จริงหรือที่ว่าวัคซีนเอ็ชพีวี. (HPV) ป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่ได้
· ขอโทษนะคะที่ต้องมารบกวน
แต่พอดีหนูเพิ่งไปฉีดวัคซีน hpv มา 1 เข็ม
แล้วค่อยมาเจอนี้ เลยไม่รุ้ว่าควรจะไปฉีดต่อ เข็ม 2,3 ดีหรือไม่คะ
ขอบคุณคะ ข่าวนี้เชื่อถือได้มั้ยคะ
FDA Documents Reveal HPV "Not Associated with Cervical Cancer"
http://cancer.immunodefence.com/2007/12/fda-documents-reveal-hpv-not-a.html
FDA Documents Reveal HPV "Not Associated with Cervical Cancer"
http://cancer.immunodefence.com/2007/12/fda-documents-reveal-hpv-not-a.html
cancer.immunodefence.com
If true, this information reveals details of an enormous public
health fraud being perpetrated on the American people, involving FDA officials,
Big Pharma promoters, and even the governors of states like Texas. The health
and safety of tens of millions of young girls is at stake here, and what this…
ขอบคุณค่ะ
…………………………………………..
ตอบครับ
พอเห็นชื่อเว็บที่คุณให้มา
ผมก็ถึงบางอ้อแล้ว เรื่องนี้กุกันขึ้นมาตั้งแต่ปี 2007 คือทันทีที่วัคซีนออกมาใช้ ซึ่งก็คือหกปีมาแล้ว อ้างที่มาของแหล่งข่าวว่ามาจากเว็บไซท์ NaturalNews
หรือชื่อเดิมคือ NewsTarget เว็บไซท์แห่งนี้คนตั้งชื่อ
Mike Adam เป็นเว็บขายของการแพทย์ทางเลือกแบบคนเดียวทำหลายเว็บใช้ชื่อต่างๆนาๆ
รวมทั้งชื่อ www.cancer.immunodefence.com
บ้าง www.vaccine.immunodefence.com
บ้าง เป็นเว็บสนับสนุนการแพทย์ทางเลือกและคอยปล่อยข่าวกุในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์
เช่นว่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมีอันตราย ผงชูรส (MSG) และสารทดแทนความหวาน (aspartam) มีอันตราย
ปรอทในสารที่ใช้อุดฟันเป็นอันตราย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำให้แท้ง เป็นต้น
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องยกเมฆทั้งเพ รวมไปถึงเอาทฤษฎีขี้ฉ้อ (conspiracy theory) มาหาแง่มุมอธิบายสาระพัดเรื่องในเชิงต่อต้านวิทยาศาสตร์และต่อต้านการแพทย์แผนปัจจุบัน
เช่นทฤษฏีที่ว่ารัฐบาลกับบริษัทยาเห็นพลเมืองเป็นพลแกะ (sheeple) จึงต้องหาทางถีบถองเล่นให้ได้ตามใจชอบ คุณว่าทฤษฏีของเขามันเข้าท่าแมะ ผมเห็นว่าวัตถุประสงค์สูงสุดของเว็บนี้ดูจะมีอย่างเดียวคือสนับสนุนการขายของเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกโดยวิธีกุเรื่องราวขึ้นมาให้เนียนๆในสายตาของคนวงนอก
แต่คนวงในรู้กันทั่วและส่ายหัวกันด๊อกแด๊กโดยไม่รู้จะทำอย่างไรได้เพราะนี่เป็นโลกเสรีบนอินเตอร์เน็ท
เว็บนี้ทำให้แพทย์ที่ทำงานป้องกันโรคในหลายประเทศถึงกับเหนื่อยเหงื่อตกกีบ
ทีมแพทย์ที่ทำงานฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในโรงเรียนที่ออสเตรเลียถึงกับด่าเว็บนี้เหน็บไว้ท้ายบทวิจัยเรื่องสิ่งที่เรียนรู้จากการฉีดวัคซีนป้องกันเอ็ชพีวีในโรงเรียน
ที่พวกเขาตีพิมพ์ไว้ในวารสารการแพทย์ด้วย ตอนที่ทีมแพทย์ที่แคนาดาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
H1N1 แบบปูพรมเพื่อควบคุมโรค ก็ถึงกับต้องตั้งวอร์รูมขึ้นมาแก้ข่าวกุจากเว็บของนายอาดัมนี้แบบวันต่อวัน
ตัวผมเองได้อ่านงานของเว็บในตระกูล NatureNews นี้เป็นครั้งคราวจากที่คนไข้ของผมที่เป็นฝรั่งก๊อบมาให้อ่านในเรื่องต่างๆ
