มียาวิเศษแบบนี้ด้วยหรือคะ
คุณหมอค่ะ ดิฉันอ่านบทความเรื่อง Vitalite Plus แล้ว รู้สึกประหลาดใจว่ามียาวิเศษแบบนี้ด้วยหรือค่ะ อยากซื้อมาทานเหมือนกัน จะเป็นการหลอกลวงกันมั้ยค่ะ ราคาสูงพอสมควร แต่เห็นใน web คนที่ทานแล้วหายและอาการดีขึ้นก็อดที่จะดีใจด้วยไม่ได้ ถ้าหายจริงน่าจะส่งเสริมให้แพร่หลายค่ะ แต่ใจดิฉันก็เชื่อครึ่ง ๆ ค่ะ อยากทราบความเห็นคุณหมอค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่สละเวลาตอบ
..............................................
ตอบ
เนื่องจากมีคนถามเข้ามาแยะว่าตัวนั้นโฆษณาว่าอย่างนี้จริงไหม ตัวนี้โฆษณาว่าอย่างนี้จริงไหม ผมขอรวบตอบด้วยกันซะที่เดียวนะครับ คือผมจะไม่ตอบว่าอะไรจริงอะไรเท็จ แต่จะแนะนำวิธีวินิจฉัยด้วยตัวท่านเอง
1. ก่อนอื่น พึงแยกให้ออกระหว่าง “อาหาร” กับ “ยา” เพราะสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน สินค้าที่โฆษณากันโครมๆทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร ล้วนเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา เพราะยาโฆษณาไม่ได้ แต่ผู้ขายอาจมีกลเม็ดให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่าอาหารนั้นเป็นยา เพราะหากทำให้เข้าใจว่ามันเป็นยาแล้วก็ดูเหมือนมันจะมีพลังหรือขลังกว่าเป็นอาหาร ดังนั้นเบื้องแรกนี้ สาธุชนพึงแยกให้ออกก่อนว่าสิ่งที่เรากำลังพูดถึงเนี่ย เป็น “อาหาร” หรือเป็น “ยา”
2. ตามกฎหมาย พรบ.อาหารและยา 2522 ถ้าเป็นอาหารกฎหมายห้ามโฆษณาว่าทำจะให้สุขภาพดีอย่างโน้นอย่างนี้หรือรักษาโรคนั้นโรคนี้หาย หรือพูดง่ายๆว่าห้ามอ้าง health claim ใดๆเด็ดขาด อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้มีผลชงัดเฉพาะทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เท่านั้น เพราะกฎหมายบังคับให้ส่งคำโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ไปให้ อย.ตรวจก่อนจึงจะเอาออกโฆษณาได้
3. ส่วนการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ทนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ส่งคำโฆษณาไปให้ อย.ตรวจก่อน เข้าใจว่าเพราะกฎหมายเกิดก่อนอินเตอร์เน็ท ดังนั้นในทางปฏิบัติ อินเตอร์เน็ทจึงเป็นเขตปลอด อย. เพราะ อย. ออกฤทธิ์เดชผ่านการตรวจคำโฆษณาที่เขาส่งมาขออนุมัติเท่านั้น ใครที่แกล้งโง่หรือดื้อตาใสโฆษณาไปเลยปาว ปาว ไป โดยไม่ส่งคำโฆษณามาขออนุมัติ ก็สบายแฮไป คืออยากพูดอะไรก็พูดไปเถอะ อย. ไม่รู้ไม่เห็น ดังนั้นอินเตอร์เน็ทจึงเป็นสนามที่ไม่มีกติกาคุ้มกันผู้เล่น ต้องเล่นกันแบบมวยวัด ตัวใครตัวมัน ใครที่โง่ก็จะถูกเขาหลอกตบทรัพย์ไปตามระเบียบ ดังนั้นหากท่านจะใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ทก็...อย่าโง่
4. การจะวินิจฉัยได้ว่าสินค้าด้านสุขภาพอะไรเป็นของแท้ อะไรเป็นของหลอก ต้องเข้าใจเรื่องการจัดชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์ เพราะสินค้าทุกเจ้าต่างก็อ้างงานวิจัยยืนยันว่าของตัวเองดีทั้งสิ้น ไหนๆก็พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ผมขอให้แนวทางจัดชั้นหลักฐานวิทายาศาสตร์เรียงลำดับตั้งแต่ชั้นขี้หมาเชื่อไม่ได้ไปจนถึงชั้นดีเชื่อถือได้ ดังนี้
