของทางเลือกที่สาม คืออยู่แบบบ้านไม่มีการรักษาอะไรที่รุกล้ำหรือแอคทีฟ แต่มีหมอสั่งให้พยาบาลฉีดยาแก้ปวดให้สงบได้เมื่อปวดโอดโอยทรมาน แต่ที่ว่าไปอยู่นี่ก็ต้องเสียเงินนะ ไม่ฟรี แม้จะเป็นมูลนิธิก็ไม่ฟรี ถ้าฟรีหมดมูลนิธิจะไปเอาเงินมาจากไหนมาดำเนินกิจการ แต่มีหลักการว่าไม่ฟรี แต่ไม่แสวงกำไร
พูดถึงมูลนิธิฯจะไปเอาเงินมาจากไหน เมื่อเก็บเงินผู้มาเรียนเป็นผู้ดูแล และเก็บเงินผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ ก็จะพอมีเงินดำเนินกิจการไปได้แบบยั่งยืน แต่การจะตั้งต้นก่อสร้างบ้านเมตตาธรรมนี้มูลนิธิก็ต้องหาเงินบริจาคมาสร้่าง ซึ่งผมเองต้องรับหน้าเสื่อหาเงินอีก 9 ล้านบาทในปลายปีนี้ ตัวผมเองจะบริจาคหนึ่งล้านบาท ก็ยังขาดอีก 8 ล้านบาท ท่านผู้อ่านอาจจะว่าโอ้โฮ หมอสันต์ทำไมใจบุญจังบริจาคเงินทีหนึ่งตั้งหนึ่งล้านบาท หิ หิ จะว่าใจบุญก็ว่าด้าย..ย แต่อีกด้านหนึ่งลึกๆก็คือผมบริจาคเพื่อที่จะได้เป็นผู้มีอุปการคุณต่อมูลนิธิฯ คือในการจัดตั้งโครงการบ้านเมตตาธรรมนี้ มูลนิธิฯได้วางกฎกติกาว่าผู้ที่บริจาคเงินก่อสร้างบ้านเมตตาธรรมตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปจะมีสถานะเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมูลนิธิฯ ซึ่งมูลนิธิจะตอบแทนโดยเมื่อใดที่ผู้มีอุปการะคุณท่านนั้นหรือคู่นั้น (กรณีสามีภรรยา) ป่วย จะได้สิทธิ์เข้าไปอยู่ในบ้านเมตตาธรรมตลอดชีพ โดยถ้าเป็นกรณีทุพลภาพอย่างสิ้นเชิงและเข้าอยู่ห้องรวม long term care unit (LTCU) ก็ฟรีหมด ทั้งน้ำ ไฟ ซักรีด เตียงนอน ผู้ดูแล ยา (มอร์ฟีน!) อาหาร (ทางสายยาง!) ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการอยู่แบบยังช่วยตนเองได้บ้างในห้องพักส่วนตัว (assisted living) ก็ฟรีค่าห้องและน้ำไฟตลอดชีพ แต่บริการพิเศษส่วนตัวอื่นๆเช่นซักรีด อาหาร ผู้ดูแลส่วนตัว ต้องออกเงินตัวเองซื้อในราคาปกติ ตัวผมเองนั้นตราบใดที่ผมมีสติและยังช่วยตัวเองได้บ้างผมไม่กลัวเลยจะอยู่คนเดียวในบ้านของตัวเอง ที่จะไปอยู่ใน assisted living นั้นไม่เคยอยู่ในความคิดของผมเลย เพราะพิการแค่ไหนผมก็จะปลุกปล้ำล้มลุกคลุกคลานด้วยตัวเองอยู่ในบ้านของผมเองนี่แหละไม่ไปไหน แต่ที่ผมกลัวก็คือผมเป็นอัมพาตนอนแบ็บกระดิกกระเดี้ยไม้ได้นี่สิครับ ถ้าเป็นสั้นๆสักเดือนสองเดือนแล้วตายก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าผมเป็นอัมพาตสักสิบปีละ โห มันจะไม่โหดกับเมียผมเกินไปหรือครับ ผมรับไม่ได้หรอกที่จะให้ตัวเองไปเป็นภาระกับเมียถึงขนาดนั้น ผมจึงบริจาคเงินให้มูลนิธิฯหนึ่งล้าน เป็นอัมพาตวันไหนมูลนิธิฯมารับผมไปอยู่บ้านเมตตาธรรมวันนั้นเพราะผมเป็นผู้มีอุปการะคุณ แค่นี้ผมก็ตายตาหลับแล้ว
