หมอน้อยอยากได้อเมริกันบอร์ด
เรียนถามอาจารย์ครับ
ผมเป็น intern 2 อยู่ รพช. อยากเรียน train resident med ที่อเมริกา (คืออยากได้ American board)
ต้องหาข้อมูลที่ไหน เตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
....................................................................................
ตอบครับ
ผมหยิบจดหมายของคุณหมอขึ้นมาตอบทั้งๆที่ไม่ได้มีสาระอะไรน่าสนใจสำหรับคนทั่วไปเลย เพราะเห็นเป็นโอกาสที่อยากจะสนับสนุนให้หมอรุ่นใหม่ๆพากันสนใจไปฝึกอบรมในต่างประเทศกันมากขึ้น ที่สนับสนุนให้ไปฝึกอบรมเมืองนอกไม่ใช่เพราะการฝึกอบรมในบ้านเรามันให้ความรู้น้อยนะครับ การฝึกอบรมในบ้านเราในแง่ของเนื้อหาสาระของวิชาหรือเทคนิคการทำหัตถการนั้น ไม่ได้ด้อยกว่าระบบการฝึกอบรมของฝรั่งเลย แต่สิ่งที่จะได้จากการไปฝึกอบรมในต่างประเทศโดยที่หากอยู่ในเมืองไทยนี้หาไม่ได้ก็คือการได้เรียนรู้วินัยในการทำงาน (work discipline) และวัฒนธรรมในการทำงาน (work culture)
เช่นเดียวกัน ผมอยากให้บทความนี้มีส่วนสนับสนุนให้เยาวชนคนหนุ่มสาวไทยทั้งหลายที่พ่อแม่นิยมส่งไปเรียนปริญญาโทในต่างประเทศไม่ว่าสาขาไหน เมื่อจบแล้วให้หาทางดิ้นรนขวนขวายหาโอกาสอยู่ฝึกงานเป็นเล่าเบ้ (business internship) อยู่ในบริษัทของฝรั่งให้นานที่สุดเท่าที่กฎหมายและหนังสือเดินทางจะเปิดโอกาสให้อยู่ได้ แม้การเริ่มต้นจะไม่ได้เงินสักแดงเดียวผมก็ยังสนับสนุนให้ทำ แม้ในการทำงานนั้นฝรั่งเขาจะทั้งโขกสับทั้งเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของความเป็นคนเพียงไหนแต่ก็ขอให้ทน (ผมเคยอ่านการ์ตูนฝรั่งของดิลเบิร์ก พวกพี่ๆในที่ทำงานขอเด็กฝึกงานไปเพียงเพื่อจะให้เอาหัวไปอุดรูโหว่บนเพดานที่พวกเขาตามช่างมาซ่อมเมื่อไหร่ก็ไม่มาสักที) ทั้งนี้อย่าจำกัดอยู่แค่การเป็นลูกจ้างล้างจานอยู่ในร้านอาหารไทย เพราะการทำงาน คือรสชาติที่แท้จริงของการเป็นนักเรียนนอก สิ่งที่ได้มามีคุณค่ามากกว่าการนั่งเรียนเอาปริญญาในห้องเรียนอย่างเทียบกันไม่ได้
พูดถึง work culture มันเป็นอะไรที่หากเราไม่ได้เข้าไปอยู่ในบรรยากาศนั้น เราจะไม่ได้เรียนรู้และไม่เก็ท บางทีก็เป็นอะไรที่เล็กๆน้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น
ครั้งหนึ่ง เป็นต้นฤดูหนาว การผ่าตัดหัวใจเริ่มกันปกติที่ 8.00 น. เมื่อผมและนายกระหืดกระหอบไปถึงห้องผ่าตัดตามเวลาเป๊ะก็ปรากฏว่าคนไข้ยังไม่อยู่ในห้องผ่าตัด สอบถามได้ความว่าจูดิทซึ่งเป็นหมอดมยามาสายไปสิบห้านาทีโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า จึงเตรียมคนไข้ไม่ทัน ขณะที่ทีมอื่นไม่ว่าจะเป็นทีมพยาบาล ทีมนักสรีรวิทยา ทีมเครื่องหัวใจและปอดเทียม เขามาเตรียมงานส่วนของเขาเรียบร้อยหมดแล้ว พอการผ่าตัดพร้อมที่จะเริ่มต้น นายก็เปรยถามจูดิทว่า
“Problem?” (มีปัญหาพิเศษอะไรหรือ) จูดิทตอบว่า
“Nop! Just slept in.” (ไม่มีอะไร แค่หลับลืมตื่น)
คำตอบของจูดิททำให้เกิดความเงียบแบบช็อกซีนีมาไปทั้งห้องผ่าตัด โดยศักดิ์ศรีจูดิทเป็นหมอดมยา (anesthetic consultant) เธอมีศักดิ์ศรีเท่ากับนายซึ่งเป็นหมอผ่าตัดทุกประการ คนระดับนี้ไม่พูดโกหกแน่นอน แต่การที่จูดิทมาทำงานสายโดยไม่บอกกล่าวใครและไม่มีเหตุอันควรนี่แหละ ที่ทำให้ทั้งห้องเงียบกริบ เงียบจนผมประหลาดใจ และการผ่าตัดรอบนั้นซึ่งปกติจะมีการพูดคุยเล่นหัวเล่าเรื่องตลกหรืออย่างน้อยก็มีเพลงคลาสสิกเปิดคลอเบาๆ กลายเป็นการผ่าตัดแบบเงียบกริบตั้งแต่ต้นจนจบแม้แต่เพลงยังไม่มีใครกล้าเปิด ตัวผมนั้นเข้าใจจูดิท เพราะเธอเป็นนักสกีข้ามเขา (cross country ski) เธอคงไปเริ่มสกีต้นฤดูแบบไม่เจียมสังขารจนหลับลืมตื่น แต่สิ่งใหม่ๆที่ผมเพิ่งเข้าใจก็คือความตรงต่อเวลาในการทำงานของฝรั่งนั้น ผมเพิ่งเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องซีเรียสถึงเพียงนี้
อีกครั้งหนึ่งเป็นการทำผ่าตัดหัวใจชนิดที่ต้องตัดเส้นทางเดินของไฟฟ้าที่หัวใจห้องบน ก่อนผ่าต้องให้หมออายุกรรมมาใช้ไฟฟ้าจี้ ในช่วงนี้ทีมของเราซึ่งเป็นหมอผ่าตัดก็ได้แต่คอยไป นายไปคอยที่ห้องทำงาน ส่วนผมซึ่งเป็นขี้ข้าต้องเฝ้าคนไข้อยู่ในห้องผ่าตัด หมออายุรกรรมมาพร้อมกันหมอผู้ช่วยของเขาซึ่งเป็นหมอประจำบ้านชาวต่างชาติจากประเทศหนึ่งในเอเซีย) เมื่อเธอฟอกมือสวมเสื้อกาวน์เสร็จแล้วพยาบาลก็ใส่ถุงมือให้ตามปกติ พอพวกเธอเสร็จงาน ผมซึ่งหลับอยู่บนเก้าอี้ริมอ่างล้างมือก็ได้ยินหมออายุรกรรมนายกับขี้ข้าเขาพูดกันว่า
