กลัวความรับผิดชอบที่มากมายล้นฟ้า
เรียนอาจารย์ครับ
ผมติดตามอ่านบทความอาจารย์มาตลอดครับ
ก่อนอื่น ผมแนะนำตัวเองก่อนครับว่า เป็น นิสิตแพทย์ปีสุดท้าย Extern ครับ
หลากหลายครั้งที่ บทความอาจารย์ช่วยชีวิตผมและเพื่อนผมให้รอดมาจนถึงปีสุดท้ายครับ
และผมได้ปรับใช้ชีวิตการกิน การออกกำลังกาย ตามที่อาจารย์แนะนำ เท่าที่ชีวิต นสพ จะพึงกระทำได้ครับ จน bmi อยู่ในเกณฑ์ปกติครับ
จดหมายนี้เขียนขึ้นมาเนื่องจาก ตอนนี้ผมเหมือนอยู่ในเขาวงกต ที่มองไปข้างหน้าก็มีหลากหลายเส้นทาง ความกลัว ความเชื่อต่างๆ อยู่ในหัวผมและเพื่อนๆ เต็มไปหมด จนไม่รู้ว่าจะเดินก้าวไปข้างหน้าอย่างไรครับ เพราะ ปีหน้า ผมและเพื่อนๆ จะต้องเป็น นพ./พญ. กันแล้ว ต้องไปเป็น Intern แล้ว แต่ชีวิตยังสับสนอีกมากมายครับ ผมได้สรุปปัญหามาดังนี้ครับ
1.ผมไม่รู้ว่า ผมควรเลือกใช้ชีวิตต่อไป หลังจบการเรียน อย่างไรครับ
ไม่รู้ตัวเองว่ายังอยากทำอาชีพหมอต่อไปไหม บางครั้งการเรียน การได้ช่วยเหลือคนก็มีความสุขดี แต่บางครั้งก็เบื่อๆ บางวิชาก็สามารถสนุกกับมันได้ แต่บางช่วงเวลาก็เบื่อกับการเรียน จนเปลี่ยนไปอ่านหนังสือ สังคม เศรษฐกิจ ชีวิต แทน เลยถามตัวเองว่า เราเกิดมาเป็นหมอจริงๆ หรือเปล่า หรือจะทนใช้ชีวิตหมอแบบนี้ต่อไป
2.ชอบมีอาจารย์ถามผมตลอดว่า อยากไปเรียนต่อเฉพาะทางอะไร
ผมก็มีทั้งวิชาที่ชอบและไม่ชอบ มีความวิตกกังวล เช่น ผมชอบเรียนสูตินารีแพทย์ครับ แต่ก็กังวลว่าร่างกายผมและครอบครัวจะทนกับการตื่นตอนกลางคืนมาดูแลผู้ป่วยไหวขนาดไหน
ชอบศัลยกรรม แต่ก็เวลาเข้าผ่าตัด ก็ยืนจนขาเมื่อย จนเบื่อที่จะเข้าห้องผ่าตัด และไม่รู้ว่าร่างกายจะทนการอดนอนตื่นมาดูผู้ป่วยอุบัติเหตุได้ขนาดไหนครับ
ชอบอายุรกรรม แต่ก็ไม่เคยตอบอาจารย์ได้สะที พอโดนถามทีก็รอดแค่คำตอบแรก จึงอยากสอบถามอาจารย์ถึงแนวทาง หลักคิดในการค้นหาตัวเองว่า ถ้าจะเป็นหมอต่อ จะหาตัวเองได้อย่างไรว่า ควรเรียนเฉพาะทางอะไรแล้วจะรุ่งครับ
3.ผมไม่มีความมั่นใจเลยสักนิดว่า ปีหน้าจะไปเป็น intern แล้วจะมีความรู้ ความสามารถพอที่จะดูแลผู้ป่วยได้ครับ ขณะนี้ตอนเรียน ก็รู้สึกว่าตัวเองยังไม่รู้อีกหลายอย่าง พื้นฐานก็ไม่แน่น โดนอาจารย์ถามก็ตอบไม่ค่อยได้ สิ่งที่นึกว่ารู้แล้ว พอสุดท้ายก็เข้าใจผิดหลายๆ อย่าง
โรคง่ายๆ ทางผู้ป่วยนอกเช่น การปรับยาไขมัน เบาหวาน ก็ปรับไม่ค่อยเป็น เพราะตอนเรียนเรียนแต่ผู้ป่วยหนักๆ ในหอผู้ป่วยใน พอเจอผู้ป่วยปวดแขนขามา ก็ให้แต่ยาแก้ปวด เลยรู้สึกว่า จะ do harm ผู้ป่วย รู้ไม่จริง ถ้าเป็นญ่าติเรา ก็ไม่อยากให้หมออย่างผมรักษาครับ
4.ปีหน้าผมก็จะต้องเลือกว่า ผมจะไปสมัครแพทย์ใช้ทุนโครงการใด แพทย์พี่เลี้ยง หรือสาขาขาดแคลนต่างๆ ส่วนตัวก็ยังไม่เคยวางแผนชีวิตว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร แค่เรียนให้จบก่อนแล้วว่ากัน
เริ่มมีข้อมูลในหัวมากขึ้นจนสับสนเช่น ต้องไปหา รพ. ที่มีทุนนะ ทุนมีจำกัดต้องแย่งกัน การรับสมัครทุนหรือเรียนเฉพาะทางส่วนใหญ่ ก็ใช้ระบบอุปถัมภ์กันทั้งประเทศ และอีกมากมาย เลยไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องกลับไปสู่วงจรนี้อีกคนหรือเปล่า
ขอบคุณครับ
...................................................................