ว่าแต่เราคุยกันเรื่องอะไรอยู่นะ อ้อ.. เรื่องการไม่ทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์ให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต กล่าวโดยสรุปผมแนะนำว่าตราบใดที่คุณแม่ไม่ร้องโอดโอยว่าปวดทรมาน คุณให้ท่านอยู่ที่บ้านไม่ไปโรงพยาบาลผมว่าดีแล้ว วันไหนที่ท่านร้องโอดโอยว่าปวดทรมานทนไม่ไหว ผมแนะนำว่าถ้าหาหมอมาเยี่ยมหยอดยามอร์ฟีนแก้ปวดให้ท่านที่บ้านได้ละก็เจ๋ง แต่ถ้าหาหมอไม่ได้ ก็ต้องไปโรงพยาบาลละครับ โดยผมแนะนำว่าถ้างบประมาณไม่มากนัก ควรไปโรงพยาบาลของรัฐบาล ตั้งหลักได้ช้าหน่อยไม่เป็นไรหรอก แต่เวลาจะถอนหลักมันถอนได้ง่ายกว่าครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ได้อ่านบล็อคของคุณหมอ รู้สึกว่าคุณหมอมีอารมณ์ขันดีนะคะ อธิบายหรือตอบคำถามของ
คนถามก็ยาวแบบลงรายละเอียดแสดงถึงความใส่ใจในแต่ละคำถามซึ่งนับว่าคุณหมอได้ทำ
บุญให้แก่คนที่มีความทุกข์ใจจริง ๆ ไม่อยากพรรณาความดีให้ยาวเดี๋ยวคุณหมอจะหาว่าทำ
เป็นชมเพื่อจะอยากถาม (คือชมก็ชมด้วยความจริงใจนะคะ อยากถามก็อยากถามค่ะ)
เรื่องคือว่าคุณแม่อายุ 70 ปีท่านเป็นความดันสูงมาตั้งแต่ก่อนอายุ 50 ปี แล้วมาเมื่อ 4 ปีที่
แล้วพบว่าเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ก็ทำการผ่าตัดเอามะเร็งออกและยกลำไส้มาไว้ที่หน้าท้อง
ทำทวารเทียม จากนั้นหมอก็นัดไปตรวจเรื่อย ๆ ผลค่าเลือดก็ไม่ลดลงเท่าไหร่ หมอทำเท
ส นู่นนั่นนี่ก็หาไม่เจอว่ามันมีเซลล์มะเร็งที่ไหน ก็เลยนัดห่าง ๆ ออกไปจากทุกเดือนเป็นทุก
สามเดือนเป็นทุกหกเดือน ระหว่างนั้นก็จะมีติดเชื้อในลำไส้บ้างไรบ้างประมาณหกเดือนเข้า
โรงพยาบาลที จนมาครั้งสุดท้ายเดือน กพ.58 ปวดท้องฉี่ไม่ออกเลยเข้าโรงพยาบาล หมอ
ตรวจแล้วบอกว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เลยใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปสลายนิ่ว ระหว่างทาง
ส่องกล้องหมอพบชิ้นเนื้อที่น่าสงสัยเลยตัดไปตรวจ ผลออกมาว่าเป็นมะเร็งและเซลล์ชนิด
เดียวกันกับมะเร็งลำไส้ หมอก็เลยอยากทำคีโม ฉายแสงไม่ได้เพราะเคยฉายแสงไปเมื่อ
ตอนคุณแม่สาว ๆ (ตอนนั้นเป็นมะเร็งที่มดลูกตัดทิ้งไปเมื่อสามสิบห้าปีที่แล้ว) แต่คุณแม่
ตัดสินใจว่าไม่ทำคีโมเพราะว่าตอนผ่าลำไส้ทำไปแล้วและแพ้มาก ตอนนี้กลัวร่างกายไม่
ไหวเพราะทรุดโทรมมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คุณแม่ตกลงว่าจะอยู่ไปอย่างนั้น หมอทางเดิน
ปัสสาวะก็บอกว่าพอเนื้องอกโตขึ้นมันจะไปเบียดท่อปัสสาวะทำให้ฉี่ไม่ออกถึงเวลานั้นก็แก้
กันไปทีละเปลาะละกัน คุณแม่ก็เตรียมใจไว้แล้วพวกเราลูก ๆ ก็ทำใจกันล่วงหน้าว่าวันนั้น
จะมาถึง
พอมาวันที่ 4 กค.นี้ความดันคุณแม่ขึ้นไปเกือบ 200 ก็เลยไปหาหมอ หมอให้นอนโรง
พยาบาลพร้อมกับตรวจดูไตด้วยเพราะกลัวไตจะวาย ปรากฏว่าไตเริ่มเสียจริง ๆ หมอก็
รักษาเรื่องความดันจนมันลงมา ระหว่างนั้นคุณแม่ก็ทานอะไรไม่ค่อยได้ คลื่นไส้ หมอว่า
เป็นเพราะมะเร็งด้วย ไตไม่ดีด้วย ส่วนหมอไตก็บอกว่าควรจะเจาะท่อเอาปัสสาวะออกด้าน
ข้างเพื่อช่วยไต แต่หมอทางเดินปัสสาวะบอกว่าการเจาะท่อปัสสาวะนั้นมันปัญหาจะตามมา
จะเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลบ่อยมากเพราะจะเกิดการติดเชื้อ คุณภาพชีวิตจะแย่ แต่ถ้าไม่
เจาะท่อก็จะทำให้ไตวาย พอไตวายก็ทำการฟอกเลือดกันไปหรือจะไม่ฟอกเลือดถ้าของ
เสียเข้ากระแสเลือดเยอะ ๆ ก็จะเบลอและนอนไปเรื่อย ๆ จนจากไปก็ไม่เจ็บปวด แม่ฟัง
แล้วก็ว่าดีเหมือนกันไม่อยากเจ็บปวด ส่วนหมออายุรกรรมก็ว่าแล้วแต่คุณแม่ละกัน คุณแม่
เลยไม่เจาะท่อปัสสาวะ ก็กลับบ้านกันวันที่ 15 กลับมาบ้านแล้วคุณแม่ยังคลื่นไส้ตลอดทั้ง
ๆ ที่กินยาโมทีเลี่ยม กินอะไรไม่ได้ยิ่งขึ้นไปอีก พอวันที่ 18 หมอนัดตรวจเลือดดูนั่นนี่โน่น
ก็ไปตรวจค่าไรต่อไรต่ำไปมั่งแต่ไม่มาก ที่สำคัญน้ำหนักลดไปถึง 6 โล หมอให้ยา onsia
แก้คลื่นไส้มาก็ไม่เห็นได้ผล ยังคงคลื่นไส้โอ้กอ้ากอยู่ตลอด ณ เวลานี้กินอะไรไม่ได้
เหมือนเดิมวัน ๆ นึงเช้ากินไมโลซัก 150 ml กลางวันกินข้าวช้อนนึง เย็นกินลองกองสอง
สามลูก บางทีกินนมไวตามิลค์ไปซัก 150 ml แล้วดูตอนนี้ท่านเบลอ ๆ บางครั้งทำมือทำ
ไม้แปลก ๆ บางครั้งก็พูดซ้ำ ๆ เราตอบแล้วแต่ท่านไม่เข้าใจ แต่ไม่เป็นตลอด บางทีก็รู้เรื่อง
เหมือนปกติ
เลยอยากปรึกษาคุณหมอว่าควรจะทำยังไงต่อไปดี จะพาไปเพื่อให้น้ำเกลือหรือปล่อยให้
ท่านเป็นไปแบบนี้เพราะไม่รู้ว่ามันถึงเวลาหรือยัง กลัวตัดสินใจผิดพลาดค่ะ จะพาไปโรง
พยาบาลใส่สายฟีดอาหารก็กลัวว่าจะเป็นการยื้อให้ท่านทรมานไปเปล่า ๆ อาการปวดอะไร
ก็ไม่มี บางครั้งเสียดท้อง แต่ยังปัสสาวะได้อยู่แต่ได้น้อย ๆ บางครั้งสีคล้ำ ๆ เพราะ
หมอบอกให้ทานน้ำได้วันละ 800 ซี ซี
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
(....................)