“เวลาพยาบาลเขาใส่ถุงมือให้ คุณก็ say thank you เขาเสียหน่อยสิ มันเป็นน้ำใจ (curtersy)”
ผมแอบลืมตาดูเห็นหมอผู้หญิงลูกน้องผงกศีษะหงึกๆๆๆและมองนายของเธอด้วยแววตาขอบคุณ คือหมอแพทย์ประจำบ้านซึ่งเป็นกระเหรี่ยงมาใหม่คนนั้นเธอยังไม่เข้าใจคัลเจอร์การทำงานด้วยกันของฝรั่ง ว่าการขอบคุณเพื่อรับทราบการทำอะไรของคนอื่นเล็กๆน้อยให้ตัวเองแม้จะเป็นการทำตามหน้าที่เป็นน้ำใจที่พึงให้แก่กันในการทำงาน
อีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นตอนผมใกล้จบแล้วแหละ คือนายของผมท่านอายุมาก ได้ต่ออายุมาเรื่อยจนอายุ 67 ปีก็ยังผ่าตัดอยู่ ขณะที่สมองของท่านนั้นจำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว ต้องอาศัยคนบอกบท ตัวผมซึ่งเป็นขี้ข้าคนสนิทมีหน้าที่บอกบท แต่บางบทผมก็ไม่ทราบ ก็จึงไม่ได้บอก มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่เราสองคนกำลังฟอกมือเตรียมเข้าผ่าตัด เสิร์ทซึ่งเป็นนักเครื่องหัวใจและปอดเทียมก็เข้ามากระซิบข้างหูนายแต่ผมก็ได้ยินว่า
“วันนี้เป็นวันเกิดของลี”
ลีเป็นหญิงอเมริกันเชื้อสายจีน เธอเป็นหัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัดที่ก้าวร้าวดุดันและมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมาก สักครู่เมื่อลีเข้ามาช่วยใส่เสื้อกาวน์ให้นาย นายสัพยอกด้วยเสียงเรียบและหน้าตายว่า
“นี่..เด็กหญิงลี เธอมีอายุเท่าไหร่แล้ว”
เพียงแค่นี้ก็มีเสียงตอบรับด้วยเสียงหัวเราะครื้นเครงทั้งห้องผ่าตัด ตัวลีนั้นแก้มแดงเหมือนเด็ก แน่นอน เธอจะต้องดีใจมากที่นายซึ่งเป็นคนสำคัญและอายุมากแล้วยังจำวันเกิดของเธอได้ นี่ก็เป็นคัลเจอร์อีกอย่างหนึ่งของการทำงานด้วยกันของฝรั่ง
กลับมาที่เรื่องของคุณหมอดีกว่า
อ้าว..เดี๋ยว ขอเล่าอีกเรื่องนะ เป็นการเทียบชั้นความรุนแรงระหว่างความ “เซ่อ” กับความ “ขี้ฉ้อ” ซึ่งฝรั่งเรียกว่า bullshit เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ที่แผนกผ่าตัดหัวใจนี้ ในหน้าที่ของทาส (registrar) ทุกครั้งที่อยู่เวร ตอนเช้าก่อนสิ้นสุดเวร หมอรีจิสตร้าร์เวรหน่วยผ่าตัดหัวใจต้องไปราวด์ห้องฉุกเฉินเพื่อเคลียร์ผู้ป่วยที่มีปัญหาฉุกเฉินทุกรายให้หมดก่อน จึงจะเริ่มงานผ่าตัดที่แผนกของตนเองได้ ความจริงก็มีหมอน้อย (house surgeon) ที่ประจำอยู่ที่ห้องฉุกเฉินคอยดูแลและชงเรื่องให้อยู่แล้วว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เมื่อผมดูจบแล้วก็ต้องเซ็นชื่อเคาน์เตอร์ไซน์เรื่องที่หมอน้อยชงมาว่าถูกต้องแล้ว ถ้าลืมเซ็นเลขาจะตามเอามาให้เซ็นตอนสายวันนั้นที่แผนก เรียกว่าเป็นรูทีนที่ทำกันทุกเมื่อเชื่อวัน มีอยู่วันหนึ่งผมทำผ่าตัดอยู่จนดึกค่อนรุ่ง ตื่นเช้าพอจะรีบไปราวด์ที่อีอาร์ ไปถึงกลางทางก็เจอสาวหมวยนักกายภาพเชื้อสายจีนผู้น่ารักเลยเสียเวลาเม้าท์กับเธอที่เฉลียงนานไปหน่อย จนถูกเพจเรียกให้กลับมาเข้าห้องผ่าตัด สรุปก็คือไม่ได้ไปราวด์ที่อีอาร์. ต้องใช้วิธีโทรศัพท์ถามและสั่งการกับหมอน้อยไปแบบลวกๆ หมอน้อยว่าอย่างไรผมก็เออ..เออ..เออ พอตอนสายเลขาเอาเอกสารของหมอน้อยมาให้เซ็นเคาร์เตอร์ไซน์ ผมไม่ได้ไปดูอีอาร์.จึงรู้สึกกระดากใจ และไม่เซ็น เลขาเตือนว่า
“เฮ้.. ยูไม่เซ็นนี่ถ้านายรู้เข้าจะโดนสกรูยับเลยนะ หรือเขาอาจจะส่งยูกลับไปเลี้ยงควายน้ำ (water buffalo) ที่เมืองไทยก็ได้นะ” ผมตอบว่า
“เออ.. เออ ผมรู้ ช่างมันเถอะ เผื่อฟลุ้กนายไม่ว่าอะไรก็สบายไป”
ผ่านไปได้โดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นเกือบเดือน นายตรวจสอบเอกสารพบว่าผมไม่ไปดูอีอาร์จึงเรียกว่าผมไปถาม
“ยูลืมเซ็นเคาน์เตอร์ไซน์หรือเปล่า” ผมอ้อมแอ้มตอบว่า
“แหะ..แหะ ผมไม่ได้ลืมครับ แต่ผมลืมไปดูอีอาร์”
