ความเป็นมืออาชีพ (professionalism)
สวัสดีค่ะคุณลุงสันต์
หนู...ค่ะ ลูกแม่.. ที่เคยโทรไปปรึกษาคุณลุงสันต์เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วเรื่องเรียนต่อตาค่ะ ไม่แน่ใจว่าคุณลุงจะจำได้หรือเปล่า ตอนนี้หนูเป็นหมอตาเต็มตัวแล้วนะคะ อยู่โรงพยาบาล... จังหวัด .... ค่ะ
หนูได้อ่านบทความที่คุณลุงเขียนถึงหมอตาคนหนึ่งที่มาปรึกษาคุณลุงเกี่ยวกับ skill การผ่าตัด มีพี่หมอตาคนนึงแชร์ไว้ใน facebook ค่ะ (http://visitdrsant.blogspot.com/2012/11/blog-post_11.html) หนูจึงพยายามตามหาคุณลุงทาง social media เพื่อที่จะบอกคุณลุงว่า บทความที่คุณลุงเขียนนั้น มีประโยชน์มากสำหรับหมอตาจบใหม่อย่างหนู ทุกคำพูดจริงทุกประการเลยค่ะ (หนูส่งข้อความทั้งหมดนี้ไปทาง message ทาง facebook ของคุณลุง แต่ไม่แน่ใจว่าคุณลุงจะได้รับหรือไม่ เลยขอส่งซ้ำมาทางเมล์นะคะ)
หมอตาทำต้อกระจกแบบผ่าเล็กที่เรียกว่า phacoemulcification with intraocular lens กันตั้งแต่เป็นเด้นท์ หนูทำในโรงเรียนแพทย์ไปประมาณ 60-70 เคส โดยส่วนตัวก่อนจบค่อน ข้างมั่นใจว่าทำได้ดี แต่พอจบไปอยู่โรงพยาบาล .... หนูเป็นหมอตาคนเดียวค่ะคุณลุง หนูพบว่า 60-70 เคสนั้น "ไม่พอ" หนูเจอ complication ที่เกิดจากประสบการณ์อันน้อยนิดของหนูแทบจะเรียกว่าทุกรูปแบบ ตอนนั้นขอแค่ไม่มี complication หนูก็ดีใจมากแล้ว ไม่ได้หวังให้มองชัดปิ๊งในวันแรก (อันนั้นระดับเซียนค่ะ)
คำว่า creativity ที่คุณลุงเขียนนั้นเกิดขึ้นมากมายในชีวิตการผ่าตัดเงียบๆคนเดียวของหนู หนูไม่สามารถปรึกษาใครได้ เพราะหนูอยู่คนเดียว บางเหตุการณ์ไม่เคยเจอ ไม่มีในหนังสือ หนูก็ต้องคิดและแก้ไขปัญหานั้นด้วยตัวเอง หนูเคยเซตเคส 4 เคส มี complication 3 เคส แต่หนูไม่ depress ค่ะ หนูกลับมาทบทวนทุกครั้งว่ามันเกิดจากอะไร ขั้นตอนไหน หนูต้องระวังอะไร หนูต้องไม่ผิดซ้ำอีก
2 เดือนผ่านไป หนูเริ่มไม่มี complication แล้ว ทีนี้หนูจึง focus มาที่ จะทำอย่างไร ให้คนไข้เห็นได้ดีตั้งแต่วันแรกที่เปิดตา แบบที่อาจารย์ทำ โดยต้องไม่มี complication เหมือนเดิม หนูใช้เวลาค้นหาวิธีอยู่ 3 สัปดาห์ ตอนนี้หนูทำได้แล้วค่ะคุณลุง หนูจำภาพคนไข้เปิดตาวันแรกแล้วเค้ามองเห็นชัดมากจนเค้ากลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ได้ดี เพราะวันนั้นหนูก็น้ำตาซึมเหมือนกันค่ะคุณลุง