.............................................................
ตอบครับ
1.. ไม่อยากพรรณนาความดีหมอสันต์ให้ยาวกลัวหมอสันต์ว่าเอา โธ่.. นี่ไม่รู้จักหมอสันต์เสียแล้ว ใครชมนะไม่เคยว่าเลยนะครับ เป็นความสัตย์จริง แต่ห้ามด่านะ หิ หิ หมอจั๋นไม่ค่อยจ้อบ
2.. คุณแม่เป็นมะเร็งระยะที่สี่ มีอาการไตวายและเบลอแล้ว ถามว่าจะทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นการมากเกินไป จะพาไปให้น้ำเกลือหรือใส่สายจมูกให้อาหารตรงเข้ากระเพาะก็จะเป็นการยื้อความทรมานหรือเปล่า เป็นคำถามที่คมดีมากครับ ซึ่งถ้าคุณไม่ถามตรงๆแบบนี้ หมอจำนวนมากก็ลืมไปเสียแล้วว่านี่เป็นประเด็นสำคัญ มัวแต่ไปเต้นแร้งเต้นกาทำโน่นนี่นั่นซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
คำถามของคุณเจาะเข้ากลางหลักวิชาจรรยาแพทย์ ข้อที่ว่าด้วยหลักไร้ประโยชน์ (principle of futility) เนื่องจากคนอ่านบล็อกนี้ที่เป็นหมอก็มีอยู่ไม่น้อย ผมขอถือโอกาสนี้ชวนเพื่อนแพทย์ฟื้นวิชานี้ไปด้วยกันซะเลย คือหลักจรรยาแพทย์ ว่ากันตามสูตรสากลมันมีหลักการอยู่เจ็ดอย่างแค่นั้นเองคือ
1. หลักไม่ทำร้ายคนไข้ (Non maleficence) เรียกว่าเป็นกฎข้อแรก คืออย่าทำอะไรที่จะเป็นผลร้ายกับคนไข้ เขาป่วยของเขานะไม่กระไรหรอก แพทย์อย่าไปซ้ำเหงาเข้าก็แล้วกัน
2. หลักให้อิสระคนไข้ (Autonomy) เขาอยากรักษา ไม่อยากรักษา อยากใช้วิธีนั้น ไม่อยากใช้วิธีนี้ เรื่องของเขา หมายความว่าต้องให้เขาเลือก ไม่ใช่หมอยัดเยียดให้
3. หลักยุติธรรมกับคนไข้ (Justice) ควรตัดสินใจแบ่งเฉลี่ยว่าใครควรจะได้รับการรักษาอะไรใครก่อนใครหลังอย่างยุติธรรม ไม่ว่าคนไข้จะสีผิวอะไร ศาสนาอะไร เสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง (อันสุดท้ายนี่ผมมั่วนิ่มใส่ให้เอง ไม่ใช่ของจริง)
4. หลักรักษาศักดิ์ศรีคนไข้ (Dignity) จะทำอะไร ต้องไม่ให้คนไข้เสียศักดิ์ศรีของความเป็นคน จะเปิดผ้าเปิดผ่อนต้องทำด้วยความเคารพมิดชิดไม่ให้คนไข้ได้อาย
5. หลักซื่อตรงต่อคนไข้ (Truthfulness) จะทำอะไรต้องเปิดเผยตรงไปตรงมา อย่ากุ๊กกิ๊กหรืออุ๊บอิ๊บอั๊บ ต้องบอกคนไข้ก่อนว่าสิ่งจะทำ จะทำอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ให้คนไข้ตัดสินใจยอมทำจึงค่อยทำ
6. หลักเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence) หมอจะทำอะไรก็ต้องเพื่อประโยชน์ของคนไข้เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของญาติ หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือเพื่อประโยชน์ของหมอซะเองโดยคนไข้เสียหาย