เท่านั้นแหละ ระเบิดก็ลง นายด่าผมเปิงว่าคนที่ไม่รู้หน้าที่ของตัวเองจะนับว่าเป็นคนได้อย่างไร แล้วก็ไล่ตะเพิดผมออกจากห้องว่าไปให้พ้นหน้า ผมรีบเผ่นพรวดออกมาเพราะกลัวจะมีอะไรตามมามากกว่าคำด่า แต่ก็ยังทันได้เห็นเลขาหน้าห้องนายมองสบตาด้วยความในใจที่ผมเดาได้ความว่า
“กูบอกมึงแล้ว”
พอตอนบ่ายผมต้องเข้าเคสผ่าตัดกับนาย ปรากฏว่าทุกอย่างเป็นปกติ นายไม่พูดถึงว่าจะนับผมเป็นคนหรือไม่อีกเลย ขณะที่ผมสงบเสงี่ยมเป็นพิเศษ แต่นายก็ยังคงหยอกล้อเมคโจ๊กขณะผ่าตัดไปตามปกติ แสดงว่านายหายโกรธผมแล้ว
แล้วก็มาถึงตาหมอซิงห์ซึ่งเป็นรีจิสตร้าร์แขกบ้าง นายซิงห์นี้เป็นหมอทหารยศพันโท เป็นคนถือยศถือศักดิ์ ตั้งแต่เข้ามาก็ขึ้นชื่อว่าเป็นคนเรื่องมากสุดๆ ความที่รู้ภาษาอังกฤษดี เอะอะอะไรแกก็จะเถียงพยาบาลไม่ตกฟาก สบโอกาสเมื่อไหร่แกก็จะด่าพยาบาลเจ็บ จนเป็นที่อิดหนาระอาใจในหมู่พยาบาลทั่วไป แม้ว่าเรื่องที่นายซิงห์ด่านั้นผมเองหลายครั้งก็มองว่ามันก็สมควรอยู่หรอก ชะตาของหมอซิงห์มาขาดเอาแบบปลาตายน้ำตื้นแท้ๆ คือวันหนึ่งขณะที่ยืนผ่าตัดกัน หมอดมยาเปรยให้ท่านเซอร์(นาย) ฟังว่า
“เช้านี้ไปลุยคนไข้หลอดเลือดใหญ่แตกกับหมอน้อยที่อีอาร์มา มันสุดๆ กว่าจะใส่ทิวป์รีซัสซิเททจนตายคามือก็ล่อเข้าไปเกือบชั่วโมง” นายถามว่า
“อ้าว แล้วรีจิสตร้าร์ไม่มีใครไปช่วยยูหรือ” หมอดมยาตอบว่า
“ไม่รุ ผมไม่เห็นมีใคร” นายตอบว่า
“ซิงห์ก็อยู่ที่นั่นนี่” แล้วก็เงียบไป
พอมาราวด์วอร์ดด้วยกันตอนเย็น นายถามซิงห์ว่า
“เช้านี้ยูไปดูอีอาร์หรือเปล่า ทุกอย่างเรียบร้อยดีไหม” ซิงห์ตอบแบบเนียนมากว่า
“เยสเซอร์ ถ้าไม่นับคนไข้เส้นเลือดแตกตายคนหนึ่ง อย่างอื่นก็เรียบร้อยดี”
ค่ำวันนั้นยายเลขาจอมโป้งก็โทรศัพท์มาหาผม
“แซ้นท์ นายเรียกดูว่าซิงห์เซ็นเค้าเตอร์ไซน์ที่อีอาร์หรือเปล่า ฉันก็เอาลายเซ็นให้ดู แต่ฉันอยากรู้ว่านี่มันเป็นเรื่องอะไรกัน”
ผมฟังข่าวก็รู้สึกว่าระเบิดจะลงอีกแน่นอนแล้ว จึงจ้ำอ้าวไปออฟฟิศ ทำทีเป็นลืมเอกสาร แต่ที่จริงอยากไปดูว่าจะมีรายการพิเศษอะไรไหม และก็ไม่ผิดหวัง ยังไม่ทันโผล่ถึงก็ได้ยินเสียงนายด่าลั่นคับออฟฟิศ
“Don’t bullshit me”
“อย่ามาขี้วัว..เอ๊ย ไม่ใช่ อย่ามาตอแหลกับข้านะ”
อีกมุมหนึ่ง หมอซิงห์ยืนสูงใหญ่เอามือกอดอกแบบทหารมองนายกลับแบบขึงขัง ไม่ต้องบอกก็รู้ชัดแล้วว่านายโมโหที่ซิงห์ไม่ไปดูอีอาร์แล้วเซ็นหลอกว่าไปดูมาแล้ว แต่ซวยที่หมอดมยาปากโป้งให้นายจับได้ ยังไม่ทันที่ผมจะหาที่แอบ นายก็เรียกทันที
“ แซนท์ ยูคัมอิน” แล้วผมกับซิงห์ก็ได้ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่
“We are in science community, you guys don’t bullshit me. I don’t mind if you are damn fool but you can’t bullshit me”
“เราหากินอยู่ในสังคมวิทยาศาสตร์ พวกเอ็งอย่าเป็นคนตอแหล พวกเอ็งเซ่อข้าไม่ว่า แต่อย่ามาตอแหลกับข้า”
ผมเพิ่งเห็นนายน็อตหลุดอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในชีวิต นายโกรธหน้าดำยิ่งกว่าตอนที่ผมไม่ไปดูอีอาร์สักสิบเท่า วันรุ่งขึ้นนายก็มีคำสั่งห้ามหมอซิงห์ทำผ่าตัดเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งเป็นชะตากรรมที่หมอซิงห์ก็ก้มหน้ารับแต่โดยดี มันเป็นชะตากรรมที่ไม่มีทางเลือก เพราะวันสุดท้ายที่จะออกจากที่นี่ พวกเราทุกคนต้องการจดหมายจากนาย ที่จะบอกให้โลกรู้ว่าเจ้าคนที่ถือจดหมายนี้เป็นคนที่ใช้การได้ ซึ่งด้วยจดหมายฉบับนั้น เราจะไปทำมาหากินที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ได้
นอกเรื่องไปไกลแล้ว กลับมาตอบคำถามของคุณหมอดีกว่า
1. ถามว่าอยากไปเป็นเรสิเด้นท์เมืองนอกต้องทำอย่างไร ผมแนะนำว่าให้ประเมินตัวเองก่อนใน 4 ประเด็น ดังนี้
1.1 ประเมินความพร้อมเรื่องเวลาในชีวิตของคุณหมอก่อน คือการเตรียมตัวนี้มันต้องใช้เวลา 2-5 ปี ดังนั้นตัวคุณหมอต้องสามารถปลดภาระจากเรื่องอื่นๆ เช่นหากต้องหาเงินใช้หนี้เก่าให้พ่อแม่ อย่างนี้คงตัดใจเลิกสอบดีกว่า หากต้องหาเงินเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย อย่างนี้ก็จะลำบากหน่อย แม้ว่าถ้าใจถึงจะทำได้แต่ลูกเมียก็จะลำบากอยู่ดี การสอบจะเวอร์คสุดคือเมื่อเป็นโสดไม่มีภาระทางการเงิน ไม่มีใครมาได้เสียอะไรกับชีวิตของเรา และทำงานแบบเบาๆว่างๆ เช่นอยู่ตามศูนย์อนามัยหรือเป็นมือปืนรับจ้างตามอีอาร์.