ตอบครับ
ก่อนอื่นผมขอชมคุณหมอก่อนที่ทั้งๆที่ต้องหมดเวลาไปกับการเรียนการสอบแต่ก็ยังอุตส่าห์ลดน้ำหนักตัวเองจนเข้าเป้าได้สำเร็จ นี่เป็นนิมิตหมายว่าหมอรุ่นใหม่ไม่เหมือนหมอรุ่นเก่าแล้วที่เอาแต่บ้าทำงานจนไม่ดูแลตัวเอง ผมถือว่าเป็นนิมิตหมายที่น่ายินดี
1.. เรื่องไม่มั่นใจว่าจะเป็นหมอที่ดีกับเขาได้หรือไม่ แม้จะสอบได้มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว ผมเข้าใจคุณ แต่ผมขอชี้แนะคุณสามประเด็นนะ
ประเด็นที่หนึ่ง การจะจบไปเป็นหมอที่ดีได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีความรู้พร้อมสรรพ ครบเครื่อง ไม่ใช่เลย แต่หมายความว่าคุณยังมีความรู้น้อยก็ไม่เป็นไร เพียงแต่คุณควรจะมีความสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปด้วยตัวคุณเองได้ก็พอแล้ว อีกประการหนึ่ง ไม่มีหมอจบใหม่คนไหนมีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างนั้นด้วย ถ้าหมอจบใหม่คนไหนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณสมบัติอย่างนั้น แสดงว่าตัวหมอคนนั้นใกล้จะได้เข้าไปอยู่หลังคาแดง (โรงพยาบาลบ้า) แล้ว เพราะวิชาแพทย์ระดับทั่วไปนี้ถ้าจะเรียนให้มันพอรอบรู้พอสมควรมันต้องใช้เวลาสัก 12 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งถ้าหลักสูตรแพทย์เรียนนานขนาดนั้นจริง กว่าจะจบการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแพทย์ก็คงจะมีอายุประมาณ 50 ปี คือเริ่มหูตาฝ้าฟาง แบบว่าออกจากหิ้งก็หมดอายุใช้งานพอดี ดังนั้นคุณจบใหม่มีความรู้น้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่จบแล้วคุณมีความพร้อมและมีใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปด้วยตัวคุณเองหรือไม่ ตรงนี้ต่างหากที่เป็นสาระสำคัญ
ประเด็นที่สอง การเกิดมาเป็นคนนี้ คุณอย่าไปกลัวการต้องมีความรับผิดชอบมากมายล้นฟ้า เพราะการต้องแบกรับความรับผิดชอบมากมายล้นฟ้านั้น แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงความรู้สึก (mental formation) ว่ามันมีอะไรสักอย่างอยู่บนบ่า แต่ในชีวิตจริงมันก็เป็นแค่การใช้ชีวิตธรรมดาของมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้นเอง เพราะตั้งแต่เกิดมาคุณก็มีความรับผิดชอบล้นฟ้าติดตัวมาแล้ว อย่างน้อยคุณก็ต้องทดแทนคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดูคุณมา ติ๊งต่างว่าคุณจะหนีความรับผิดชอบนี้ไป สมมุติว่าคุณหนีไปบวชเอ้า แต่ในฐานะนักบวชคุณก็ต้องรับผิดชอบที่จะพาตัวเองให้บรรลุโมกขธรรมถูกแมะ แล้วคุณว่ามันง่ายไหมละความรับผิดชอบอย่างหลังเนี่ย เอางี้.. เพื่อประกอบความเข้าใจ ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเห็นในชีวิตจริงให้คุณฟังสักสามตัวอย่างนะ
ตัวอย่างที่ 1. ประมาณปีพ.ศ. 2515 ผมเรียนมหาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ปิดเทอมพาครูภาษาอังกฤษคนหนึ่งผมจำชื่อเขาได้ว่าชื่อ ปีเตอร์ แรนด์ ไปเดินป่าที่เชียงราย เราเดินไปตามสันเขา ไปพบหมู่บ้านบนดอยที่ไม่มียวดยานใดเข้าถึง มีโรงเรียนเล็กๆอยู่หนึ่งโรง มีบ้านพักครูเล็กๆขนาดเท่าห้องส้วมสองห้องอยู่หนึ่งหลัง ทั้งโรงเรียนมีครูคนเดียว เป็นครูผู้หญิง แล้วครูคนนี้เขามีอายุ 18 ปีเท่านั้นเอง เรียนจบวค. (วิทยาลัยครู) เชียงใหม่มาหมาดๆ คุณลองนึกภาพดูนะ ผู้หญิง อายุสิบแปด จากในเมืองขึ้นไปเป็นครูอยู่บนดอยคนเดียว ต้องผจญปัญหาสารพัดอยู่คนเดียวกลางป่าเขาอย่างนั้น มันเป็นความรับผิดชอบที่มากมายล้นฟ้าเลยใช่ไหม ทำไมเธอซึ่งเป็นผู้หญิงตัวเล็กต้องมารับผิดชอบอะไรที่มากมายอย่างนั้นด้วย