7. หลักไม่ทำสิ่งไร้ประโยชน์ (Principle of futility) คือแพทย์จะต้องไม่ทำการรักษาใดๆที่ไร้ประโยชน์ต่อคนไข้ คือหากคิดขยับจะทำอะไรที่ไร้ประโยชน์กับคนไข้ ให้แพทย์อยู่เฉยๆเอามือซุกหีบนิ่งไว้เสียยังดีกว่า ก่อนจะบอกว่าอะไรคือไร้ประโยชน์ก็ต้องตกลงกันก่อนว่าอะไรคือได้ประโยชน์ ในทางการแพทย์ คนไข้จะได้ประโยชน์ถ้าการรักษาให้อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ คือ
7.1 รักษาแล้ว คนไข้มีคุณภาพชีวิต (quality of life) ดีขึ้น (เช่นปวดน้อยลง ทรมานน้อยลง)
7.2 รักษาแล้ว ชีวิตที่มีคุณภาพของคนไข้มีความยืนยาวขึ้น (length of life)
การรักษาใดๆที่ไม่ได้ประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งในสองอย่างนี้ เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ทั้งสิ้น การพยายามยืดชีวิตที่ทรมานและไม่มีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ซึ่งแพทย์ที่ยึดมั่นในหลักจริยธรรมวิชาชีพจะไม่ทำ แต่การรักษาอะไรที่ทำให้คุณภาพชีวิตในระยะสุดท้ายดีขึ้น แม้อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ชีวิตระยะสุดท้ายนั้นสั้นลง เช่นการใช้ยาแก้ปวดระดับแรงบรรเทาปวด ก็เป็นสิ่งที่แพทย์พึงทำ
ยกตัวอย่างในกรณีคุณแม่ของคุณ ซึ่งอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อวัยวะสำคัญสูญเสียการทำงาน สมองสับสนอยู่ในระยะกึ่งโคม่า การใส่สายเข้าไปทางจมูกเพื่อให้อาหารเหลวตรงเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร เป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์ เพราะอาหารจะไม่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากสมองเสียการทำงานไปเพราะการคั่งของของเสียเพราะไตวายแบบแก้ไม่ได้แล้ว แม้การให้อาหารจะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ก็เป็นการยืดชีวิตที่ทรมานและไร้คุณภาพ จึงไม่ควรทำ ถ้าแพทย์คันมือก็ควรเอามือซุกหีบนิ่งๆไว้ดีกว่า การให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนภาวะขาดน้ำในร่างกายก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือไม่ควรทำ แต่ยกเว้นการแทงเส้นเปิดหลอดเลือดเลี้ยงน้ำเกลือไว้เผื่อฉีดยาบรรเทาปวดกรณีทรมานจากอาการปวดนะครับ นั่นเป็นสิ่งที่ควรทำ ดังนั้นตอบคำถามของคุณก็คือถ้าคุณแม่ไม่เจ็บปวด หรือถ้าท่านปวดแล้วท่านบอกว่าท่านรับมือได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องพาท่านกลับไปโรงพยาบาลครับ