1.2 ประเมินสถานะการเงินของตัวเองก่อน เพราะงานนี้มันต้องใช้เงินมากเหมือนกัน ค่าสอบนั้นไม่เท่าไหร่ เป็นหลักครั้งละไม่กี่หมื่น แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องไปอยู่อเมริกาเพื่อติวเข้มและเข้าสอบสะเต็พหลังๆเนี่ย มันใช้เงินเอาเรื่องอยู่ คือหมอต้องมีอย่างน้อยสักหนึ่งหรือสองล้านไว้ในกระเป๋า จึงจะเดินหน้าได้แบบไม่ลำบาก ทั้งหมดนี้ยังไม่รู้จะออกหัวหรือออกก้อยนะ หมายความว่าหมดเงินไปสองล้านแล้วอาจจะสอบตกซ้ำซากจนสิทธิสอบหมดก็เป็นได้
1.3 ประเมินความรู้ของตัวเอง วิธีประเมินง่ายๆก็ไปซื้อข้อสอบเก่ามาทำแล้วให้คะแนนตัวเองดู คือความรู้ที่เขาสอบมันเป็นความรู้พื้นฐานก็จริง แต่มันเป็นพื้นฐานระดับลึกและหนักแน่นพอสมควร หมายความว่าถ้าความรู้พื้นฐานทุกเรื่องไม่ดี ก็สอบไม่ผ่านแหงๆ สมมุติว่าหมอเรียนเรสิเด้นท์เมืองไทย หมอมีความรู้พื้นฐานดีเพียงสาขาเดียวคือสาขาเฉพาะทางที่หมอจะเรียนนั้นก็สอบผ่านได้แล้ว แต่การสอบ USMILE ต้องมีความรู้พื้นฐานดีครบทุกสาขา อย่างหนังสือสรีรวิทยาเช่นของ Ganong เราต้องจำได้หมดแทบทุกหน้า จึงจะสอบได้ ดังนั้นหากลองทำข้อสอบเก่าที่ซื้อมาแล้วได้คะแนนไม่ถึง ก็ให้นั่งปรับปรุงความรู้อยู่ที่บ้านก่อน ใช้วิธีสมัครเรียนกับติวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ทก็ได้ ซื้อหนังสือเตรียมสอบ USMILE มาอ่านก็ได้ เช่นหนังสือของ Rypin ตัวอย่างข้อสอบของ NMS เป็นต้น คือให้เริ่มแบบอ่านเอง ทดสอบตัวเอง เอาตรงนี้ให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปเสียเงินค่าสมัครสอบ
1.4 ประเมินภาษาอังกฤษของตัวเอง วิธีง่ายๆก็คือลองไปสอบ IELTS ของบริติชเคาน์ซิลดู ถ้าคะแนนไม่พ้นระดับ 7 (คนเก่งสุดจะได้ระดับ 9) ก็อย่าเพิ่งไปสมัครสอบ ต้องติวภาษาอังกฤษให้ตัวเองทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน แล้วให้สอบได้ถึงระดับ 7 ขึ้นไปก่อนค่อยไปสมัครสอบ เพราะผมเห็นหลายรายที่มุ่งเอาดีทางความรู้คลินิกและพรีคลินิก แต่ท้ายที่สุดมาตายน้ำตื้นที่ภาษาอังกฤษ
2.. ถามว่าถ้าคิดว่าตัวเองพร้อมแล้ว จะสมัครสอบ ทำอย่างไร ตอบว่าวิธีง่ายที่สุดคือคุณหมอเข้าไปในเว็บของ ECFMG แล้วรูดการ์ดจ่ายเงินสมัครได้เลย ( https://iwa2.ecfmg.org/appforcert/onlinedocs/afcoverview.aspx ) เขามีรายละเอียดและขั้นตอนวิธีสอบทางคอมพิวเตอร์ สถานที่ที่จะเลือกสอบได้ วันเวลาและกฎกติกาต่างๆ มีให้หมด
การสอบ USMILE นี้เขาสอบกันสามสะเต็พ คือพรีคลินิก เรียกว่า step1 สอบคลินิกล้วนๆ แล้วไปสอง step 2ck เป็นการสอบภาคคลินิกส่วนข้อเขียน และสอบภาคการซักประวัติตรวจร่างกายกับคนไข้จริงๆ (เป็นนักแสดง) เรียกว่า step 2cs แล้วก็ไป step 3 คือการสอบสอบลงกองซึ่งเหมือนกันการสอบใบประกอบของบ้านเรา ทั้งหมดนี้บอกก่อนนะว่ามันหินอยู่พอสมควร มีแพทย์ไทยผ่านด่านการสอบเหล่านี้ไปได้ปีละสักไม่ถึง 10 คนได้มัง แต่ผมก็ยังสนับสนุนให้คุณหมอเดินหน้าสอบอยู่ดี เพราะทุกขั้นตอนที่ได้ทำไป แม้จะไปไม่ถึงขั้นสุดท้าย ผมรับประกันว่ามันมีประโยชน์กับตัวเราทั้งสิ้น
ในแง่ของการหางานทำ หรือการหาตำแหน่งเรสิเด้นท์ เมื่อสอบได้แล้ว การหางานทำเป็นของง่าย เพราะแรงงานทาสเป็นที่ต้องการในอเมริกามากทั้งแพทย์และพยาบาล ตำแหน่งเรสิเด้นท์มีเหลือเฟือ เพื่อนผมยังเคยเขียนจดหมายมาหาผมให้ส่งแพทย์และพยาบาลไปฝึกทำงานกับเขา ผมก็พยายามนะ อย่างพยาบาลสมัยที่ผมเป็นผู้อำนวยการเคยตั้งโครงการร่วมมือกับสถาบันในออสเตรเลียว่าจะส่งพยาบาลหมุนเวียนไปทำงานกับเขาคนละ 2 ปี ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษให้พยาบาลขึ้นที่รพ. เอาครูจากบริติชเคาน์ซิลมาสอน เคี่ยวก็แล้ว เข็นก็แล้ว พอผลสอบออกมา..ตกหมด เลยหมดแรงทำ ยุบเลิกโครงการ แต่ทำเป็นเล่นไปนะ ห้าปีต่อมาผมให้สำรวจติดตามดูพยาบาลที่มาเข้าโครงการเหล่านั้น ว่าตอนนี้ไปอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไรกันบ้าง ปรากฏว่าทุกคนเป็นพยาบาลชั้นดี คุณภาพสูงเกินเกณฑ์เฉลี่ย ทำงานได้ผลดี และได้ดิบได้ดีกันทุกคน แถมบางคนก็ได้ครูฝรั่งมาแต่งงานกันเป็น ผ. ซะด้วย..ย
ฮิ..ฮิ..ฮิ ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมเป็น intern 2 อยู่ รพช. อยากเรียน train resident med ที่อเมริกา (คืออยากได้ American board)
ต้องหาข้อมูลที่ไหน เตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
....................................................................................