เป้าหมายต่อไปของหนู หลังจากบรรลุไป 2 เป้าหมายแล้ว (ไม่มีcomplicationกับมองเห็นชัดตั้งแต่วันแรก) คือใช้เวลาทำให้น้อยลง ตอนนี้หนูกลับมาพิจารณาทุกครั้งว่าหนูเสียเวลากับช่วงไหนนานเป็นพิเศษ และต้องปรับปรุงอย่างไร ปัจจุบันใช้เวลาผ่าประมาณ 15-20 นาทีต่อเคส หนูเห็นอาจารย์ทำแค่เคสละ 8 นาที แปลว่าถ้าหนูเรียนรู้และหมั่นฝึกฝน หนูคิดว่าน่าจะพอมีโอกาสค่ะ
เป้าหมายถัดจากนั้น แต่อาจฝึกไปพร้อมๆกันเลยคือผ่าในเคสไม่ปกติค่ะ กล่าวคือ ปีหน้า หนูจะไปเรียนต่อ subboard glaucoma ตอนนี้หนูจึงพยายามทำเคสที่มุมตาแคบๆ (พวกต้อหินมุมปิด) เพื่อฝึกการทำต้อกระจกในคนเป็นต้อหินค่ะ หนูรู้สึกว่าตอนนี้หนูกำลังเดินขึ้นบันได บางครั้งมันเหนื่อยมากแต่หนูคิดว่าถ้าเรามีเป้าหมาย เราจะสนุกกับการเดินขึ้นบันได และเราจะไม่ท้อค่ะ
ปัจจุบัน หนูทำต้อกระจกไปแล้วทั้งหมดประมาณ 200-300 เคส ในวันที่หนูเข้า OR หนูผ่าตัดคนไข้วันละ 10-12 คน คนละประมาณ 20 นาที ผลการผ่าตัดค่อนข้างพอใจ ไม่มี complication และ 80% มองชัดวันแรกหลังผ่า อีก 20% มองชัด 5-7 วันหลังผ่า คิวผ่าตัดหนูตอนนี้ถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้าแล้วค่ะคุณลุง นั่นแปลว่ามีคนไข้รอผ่ากับหนูอีก 200-300 คน ก่อนที่หนูจะไปเรียนต่อ บางครั้งก็เหนื่อยค่ะคุณลุง แต่ไม่เคยท้อ
อยากให้พี่คนที่เขียนจดหมายหาคุณลุงลองเริ่มต้นใหม่ดู ตั้งเป้าหมายทีละ step สั้นๆ แบบหนูช่วงแรกๆก่อนก็ได้ค่ะ หวังว่าอาจช่วยให้พี่เค้าดีขึ้นบ้างค่ะ ขอร่วมแชร์ประสบการณ์ในฐานะหมอตามือใหม่ค่ะคุณลุง และขอส่งความระลึกถึงถึงคุณลุงสันต์ด้วยค่ะ
แม่เล่าเรื่องคุณลุงให้ฟังตั้งแต่เด็กๆว่ามีเพื่อนแม่สมัยประถมเรียนเก่งมากตอนนี้เป็นหมอหัวใจ ไม่คิดว่าจะได้ปรึกษาคุณลุงเรื่องเรียนต่อเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หนูจำได้ว่าคุณลุงบอกว่าตาเข้ายาก หนูอยากบอกคุณลุงว่า หนูทำได้แล้วนะคะ ได้เป็นหมอตาสมใจ วันนี้ได้มาเจอที่คุณลุงเขียนถึงหมอตาจบใหม่อีก ตรงใจหนูมากๆ เลยขออนุญาตส่งข้อความมาหาคุณลุงค่ะ
เห็นว่าคุณลุงมีบ้านอยู่มวกเหล็ก ถ้าคุณลุงพอมีเวลา เรียนเชิญแวะมาที่บ้านที่เขาใหญ่ของพ่อแม่และหนูนะคะ แม่คงจะดีใจมากที่ได้พบคุณลุงอีกครั้งค่ะ
ด้วยความเคารพ
.................................................................