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งเขียนมาหาผมสองเดือนก่อนซึ่งผมไม่มีเวลาตอบ ขอถือโอกาสรวบตอบเสียเลย รายนั้นพ่อเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายเขียนมาว่า
“..ผมพาพ่อกลับบ้านตามเจตจำนงของท่าน กลับไปอยู่บ้านได้เกือบเดือน มีเวลาจัดการพินัยกรรมและสั่งเสียต่างๆ ซึ่งลูกๆก็รู้สึกว่าตัดสินใจถูกที่ปฏิเสธการรักษาของแพทย์แล้วพาท่านกลับบ้าน แต่พอพ่ออาการหนักถึงขีด พ่อมีอาการหอบหน้าตั้งเหงื่อแตกและร้องว่าปวดมากแม้จะเพิ่งแปะยากินยาไปหมาดๆ ลูกๆสับสนวุ่นวาย ทุกคนทำอะไรไม่ถูกเลย ไม่รู้จะทำอย่างไรให้พ่อหายปวด ในที่สุดผมตัดสินใจทำในสิ่งที่พ่อห้ามไว้ คือพาพ่อกลับไปโรงพยาบาล... (เอกชน) หมอที่โรงพยาบาลให้ท่านใส่ท่อช่วยหายใจ ฉีดมอร์ฟีน จนท่านสงบลง แต่ต้องอยู่ในห้องไอซียู.อีกเดือนกว่าก่อนที่จะเสียชีวิตโดยสงบ โดยมีทั้งเครื่องช่วยหายใจสายน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ และยากระตุ้นหัวใจ หมดเงินไปสองล้านกว่าบาท ผมและลูกๆทุกคนไม่มีใครเสียดายเงิน แต่ผมเสียใจว่าผมไม่ทำตามที่รับปากกับคุณพ่อไว้...”
นี่ก็เป็นคำถามเชิงจริยธรรม ที่คมคายอีกเหมือนกัน ดูคล้ายกับกรณีของคุณ แต่ไม่เหมือน เพราะกรณีหลังนี้คุณพ่อของเขาปวด และทรมาน การบรรเทาปวดและบรรเทาความทรมานเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตในบั้นปลาย ซึ่งตามหลักจริยธรรมทางแพทย์เป็นสิ่งพึงต้องทำ แต่อยู่ที่บ้านจะทำอย่างไรละ เพราะไม่มีใครรู้วิธีบรรเทาปวด จะจ้างพยาบาลมาฉีดยาแก้ปวดให้ที่บ้านก็ไม่ได้เพราะไม่มีหมอสั่งพยาบาลที่ไหนจะกล้าฉีดมอร์ฟีนให้คนไข้ เนื่องจากมอร์ฟีนเป็นยาที่มีการควบคุมเข้มงวดมาก จะตามหาหมอมาฉีดยาให้ที่บ้าน จะไปหาหมอที่ไหนละ เพราะหมอที่หากินโดยทำการตระเวนไปเยี่ยมตามบ้าน (house call) สมัยนี้เมืองไทยไม่มีแล้ว ถ้าเป็นเมืองนอก คนไข้แบบนี้มักจะอยู่ในบ้านผู้สูงอายุ (assisted living) ซึ่งมีหมอตระเวนไปเยี่ยม สั่งมอร์ฟีน และมีพยาบาลที่ทำงานอยู่ใน assisted living แห่งนั้นฉีดยาตามหมอสั่งให้ แต่เมืองไทยสถานที่แบบนั้นไม่มี มันก็เหลือที่ไปอยู่ที่เดียวคือ โรงพยาบาล และเมืองไทยนี้ถ้าพะงาบขนาดนี้ก็ต้องเอาเร็วเข้าว่า คือต้องไปตั้งหลักในรพ.เอกชนซึ่งมีเตียงรับชัวร์ๆ รพ.เอกชนเขามีกฎเหล็กว่าคนไข้หนักระดับไหนต้องเอาเข้าไอซียู. จะเอาไว้ตามวอร์ดไม่ได้เพราะเขากลัวถูกฟ้อง ก็ต้องไปอยู่ตั้งหลักอยู่ในไอซียู. แต่ว่าตั้งหลักแล้วถอดหลักไม่ได้ ก็ต้องหมดไปเป็นล้านๆอย่างเงี้ยแหละครับ แต่ว่าโดยสรุป คุณผู้ชายซึ่งเป็นลูก ได้ทำหน้าที่ได้ถูกต้องดีเยี่ยมแล้วแม้ว่าจะไม่ค่อยถูกสตางค์เท่าไหร่ ทำไงได้..เพราะเมืองไทยมันไม่มีทางเลือกอื่นนี่ครับ