ตอบครับ
ผมหยิบจดหมายของคุณหมอขึ้นมาตอบทั้งๆที่ไม่ได้มีสาระอะไรน่าสนใจสำหรับคนทั่วไปเลย เพราะเห็นเป็นโอกาสที่อยากจะสนับสนุนให้หมอรุ่นใหม่ๆพากันสนใจไปฝึกอบรมในต่างประเทศกันมากขึ้น ที่สนับสนุนให้ไปฝึกอบรมเมืองนอกไม่ใช่เพราะการฝึกอบรมในบ้านเรามันให้ความรู้น้อยนะครับ การฝึกอบรมในบ้านเราในแง่ของเนื้อหาสาระของวิชาหรือเทคนิคการทำหัตถการนั้น ไม่ได้ด้อยกว่าระบบการฝึกอบรมของฝรั่งเลย แต่สิ่งที่จะได้จากการไปฝึกอบรมในต่างประเทศโดยที่หากอยู่ในเมืองไทยนี้หาไม่ได้ก็คือการได้เรียนรู้วินัยในการทำงาน (work discipline) และวัฒนธรรมในการทำงาน (work culture)
เช่นเดียวกัน ผมอยากให้บทความนี้มีส่วนสนับสนุนให้เยาวชนคนหนุ่มสาวไทยทั้งหลายที่พ่อแม่นิยมส่งไปเรียนปริญญาโทในต่างประเทศไม่ว่าสาขาไหน เมื่อจบแล้วให้หาทางดิ้นรนขวนขวายหาโอกาสอยู่ฝึกงานเป็นเล่าเบ้ (business internship) อยู่ในบริษัทของฝรั่งให้นานที่สุดเท่าที่กฎหมายและหนังสือเดินทางจะเปิดโอกาสให้อยู่ได้ แม้การเริ่มต้นจะไม่ได้เงินสักแดงเดียวผมก็ยังสนับสนุนให้ทำ แม้ในการทำงานนั้นฝรั่งเขาจะทั้งโขกสับทั้งเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของความเป็นคนเพียงไหนแต่ก็ขอให้ทน (ผมเคยอ่านการ์ตูนฝรั่งของดิลเบิร์ก พวกพี่ๆในที่ทำงานขอเด็กฝึกงานไปเพียงเพื่อจะให้เอาหัวไปอุดรูโหว่บนเพดานที่พวกเขาตามช่างมาซ่อมเมื่อไหร่ก็ไม่มาสักที) ทั้งนี้อย่าจำกัดอยู่แค่การเป็นลูกจ้างล้างจานอยู่ในร้านอาหารไทย เพราะการทำงาน คือรสชาติที่แท้จริงของการเป็นนักเรียนนอก สิ่งที่ได้มามีคุณค่ามากกว่าการนั่งเรียนเอาปริญญาในห้องเรียนอย่างเทียบกันไม่ได้
พูดถึง work culture มันเป็นอะไรที่หากเราไม่ได้เข้าไปอยู่ในบรรยากาศนั้น เราจะไม่ได้เรียนรู้และไม่เก็ท บางทีก็เป็นอะไรที่เล็กๆน้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น
ครั้งหนึ่ง เป็นต้นฤดูหนาว การผ่าตัดหัวใจเริ่มกันปกติที่ 8.00 น. เมื่อผมและนายกระหืดกระหอบไปถึงห้องผ่าตัดตามเวลาเป๊ะก็ปรากฏว่าคนไข้ยังไม่อยู่ในห้องผ่าตัด สอบถามได้ความว่าจูดิทซึ่งเป็นหมอดมยามาสายไปสิบห้านาทีโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า จึงเตรียมคนไข้ไม่ทัน ขณะที่ทีมอื่นไม่ว่าจะเป็นทีมพยาบาล ทีมนักสรีรวิทยา ทีมเครื่องหัวใจและปอดเทียม เขามาเตรียมงานส่วนของเขาเรียบร้อยหมดแล้ว พอการผ่าตัดพร้อมที่จะเริ่มต้น นายก็เปรยถามจูดิทว่า
“Problem?” (มีปัญหาพิเศษอะไรหรือ) จูดิทตอบว่า
“Nop! Just slept in.” (ไม่มีอะไร แค่หลับลืมตื่น)
คำตอบของจูดิททำให้เกิดความเงียบแบบช็อกซีนีมาไปทั้งห้องผ่าตัด โดยศักดิ์ศรีจูดิทเป็นหมอดมยา (anesthetic consultant) เธอมีศักดิ์ศรีเท่ากับนายซึ่งเป็นหมอผ่าตัดทุกประการ คนระดับนี้ไม่พูดโกหกแน่นอน แต่การที่จูดิทมาทำงานสายโดยไม่บอกกล่าวใครและไม่มีเหตุอันควรนี่แหละ ที่ทำให้ทั้งห้องเงียบกริบ เงียบจนผมประหลาดใจ และการผ่าตัดรอบนั้นซึ่งปกติจะมีการพูดคุยเล่นหัวเล่าเรื่องตลกหรืออย่างน้อยก็มีเพลงคลาสสิกเปิดคลอเบาๆ กลายเป็นการผ่าตัดแบบเงียบกริบตั้งแต่ต้นจนจบแม้แต่เพลงยังไม่มีใครกล้าเปิด ตัวผมนั้นเข้าใจจูดิท เพราะเธอเป็นนักสกีข้ามเขา (cross country ski) เธอคงไปเริ่มสกีต้นฤดูแบบไม่เจียมสังขารจนหลับลืมตื่น แต่สิ่งใหม่ๆที่ผมเพิ่งเข้าใจก็คือความตรงต่อเวลาในการทำงานของฝรั่งนั้น ผมเพิ่งเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องซีเรียสถึงเพียงนี้
อีกครั้งหนึ่งเป็นการทำผ่าตัดหัวใจชนิดที่ต้องตัดเส้นทางเดินของไฟฟ้าที่หัวใจห้องบน ก่อนผ่าต้องให้หมออายุกรรมมาใช้ไฟฟ้าจี้ ในช่วงนี้ทีมของเราซึ่งเป็นหมอผ่าตัดก็ได้แต่คอยไป นายไปคอยที่ห้องทำงาน ส่วนผมซึ่งเป็นขี้ข้าต้องเฝ้าคนไข้อยู่ในห้องผ่าตัด หมออายุรกรรมมาพร้อมกันหมอผู้ช่วยของเขาซึ่งเป็นหมอประจำบ้านชาวต่างชาติจากประเทศหนึ่งในเอเซีย) เมื่อเธอฟอกมือสวมเสื้อกาวน์เสร็จแล้วพยาบาลก็ใส่ถุงมือให้ตามปกติ พอพวกเธอเสร็จงาน ผมซึ่งหลับอยู่บนเก้าอี้ริมอ่างล้างมือก็ได้ยินหมออายุรกรรมนายกับขี้ข้าเขาพูดกันว่า