ตอบครับ
ผมมีเพื่อนเป็นนายช่าง (วิศวกร) แยะ วันหนึ่งมีโอกาสได้รับฟังเรื่องราวของพวกนายช่างในองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง ว่านายช่างสองคนทะเลาะกัน คนหนึ่งเป็นนายช่างด้วยเป็นผู้บริหารระดับผู้อำนวยการด้วย อีกคนเป็นนายช่างซ่อมดะอย่างเดียว ทั้งสองคนทะเลาะกันบ๊งเบ๊งด้วยเรื่องอะไรไม่ทราบ แล้วถึงจุดหนึ่งคนที่เป็นนายช่างอย่างเดียวก็เอามือชี้หน้าด่านายช่างผู้อำนวยการว่า
“..คนอย่างคุณมันไม่ใช่ช่าง และคนอย่างคุณไม่มีวันเป็นช่างได้หรอก”
เรื่องนี้บังเอิญคล้ายกับเรื่องของพวกหมอๆเรื่องหนึ่ง ซึ่งผมอ่านจากที่ไหนจำไม่ได้แล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน มันเป็นประวัติศาสตร์ของการรักษาโรคปอดด้วยการผ่าตัดที่อเมริกายุคหลังเลิกทาสใหม่ๆ คนเขียนเป็น “หมอน้อย” แต่ว่าเป็นหมอเจ้าของคนไข้ เขาเอาคนไข้ไปให้หมอผ่าตัดผ่าให้ สมัยนั้นหมอปริญญายังมีไม่มาก ยังทำงานปะปนกับหมอเถื่อน การผ่าตัดยังไม่ได้แบ่งสาขาความชำนาญเหมือนสมัยนี้ ใครใคร่ผ่าอะไรก็ผ่า คนเขียนเขียนเล่าว่าเขาเอาคนไข้ไปให้หมอที่มีปริญญาและมีใบประกอบโรคศิลป์ของ AMA (สมาคมแพทย์อเมริกัน) และไปยืนดูเขาผ่าตัดด้วย ปรากฏว่าหมอปริญญาคนนั้นทำผ่าตัดงกๆเงิ่นๆกลับไปกลับมาขาดขั้นตอนที่แน่นอน และผลคือคนไข้ของเขาตายไปเพราะการผ่าตัดทั้งสองคน หมอน้อยผิดหวังมาก ต่อมามีข่าวว่ามีหมอจากอังกฤษมาตั้งผ่าตัดปอดอยู่ที่อีกรัฐหนึ่งและมีผลการผ่าตัดที่ดีแต่ว่าไม่มีปริญญาและใบประกอบโรคศิลป์ของ AMA หมอน้อยคนนี้ก็เอาคนไข้ของตัวเองไปให้ผ่าบ้าง ไปเฝ้าดูการผ่าตัดอยู่ด้วย และประทับใจในขั้นตอนการผ่าตัดว่าทำได้ดีเป็นขั้นเป็นตอนและมีฝีมือเยี่ยม คนไข้ของเขาก็รอดตายด้วย ต่อมาหมอปริญญาเมื่อรู้ว่ามีหมอเถื่อนมาแข่งกับตนก็ไปดำเนินการทางกฎหมายทำให้หมอจากอังกฤษคนนั้นผ่าตัดต่อไปไม่ได้ หมอน้อยก็ต้องเอาคนไข้กลับมาให้หมอปริญญาผ่า ไปเฝ้าดูการผ่าตัดอีก เห็นความผิดพลาดไม่เข้าท่าอีก และคนไข้ของเขาก็ตายอีก แต่ว่าหมอปริญญาแทนที่จะรับความผิดพลาดและตั้งใจแก้ไขกลับพยายามกลบเกลื่อนบิดประเด็นเพื่อไม่ให้หมอน้อยปากบอนไปบอกคนอื่น หมอน้อยทนไม่ไหวก็เลยชี้หน้าด่าหมอปริญญาว่า
“You are not a surgeon. You will never be a surgeon. You are a murderer!”