ตัวอย่างที่ 2. ประมาณปีพ.ศ. 2523 ผมเป็นแพทย์ฝึกหัด สมัยนั้นเป็นสมัยสงครามประชาชนบ้าง สงครามคุกรุ่นกับประเทศเพื่อนบ้านบ้าง ผมนั่งฮ. (เฮลิคอปเตอร์) เก่าเสียงดัง แคร็ก แคร็ก แคร็ก ติดตามคณะไปตรวจเยี่ยมรักษาตชด. (ตำรวจตระเวนชายแดน) ซึ่งรักษาฐานที่มั่นอยู่ที่ชายแดนด้านอำเภอตราพระยา ปราจีนบุรี ฮ.พาลงกลางฐานที่มีบังเก้อร์กระสอบทรายกั้นเป็นกำแพงสูงท่วมหัวล้อมรอบพื้นที่ราวครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอลกลางป่า ตรงกลางฐานเป็นที่ตั้งของคลังสรรพาวุธรวมทั้งรถเกระ รถถัง ฐานยิงปืนใหญ่ ปืนกล ปืนต่อสู้อากาศยาน มีกำลังตชด.ประจำฐานรวม 40 คน หน้าที่หลักนอกจากการรักษาฐานแล้วก็คือการพยายามออกลาดตระเวณพื้นที่รับผิดชอบ ประเด็นก็คือบิ๊กบอสใหญ่ที่รับผิดชอบชีวิตผู้คนทั้งหมดและทรัพย์สินของราชการมูลค่านับร้อยล้านที่นี่ เป็นนายตำรวจยศร้อยโท อายุ 24 ปี เท่านั้นเอง คุณหมอลองนึกภาพนะ หนุ่มน้อยอายุ 24 ปี ต้องรับผิดชอบความเป็นความตายของผู้คนทั้งกลางวันกลางคืออยู่กลางป่าอย่างต่อเนื่องยาวนาน ช่วงไหนที่ถูกศัตรูปิดล้อม ต้องอยู่ในฐานนานเป็นเดือนก็มี มันเป็นความรับผิดชอบที่ล้นฟ้าเลยใช่ไหม ทำไมเขาต้องมารับผิดชอบมากอย่างนั้นด้วย
ตัวอย่างที่ 3. ประมาณปีพ.ศ. 2528 ผมเป็นแพทย์ประจำบ้านเวรศัลยกรรมหัวใจ ที่รพ.ราชวิถี ในกทม.นี่เอง คืนหนึ่งผมถูกพยาบาลตามขึ้นไปดูคนไข้ที่วอร์ด (แผนกนี้ไม่ค่อยมีอินเทอร์นหมุนเวียนมา) ประมาณตีสองกลางดึก ทั้งวอร์ดมีเตียงเรียงแถวยาวสองข้างประมาณ 30 เตียง คนไข้หนักๆทั้งนั้น ที่หนักถึงระดับสมัยนี้ต้องอยู่ในไอซียู.ก็มีประมาณสี่ห้าคน แต่ว่าทั้งวอร์ดมีพยาบาลคนเดียว อยู่กับผู้ช่วยอีกสองคน พยาบาลคนนั้นหน้าตาเด็กมาก และมีอายุเพียง 21 ปีเท่านั้นเอง ตอนที่ผมเดินไปถึง เธอยืนอยู่ปลายเตียงคนไข้ กลางทางเดิน ท่ามกลางเสียงโอดโอยของคนไข้และความมืด เห็นเงาของเธอทอดยาวไปตามทางเดินระหว่างเตียง เธอจะต้องรับผิดชอบชีวิตของคนไข้ในวอร์ดนี้เพียงคนเดียวจากเที่ยงคืนจนถึงสว่าง สำหรับพยาบาลละอ่อนตัวเล็กๆคนหนึ่ง มันเป็นความรับผิดชอบที่มากมายล้นฟ้าเลยใช่ไหมครับ
แต่คุณหมอเชื่อไหม ทั้งสามคนที่ผมเล่ามา เธอและเขาเหล่านั้นก็ทำงานไปได้โดยไม่มีใครตีอกชกหัวอะไร เพราะเธอและเขาไม่ได้มองว่ามันเป็นความรับผิดชอบล้นฟ้าแต่อย่างใด แต่มองว่ามันก็เป็นการใช้ชีวิตธรรมดาวันหนึ่งวันหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นคุณหมอลองเรียนรู้จากตัวอย่างทั้งสามคนนี้สิ อย่าไปมองว่าความรับผิดชอบที่หล่นมาตรงหน้าตักเรามันเป็นความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ล้นฟ้าเกินความสามารถเรา แต่มองว่ามันเป็นการใช้ชีวิตธรรมดาๆที่อย่างไรเสียเมื่อเกิดมามีชีวิตแล้วเราก็จะต้องผ่านมันไปเรียนรู้มันไปทีละวันๆเท่านั้น
2.. เรื่องที่เกิดความหวาดหวั่นระคนเบื่อหน่าย ที่โลกนี้มันไม่สวย เต็มไปด้วยระบบเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวกใช้ระบบอุปถัมภ์กันทั้งประเทศ ทุนเรียนต่อก็มีจำกัดต้องแย่งกัน ตรงนี้ผมแยกออกเป็นสองประเด็นนะ
ประเด็นที่ 1. นี่คือโลกที่เราอาศัยอยู่ (this is the world we live in) เราไม่ได้สร้างโลกนี้ขึ้นมา มันมีของมันอย่างนี้อยู่แล้ว มีอะไรสวยๆงามๆแยะ แต่ก็มีอะไรที่น่าเกลียดพอควร คนดีก็มาก คนพันธ์ตะกวดก็มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ผมแนะนำคุณหมอว่าอย่าไปกลัวหรือเบื่อโลกนี้เลยครับ เพราะเราเกิดมาบนโลกใบนี้ ก็ต้องใช้ชีวิตไปบนโลกใบนี้