“เวลาพยาบาลเขาใส่ถุงมือให้ คุณก็ say thank you เขาเสียหน่อยสิ มันเป็นน้ำใจ (curtersy)”
ผมแอบลืมตาดูเห็นหมอผู้หญิงลูกน้องผงกศีษะหงึกๆๆๆและมองนายของเธอด้วยแววตาขอบคุณ คือหมอแพทย์ประจำบ้านซึ่งเป็นกระเหรี่ยงมาใหม่คนนั้นเธอยังไม่เข้าใจคัลเจอร์การทำงานด้วยกันของฝรั่ง ว่าการขอบคุณเพื่อรับทราบการทำอะไรของคนอื่นเล็กๆน้อยให้ตัวเองแม้จะเป็นการทำตามหน้าที่เป็นน้ำใจที่พึงให้แก่กันในการทำงาน
อีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นตอนผมใกล้จบแล้วแหละ คือนายของผมท่านอายุมาก ได้ต่ออายุมาเรื่อยจนอายุ 67 ปีก็ยังผ่าตัดอยู่ ขณะที่สมองของท่านนั้นจำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว ต้องอาศัยคนบอกบท ตัวผมซึ่งเป็นขี้ข้าคนสนิทมีหน้าที่บอกบท แต่บางบทผมก็ไม่ทราบ ก็จึงไม่ได้บอก มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่เราสองคนกำลังฟอกมือเตรียมเข้าผ่าตัด เสิร์ทซึ่งเป็นนักเครื่องหัวใจและปอดเทียมก็เข้ามากระซิบข้างหูนายแต่ผมก็ได้ยินว่า
“วันนี้เป็นวันเกิดของลี”
ลีเป็นหญิงอเมริกันเชื้อสายจีน เธอเป็นหัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัดที่ก้าวร้าวดุดันและมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมาก สักครู่เมื่อลีเข้ามาช่วยใส่เสื้อกาวน์ให้นาย นายสัพยอกด้วยเสียงเรียบและหน้าตายว่า
“นี่..เด็กหญิงลี เธอมีอายุเท่าไหร่แล้ว”
เพียงแค่นี้ก็มีเสียงตอบรับด้วยเสียงหัวเราะครื้นเครงทั้งห้องผ่าตัด ตัวลีนั้นแก้มแดงเหมือนเด็ก แน่นอน เธอจะต้องดีใจมากที่นายซึ่งเป็นคนสำคัญและอายุมากแล้วยังจำวันเกิดของเธอได้ นี่ก็เป็นคัลเจอร์อีกอย่างหนึ่งของการทำงานด้วยกันของฝรั่ง
กลับมาที่เรื่องของคุณหมอดีกว่า
อ้าว..เดี๋ยว ขอเล่าอีกเรื่องนะ เป็นการเทียบชั้นความรุนแรงระหว่างความ “เซ่อ” กับความ “ขี้ฉ้อ” ซึ่งฝรั่งเรียกว่า bullshit เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ที่แผนกผ่าตัดหัวใจนี้ ในหน้าที่ของทาส (registrar) ทุกครั้งที่อยู่เวร ตอนเช้าก่อนสิ้นสุดเวร หมอรีจิสตร้าร์เวรหน่วยผ่าตัดหัวใจต้องไปราวด์ห้องฉุกเฉินเพื่อเคลียร์ผู้ป่วยที่มีปัญหาฉุกเฉินทุกรายให้หมดก่อน จึงจะเริ่มงานผ่าตัดที่แผนกของตนเองได้ ความจริงก็มีหมอน้อย (house surgeon) ที่ประจำอยู่ที่ห้องฉุกเฉินคอยดูแลและชงเรื่องให้อยู่แล้วว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เมื่อผมดูจบแล้วก็ต้องเซ็นชื่อเคาน์เตอร์ไซน์เรื่องที่หมอน้อยชงมาว่าถูกต้องแล้ว ถ้าลืมเซ็นเลขาจะตามเอามาให้เซ็นตอนสายวันนั้นที่แผนก เรียกว่าเป็นรูทีนที่ทำกันทุกเมื่อเชื่อวัน มีอยู่วันหนึ่งผมทำผ่าตัดอยู่จนดึกค่อนรุ่ง ตื่นเช้าพอจะรีบไปราวด์ที่อีอาร์ ไปถึงกลางทางก็เจอสาวหมวยนักกายภาพเชื้อสายจีนผู้น่ารักเลยเสียเวลาเม้าท์กับเธอที่เฉลียงนานไปหน่อย จนถูกเพจเรียกให้กลับมาเข้าห้องผ่าตัด สรุปก็คือไม่ได้ไปราวด์ที่อีอาร์. ต้องใช้วิธีโทรศัพท์ถามและสั่งการกับหมอน้อยไปแบบลวกๆ หมอน้อยว่าอย่างไรผมก็เออ..เออ..เออ พอตอนสายเลขาเอาเอกสารของหมอน้อยมาให้เซ็นเคาร์เตอร์ไซน์ ผมไม่ได้ไปดูอีอาร์.จึงรู้สึกกระดากใจ และไม่เซ็น เลขาเตือนว่า
“เฮ้.. ยูไม่เซ็นนี่ถ้านายรู้เข้าจะโดนสกรูยับเลยนะ หรือเขาอาจจะส่งยูกลับไปเลี้ยงควายน้ำ (water buffalo) ที่เมืองไทยก็ได้นะ” ผมตอบว่า
“เออ.. เออ ผมรู้ ช่างมันเถอะ เผื่อฟลุ้กนายไม่ว่าอะไรก็สบายไป”
ผ่านไปได้โดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นเกือบเดือน นายตรวจสอบเอกสารพบว่าผมไม่ไปดูอีอาร์จึงเรียกว่าผมไปถาม
“ยูลืมเซ็นเคาน์เตอร์ไซน์หรือเปล่า” ผมอ้อมแอ้มตอบว่า
“แหะ..แหะ ผมไม่ได้ลืมครับ แต่ผมลืมไปดูอีอาร์”
เท่านั้นแหละ ระเบิดก็ลง นายด่าผมเปิงว่าคนที่ไม่รู้หน้าที่ของตัวเองจะนับว่าเป็นคนได้อย่างไร แล้วก็ไล่ตะเพิดผมออกจากห้องว่าไปให้พ้นหน้า ผมรีบเผ่นพรวดออกมาเพราะกลัวจะมีอะไรตามมามากกว่าคำด่า แต่ก็ยังทันได้เห็นเลขาหน้าห้องนายมองสบตาด้วยความในใจที่ผมเดาได้ความว่า
