คำถามสุขภาพจิตของชาวพุทธวัย 24 ปี
เรียนคุณหมอคะ
มีคำถามงงๆอยากถามว่า ศาสนาเราสอนว่า ไม่มีตัวไม่มีตน อย่ายึดติด
และก็สอนว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
มันขัดกันมั้ยคะ สรุปว่าเราควรมีตัวตนของเราหรือไม่คะ
ปล.ไม่ใช่คำถามกวนตีนนะคะ แค่งงๆกะชีวิตแบบชาวพุทธที่เป็นมา 24 ปีแต่ไม่ค่อยเข้าใจอะไรเท่าไหร่คะ
ขอบคุณคุณหมอมากคะ
มีคำถามงงๆอยากถามว่า ศาสนาเราสอนว่า ไม่มีตัวไม่มีตน อย่ายึดติด
และก็สอนว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
มันขัดกันมั้ยคะ สรุปว่าเราควรมีตัวตนของเราหรือไม่คะ
ปล.ไม่ใช่คำถามกวนตีนนะคะ แค่งงๆกะชีวิตแบบชาวพุทธที่เป็นมา 24 ปีแต่ไม่ค่อยเข้าใจอะไรเท่าไหร่คะ
ขอบคุณคุณหมอมากคะ
.................................................
ตอบครับ
ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจตงิดใจว่าส่งเมลมาถามคำถามที่มีเนื้อหาสาระความเจ็บป่วยซีเรียสจะเป็นจะตาย
รอตั้งนานก็ไม่เห็นตอบให้สักที ส่วนคำถามที่ไม่มีสาระ ทำไมตอบให้ได้
แหะ แหะ อย่าคิดมากเลยครับ
การตอบคำถามทางบล็อกนี้เป็นงานอดิเรกของผมนะ เป็นงานที่ทำเอาม่วน
หมายความว่าทำให้เพื่อให้เกิดความหนุกหนานในชีวิตของผมเอง
ดังนั้นบางครั้งผมหยิบเมล “ขี้หมา” ขึ้นมาตอบก็อย่าหงุดหงิดเลย
เพราะบางอารมณ์ผมก็อยากทำอะไรไร้สาระบ้าง
เอาละ มาตอบคำถามของหนูชาวพุทธที่ปวารณาตัวว่าไม่กวนตีน (ขอโทษ ศัพท์ของน้องหนูเขาเอง) คนนี้ดีกว่า
1.. ประเด็นตรรกะของภาษา คือภาษาเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความอยากสื่อเจตนาสู่กันและกันของมนุษย์เรา
ภาษาทุกภาษาล้วนมีตรรกะ กฏเกณฑ์ไวยากรณ์ หรือวิธีตีความของแต่ละภาษาเอง แบบที่นักกฎหมายเรียกว่า
“ตัวบท” แต่เป้าหมายสุดท้ายของภาษาคือการสื่อเจตนา
การจะใช้ประโยชน์จากภาษาได้เต็มที่ ต้องเป็นนักฟังอย่างลึกซึ้ง (deep
listening) ฟังเพื่อที่จะเข้าใจว่าเขาเจตนาจะสื่ออะไรให้เรา นั่นก๊อกหนึ่ง
เมื่อทราบเจตนาของเขาแล้ว เราจะเลือกหยิบประเด็นอะไรไปใช้ให้ได้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์
ทั้งสองก๊อกมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ถือเป็นสององค์ประกอบหลังของการฟังอย่างลึกซึ้ง
แต่ผู้ใหญ่ในสังคมไทยทุกวันนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพประชุมกันอยู่กับท่านประธานที่เคารพนะแหละ
กลับเป็นตัวอย่างให้เด็กใช้ภาษาผิดวิธี
คือแทนที่จะใช้เป็นเครื่องมือเข้าใจเจตนาของคนพูด กลับไปใช้เป็นเครื่องมือสาธิตให้คนอื่นเห็นความฉลาดของตนเอง
หรือสาธิตให้คนอื่นเห็นความโง่ของคนพูด
หรืออาศัยแง่มุมตรรกะของภาษาพลิกเสริมอัตตาของตัวแบบยกตนข่มท่านหรือเอาประโยชน์เข้าตัว
พูดง่ายๆว่าใช้ภาษาแบบศรีธนญชัยหรือแบบ “ตะแบง”
เด็กๆของเราก็เลยเป็นนักตะแบงไปกันหมด มีน้อยมากที่จะเป็นนักฟังอย่างลึกซึ้ง และมีน้อยมากๆๆๆที่เมื่อฟังเข้าใจแล้วจะเลือกสนองตอบหรือเอาความเข้าใจเจตนาของคนอื่นไปใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ได้
เพราะไม่รู้จะไปเรียนรู้วิธีทำแบบนี้จากที่ไหน ไม่มีตัวอย่างให้ดู ดังนั้นคุณต้องหัดใช้ภาษาด้วยตัวคุณเอง
ถ้าคุณเลิกตะแบง หันมาฟังอย่างลึกซึ้ง ผมเชื่อว่าคุณก็จะเก็ทแทบจะทันที
ว่าคำสอนทั้งสองข้อนั้นเขาจะสื่ออะไร ผมคงไม่ต้องอธิบายหรอก
2.. คำสอนแรกที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้นมีความหมายชัดแจ้งแล้วคงไม่มีประเด็นอะไรให้คุยต่อมากนัก