ประเด็นที่ 2. เรื่องทั้งหลายในโลกนี้ถ้าเราขีดวงออกจากตัวเราออกไปมันก็จะขีดได้สองวงนะ วงในเป็นวงที่เราควบคุมบังคับได้ เช่นตื่นเช้ามาเราจะหยิบกางเกงตัวไหนใส่ ตอนเย็นเราจะไปออกกำลังกายหรือไม่ออก เราจะปล่อยใจให้คิดหมกมุ่นเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำซาก หรือจะตั้งสติทำอะไรที่เราทำได้ให้สำเร็จ ทีละชิ้น เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นโลกที่เราเลือกได้ ดลบันดาลได้ ผมเคยไปเรียนวิชาฝึกนิสัยดีเจ็ดประการกับครูฝรั่งชื่อสตีเฟ่น โคเวย์ เขาเรียกวงในนี้ว่า circle of influence
ส่วนวงนอกที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเรา คือความคิดกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เช่นเพื่อนเขามีเส้นสายใหญ่แล้วได้ใช้ทุนอยู่เป็นอาจารย์ในกรุงเทพ แต่เราซิต้องระเห็จไปอยู่ ตจว. หรือเรื่องใกล้ตัวในงานอาชีพเช่นเรารักษาคนไข้ไม่หายแล้วเขาโกรธเรา หรือแม้กระทั่งเรื่องไกลตัวมากๆเช่นชาวนายากจนเป็นหนี้เป็นสินเผาตัวเองเพราะหมดทางออก เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือโลกที่เราไม่มีอำนาจไปดลบันดาลอะไรได้ ซึ่งสตีเฟ่นเรียกมันว่า circle of concern
ประเด็นของผมคือว่าคุณหมอต้องจำกัดชีวิตอยู่ในเขตอำนาจที่ตนเองดลบันดาลได้เท่านั้น จึงจะมีชีวิตที่ดีและสร้างสรรค์ หากไปหลงหรือไปเสียเวลาอยู่ในโลกที่เราไม่มีอำนาจไปดลบันดาลอะไรได้ จะมีชีวิตที่เป็นทุกข์ทางใจแบบชั่วนิรันดร์ และสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรให้ใครไม่ได้เลย
3.. เรื่องที่ไม่รู้จะเลือกเรียนต่อสาขาไหนดี ชอบสูตินารีแพทย์ แต่ก็กลัวเมียจะทนรำคาญที่ตื่นนอนกลางดึกไม่ไหว ชอบศัลยกรรม แต่ก็กลัวเมื่อยขา ชอบอายุรกรรม แต่ก็กลัวว่ามีความรู้น้อย แล้วถามหมอสันต์ว่าเรียนอะไรดีจึงจะรุ่ง หิ..หิ คำถามแบบนี้ทำให้ผมคิดถึง บุปผา สายชล แฮะ คิดถึงเพลงของเธอที่ว่า
“..จะรักคนหนุ่ม ก็กลุ้มใจแท้
..จะรักคนแก่ ก็ยักแย่ยักยัน
..จะรักเชื้อเจ้า ก็ไกลเกินฝัน
เพราะอยู่ไกลกัน คนละชั้นชาตินี้
..จะรักนายห้างรึก็หวังไม่ได้
นายห้างตัวใหญ่หนูกลัวโดนตี
..จะรักนักเล่น ก็กลัวขายที่
..จะรักเศรษฐี ก็กลัวขี้เหนียว..”
สัจธรรมข้อหนึ่งก็คือ
"เมื่อเดินมาถึงทางแยกที่ยิ่งมีทางให้เลือกมาก โอกาสหลงทางก็ยิ่งมาก"
สัจธรรมอีกข้อก็คือ
"ยิ่งเล็งนาน ยิ่งพลาดง่าย"
พูดถึงเรื่องนี้เมื่อสองวันก่อนเพื่อนคนหนึ่งพาลูกซึ่งตอนนี้กำลังเรียนแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองนอกมากินข้าวด้วย ลูกของเพื่อนคนนี้เกิดและเติบโตที่เมืองนอก เรียนหนังสือเก่ง จบมหาลัยดังในอเมริกาด้านบริหารธุรกิจ ทำงานในองค์กรธุรกิจอยู่สิบปี แล้วรู้สึกว่าไม่ใช่สะเป๊ค จึงเลิกทำงานหันกลับมาเรียนแพทย์ การเรียนแพทย์ในอเมริกานี้นักเรียนต้องกู้เงินเรียนเฉลี่ยเป็นหนี้กันคนละสี่แสนเชียวนะกว่าจะจบ สี่แสนยูเอสดอลล่าร์นะครับไม่ใช่สี่แสนบาท พอจะจบแพทย์แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า เอ อยากกลับไปทำธุรกิจ.. อีกละ นี่เป็นตัวอย่างของการเล็งนาน แล้วก็ยังไม่ใช่ อุตส่าห์เล็งอยู่ตั้งสิบปี ยังพลาดจนได้