“คุณมันไม่ใช่หมอผ่าตัด คนอย่างคุณเป็นหมอผ่าตัดไม่ได้หรอก คุณเป็นแค่ฆาตกรเท่านั้น”
แม้บรรยากาศจะเป็นคนละอาชีพ แต่ทั้งสองเรื่องนี้เป็นวาทะที่เจาะลึกไปที่ประเด็นเดียวกัน คือประเด็นความเป็น “มืออาชีพ” หรือ professionalism ประเด็นที่ผมจะพูดกับคุณและท่านผู้อ่านท่านอื่น โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในวงการแพทย์ในวันนี้ก็คือคำว่าความเป็นมืออาชีพนั้นมันคืออะไร เมื่อเราพูดว่าวิชาชีพ (profession) เราหมายถึงจ๊อบหรืองานที่ต้องอาศัยการศึกษาอบรมเฉพาะด้านเป็นพิเศษ แบบว่าถ้าไม่ได้เรียนมาในด้านนี้ก็จะทำวิชาชีพนี้ไม่ได้ ดังนั้นพวกเราทุกคนที่เรียนจบมาทางด้านนี้จึงเป็นนักวิชาชีพ แต่มันคนละประเด็นกับการเป็นมืออาชีพ เพราะการเป็นมืออาชีพนั้นกินความลึกซึ้งไปถึงการมีคุณธรรม (conduct) ของนักวิชาชีพที่ดี และมีฝีมือจัดจ้านเจนจบในวิชาชีพของตน ย้ำอีกที “คุณธรรม” และ “ฝีมือ” นะ จึงจะประกอบกันเป็นมืออาชีพได้ ถ้าขาดเสียข้างใดข้างหนึ่ง เราก็จะเป็นได้แต่นักวิชาชีพแต่ไม่ใช่มืออาชีพ และการเป็นมืออาชีพนี้มันไม่ได้เป็นกันทันทีที่จบและได้ปริญญาเหมือนการเป็นนักวิชาชีพ แต่มันต้องอาศัยเวลาที่ผ่านไปในงานอาชีพอย่างไม่ใช่ผ่านไปแบบแก่แดดแก่ลม แต่ผ่านไปแบบสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้ลองผิดลองถูกบวกความใส่ใจปรับปรุงเทคนิคขั้นตอนรายละเอียดด้วยหัวใจที่เปี่ยมเมตตาปรารถนาดีต่อคนไข้
จดหมายของคุณหมอทำให้ผมปลื้มใจ ว่ากระบวนการผลิตแพทย์และการสร้างศัลยแพทย์ของเมืองไทยเรานี้มันยังเวอร์คดีอยู่ จึงทำให้เรายังคงมีผลผลิตอย่างตัวคุณหมอ ที่สามารถเดินบนถนนของการสร้างตัวเองจากการเป็น “นักวิชาชีพ” ไปสู่การเป็น “มืออาชีพ” ได้ด้วยตัวเอง จดหมายของคุณหมอมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเองและสื่อความหมายตรงถึงผู้อ่านได้ครบถ้วนดีแล้ว ผมไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรอีก
มีแต่ขอขอบคุณ ที่คุณหมอเขียนจดหมายฉบับนี้มา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
หนู...ค่ะ ลูกแม่.. ที่เคยโทรไปปรึกษาคุณลุงสันต์เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วเรื่องเรียนต่อตาค่ะ ไม่แน่ใจว่าคุณลุงจะจำได้หรือเปล่า ตอนนี้หนูเป็นหมอตาเต็มตัวแล้วนะคะ อยู่โรงพยาบาล... จังหวัด .... ค่ะ
หนูได้อ่านบทความที่คุณลุงเขียนถึงหมอตาคนหนึ่งที่มาปรึกษาคุณลุงเกี่ยวกับ skill การผ่าตัด มีพี่หมอตาคนนึงแชร์ไว้ใน facebook ค่ะ (http://visitdrsant.blogspot.com/2012/11/blog-post_11.html) หนูจึงพยายามตามหาคุณลุงทาง social media เพื่อที่จะบอกคุณลุงว่า บทความที่คุณลุงเขียนนั้น มีประโยชน์มากสำหรับหมอตาจบใหม่อย่างหนู ทุกคำพูดจริงทุกประการเลยค่ะ (หนูส่งข้อความทั้งหมดนี้ไปทาง message ทาง facebook ของคุณลุง แต่ไม่แน่ใจว่าคุณลุงจะได้รับหรือไม่ เลยขอส่งซ้ำมาทางเมล์นะคะ)