แต่คำสอนที่สอง ที่มีสาระว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นนั้น เป็นอะไรที่เราน่าจะเสียเวลาคุยกันสักเล็กน้อย คือตั้งแต่เล็กจนโต
เราถูกสอนให้รู้จักและเคารพในกฎเกณฑ์ นี่ถูกนั่นผิด ให้รู้จักเส้นแบ่ง นี่ของเรา
นั่นของเขา เราถูกสอนให้ฟูมฟักตัวตนของเราให้มั่นคงสูงเด่น เป็นผู้ชนะ
เล่นกีฬาก็มุ่งชนะ เรียนก็มุ่งให้ได้ที่ดีๆ สอบแข่งขันอะไรก็มุ่งให้สอบได้
คนสอบตกต้องเป็นคนอื่น ไม่ใช่เรา จบแล้วก็ต้องทำงานที่ได้เงินมาให้ตัวเองแยะๆ ตั้งบริษัทก็หวังให้ได้กำไรล้ำหน้าคู่แข่ง
แต่ครั้นพอโตขึ้น เมื่อเรามีความเครียดจากการใช้ชีวิตในแนวทางที่เราถูกสอนมา เราก็หันเข้าหาศาสนา
ซึ่งกลับมาสอนเราแบบกลับหลังหันว่าสิ่งที่เราหลงยึดถือฟูมฟักนั้นมันเป็นอะไรที่ไม่ใช่สิ่งมั่นคงถาวร
มันเปลี่ยนแปลงแตกสลายได้ และมันอยู่เหนือการควบคุมของเรา
หากจะไม่ให้ทุกข์ต้องเลิกยึดถือในสิ่งเหล่านั้นซะ ปล่อยให้มันเปลี่ยนแปลงเท้งเต้งของมันไป
ซึ่งมันก็เป็นอะไรที่ชวนให้งงไม่น้อย อะไรกันวะ
ก็ถ้าเส้นทางที่เดินมาตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่นั้นมันผิด
ทำไมไม่สอนสิ่งที่ถูกเสียตั้งแต่แรกละ จะได้สอนซะทีเดียว ไม่ใช่สอนแบบผิดมาก่อน
แล้วมาสอนให้รื้อสิ่งที่เรียนมาแล้วทีหลัง พอเรียนวิชาชีวิตจบก็กลับมาอยู่ที่เดิมตอนเป็นเด็ก
ยังไม่ทันเข้าใจแจ่มแจ้งว่าที่เรียนมาครึ่งแรกกับครึ่งหลังของชีวิตนั้น
อย่างไหนถูกอย่างไหนผิด ก็เป็นเวลาที่แก่ได้ที่พอดี ถึงเวลาตายซะแล้ว โอ้..ชีวิต
มีแค่เนี้ยะนะ
ผมไม่แปลกใจหรอกครับ ที่คุณงงๆกะชีวิต ผมเองก็แก่ปูนนี้แล้วก็ยังงงๆเหมือนกัน ถ้าเรามองการใช้ชีวิตของมนุษย์ย้อนหลังไปนับพันปี
เขาก็ใช้ชีวิตแบบงงๆกันยังงี้แหละ ผมเคยอ่านหนังสือกำลังภายในจีนของโก้วเล้ง
ซึ่งเล่าเรื่องในประเทศจีนเมื่อราวพันปีก่อน
เป็นเรื่องของยอดฝีมือที่บากบั่นฝึกฝนตัวเองทุ่มเททั้งชีวิตตั้งแต่หนุ่มจนแก่เพื่อช่วงชิงความเป็นจอมยุทธ์
แต่ว่าเส้นทางมันช่างยากลำบากและเต็มไปด้วยขวากหนามและความเครียด วันหนึ่ง
ก่อนการประลองยุทธ์ครั้งใหญ่ ยอดฝีมือก็รำพึงว่า
“...ทะเลทุกข์เวิ้งว้างไร้ขอบเขต
กลับใจหันหลังได้คือฟากฝั่ง
ละทิ้งศาสตราวุธได้ ก็เป็นอรหันต์...”
คือจนแก่แล้วจอมยุทธ์ก็ยังไม่ชัวร์กับชีวิต
ที่แน่ๆคือเส้นทางที่เดินอยู่นี้มันเครียดไม่รู้จบ
และเขาว่ากันว่าแค่กลับหลังหันแค่นั้นก็จะเจอฝั่งแล้ว
แต่อาแปะจอมยุทธ์แกก็ยังไม่ชัวร์ ได้แต่รำพึงรำพัน
แล้วก็เดินหน้าเข้าประลองยุทธ์หาชื่อเสียงเข้าตัวเองต่อไป
“อ้าว แล้วสรุปว่าจะให้หนูทำอย่างไรต่อไปคะเนี่ย”
ตอบว่า แหะ แหะ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ คุณไปแสวงหาโมกขธรรมของจริงมาหน่อยดิ เมื่อพบแล้วอย่าลืมมาเทศนาโปรดผมด้วยนะ ผมจะรอคุณอยู่ตรงนี้แหละ ถ้าผมไม่ตายไปเสียก่อน
ในระหว่างนี้ผมจะเอาตัวรอดด้วยวิธีของผมเองไปก่อน คือผมจะไม่โฟกัสที่คอนเซ็พท์ว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด
แต่จะโฟกัสที่ทักษะในการตามกวดจิตใจของตัวเองให้ได้รวดเร็ว รวดเร็วจนทันเลือกวิธีสนองตอบต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาถึงตัวทุกรูปแบบได้อย่างบางเบาสรวลเสเฮฮาสร้างสรรค์และแฮปปี้
แทนที่จะสนองตอบไปแบบอัตโนมัติโดยที่ตัวเองยังไม่ท้นรู้ตัวเลยว่าพูดหรือคิดอะไรออกไปอย่างนั้นได้อย่างไร
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์