ดังนั้นในการเลือกที่ใช้ทุนก็ดี ในการเลือกสาขาฝึกอบรมก็ดี ผมแนะนำให้คุณหมอใช้หลักการตัดสินใจในทางคลินิกที่เราชำนาญอยู่แล้ว คือ เรียงข้อดีข้อเสีย ชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยง แล้วตัดสินใจโช้ะเลย ไม่ต้องกลัวตัดสินใจผิด เพราะคนที่เล็งอยู่ตั้งสิบปียังตัดสินใจผิดเลย เราเล็งแป๊บเดียวจะผิดก็ไม่เห็นจะซีเรียส เพราะในความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเลือกอาชีพนี้ อาชีพที่ผิดหรืออาชีพที่ถูกไม่มี แต่การรู้จักทำงานให้มีความสุขนั่นแหละ มีผิดมีถูก คือถ้าไม่รู้จักทำงานให้มีความสุขละก็คือ..ผิดแน่นอน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมติดตามอ่านบทความอาจารย์มาตลอดครับ
ก่อนอื่น ผมแนะนำตัวเองก่อนครับว่า เป็น นิสิตแพทย์ปีสุดท้าย Extern ครับ
หลากหลายครั้งที่ บทความอาจารย์ช่วยชีวิตผมและเพื่อนผมให้รอดมาจนถึงปีสุดท้ายครับ
และผมได้ปรับใช้ชีวิตการกิน การออกกำลังกาย ตามที่อาจารย์แนะนำ เท่าที่ชีวิต นสพ จะพึงกระทำได้ครับ จน bmi อยู่ในเกณฑ์ปกติครับ
จดหมายนี้เขียนขึ้นมาเนื่องจาก ตอนนี้ผมเหมือนอยู่ในเขาวงกต ที่มองไปข้างหน้าก็มีหลากหลายเส้นทาง ความกลัว ความเชื่อต่างๆ อยู่ในหัวผมและเพื่อนๆ เต็มไปหมด จนไม่รู้ว่าจะเดินก้าวไปข้างหน้าอย่างไรครับ เพราะ ปีหน้า ผมและเพื่อนๆ จะต้องเป็น นพ./พญ. กันแล้ว ต้องไปเป็น Intern แล้ว แต่ชีวิตยังสับสนอีกมากมายครับ ผมได้สรุปปัญหามาดังนี้ครับ
1.ผมไม่รู้ว่า ผมควรเลือกใช้ชีวิตต่อไป หลังจบการเรียน อย่างไรครับ
ไม่รู้ตัวเองว่ายังอยากทำอาชีพหมอต่อไปไหม บางครั้งการเรียน การได้ช่วยเหลือคนก็มีความสุขดี แต่บางครั้งก็เบื่อๆ บางวิชาก็สามารถสนุกกับมันได้ แต่บางช่วงเวลาก็เบื่อกับการเรียน จนเปลี่ยนไปอ่านหนังสือ สังคม เศรษฐกิจ ชีวิต แทน เลยถามตัวเองว่า เราเกิดมาเป็นหมอจริงๆ หรือเปล่า หรือจะทนใช้ชีวิตหมอแบบนี้ต่อไป
2.ชอบมีอาจารย์ถามผมตลอดว่า อยากไปเรียนต่อเฉพาะทางอะไร
ผมก็มีทั้งวิชาที่ชอบและไม่ชอบ มีความวิตกกังวล เช่น ผมชอบเรียนสูตินารีแพทย์ครับ แต่ก็กังวลว่าร่างกายผมและครอบครัวจะทนกับการตื่นตอนกลางคืนมาดูแลผู้ป่วยไหวขนาดไหน
ชอบศัลยกรรม แต่ก็เวลาเข้าผ่าตัด ก็ยืนจนขาเมื่อย จนเบื่อที่จะเข้าห้องผ่าตัด และไม่รู้ว่าร่างกายจะทนการอดนอนตื่นมาดูผู้ป่วยอุบัติเหตุได้ขนาดไหนครับ
ชอบอายุรกรรม แต่ก็ไม่เคยตอบอาจารย์ได้สะที พอโดนถามทีก็รอดแค่คำตอบแรก จึงอยากสอบถามอาจารย์ถึงแนวทาง หลักคิดในการค้นหาตัวเองว่า ถ้าจะเป็นหมอต่อ จะหาตัวเองได้อย่างไรว่า ควรเรียนเฉพาะทางอะไรแล้วจะรุ่งครับ
3.ผมไม่มีความมั่นใจเลยสักนิดว่า ปีหน้าจะไปเป็น intern แล้วจะมีความรู้ ความสามารถพอที่จะดูแลผู้ป่วยได้ครับ ขณะนี้ตอนเรียน ก็รู้สึกว่าตัวเองยังไม่รู้อีกหลายอย่าง พื้นฐานก็ไม่แน่น โดนอาจารย์ถามก็ตอบไม่ค่อยได้ สิ่งที่นึกว่ารู้แล้ว พอสุดท้ายก็เข้าใจผิดหลายๆ อย่าง
โรคง่ายๆ ทางผู้ป่วยนอกเช่น การปรับยาไขมัน เบาหวาน ก็ปรับไม่ค่อยเป็น เพราะตอนเรียนเรียนแต่ผู้ป่วยหนักๆ ในหอผู้ป่วยใน พอเจอผู้ป่วยปวดแขนขามา ก็ให้แต่ยาแก้ปวด เลยรู้สึกว่า จะ do harm ผู้ป่วย รู้ไม่จริง ถ้าเป็นญ่าติเรา ก็ไม่อยากให้หมออย่างผมรักษาครับ
4.ปีหน้าผมก็จะต้องเลือกว่า ผมจะไปสมัครแพทย์ใช้ทุนโครงการใด แพทย์พี่เลี้ยง หรือสาขาขาดแคลนต่างๆ ส่วนตัวก็ยังไม่เคยวางแผนชีวิตว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร แค่เรียนให้จบก่อนแล้วว่ากัน
เริ่มมีข้อมูลในหัวมากขึ้นจนสับสนเช่น ต้องไปหา รพ. ที่มีทุนนะ ทุนมีจำกัดต้องแย่งกัน การรับสมัครทุนหรือเรียนเฉพาะทางส่วนใหญ่ ก็ใช้ระบบอุปถัมภ์กันทั้งประเทศ และอีกมากมาย เลยไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องกลับไปสู่วงจรนี้อีกคนหรือเปล่า
ขอบคุณครับ
...................................................................