4.1 หลักฐานที่เป็นเรื่องเล่า (anecdotal) ที่ไม่ได้มีการวิจัยอย่างเป็นระบบ เช่นโฆษณาว่านาง ก.ไก่ กินแล้วหายจากเบาหวาน ขาย ข.ไข่ กินแล้วหายจากไข่บวม บ้างก็ถ่ายรูปคนมาให้ดูก็มี หรือบางทีก็เป็นคำกล่าวอ้างเชิงทฤษฎีหรูๆฟังยากๆแต่ไม่มีงานวิจัยที่อ้างอิงได้จริงๆรองรับ หลักฐานระดับนี้เป็นหลักฐานระดับต่ำสุด ทางวิทยาศาสตร์ไม่นับเป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำไป
4.2 งานวิจัยในสัตว์ หรือในห้องแล็บ หรือห้องทดลอง (animal or lab research) ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าเป็นหลักฐานระดับต่ำ ยังห่างไกลจากจุดที่จะเอามาใช้ในคนได้
4.3 งานวิจัยในคนจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้แบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (case series) คือให้คนไข้จริงๆทดลองกินมาแล้ว และมีการจดบันทึกผลเป็นกิจจะลักษณะแบบการวิจัยทั่วไป แต่ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้กินยาชนิดนี้ แบบนี้ทางการแพทย์ก็ถือเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างต่ำและต้องฟังหูไว้หูเช่นกัน
4.4 งานวิจัยในกลุ่มคน โดยมีการแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน กลุ่มหนึ่งกินยาหรือผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ อีกกลุ่มกินยาหลอกหรือไม่ได้กินอะไรเลย โดยที่วิธีแบ่งกลุ่มนั้นเป็นการแบ่งกันเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสุ่มจับฉลากแบ่งกลุ่ม (non randomized controlled trial) เช่นการวิจัยเปรียบเทียบคนดื่มกาแฟกับคนไม่ดื่มกาแฟ เป็นต้น อันนี้เป็นหลักฐานขั้นที่ดีขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังเชื่อถือไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นรูปแบบการวิจัยที่อาจเจอปัจจัยกวนแล้วสรุปผลออกมาผิดความจริงได้
4.5 งานวิจัยในกลุ่มคน โดยมีการแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน โดยที่วิธีแบ่งกลุ่มนั้นเป็นการจงใจการจับฉลากแบ่งกลุ่ม (randomized controlled trial หรือ RCT) เช่น ให้จับฉลาดเบอร์ดำเบอร์แดง คนจับได้เบอร์ดำ ให้กินยาจริง คนจับได้เบอร์แดง ให้กินยาหลอก โดยทั้งคนให้ยาและคนกินยาต่างก็ไม่รู้ว่าอันไหนยาจริงอันไหนยาหลอก มีแต่นายทะเบียนคนเดียวที่รู้ งานวิจัยแบบนี้เป็นงานวิจัยที่เชื่อถือได้มากที่สุด บางครั้งผู้วิจัยได้เอาข้อมูลจากงานวิจัยแบบนี้หลายๆงานวิจัยมารวมกันแล้ววิเคราะห์ผลใหม่ เรียกว่าทำเมตาอานาไลซีส (metaanalysis) ซึ่งผลที่ได้ก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่ดีเช่นกัน
ในบรรดาสินค้าสุขภาพที่โฆษณาขายกันระเบิดเถิดเทิงอยู่ในอินเตอร์เน็ททุกวันนี้ ส่วนใหญ่อ้างหลักฐานระดับเรื่องเล่าหรือ anecdotal ซึ่งเป็นหลักฐานที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์เขาไม่นับว่าเป็นหลักฐานด้วยซ้ำ ดังนั้น ผมให้วิธีคิดไว้ ต่อไปจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร ก็ขอให้เป็นดุลพินิจของแต่ละท่านก็แล้วกันนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
..............................................