แต่ผมก็ไม่เคยสนใจจะเขียนถึงเว็บแบบนี้เลย เพราะในเชิงวิชาการมันเป็นการ “ประดาบกับลูกหาบ” แต่พอเห็นจดหมายของคุณจึงคิดได้ว่าเว็บแบบนี้มีผลมาถึงผู้อ่านที่เป็นคนไทยด้วยแฮะ เพราะคนไทยส่วนหนึ่งชอบอ่านอังกฤษ แต่ไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์ ผมจึงตัดสินใจตอบจดหมายของคุณ
ในเรื่องวัคซีนป้องกันไวรัสเอ็ชพีวี. (คือวัคซีน Cervarix และ Gardasil) เพื่อให้เกิดผลป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้
ผมขออธิบายความจริงให้คุณทราบไปตามประเด็นที่เว็บไซท์ NatureNews ของนายอาดัมกุขึ้นดังนี้
1.. นายอาดัมกับพวก บอกว่า ข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา อ้างมาจากเอกสารของอย.สหรัฐฯ (FDA) เอง
หมอสันต์ อธิบายความจริงว่า
เอกสารที่อ้างมาทั้งหมดนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะวิธีอ้างของเว็บนายอาดัมก็คือชอบไปอ้างเลขเอกสารที่
FDA
เขาถอดเอาเอกสารออกไปก่อนแล้ว คือการทำงานของ FDA นี้ปกติเรื่องไหนที่มีข้อมูลใหม่เขาจะเอาเอกสารเก่าออกไป
แต่ก็ยังสามารถขอดูได้ผ่านอีเมล นอกจากนี้ การทำให้ขลังยิ่งขึ้นก็คือบอกว่าถ้าตามไปดูแล้วเอกสารถูกถอดออกไป
ให้ไปดูที่เว็บของเราตรงนี้... ซึ่งเราก๊อปไว้และเก็บไว้แล้วอย่างมั่นคงแข็งแรง
แต่ลองตามไปดูเถอะครับ ไม่เจอหรอก เพราะวิธี “อ้างมั่ว” นี่เป็นวิธีที่นักกุข่าวเชิงวิทยาศาสตร์เทียมชอบใช้
และก็ได้ผลเสมอเสียด้วย
อนึ่ง เอกสารบางตอนที่เว็บนายอาดัมตัดมาให้อ่าน
(ของจริงหรือปลอมไม่ทราบ) เป็นข้อวิจารณ์ของอนุกรรมการบางคนในการประชุม
ซึ่งไม่ใช่ความจริงที่จะอ้างอิงได้ คือการประชุมของอนุกรรมการวิทยาศาสตร์ต่างๆ (scientific
sub-committee) จะมีข้อวิจารณ์มากมายสารพัดสาระเพ ผมเองก็เคยทำงานเป็นอนุกรรมการแบบนี้อยู่ช่วงหนึ่งกับสมาคมหัวใจอเมริกัน
(AHA) เวลาประชุมต้องให้โควตาพูดคนละไม่เกิน 1 นาที เพราะนักวิจัยมาจากทั่วโลก แต่ละคนก็จะแสดงหลักฐานเชื่อได้บ้างไม่ได้บ้างของตัวเอง
แบบว่ามาทั้งที่ขอพูดหน่อย ซึ่งคำพูดของอนุกรรมการบางคน ที่ไร้สาระก็มี
ที่เป็นความเท็จก็มี
2.. นายอาดัมกับพวก บอกว่า ไวรัสเอ็ชพีวี.ไม่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปากมดลูก
หมอสันต์อธิบายความจริงว่า
ไวรัสเอ็ชพีวี.ส่วนใหญ่ (สายพันธ์ความเสี่ยงต่ำ) ไม่สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูกก็จริง
แต่ไวรัสส่วนน้อยบางสายพันธ์ คือสายพันธ์ 16 และ
18 ( สายพันธ์ความเสี่ยงสูง)
มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูกแน่นอน โดยที่ 70% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
ติดเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่งในสองตัวนี้มาก่อน ส่วนที่เหลือก็ติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี.เช่นกัน แต่ไม่ใช่สองสายพันธ์นี้ วัคซีนป้องกันเอ็ชพีวี.มุ่งป้องกันไวรัสสองสายพันธ์นี้
3.. นายอาดัมกับพวก บอกว่า ผลวิจัยบอกว่าวัคซีน Gardasil ไม่มีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกเลยในผู้รับวัคซีนทุกกลุ่ม
ไม่ว่าจะเป็นหญิงบริสุทธิ์ หญิงที่ได้รับเชื้อเอ็ชพีวี.แล้วกำจัดเชื้อได้เอง
หรือหญิงที่ได้รับเชื้อแล้วกำจัดเชื้อไม่ได้
หมอสันต์ อธิบายความจริงว่า
ผลวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบสรุปได้แน่ชัดว่าวัคซีนป้องกันไวรัสเอ็ชพีวี.
ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวีสายพันธ์ความเสี่ยงสูงและลดอุบัติการณ์เป็นมะเร็งปากมดลูกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
(70%) ในหญิงอายุ 9 - 26 ปี ทั้งในหญิงที่เป็นพรหมจาริณี (ตอนที่ฉีด) และหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว
แต่ไม่ลดอุบัติการณ์เป็นมะเร็งในหญิงที่ได้ติดเชื้อเอ็ชพีวี.ความเสี่ยงสูงมาก่อนหน้าการฉีดวัคซีนแล้ว
และร่างกายยังไม่สามารถกำจัดเชื้อได้เอง ณ วันที่ฉีดวัคซีน ซึ่งในกลุ่มสุดท้ายนี้
เป็นที่ทราบและยอมรับกันทั่วไปว่าจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน
4.. นายอาดัมกับพวก บอกว่า ในหญิงที่ติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี.มาก่อนที่ร่างกายยังกำจัดเชื้อเองไม่ได้
หากฉีดวัคซีน Gardasil จะทำให้มีอุบัติการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
46%
หมอสันต์อธิบายความจริงว่า
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก รวมทั้ง Cervarix และ Gardasil เมื่อเทียบกับวัคซีนหลอก แม้วัคซีนจริงจะไม่ลดอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งของหญิงในกลุ่มที่เคยติดเชื้อเอชพีวี.ความเสี่ยงสูงมาแล้วและร่างกายยังกำจัดเชื้อไม่ได้
แต่วัคซีนก็ไม่ได้เพิ่มอุบัติการณ์ของการเป็นมะเร็งปากมดลูกเมื่อเทียบกับวัคซีนหลอกแต่อย่างใด
สาระหลักที่เว็บนายอาดัมตีวัคซีนก็มีสี่ประเด็นนี้แหละ
ส่วนอื่นๆเป็นการตีโวหารไร้สาระซึ่งไม่ควรค่าแก่การพูดถึง
กล่าวโดยสรุป วัคซีนป้องกันไวรัสเอ็ชพีวี.
ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้จริงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย (ยกเว้นเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังไม่มีข้อมูล)
รัฐบาลทั่วโลกยังคงมุ่งหน้าป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้พลแกะ เอ๊ยไม่ใช่ พลเมืองของตนด้วยวัคซีนนี้
หลายประเทศรวมทั้งอังกฤษและอเมริกาฉีดวัคซีนให้นักเรียนหญิงฟรี
บางรัฐเช่นเท็กซัสเป็นวัคซีนบังคับ ว่านักเรียนหญิงจะต้องฉีดวัคซีนนี้ทุกคน
สำหรับเมืองไทย นักการเมืองเคยพูดก่อนเลือกตั้งว่าจะฉีดวัคซีนนี้ให้ฟรี
แต่พอได้รับเลือกตั้งแล้วก็หายแซ้บหายสอย ดังนั้น
สำหรับท่านผู้อ่านบล็อกนี้ที่เป็นหญิงอายุ 9 – 26 ปี ควรขวานขวายควักกระเป๋าตัวเองฉีดวัคซีนนี้ทุกคน ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าหมอสันต์มีเอี่ยวกับบริษัทวัคซีน
ผมไม่ได้รู้จักพวกเขาแม้แต่คนเดียว แต่พูดเพราะผมเห็นพ้องกับองค์การอนามัยโลกว่าการฉีดวัคซีน
เป็นการลงทุนทางสุขภาพที่คุ้มค่าที่สุดเป็นอันดับสองรองลงมาจากการลงทุนหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
...................................................
17 กค. 56 จดหมายจากผู้อ่าน
เมื่อวาน เพิ่งไปฉีด HPV เข็มที่ 1 มา จะช่วยอะไรบ้างไหมคะ??
ขอบพระคุณค่ะ
.................................................