ตอบครับ
ก่อนอื่นผมขอชมคุณหมอก่อนที่ทั้งๆที่ต้องหมดเวลาไปกับการเรียนการสอบแต่ก็ยังอุตส่าห์ลดน้ำหนักตัวเองจนเข้าเป้าได้สำเร็จ นี่เป็นนิมิตหมายว่าหมอรุ่นใหม่ไม่เหมือนหมอรุ่นเก่าแล้วที่เอาแต่บ้าทำงานจนไม่ดูแลตัวเอง ผมถือว่าเป็นนิมิตหมายที่น่ายินดี
1.. เรื่องไม่มั่นใจว่าจะเป็นหมอที่ดีกับเขาได้หรือไม่ แม้จะสอบได้มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว ผมเข้าใจคุณ แต่ผมขอชี้แนะคุณสามประเด็นนะ
ประเด็นที่หนึ่ง การจะจบไปเป็นหมอที่ดีได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีความรู้พร้อมสรรพ ครบเครื่อง ไม่ใช่เลย แต่หมายความว่าคุณยังมีความรู้น้อยก็ไม่เป็นไร เพียงแต่คุณควรจะมีความสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปด้วยตัวคุณเองได้ก็พอแล้ว อีกประการหนึ่ง ไม่มีหมอจบใหม่คนไหนมีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างนั้นด้วย ถ้าหมอจบใหม่คนไหนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณสมบัติอย่างนั้น แสดงว่าตัวหมอคนนั้นใกล้จะได้เข้าไปอยู่หลังคาแดง (โรงพยาบาลบ้า) แล้ว เพราะวิชาแพทย์ระดับทั่วไปนี้ถ้าจะเรียนให้มันพอรอบรู้พอสมควรมันต้องใช้เวลาสัก 12 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งถ้าหลักสูตรแพทย์เรียนนานขนาดนั้นจริง กว่าจะจบการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแพทย์ก็คงจะมีอายุประมาณ 50 ปี คือเริ่มหูตาฝ้าฟาง แบบว่าออกจากหิ้งก็หมดอายุใช้งานพอดี ดังนั้นคุณจบใหม่มีความรู้น้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่จบแล้วคุณมีความพร้อมและมีใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปด้วยตัวคุณเองหรือไม่ ตรงนี้ต่างหากที่เป็นสาระสำคัญ
ประเด็นที่สอง การเกิดมาเป็นคนนี้ คุณอย่าไปกลัวการต้องมีความรับผิดชอบมากมายล้นฟ้า เพราะการต้องแบกรับความรับผิดชอบมากมายล้นฟ้านั้น แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงความรู้สึก (mental formation) ว่ามันมีอะไรสักอย่างอยู่บนบ่า แต่ในชีวิตจริงมันก็เป็นแค่การใช้ชีวิตธรรมดาของมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้นเอง เพราะตั้งแต่เกิดมาคุณก็มีความรับผิดชอบล้นฟ้าติดตัวมาแล้ว อย่างน้อยคุณก็ต้องทดแทนคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดูคุณมา ติ๊งต่างว่าคุณจะหนีความรับผิดชอบนี้ไป สมมุติว่าคุณหนีไปบวชเอ้า แต่ในฐานะนักบวชคุณก็ต้องรับผิดชอบที่จะพาตัวเองให้บรรลุโมกขธรรมถูกแมะ แล้วคุณว่ามันง่ายไหมละความรับผิดชอบอย่างหลังเนี่ย เอางี้.. เพื่อประกอบความเข้าใจ ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเห็นในชีวิตจริงให้คุณฟังสักสามตัวอย่างนะ
ตัวอย่างที่ 1. ประมาณปีพ.ศ. 2515 ผมเรียนมหาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ปิดเทอมพาครูภาษาอังกฤษคนหนึ่งผมจำชื่อเขาได้ว่าชื่อ ปีเตอร์ แรนด์ ไปเดินป่าที่เชียงราย เราเดินไปตามสันเขา ไปพบหมู่บ้านบนดอยที่ไม่มียวดยานใดเข้าถึง มีโรงเรียนเล็กๆอยู่หนึ่งโรง มีบ้านพักครูเล็กๆขนาดเท่าห้องส้วมสองห้องอยู่หนึ่งหลัง ทั้งโรงเรียนมีครูคนเดียว เป็นครูผู้หญิง แล้วครูคนนี้เขามีอายุ 18 ปีเท่านั้นเอง เรียนจบวค. (วิทยาลัยครู) เชียงใหม่มาหมาดๆ คุณลองนึกภาพดูนะ ผู้หญิง อายุสิบแปด จากในเมืองขึ้นไปเป็นครูอยู่บนดอยคนเดียว ต้องผจญปัญหาสารพัดอยู่คนเดียวกลางป่าเขาอย่างนั้น มันเป็นความรับผิดชอบที่มากมายล้นฟ้าเลยใช่ไหม ทำไมเธอซึ่งเป็นผู้หญิงตัวเล็กต้องมารับผิดชอบอะไรที่มากมายอย่างนั้นด้วย