ตอบ
เนื่องจากมีคนถามเข้ามาแยะว่าตัวนั้นโฆษณาว่าอย่างนี้จริงไหม ตัวนี้โฆษณาว่าอย่างนี้จริงไหม ผมขอรวบตอบด้วยกันซะที่เดียวนะครับ คือผมจะไม่ตอบว่าอะไรจริงอะไรเท็จ แต่จะแนะนำวิธีวินิจฉัยด้วยตัวท่านเอง
1. ก่อนอื่น พึงแยกให้ออกระหว่าง “อาหาร” กับ “ยา” เพราะสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน สินค้าที่โฆษณากันโครมๆทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร ล้วนเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา เพราะยาโฆษณาไม่ได้ แต่ผู้ขายอาจมีกลเม็ดให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่าอาหารนั้นเป็นยา เพราะหากทำให้เข้าใจว่ามันเป็นยาแล้วก็ดูเหมือนมันจะมีพลังหรือขลังกว่าเป็นอาหาร ดังนั้นเบื้องแรกนี้ สาธุชนพึงแยกให้ออกก่อนว่าสิ่งที่เรากำลังพูดถึงเนี่ย เป็น “อาหาร” หรือเป็น “ยา”
2. ตามกฎหมาย พรบ.อาหารและยา 2522 ถ้าเป็นอาหารกฎหมายห้ามโฆษณาว่าทำจะให้สุขภาพดีอย่างโน้นอย่างนี้หรือรักษาโรคนั้นโรคนี้หาย หรือพูดง่ายๆว่าห้ามอ้าง health claim ใดๆเด็ดขาด อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้มีผลชงัดเฉพาะทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เท่านั้น เพราะกฎหมายบังคับให้ส่งคำโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ไปให้ อย.ตรวจก่อนจึงจะเอาออกโฆษณาได้
3. ส่วนการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ทนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ส่งคำโฆษณาไปให้ อย.ตรวจก่อน เข้าใจว่าเพราะกฎหมายเกิดก่อนอินเตอร์เน็ท ดังนั้นในทางปฏิบัติ อินเตอร์เน็ทจึงเป็นเขตปลอด อย. เพราะ อย. ออกฤทธิ์เดชผ่านการตรวจคำโฆษณาที่เขาส่งมาขออนุมัติเท่านั้น ใครที่แกล้งโง่หรือดื้อตาใสโฆษณาไปเลยปาว ปาว ไป โดยไม่ส่งคำโฆษณามาขออนุมัติ ก็สบายแฮไป คืออยากพูดอะไรก็พูดไปเถอะ อย. ไม่รู้ไม่เห็น ดังนั้นอินเตอร์เน็ทจึงเป็นสนามที่ไม่มีกติกาคุ้มกันผู้เล่น ต้องเล่นกันแบบมวยวัด ตัวใครตัวมัน ใครที่โง่ก็จะถูกเขาหลอกตบทรัพย์ไปตามระเบียบ ดังนั้นหากท่านจะใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ทก็...อย่าโง่
4. การจะวินิจฉัยได้ว่าสินค้าด้านสุขภาพอะไรเป็นของแท้ อะไรเป็นของหลอก ต้องเข้าใจเรื่องการจัดชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์ เพราะสินค้าทุกเจ้าต่างก็อ้างงานวิจัยยืนยันว่าของตัวเองดีทั้งสิ้น ไหนๆก็พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ผมขอให้แนวทางจัดชั้นหลักฐานวิทายาศาสตร์เรียงลำดับตั้งแต่ชั้นขี้หมาเชื่อไม่ได้ไปจนถึงชั้นดีเชื่อถือได้ ดังนี้
4.1 หลักฐานที่เป็นเรื่องเล่า (anecdotal) ที่ไม่ได้มีการวิจัยอย่างเป็นระบบ เช่นโฆษณาว่านาง ก.ไก่ กินแล้วหายจากเบาหวาน ขาย ข.ไข่ กินแล้วหายจากไข่บวม บ้างก็ถ่ายรูปคนมาให้ดูก็มี หรือบางทีก็เป็นคำกล่าวอ้างเชิงทฤษฎีหรูๆฟังยากๆแต่ไม่มีงานวิจัยที่อ้างอิงได้จริงๆรองรับ หลักฐานระดับนี้เป็นหลักฐานระดับต่ำสุด ทางวิทยาศาสตร์ไม่นับเป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำไป
4.2 งานวิจัยในสัตว์ หรือในห้องแล็บ หรือห้องทดลอง (animal or lab research) ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าเป็นหลักฐานระดับต่ำ ยังห่างไกลจากจุดที่จะเอามาใช้ในคนได้
4.3 งานวิจัยในคนจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้แบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (case series) คือให้คนไข้จริงๆทดลองกินมาแล้ว และมีการจดบันทึกผลเป็นกิจจะลักษณะแบบการวิจัยทั่วไป แต่ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้กินยาชนิดนี้ แบบนี้ทางการแพทย์ก็ถือเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างต่ำและต้องฟังหูไว้หูเช่นกัน
4.4 งานวิจัยในกลุ่มคน โดยมีการแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน กลุ่มหนึ่งกินยาหรือผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ อีกกลุ่มกินยาหลอกหรือไม่ได้กินอะไรเลย โดยที่วิธีแบ่งกลุ่มนั้นเป็นการแบ่งกันเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสุ่มจับฉลากแบ่งกลุ่ม (non randomized controlled trial) เช่นการวิจัยเปรียบเทียบคนดื่มกาแฟกับคนไม่ดื่มกาแฟ เป็นต้น อันนี้เป็นหลักฐานขั้นที่ดีขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังเชื่อถือไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นรูปแบบการวิจัยที่อาจเจอปัจจัยกวนแล้วสรุปผลออกมาผิดความจริงได้
4.5 งานวิจัยในกลุ่มคน โดยมีการแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน โดยที่วิธีแบ่งกลุ่มนั้นเป็นการจงใจการจับฉลากแบ่งกลุ่ม (randomized controlled trial หรือ RCT) เช่น ให้จับฉลาดเบอร์ดำเบอร์แดง คนจับได้เบอร์ดำ ให้กินยาจริง คนจับได้เบอร์แดง ให้กินยาหลอก โดยทั้งคนให้ยาและคนกินยาต่างก็ไม่รู้ว่าอันไหนยาจริงอันไหนยาหลอก มีแต่นายทะเบียนคนเดียวที่รู้ งานวิจัยแบบนี้เป็นงานวิจัยที่เชื่อถือได้มากที่สุด บางครั้งผู้วิจัยได้เอาข้อมูลจากงานวิจัยแบบนี้หลายๆงานวิจัยมารวมกันแล้ววิเคราะห์ผลใหม่ เรียกว่าทำเมตาอานาไลซีส (metaanalysis) ซึ่งผลที่ได้ก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่ดีเช่นกัน
ในบรรดาสินค้าสุขภาพที่โฆษณาขายกันระเบิดเถิดเทิงอยู่ในอินเตอร์เน็ททุกวันนี้ ส่วนใหญ่อ้างหลักฐานระดับเรื่องเล่าหรือ anecdotal ซึ่งเป็นหลักฐานที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์เขาไม่นับว่าเป็นหลักฐานด้วยซ้ำ ดังนั้น ผมให้วิธีคิดไว้ ต่อไปจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร ก็ขอให้เป็นดุลพินิจของแต่ละท่านก็แล้วกันนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์