ตอบครับ (ครั้งที่ 2)
ประเด็นที่ 1. คนที่ติดเชื้อเอ็ชพีวี.แล้วและร่างกายยังไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ข้อมูลชัดเจนแล้วว่าวัคซีนเอ็ชพีวี.จะไม่ช่วยให้กำจัดเชื้อที่ติดมาแล้วได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่การฉีดวัคซีนอาจได้ประโยชน์ในแง่การป้องกันเชื้อเอ็ชพีวีสายพันธ์อื่นที่ยังไม่เคยติดมา
ประเด็นที่ 2. ประโยชน์ของวัคซีนนี้ในคนอายุเกิน 26 ปี ในแง่กฎหมาย เดิม Gardasil ได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอ็ชพีวี.ความเสี่ยงสูง (สายพันธ์ 16 และ 18) และหูด (สายพันธ์ 6 และ 11) ในเด็กหญิงอายุ 9-26 ปี และในอเมริกาได้รับอนุม้ติให้ใช้ป้องกันหูดในเด็กชายอายุ 9-26 ปี ต่อมาก็ขยายข้อบ่งชี้ให้ใช้ป้องกันมะเร็งทวารหนักในทั้งชายและหญิงอายุ 9-26 ปี สำหรับคนอายุ 27-45 ปี Gardasil ได้รับอนุมัติให้ใช้ในยุโรปแล้ว แต่ไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในอเมริกา แถมยังถูกอย.สหรัฐฯ (FDA) บังคับให้ติดฉลากในอเมริกาด้วยว่า
"ข้อมูลไม่ได้ชี้ชัดว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งระยะ CIN2/3 ที่เกิดจากเชื้อ HPV ในหญิงอายุเกิน ๅ26 ปีได้"
แต่ในแง่หลักฐานวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานวิจัยชื่องานวิจัย FUTURE III ซึ่งพิสูจน์ได้แล้วว่าวัคซีนนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้หญิงอายุ 24-45 ปีได้ดีเช่นกัน งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet โดยเอาคน 3,817 คนโดยไม่เลือกว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่มี ติดเชื้อแล้วหรือไม่ติด เอามาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งฉีดอีกกลุ่มหนึ่งไม่ฉีดวัคซีน (ยี่ห้อ Gardasil ) แล้วตามดู 4 ปี พบว่ากลุ่มที่ฉีดมีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้นแน่นอนและปลอดภัย ทำให้คณะกรรมการผลิตภัณฑ์แพทย์ในคน (CHMP) ของยุโรปก็ได้ขยายข้อบ่งชี้ให้ใช้วัคซีนนี้ในหญิงอายุ 27-45 ปีได้
โดยสรุปก็คือวัคซีนป้องกันเอ็ชพีวี.ในหญิงอายุ 27-45 ปี มีหลักฐานพอควรว่าปลอดภัยและได้ประโยชน์สำหรับคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่หลักฐานยังไม่หนักแน่นแน่นอนมากนัก ผู้บริโภคจึงต้องตัดสินใจเองว่าจะฉีด (แบบยุโรป) หรือไม่ฉีด (แบบอเมริกา)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
17 กค. 56 จดหมายจากผู้อ่าน
อ่านจากบทความคุณหมอพบว่า "หญิงอายุ 9 – 26 ปี ควรขวานขวายควักกระเป๋าตัวเองฉี ดวัคซีนนี้ทุกคน" ปัจจุบันดิฉันอายุ 36 ปี เพิ่งพบว่าเป็นหูด ผลจากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ Genetal Warts เป็นมา 2 เดือนแล้วค่ะ ไม่หายซักที จี้ Podo และทายา Aldara ก็ไม่หาย
.................................................