ตัวอย่างที่ 2. ประมาณปีพ.ศ. 2523 ผมเป็นแพทย์ฝึกหัด สมัยนั้นเป็นสมัยสงครามประชาชนบ้าง สงครามคุกรุ่นกับประเทศเพื่อนบ้านบ้าง ผมนั่งฮ. (เฮลิคอปเตอร์) เก่าเสียงดัง แคร็ก แคร็ก แคร็ก ติดตามคณะไปตรวจเยี่ยมรักษาตชด. (ตำรวจตระเวนชายแดน) ซึ่งรักษาฐานที่มั่นอยู่ที่ชายแดนด้านอำเภอตราพระยา ปราจีนบุรี ฮ.พาลงกลางฐานที่มีบังเก้อร์กระสอบทรายกั้นเป็นกำแพงสูงท่วมหัวล้อมรอบพื้นที่ราวครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอลกลางป่า ตรงกลางฐานเป็นที่ตั้งของคลังสรรพาวุธรวมทั้งรถเกระ รถถัง ฐานยิงปืนใหญ่ ปืนกล ปืนต่อสู้อากาศยาน มีกำลังตชด.ประจำฐานรวม 40 คน หน้าที่หลักนอกจากการรักษาฐานแล้วก็คือการพยายามออกลาดตระเวณพื้นที่รับผิดชอบ ประเด็นก็คือบิ๊กบอสใหญ่ที่รับผิดชอบชีวิตผู้คนทั้งหมดและทรัพย์สินของราชการมูลค่านับร้อยล้านที่นี่ เป็นนายตำรวจยศร้อยโท อายุ 24 ปี เท่านั้นเอง คุณหมอลองนึกภาพนะ หนุ่มน้อยอายุ 24 ปี ต้องรับผิดชอบความเป็นความตายของผู้คนทั้งกลางวันกลางคืออยู่กลางป่าอย่างต่อเนื่องยาวนาน ช่วงไหนที่ถูกศัตรูปิดล้อม ต้องอยู่ในฐานนานเป็นเดือนก็มี มันเป็นความรับผิดชอบที่ล้นฟ้าเลยใช่ไหม ทำไมเขาต้องมารับผิดชอบมากอย่างนั้นด้วย
ตัวอย่างที่ 3. ประมาณปีพ.ศ. 2528 ผมเป็นแพทย์ประจำบ้านเวรศัลยกรรมหัวใจ ที่รพ.ราชวิถี ในกทม.นี่เอง คืนหนึ่งผมถูกพยาบาลตามขึ้นไปดูคนไข้ที่วอร์ด (แผนกนี้ไม่ค่อยมีอินเทอร์นหมุนเวียนมา) ประมาณตีสองกลางดึก ทั้งวอร์ดมีเตียงเรียงแถวยาวสองข้างประมาณ 30 เตียง คนไข้หนักๆทั้งนั้น ที่หนักถึงระดับสมัยนี้ต้องอยู่ในไอซียู.ก็มีประมาณสี่ห้าคน แต่ว่าทั้งวอร์ดมีพยาบาลคนเดียว อยู่กับผู้ช่วยอีกสองคน พยาบาลคนนั้นหน้าตาเด็กมาก และมีอายุเพียง 21 ปีเท่านั้นเอง ตอนที่ผมเดินไปถึง เธอยืนอยู่ปลายเตียงคนไข้ กลางทางเดิน ท่ามกลางเสียงโอดโอยของคนไข้และความมืด เห็นเงาของเธอทอดยาวไปตามทางเดินระหว่างเตียง เธอจะต้องรับผิดชอบชีวิตของคนไข้ในวอร์ดนี้เพียงคนเดียวจากเที่ยงคืนจนถึงสว่าง สำหรับพยาบาลละอ่อนตัวเล็กๆคนหนึ่ง มันเป็นความรับผิดชอบที่มากมายล้นฟ้าเลยใช่ไหมครับ
แต่คุณหมอเชื่อไหม ทั้งสามคนที่ผมเล่ามา เธอและเขาเหล่านั้นก็ทำงานไปได้โดยไม่มีใครตีอกชกหัวอะไร เพราะเธอและเขาไม่ได้มองว่ามันเป็นความรับผิดชอบล้นฟ้าแต่อย่างใด แต่มองว่ามันก็เป็นการใช้ชีวิตธรรมดาวันหนึ่งวันหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นคุณหมอลองเรียนรู้จากตัวอย่างทั้งสามคนนี้สิ อย่าไปมองว่าความรับผิดชอบที่หล่นมาตรงหน้าตักเรามันเป็นความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ล้นฟ้าเกินความสามารถเรา แต่มองว่ามันเป็นการใช้ชีวิตธรรมดาๆที่อย่างไรเสียเมื่อเกิดมามีชีวิตแล้วเราก็จะต้องผ่านมันไปเรียนรู้มันไปทีละวันๆเท่านั้น
2.. เรื่องที่เกิดความหวาดหวั่นระคนเบื่อหน่าย ที่โลกนี้มันไม่สวย เต็มไปด้วยระบบเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวกใช้ระบบอุปถัมภ์กันทั้งประเทศ ทุนเรียนต่อก็มีจำกัดต้องแย่งกัน ตรงนี้ผมแยกออกเป็นสองประเด็นนะ
ประเด็นที่ 1. นี่คือโลกที่เราอาศัยอยู่ (this is the world we live in) เราไม่ได้สร้างโลกนี้ขึ้นมา มันมีของมันอย่างนี้อยู่แล้ว มีอะไรสวยๆงามๆแยะ แต่ก็มีอะไรที่น่าเกลียดพอควร คนดีก็มาก คนพันธ์ตะกวดก็มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ผมแนะนำคุณหมอว่าอย่าไปกลัวหรือเบื่อโลกนี้เลยครับ เพราะเราเกิดมาบนโลกใบนี้ ก็ต้องใช้ชีวิตไปบนโลกใบนี้