หมอตาทำต้อกระจกแบบผ่าเล็กที่เรียกว่า phacoemulcification with intraocular lens กันตั้งแต่เป็นเด้นท์ หนูทำในโรงเรียนแพทย์ไปประมาณ 60-70 เคส โดยส่วนตัวก่อนจบค่อน ข้างมั่นใจว่าทำได้ดี แต่พอจบไปอยู่โรงพยาบาล .... หนูเป็นหมอตาคนเดียวค่ะคุณลุง หนูพบว่า 60-70 เคสนั้น "ไม่พอ" หนูเจอ complication ที่เกิดจากประสบการณ์อันน้อยนิดของหนูแทบจะเรียกว่าทุกรูปแบบ ตอนนั้นขอแค่ไม่มี complication หนูก็ดีใจมากแล้ว ไม่ได้หวังให้มองชัดปิ๊งในวันแรก (อันนั้นระดับเซียนค่ะ)
คำว่า creativity ที่คุณลุงเขียนนั้นเกิดขึ้นมากมายในชีวิตการผ่าตัดเงียบๆคนเดียวของหนู หนูไม่สามารถปรึกษาใครได้ เพราะหนูอยู่คนเดียว บางเหตุการณ์ไม่เคยเจอ ไม่มีในหนังสือ หนูก็ต้องคิดและแก้ไขปัญหานั้นด้วยตัวเอง หนูเคยเซตเคส 4 เคส มี complication 3 เคส แต่หนูไม่ depress ค่ะ หนูกลับมาทบทวนทุกครั้งว่ามันเกิดจากอะไร ขั้นตอนไหน หนูต้องระวังอะไร หนูต้องไม่ผิดซ้ำอีก
2 เดือนผ่านไป หนูเริ่มไม่มี complication แล้ว ทีนี้หนูจึง focus มาที่ จะทำอย่างไร ให้คนไข้เห็นได้ดีตั้งแต่วันแรกที่เปิดตา แบบที่อาจารย์ทำ โดยต้องไม่มี complication เหมือนเดิม หนูใช้เวลาค้นหาวิธีอยู่ 3 สัปดาห์ ตอนนี้หนูทำได้แล้วค่ะคุณลุง หนูจำภาพคนไข้เปิดตาวันแรกแล้วเค้ามองเห็นชัดมากจนเค้ากลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ได้ดี เพราะวันนั้นหนูก็น้ำตาซึมเหมือนกันค่ะคุณลุง
เป้าหมายต่อไปของหนู หลังจากบรรลุไป 2 เป้าหมายแล้ว (ไม่มีcomplicationกับมองเห็นชัดตั้งแต่วันแรก) คือใช้เวลาทำให้น้อยลง ตอนนี้หนูกลับมาพิจารณาทุกครั้งว่าหนูเสียเวลากับช่วงไหนนานเป็นพิเศษ และต้องปรับปรุงอย่างไร ปัจจุบันใช้เวลาผ่าประมาณ 15-20 นาทีต่อเคส หนูเห็นอาจารย์ทำแค่เคสละ 8 นาที แปลว่าถ้าหนูเรียนรู้และหมั่นฝึกฝน หนูคิดว่าน่าจะพอมีโอกาสค่ะ
เป้าหมายถัดจากนั้น แต่อาจฝึกไปพร้อมๆกันเลยคือผ่าในเคสไม่ปกติค่ะ กล่าวคือ ปีหน้า หนูจะไปเรียนต่อ subboard glaucoma ตอนนี้หนูจึงพยายามทำเคสที่มุมตาแคบๆ (พวกต้อหินมุมปิด) เพื่อฝึกการทำต้อกระจกในคนเป็นต้อหินค่ะ หนูรู้สึกว่าตอนนี้หนูกำลังเดินขึ้นบันได บางครั้งมันเหนื่อยมากแต่หนูคิดว่าถ้าเรามีเป้าหมาย เราจะสนุกกับการเดินขึ้นบันได และเราจะไม่ท้อค่ะ
ปัจจุบัน หนูทำต้อกระจกไปแล้วทั้งหมดประมาณ 200-300 เคส ในวันที่หนูเข้า OR หนูผ่าตัดคนไข้วันละ 10-12 คน คนละประมาณ 20 นาที ผลการผ่าตัดค่อนข้างพอใจ ไม่มี complication และ 80% มองชัดวันแรกหลังผ่า อีก 20% มองชัด 5-7 วันหลังผ่า คิวผ่าตัดหนูตอนนี้ถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้าแล้วค่ะคุณลุง นั่นแปลว่ามีคนไข้รอผ่ากับหนูอีก 200-300 คน ก่อนที่หนูจะไปเรียนต่อ บางครั้งก็เหนื่อยค่ะคุณลุง แต่ไม่เคยท้อ
อยากให้พี่คนที่เขียนจดหมายหาคุณลุงลองเริ่มต้นใหม่ดู ตั้งเป้าหมายทีละ step สั้นๆ แบบหนูช่วงแรกๆก่อนก็ได้ค่ะ หวังว่าอาจช่วยให้พี่เค้าดีขึ้นบ้างค่ะ ขอร่วมแชร์ประสบการณ์ในฐานะหมอตามือใหม่ค่ะคุณลุง และขอส่งความระลึกถึงถึงคุณลุงสันต์ด้วยค่ะ