คุยมาถึงตอนนี้ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะ คือก่อนที่จะหยิบจดหมายของคุณขึ้นมาตอบ ผมกำลังทำงานตรวจแบบก่อสร้างให้มูลนิธิสอนช่วยชีวิตอยู่ เรื่องมันจึงติดอยู่ในหัว ขอพูดถึงหน่อยนะ คือผมนี่มีหมวกหลายใบ นอกจากจะเป็นหมอสันต์ที่ตอบคำถามสุขภาพเล่นๆทางบล็อกแล้ว ผมยังเป็นประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิตด้วย มูลนิธินี้ปกติเขาทำงานช่วยบริหารจัดการทางการเงินเพื่อให้การสอนช่วยชีวิตแก่แพทย์และพยาบาลทั่วประเทศทำได้โดยสะดวก ซึ่งก็ยังทำอยู่จนทุกวันนี้ แต่ตอนนี้มูลนิธิได้จัดตั้งกองทุนใหม่ขึ้นมาทำเรื่องใหม่ คือกองทุกฝึกอบรมผู้ดูแล (caregiver training fund) เป็นโครงการที่จะฝึกสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังให้ได้สะเป๊คอย่างที่ควรจะได้ การจะทำการฝึกอบรมแบบนี้ได้ก็จะต้องมีสถานที่ มูลนิธิฯจึงมีแผนจะจัดตั้ง “บ้านเมตตาธรรม” ขึ้นมาเป็นบ้านผู้สูงอายุ หรือสถานพยาบาลผู้สูงอายุในลักษณะให้บริการสองอย่างควบคือฟื้นฟูผู้สูงอายุ (assisted living) แก่ผู้สูงอายุที่พอจะดูแลตัวเองได้แต่ต้องการคนช่วยบ้าง และให้การดูแลระยะยาว (long term care) แก่ผู้สูงอายุที่ทุพลภาพอย่างสิ้นเชิงนอนแบ็บช่วยตัวเองไม่ได้เลย ในอนาคตถ้าท่านผู้อ่านมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะอยู่บ้านก็ทรมานเพราะความปวด จะไปอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยก็ไม่ยอมไปเพราะกลัวถูกจับใส่เครื่อง บ้านเมตตาธรรมเนี่ยแหละจะเป็นตัวอย่างของทางเลือกที่สาม คืออยู่แบบบ้านไม่มีการรักษาอะไรที่รุกล้ำหรือแอคทีฟ แต่มีหมอสั่งให้พยาบาลฉีดยาแก้ปวดให้สงบได้เมื่อปวดโอดโอยทรมาน แต่ที่ว่าไปอยู่นี่ก็ต้องเสียเงินนะ ไม่ฟรี แม้จะเป็นมูลนิธิก็ไม่ฟรี ถ้าฟรีหมดมูลนิธิจะไปเอาเงินมาจากไหนมาดำเนินกิจการ แต่มีหลักการว่าไม่ฟรี แต่ไม่แสวงกำไร
พูดถึงมูลนิธิฯจะไปเอาเงินมาจากไหน เมื่อเก็บเงินผู้มาเรียนเป็นผู้ดูแล และเก็บเงินผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ ก็จะพอมีเงินดำเนินกิจการไปได้แบบยั่งยืน แต่การจะตั้งต้นก่อสร้างบ้านเมตตาธรรมนี้มูลนิธิก็ต้องหาเงินบริจาคมาสร้่าง ซึ่งผมเองต้องรับหน้าเสื่อหาเงินอีก 9 ล้านบาทในปลายปีนี้ ตัวผมเองจะบริจาคหนึ่งล้านบาท ก็ยังขาดอีก 8 ล้านบาท ท่านผู้อ่านอาจจะว่าโอ้โฮ หมอสันต์ทำไมใจบุญจังบริจาคเงินทีหนึ่งตั้งหนึ่งล้านบาท หิ หิ จะว่าใจบุญก็ว่าด้าย..