“กูบอกมึงแล้ว”
พอตอนบ่ายผมต้องเข้าเคสผ่าตัดกับนาย ปรากฏว่าทุกอย่างเป็นปกติ นายไม่พูดถึงว่าจะนับผมเป็นคนหรือไม่อีกเลย ขณะที่ผมสงบเสงี่ยมเป็นพิเศษ แต่นายก็ยังคงหยอกล้อเมคโจ๊กขณะผ่าตัดไปตามปกติ แสดงว่านายหายโกรธผมแล้ว
แล้วก็มาถึงตาหมอซิงห์ซึ่งเป็นรีจิสตร้าร์แขกบ้าง นายซิงห์นี้เป็นหมอทหารยศพันโท เป็นคนถือยศถือศักดิ์ ตั้งแต่เข้ามาก็ขึ้นชื่อว่าเป็นคนเรื่องมากสุดๆ ความที่รู้ภาษาอังกฤษดี เอะอะอะไรแกก็จะเถียงพยาบาลไม่ตกฟาก สบโอกาสเมื่อไหร่แกก็จะด่าพยาบาลเจ็บ จนเป็นที่อิดหนาระอาใจในหมู่พยาบาลทั่วไป แม้ว่าเรื่องที่นายซิงห์ด่านั้นผมเองหลายครั้งก็มองว่ามันก็สมควรอยู่หรอก ชะตาของหมอซิงห์มาขาดเอาแบบปลาตายน้ำตื้นแท้ๆ คือวันหนึ่งขณะที่ยืนผ่าตัดกัน หมอดมยาเปรยให้ท่านเซอร์(นาย) ฟังว่า
“เช้านี้ไปลุยคนไข้หลอดเลือดใหญ่แตกกับหมอน้อยที่อีอาร์มา มันสุดๆ กว่าจะใส่ทิวป์รีซัสซิเททจนตายคามือก็ล่อเข้าไปเกือบชั่วโมง” นายถามว่า
“อ้าว แล้วรีจิสตร้าร์ไม่มีใครไปช่วยยูหรือ” หมอดมยาตอบว่า
“ไม่รุ ผมไม่เห็นมีใคร” นายตอบว่า
“ซิงห์ก็อยู่ที่นั่นนี่” แล้วก็เงียบไป
พอมาราวด์วอร์ดด้วยกันตอนเย็น นายถามซิงห์ว่า
“เช้านี้ยูไปดูอีอาร์หรือเปล่า ทุกอย่างเรียบร้อยดีไหม” ซิงห์ตอบแบบเนียนมากว่า
“เยสเซอร์ ถ้าไม่นับคนไข้เส้นเลือดแตกตายคนหนึ่ง อย่างอื่นก็เรียบร้อยดี”
ค่ำวันนั้นยายเลขาจอมโป้งก็โทรศัพท์มาหาผม
“แซ้นท์ นายเรียกดูว่าซิงห์เซ็นเค้าเตอร์ไซน์ที่อีอาร์หรือเปล่า ฉันก็เอาลายเซ็นให้ดู แต่ฉันอยากรู้ว่านี่มันเป็นเรื่องอะไรกัน”
ผมฟังข่าวก็รู้สึกว่าระเบิดจะลงอีกแน่นอนแล้ว จึงจ้ำอ้าวไปออฟฟิศ ทำทีเป็นลืมเอกสาร แต่ที่จริงอยากไปดูว่าจะมีรายการพิเศษอะไรไหม และก็ไม่ผิดหวัง ยังไม่ทันโผล่ถึงก็ได้ยินเสียงนายด่าลั่นคับออฟฟิศ
“Don’t bullshit me”
“อย่ามาขี้วัว..เอ๊ย ไม่ใช่ อย่ามาตอแหลกับข้านะ”
อีกมุมหนึ่ง หมอซิงห์ยืนสูงใหญ่เอามือกอดอกแบบทหารมองนายกลับแบบขึงขัง ไม่ต้องบอกก็รู้ชัดแล้วว่านายโมโหที่ซิงห์ไม่ไปดูอีอาร์แล้วเซ็นหลอกว่าไปดูมาแล้ว แต่ซวยที่หมอดมยาปากโป้งให้นายจับได้ ยังไม่ทันที่ผมจะหาที่แอบ นายก็เรียกทันที
“ แซนท์ ยูคัมอิน” แล้วผมกับซิงห์ก็ได้ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่
“We are in science community, you guys don’t bullshit me. I don’t mind if you are damn fool but you can’t bullshit me”
“เราหากินอยู่ในสังคมวิทยาศาสตร์ พวกเอ็งอย่าเป็นคนตอแหล พวกเอ็งเซ่อข้าไม่ว่า แต่อย่ามาตอแหลกับข้า”
ผมเพิ่งเห็นนายน็อตหลุดอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในชีวิต นายโกรธหน้าดำยิ่งกว่าตอนที่ผมไม่ไปดูอีอาร์สักสิบเท่า วันรุ่งขึ้นนายก็มีคำสั่งห้ามหมอซิงห์ทำผ่าตัดเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งเป็นชะตากรรมที่หมอซิงห์ก็ก้มหน้ารับแต่โดยดี มันเป็นชะตากรรมที่ไม่มีทางเลือก เพราะวันสุดท้ายที่จะออกจากที่นี่ พวกเราทุกคนต้องการจดหมายจากนาย ที่จะบอกให้โลกรู้ว่าเจ้าคนที่ถือจดหมายนี้เป็นคนที่ใช้การได้ ซึ่งด้วยจดหมายฉบับนั้น เราจะไปทำมาหากินที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ได้
นอกเรื่องไปไกลแล้ว กลับมาตอบคำถามของคุณหมอดีกว่า
1. ถามว่าอยากไปเป็นเรสิเด้นท์เมืองนอกต้องทำอย่างไร ผมแนะนำว่าให้ประเมินตัวเองก่อนใน 4 ประเด็น ดังนี้
1.1 ประเมินความพร้อมเรื่องเวลาในชีวิตของคุณหมอก่อน คือการเตรียมตัวนี้มันต้องใช้เวลา 2-5 ปี ดังนั้นตัวคุณหมอต้องสามารถปลดภาระจากเรื่องอื่นๆ เช่นหากต้องหาเงินใช้หนี้เก่าให้พ่อแม่ อย่างนี้คงตัดใจเลิกสอบดีกว่า หากต้องหาเงินเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย อย่างนี้ก็จะลำบากหน่อย แม้ว่าถ้าใจถึงจะทำได้แต่ลูกเมียก็จะลำบากอยู่ดี การสอบจะเวอร์คสุดคือเมื่อเป็นโสดไม่มีภาระทางการเงิน ไม่มีใครมาได้เสียอะไรกับชีวิตของเรา และทำงานแบบเบาๆว่างๆ เช่นอยู่ตามศูนย์อนามัยหรือเป็นมือปืนรับจ้างตามอีอาร์.