ประเด็นที่ 2. เรื่องทั้งหลายในโลกนี้ถ้าเราขีดวงออกจากตัวเราออกไปมันก็จะขีดได้สองวงนะ วงในเป็นวงที่เราควบคุมบังคับได้ เช่นตื่นเช้ามาเราจะหยิบกางเกงตัวไหนใส่ ตอนเย็นเราจะไปออกกำลังกายหรือไม่ออก เราจะปล่อยใจให้คิดหมกมุ่นเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำซาก หรือจะตั้งสติทำอะไรที่เราทำได้ให้สำเร็จ ทีละชิ้น เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นโลกที่เราเลือกได้ ดลบันดาลได้ ผมเคยไปเรียนวิชาฝึกนิสัยดีเจ็ดประการกับครูฝรั่งชื่อสตีเฟ่น โคเวย์ เขาเรียกวงในนี้ว่า circle of influence
ส่วนวงนอกที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเรา คือความคิดกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เช่นเพื่อนเขามีเส้นสายใหญ่แล้วได้ใช้ทุนอยู่เป็นอาจารย์ในกรุงเทพ แต่เราซิต้องระเห็จไปอยู่ ตจว. หรือเรื่องใกล้ตัวในงานอาชีพเช่นเรารักษาคนไข้ไม่หายแล้วเขาโกรธเรา หรือแม้กระทั่งเรื่องไกลตัวมากๆเช่นชาวนายากจนเป็นหนี้เป็นสินเผาตัวเองเพราะหมดทางออก เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือโลกที่เราไม่มีอำนาจไปดลบันดาลอะไรได้ ซึ่งสตีเฟ่นเรียกมันว่า circle of concern
ประเด็นของผมคือว่าคุณหมอต้องจำกัดชีวิตอยู่ในเขตอำนาจที่ตนเองดลบันดาลได้เท่านั้น จึงจะมีชีวิตที่ดีและสร้างสรรค์ หากไปหลงหรือไปเสียเวลาอยู่ในโลกที่เราไม่มีอำนาจไปดลบันดาลอะไรได้ จะมีชีวิตที่เป็นทุกข์ทางใจแบบชั่วนิรันดร์ และสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรให้ใครไม่ได้เลย
3.. เรื่องที่ไม่รู้จะเลือกเรียนต่อสาขาไหนดี ชอบสูตินารีแพทย์ แต่ก็กลัวเมียจะทนรำคาญที่ตื่นนอนกลางดึกไม่ไหว ชอบศัลยกรรม แต่ก็กลัวเมื่อยขา ชอบอายุรกรรม แต่ก็กลัวว่ามีความรู้น้อย แล้วถามหมอสันต์ว่าเรียนอะไรดีจึงจะรุ่ง หิ..หิ คำถามแบบนี้ทำให้ผมคิดถึง บุปผา สายชล แฮะ คิดถึงเพลงของเธอที่ว่า
“..จะรักคนหนุ่ม ก็กลุ้มใจแท้
..จะรักคนแก่ ก็ยักแย่ยักยัน
..จะรักเชื้อเจ้า ก็ไกลเกินฝัน
เพราะอยู่ไกลกัน คนละชั้นชาตินี้
..จะรักนายห้างรึก็หวังไม่ได้
นายห้างตัวใหญ่หนูกลัวโดนตี
..จะรักนักเล่น ก็กลัวขายที่
..จะรักเศรษฐี ก็กลัวขี้เหนียว..”
สัจธรรมข้อหนึ่งก็คือ
"เมื่อเดินมาถึงทางแยกที่ยิ่งมีทางให้เลือกมาก โอกาสหลงทางก็ยิ่งมาก"
สัจธรรมอีกข้อก็คือ
"ยิ่งเล็งนาน ยิ่งพลาดง่าย"
พูดถึงเรื่องนี้เมื่อสองวันก่อนเพื่อนคนหนึ่งพาลูกซึ่งตอนนี้กำลังเรียนแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองนอกมากินข้าวด้วย ลูกของเพื่อนคนนี้เกิดและเติบโตที่เมืองนอก เรียนหนังสือเก่ง จบมหาลัยดังในอเมริกาด้านบริหารธุรกิจ ทำงานในองค์กรธุรกิจอยู่สิบปี แล้วรู้สึกว่าไม่ใช่สะเป๊ค จึงเลิกทำงานหันกลับมาเรียนแพทย์ การเรียนแพทย์ในอเมริกานี้นักเรียนต้องกู้เงินเรียนเฉลี่ยเป็นหนี้กันคนละสี่แสนเชียวนะกว่าจะจบ สี่แสนยูเอสดอลล่าร์นะครับไม่ใช่สี่แสนบาท พอจะจบแพทย์แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า เอ อยากกลับไปทำธุรกิจ.. อีกละ นี่เป็นตัวอย่างของการเล็งนาน แล้วก็ยังไม่ใช่ อุตส่าห์เล็งอยู่ตั้งสิบปี ยังพลาดจนได้
ดังนั้นในการเลือกที่ใช้ทุนก็ดี ในการเลือกสาขาฝึกอบรมก็ดี ผมแนะนำให้คุณหมอใช้หลักการตัดสินใจในทางคลินิกที่เราชำนาญอยู่แล้ว คือ เรียงข้อดีข้อเสีย ชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยง แล้วตัดสินใจโช้ะเลย ไม่ต้องกลัวตัดสินใจผิด เพราะคนที่เล็งอยู่ตั้งสิบปียังตัดสินใจผิดเลย เราเล็งแป๊บเดียวจะผิดก็ไม่เห็นจะซีเรียส เพราะในความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเลือกอาชีพนี้ อาชีพที่ผิดหรืออาชีพที่ถูกไม่มี แต่การรู้จักทำงานให้มีความสุขนั่นแหละ มีผิดมีถูก คือถ้าไม่รู้จักทำงานให้มีความสุขละก็คือ..ผิดแน่นอน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์