แม่เล่าเรื่องคุณลุงให้ฟังตั้งแต่เด็กๆว่ามีเพื่อนแม่สมัยประถมเรียนเก่งมากตอนนี้เป็นหมอหัวใจ ไม่คิดว่าจะได้ปรึกษาคุณลุงเรื่องเรียนต่อเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หนูจำได้ว่าคุณลุงบอกว่าตาเข้ายาก หนูอยากบอกคุณลุงว่า หนูทำได้แล้วนะคะ ได้เป็นหมอตาสมใจ วันนี้ได้มาเจอที่คุณลุงเขียนถึงหมอตาจบใหม่อีก ตรงใจหนูมากๆ เลยขออนุญาตส่งข้อความมาหาคุณลุงค่ะ
เห็นว่าคุณลุงมีบ้านอยู่มวกเหล็ก ถ้าคุณลุงพอมีเวลา เรียนเชิญแวะมาที่บ้านที่เขาใหญ่ของพ่อแม่และหนูนะคะ แม่คงจะดีใจมากที่ได้พบคุณลุงอีกครั้งค่ะ
ด้วยความเคารพ
.................................................................
ตอบครับ
ผมมีเพื่อนเป็นนายช่าง (วิศวกร) แยะ วันหนึ่งมีโอกาสได้รับฟังเรื่องราวของพวกนายช่างในองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง ว่านายช่างสองคนทะเลาะกัน คนหนึ่งเป็นนายช่างด้วยเป็นผู้บริหารระดับผู้อำนวยการด้วย อีกคนเป็นนายช่างซ่อมดะอย่างเดียว ทั้งสองคนทะเลาะกันบ๊งเบ๊งด้วยเรื่องอะไรไม่ทราบ แล้วถึงจุดหนึ่งคนที่เป็นนายช่างอย่างเดียวก็เอามือชี้หน้าด่านายช่างผู้อำนวยการว่า
“..คนอย่างคุณมันไม่ใช่ช่าง และคนอย่างคุณไม่มีวันเป็นช่างได้หรอก”
เรื่องนี้บังเอิญคล้ายกับเรื่องของพวกหมอๆเรื่องหนึ่ง ซึ่งผมอ่านจากที่ไหนจำไม่ได้แล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน มันเป็นประวัติศาสตร์ของการรักษาโรคปอดด้วยการผ่าตัดที่อเมริกายุคหลังเลิกทาสใหม่ๆ คนเขียนเป็น “หมอน้อย” แต่ว่าเป็นหมอเจ้าของคนไข้ เขาเอาคนไข้ไปให้หมอผ่าตัดผ่าให้ สมัยนั้นหมอปริญญายังมีไม่มาก ยังทำงานปะปนกับหมอเถื่อน การผ่าตัดยังไม่ได้แบ่งสาขาความชำนาญเหมือนสมัยนี้ ใครใคร่ผ่าอะไรก็ผ่า คนเขียนเขียนเล่าว่าเขาเอาคนไข้ไปให้หมอที่มีปริญญาและมีใบประกอบโรคศิลป์ของ AMA (สมาคมแพทย์อเมริกัน) และไปยืนดูเขาผ่าตัดด้วย ปรากฏว่าหมอปริญญาคนนั้นทำผ่าตัดงกๆเงิ่นๆกลับไปกลับมาขาดขั้นตอนที่แน่นอน และผลคือคนไข้ของเขาตายไปเพราะการผ่าตัดทั้งสองคน หมอน้อยผิดหวังมาก ต่อมามีข่าวว่ามีหมอจากอังกฤษมาตั้งผ่าตัดปอดอยู่ที่อีกรัฐหนึ่งและมีผลการผ่าตัดที่ดีแต่ว่าไม่มีปริญญาและใบประกอบโรคศิลป์ของ AMA หมอน้อยคนนี้ก็เอาคนไข้ของตัวเองไปให้ผ่าบ้าง ไปเฝ้าดูการผ่าตัดอยู่ด้วย และประทับใจในขั้นตอนการผ่าตัดว่าทำได้ดีเป็นขั้นเป็นตอนและมีฝีมือเยี่ยม คนไข้ของเขาก็รอดตายด้วย ต่อมาหมอปริญญาเมื่อรู้ว่ามีหมอเถื่อนมาแข่งกับตนก็ไปดำเนินการทางกฎหมายทำให้หมอจากอังกฤษคนนั้นผ่าตัดต่อไปไม่ได้ หมอน้อยก็ต้องเอาคนไข้กลับมาให้หมอปริญญาผ่า ไปเฝ้าดูการผ่าตัดอีก เห็นความผิดพลาดไม่เข้าท่าอีก และคนไข้ของเขาก็ตายอีก แต่ว่าหมอปริญญาแทนที่จะรับความผิดพลาดและตั้งใจแก้ไขกลับพยายามกลบเกลื่อนบิดประเด็นเพื่อไม่ให้หมอน้อยปากบอนไปบอกคนอื่น หมอน้อยทนไม่ไหวก็เลยชี้หน้าด่าหมอปริญญาว่า
“You are not a surgeon. You will never be a surgeon. You are a murderer!”