ตอบครับ (ครั้งที่ 2)
ประเด็นที่ 1. คนที่ติดเชื้อเอ็ชพีวี.แล้วและร่างกายยังไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ข้อมูลชัดเจนแล้วว่าวัคซีนเอ็ชพีวี.จะไม่ช่วยให้กำจัดเชื้อที่ติดมาแล้วได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่การฉีดวัคซีนอาจได้ประโยชน์ในแง่การป้องกันเชื้อเอ็ชพีวีสายพันธ์อื่นที่ยังไม่เคยติดมา
ประเด็นที่ 2. ประโยชน์ของวัคซีนนี้ในคนอายุเกิน 26 ปี ในแง่กฎหมาย เดิม Gardasil ได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอ็ชพีวี.ความเสี่ยงสูง (สายพันธ์ 16 และ 18) และหูด (สายพันธ์ 6 และ 11) ในเด็กหญิงอายุ 9-26 ปี และในอเมริกาได้รับอนุม้ติให้ใช้ป้องกันหูดในเด็กชายอายุ 9-26 ปี ต่อมาก็ขยายข้อบ่งชี้ให้ใช้ป้องกันมะเร็งทวารหนักในทั้งชายและหญิงอายุ 9-26 ปี สำหรับคนอายุ 27-45 ปี Gardasil ได้รับอนุมัติให้ใช้ในยุโรปแล้ว แต่ไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในอเมริกา แถมยังถูกอย.สหรัฐฯ (FDA) บังคับให้ติดฉลากในอเมริกาด้วยว่า
"ข้อมูลไม่ได้ชี้ชัดว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งระยะ CIN2/3 ที่เกิดจากเชื้อ HPV ในหญิงอายุเกิน ๅ26 ปีได้"
แต่ในแง่หลักฐานวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานวิจัยชื่องานวิจัย FUTURE III ซึ่งพิสูจน์ได้แล้วว่าวัคซีนนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้หญิงอายุ 24-45 ปีได้ดีเช่นกัน งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet โดยเอาคน 3,817 คนโดยไม่เลือกว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่มี ติดเชื้อแล้วหรือไม่ติด เอามาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งฉีดอีกกลุ่มหนึ่งไม่ฉีดวัคซีน (ยี่ห้อ Gardasil ) แล้วตามดู 4 ปี พบว่ากลุ่มที่ฉีดมีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้นแน่นอนและปลอดภัย ทำให้คณะกรรมการผลิตภัณฑ์แพทย์ในคน (CHMP) ของยุโรปก็ได้ขยายข้อบ่งชี้ให้ใช้วัคซีนนี้ในหญิงอายุ 27-45 ปีได้
โดยสรุปก็คือวัคซีนป้องกันเอ็ชพีวี.ในหญิงอายุ 27-45 ปี มีหลักฐานพอควรว่าปลอดภัยและได้ประโยชน์สำหรับคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่หลักฐานยังไม่หนักแน่นแน่นอนมากนัก ผู้บริโภคจึงต้องตัดสินใจเองว่าจะฉีด (แบบยุโรป) หรือไม่ฉีด (แบบอเมริกา)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Watson M; Shaw, Douglas; Molchanoff, Luda;
McInnes, Cathy (August 2009). "Challenges, lessons learned and results
following the implementation of a human papilloma virus school vaccination
program in South Australia". Australian and New Zealand Journal of
Public Health 33 (4): 365–370. doi:10.1111/j.1753-6405.2009.00409.x. PMID 19689598.
2. Seeman N, Ing A and Rizo C (2010).
"Assessing and Responding in Real Time to Online Anti-vaccine Sentiment
during a Flu Pandemic". Healthcare Quarterly13: 8–15. PMID 20959725.
3. Munoz N et al. Safety, immunogenicity, and efficacy of
quadrivalent human papillomavirus (types 6, 11, 16, 18) recombinant vaccine in
women aged 24–45 years: a randomised, double-blind trial. Lancet 2009; 373:
1949–5
4. Block SL, Brown DR, Chatterjee A, Gold MA, Sings HL, Meibohm
A, Dana A, Haupt RM, Barr E, Tamms GM, Zhou H, Reisinger KS. Clinical trial and
post-licensure safety profile of a prophylactic human papillomavirus (types 6,
11, 16, and 18) l1 virus-like particle vaccine. Pediatr Infect Dis J. 2010
Feb;29(2):95-101.
5. Petaja T, Keranen H, Karppa T, Kawa A, Lantela S,
Siitari-Mattila M, et al. Immunogenicity and safety of human papillomavirus
(HPV)-16/18 AS04-adjuvanted vaccine in healthy boys aged 10-18 years. J Adolesc
Health 2009;44:33-40.
6. Block SL, Nolan T, Sattler C, Barr E, Giacoletti KE, Marchant
CD, et al. Comparison of the immunogenicity and reactogenicity of a
prophylactic quadrivalent human papillomavirus (types 6, 11, 16, and 18) L1
virus-like particle vaccine in male and female adolescents and young adult
women. Pediatrics 2006;118:2135-45.
7. Munoz N et al. Safety, immunogenicity, and efficacy of quadrivalent human papillomavirus (types 6, 11, 16, 18) recombinant vaccine in women aged 24–45 years: a randomised, double-blind trial. Lancet 2009; 373: 1949–57