1.2 ประเมินสถานะการเงินของตัวเองก่อน เพราะงานนี้มันต้องใช้เงินมากเหมือนกัน ค่าสอบนั้นไม่เท่าไหร่ เป็นหลักครั้งละไม่กี่หมื่น แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องไปอยู่อเมริกาเพื่อติวเข้มและเข้าสอบสะเต็พหลังๆเนี่ย มันใช้เงินเอาเรื่องอยู่ คือหมอต้องมีอย่างน้อยสักหนึ่งหรือสองล้านไว้ในกระเป๋า จึงจะเดินหน้าได้แบบไม่ลำบาก ทั้งหมดนี้ยังไม่รู้จะออกหัวหรือออกก้อยนะ หมายความว่าหมดเงินไปสองล้านแล้วอาจจะสอบตกซ้ำซากจนสิทธิสอบหมดก็เป็นได้
1.3 ประเมินความรู้ของตัวเอง วิธีประเมินง่ายๆก็ไปซื้อข้อสอบเก่ามาทำแล้วให้คะแนนตัวเองดู คือความรู้ที่เขาสอบมันเป็นความรู้พื้นฐานก็จริง แต่มันเป็นพื้นฐานระดับลึกและหนักแน่นพอสมควร หมายความว่าถ้าความรู้พื้นฐานทุกเรื่องไม่ดี ก็สอบไม่ผ่านแหงๆ สมมุติว่าหมอเรียนเรสิเด้นท์เมืองไทย หมอมีความรู้พื้นฐานดีเพียงสาขาเดียวคือสาขาเฉพาะทางที่หมอจะเรียนนั้นก็สอบผ่านได้แล้ว แต่การสอบ USMILE ต้องมีความรู้พื้นฐานดีครบทุกสาขา อย่างหนังสือสรีรวิทยาเช่นของ Ganong เราต้องจำได้หมดแทบทุกหน้า จึงจะสอบได้ ดังนั้นหากลองทำข้อสอบเก่าที่ซื้อมาแล้วได้คะแนนไม่ถึง ก็ให้นั่งปรับปรุงความรู้อยู่ที่บ้านก่อน ใช้วิธีสมัครเรียนกับติวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ทก็ได้ ซื้อหนังสือเตรียมสอบ USMILE มาอ่านก็ได้ เช่นหนังสือของ Rypin ตัวอย่างข้อสอบของ NMS เป็นต้น คือให้เริ่มแบบอ่านเอง ทดสอบตัวเอง เอาตรงนี้ให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปเสียเงินค่าสมัครสอบ
1.4 ประเมินภาษาอังกฤษของตัวเอง วิธีง่ายๆก็คือลองไปสอบ IELTS ของบริติชเคาน์ซิลดู ถ้าคะแนนไม่พ้นระดับ 7 (คนเก่งสุดจะได้ระดับ 9) ก็อย่าเพิ่งไปสมัครสอบ ต้องติวภาษาอังกฤษให้ตัวเองทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน แล้วให้สอบได้ถึงระดับ 7 ขึ้นไปก่อนค่อยไปสมัครสอบ เพราะผมเห็นหลายรายที่มุ่งเอาดีทางความรู้คลินิกและพรีคลินิก แต่ท้ายที่สุดมาตายน้ำตื้นที่ภาษาอังกฤษ
2.. ถามว่าถ้าคิดว่าตัวเองพร้อมแล้ว จะสมัครสอบ ทำอย่างไร ตอบว่าวิธีง่ายที่สุดคือคุณหมอเข้าไปในเว็บของ ECFMG แล้วรูดการ์ดจ่ายเงินสมัครได้เลย ( https://iwa2.ecfmg.org/appforcert/onlinedocs/afcoverview.aspx ) เขามีรายละเอียดและขั้นตอนวิธีสอบทางคอมพิวเตอร์ สถานที่ที่จะเลือกสอบได้ วันเวลาและกฎกติกาต่างๆ มีให้หมด
การสอบ USMILE นี้เขาสอบกันสามสะเต็พ คือพรีคลินิก เรียกว่า step1 สอบคลินิกล้วนๆ แล้วไปสอง step 2ck เป็นการสอบภาคคลินิกส่วนข้อเขียน และสอบภาคการซักประวัติตรวจร่างกายกับคนไข้จริงๆ (เป็นนักแสดง) เรียกว่า step 2cs แล้วก็ไป step 3 คือการสอบสอบลงกองซึ่งเหมือนกันการสอบใบประกอบของบ้านเรา ทั้งหมดนี้บอกก่อนนะว่ามันหินอยู่พอสมควร มีแพทย์ไทยผ่านด่านการสอบเหล่านี้ไปได้ปีละสักไม่ถึง 10 คนได้มัง แต่ผมก็ยังสนับสนุนให้คุณหมอเดินหน้าสอบอยู่ดี เพราะทุกขั้นตอนที่ได้ทำไป แม้จะไปไม่ถึงขั้นสุดท้าย ผมรับประกันว่ามันมีประโยชน์กับตัวเราทั้งสิ้น
ในแง่ของการหางานทำ หรือการหาตำแหน่งเรสิเด้นท์ เมื่อสอบได้แล้ว การหางานทำเป็นของง่าย เพราะแรงงานทาสเป็นที่ต้องการในอเมริกามากทั้งแพทย์และพยาบาล ตำแหน่งเรสิเด้นท์มีเหลือเฟือ เพื่อนผมยังเคยเขียนจดหมายมาหาผมให้ส่งแพทย์และพยาบาลไปฝึกทำงานกับเขา ผมก็พยายามนะ อย่างพยาบาลสมัยที่ผมเป็นผู้อำนวยการเคยตั้งโครงการร่วมมือกับสถาบันในออสเตรเลียว่าจะส่งพยาบาลหมุนเวียนไปทำงานกับเขาคนละ 2 ปี ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษให้พยาบาลขึ้นที่รพ. เอาครูจากบริติชเคาน์ซิลมาสอน เคี่ยวก็แล้ว เข็นก็แล้ว พอผลสอบออกมา..ตกหมด เลยหมดแรงทำ ยุบเลิกโครงการ แต่ทำเป็นเล่นไปนะ ห้าปีต่อมาผมให้สำรวจติดตามดูพยาบาลที่มาเข้าโครงการเหล่านั้น ว่าตอนนี้ไปอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไรกันบ้าง ปรากฏว่าทุกคนเป็นพยาบาลชั้นดี คุณภาพสูงเกินเกณฑ์เฉลี่ย ทำงานได้ผลดี และได้ดิบได้ดีกันทุกคน แถมบางคนก็ได้ครูฝรั่งมาแต่งงานกันเป็น ผ. ซะด้วย..ย
ฮิ..ฮิ..ฮิ ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์