“คุณมันไม่ใช่หมอผ่าตัด คนอย่างคุณเป็นหมอผ่าตัดไม่ได้หรอก คุณเป็นแค่ฆาตกรเท่านั้น”
แม้บรรยากาศจะเป็นคนละอาชีพ แต่ทั้งสองเรื่องนี้เป็นวาทะที่เจาะลึกไปที่ประเด็นเดียวกัน คือประเด็นความเป็น “มืออาชีพ” หรือ professionalism ประเด็นที่ผมจะพูดกับคุณและท่านผู้อ่านท่านอื่น โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในวงการแพทย์ในวันนี้ก็คือคำว่าความเป็นมืออาชีพนั้นมันคืออะไร เมื่อเราพูดว่าวิชาชีพ (profession) เราหมายถึงจ๊อบหรืองานที่ต้องอาศัยการศึกษาอบรมเฉพาะด้านเป็นพิเศษ แบบว่าถ้าไม่ได้เรียนมาในด้านนี้ก็จะทำวิชาชีพนี้ไม่ได้ ดังนั้นพวกเราทุกคนที่เรียนจบมาทางด้านนี้จึงเป็นนักวิชาชีพ แต่มันคนละประเด็นกับการเป็นมืออาชีพ เพราะการเป็นมืออาชีพนั้นกินความลึกซึ้งไปถึงการมีคุณธรรม (conduct) ของนักวิชาชีพที่ดี และมีฝีมือจัดจ้านเจนจบในวิชาชีพของตน ย้ำอีกที “คุณธรรม” และ “ฝีมือ” นะ จึงจะประกอบกันเป็นมืออาชีพได้ ถ้าขาดเสียข้างใดข้างหนึ่ง เราก็จะเป็นได้แต่นักวิชาชีพแต่ไม่ใช่มืออาชีพ และการเป็นมืออาชีพนี้มันไม่ได้เป็นกันทันทีที่จบและได้ปริญญาเหมือนการเป็นนักวิชาชีพ แต่มันต้องอาศัยเวลาที่ผ่านไปในงานอาชีพอย่างไม่ใช่ผ่านไปแบบแก่แดดแก่ลม แต่ผ่านไปแบบสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้ลองผิดลองถูกบวกความใส่ใจปรับปรุงเทคนิคขั้นตอนรายละเอียดด้วยหัวใจที่เปี่ยมเมตตาปรารถนาดีต่อคนไข้
จดหมายของคุณหมอทำให้ผมปลื้มใจ ว่ากระบวนการผลิตแพทย์และการสร้างศัลยแพทย์ของเมืองไทยเรานี้มันยังเวอร์คดีอยู่ จึงทำให้เรายังคงมีผลผลิตอย่างตัวคุณหมอ ที่สามารถเดินบนถนนของการสร้างตัวเองจากการเป็น “นักวิชาชีพ” ไปสู่การเป็น “มืออาชีพ” ได้ด้วยตัวเอง จดหมายของคุณหมอมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเองและสื่อความหมายตรงถึงผู้อ่านได้ครบถ้วนดีแล้ว ผมไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรอีก
มีแต่ขอขอบคุณ ที่คุณหมอเขียนจดหมายฉบับนี้มา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์