ย แต่อีกด้านหนึ่งลึกๆก็คือผมบริจาคเพื่อที่จะได้เป็นผู้มีอุปการคุณต่อมูลนิธิฯ คือในการจัดตั้งโครงการบ้านเมตตาธรรมนี้ มูลนิธิฯได้วางกฎกติกาว่าผู้ที่บริจาคเงินก่อสร้างบ้านเมตตาธรรมตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปจะมีสถานะเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมูลนิธิฯ ซึ่งมูลนิธิจะตอบแทนโดยเมื่อใดที่ผู้มีอุปการะคุณท่านนั้นหรือคู่นั้น (กรณีสามีภรรยา) ป่วย จะได้สิทธิ์เข้าไปอยู่ในบ้านเมตตาธรรมตลอดชีพ โดยถ้าเป็นกรณีทุพลภาพอย่างสิ้นเชิงและเข้าอยู่ห้องรวม long term care unit (LTCU) ก็ฟรีหมด ทั้งน้ำ ไฟ ซักรีด เตียงนอน ผู้ดูแล ยา (มอร์ฟีน!) อาหาร (ทางสายยาง!) ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการอยู่แบบยังช่วยตนเองได้บ้างในห้องพักส่วนตัว (assisted living) ก็ฟรีค่าห้องและน้ำไฟตลอดชีพ แต่บริการพิเศษส่วนตัวอื่นๆเช่นซักรีด อาหาร ผู้ดูแลส่วนตัว ต้องออกเงินตัวเองซื้อในราคาปกติ ตัวผมเองนั้นตราบใดที่ผมมีสติและยังช่วยตัวเองได้บ้างผมไม่กลัวเลยจะอยู่คนเดียวในบ้านของตัวเอง ที่จะไปอยู่ใน assisted living นั้นไม่เคยอยู่ในความคิดของผมเลย เพราะพิการแค่ไหนผมก็จะปลุกปล้ำล้มลุกคลุกคลานด้วยตัวเองอยู่ในบ้านของผมเองนี่แหละไม่ไปไหน แต่ที่ผมกลัวก็คือผมเป็นอัมพาตนอนแบ็บกระดิกกระเดี้ยไม้ได้นี่สิครับ ถ้าเป็นสั้นๆสักเดือนสองเดือนแล้วตายก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าผมเป็นอัมพาตสักสิบปีละ โห มันจะไม่โหดกับเมียผมเกินไปหรือครับ ผมรับไม่ได้หรอกที่จะให้ตัวเองไปเป็นภาระกับเมียถึงขนาดนั้น ผมจึงบริจาคเงินให้มูลนิธิฯหนึ่งล้าน เป็นอัมพาตวันไหนมูลนิธิฯมารับผมไปอยู่บ้านเมตตาธรรมวันนั้นเพราะผมเป็นผู้มีอุปการะคุณ แค่นี้ผมก็ตายตาหลับแล้ว
ว่าแต่เราคุยกันเรื่องอะไรอยู่นะ อ้อ.. เรื่องการไม่ทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์ให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต กล่าวโดยสรุปผมแนะนำว่าตราบใดที่คุณแม่ไม่ร้องโอดโอยว่าปวดทรมาน คุณให้ท่านอยู่ที่บ้านไม่ไปโรงพยาบาลผมว่าดีแล้ว วันไหนที่ท่านร้องโอดโอยว่าปวดทรมานทนไม่ไหว ผมแนะนำว่าถ้าหาหมอมาเยี่ยมหยอดยามอร์ฟีนแก้ปวดให้ท่านที่บ้านได้ละก็เจ๋ง แต่ถ้าหาหมอไม่ได้ ก็ต้องไปโรงพยาบาลละครับ โดยผมแนะนำว่าถ้างบประมาณไม่มากนัก ควรไปโรงพยาบาลของรัฐบาล ตั้งหลักได้ช้าหน่อยไม่เป็นไรหรอก แต่เวลาจะถอนหลักมันถอนได้ง่ายกว่าครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์