บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2023

ท้องอืดและลมขึ้นระดับมหึมามหากาพย์

(ภาพวันนี้ / ดอกถั่วอะรูมิไร้ ที่ริมทางเดิน) เรียน คุณหมอสันต์ จากที่ได้ดู YouTube ของคุณหมอสันต์ที่พูดถึงเรื่องลำไส้ พอดีดิฉันอายุ 65 ปี มีปัญหาลมในไส้เคลื่อนไหวตลอดเวลาและเสียงดังมาก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม2 วันที่ผ่านมาไปใส่รากฟันเทียมเขาฉีดยาชาหลายเข็มยิ่งทำให้ลมในตัวมากขึ้น จากประสบการณ์ทุกครั้งที่ถูกฉีดยาจะมีการเคลื่อนไหวของลมเช่นตอนที่ฉีดวัคซีนด้านขวาลมก็จะไปวิ่งไปที่แขนด้านซ้าย นี่เป็นข้อสังเกตส่วนตัวที่เป็นคนที่ลมเยอะเป็นพิเศษมานานแล้ว ยิ่งหมอให้ยาฆ่าเชื้อมาฆ่าแบคทีเรียยิ่งทำให้ท้องเสียถ่ายเป็นลมมากขึ้น คืนนี้ตื่นมากลางดึก 02:00 น ซึ่งเป็นเวลาของธาตุลมก็มีอาการเวียนหัวเหมือนที่เคยเป็นเมื่อก่อนแล้วหายไปแล้วพักหนึ่งจึงแก้ไขโดยเคาะที่กลางกระหม่อมให้ลมเรอออกเพื่อลดอาการเวียนหัวแล้วล้มได้เพื่อเดินไปห้องน้ำ  มันก็จะถ่ายพุ่งเอาลมออกแล้วอาการเวียนหัวก็จะดีขึ้นเป็นแบบนี้เป็นประจำที่มีลมเยอะ คำถามคืออาการแบบนี้จะแก้ไขอย่างไรคะ เคยกินน้ำผักปั่นที่คุณหมอสันต์แนะนำก็ลมเยอะ พยายามกินถั่วเพื่อให้ได้โปรตีนแทนเนื้อสัตว์ก็ยังไม่สำเร็จ การกินอาหารหมักดองก็จะยิ่งทำให้ลมเยอะแล้วปวดไปตามจุดต่างๆที่มี

ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ แล้วอยากยกน้ำหนัก ดึงสายยืด ตีเทนนิส และขับรถ

(ก่อนตอบคำถามวันนี้ขอแจ้งข่าวนิดหนึ่งว่าหนังสือ “คัมภีร์สุขภาพดี” ขายไปหมดแล้ว ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิมพ์ครั้งที่สอง ท่านที่ต้องการจะซื้อหนังสือกรุณาอดใจรอ ประมาณว่าน่าจะออกจากโรงพิมพ์ 15 พย. นี้ ทันเป็นของขวัญปีใหม่พอดี เมื่อหนังสือออกได้แล้วผมจะแจ้งยืนยันอีกครั้ง) เรียน อ.สันต์ ใจยอดศิลป์       ผมชื่อ … อายุ 61 ปี ผมได้ไปใส่เครื่อง pacemaker มาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2566 เนื่องจากหัวใจเต้นช้าผิดปกติ ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายหลังใส่เครื่อง pacemaker ที่อยากเรียนถามอาจารย์ดังนี้       1.ผมจะสามารถออกกำลังกายจำพวกกายบริหาร ยกน้ำหนักดัมเบล และดึงสายยางยืดได้หรือไม่ เพราะก่อนผมจะไปใส่เครื่อง pacemaker พวกเคยดู YouTube ของอาจารย์ที่เกี่่ยวกับการออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับผูู้สูงอายุ แล้วก็ได้ทำมาตลอด แต่พอมาใส่เครื่อง pacemaker แล้วกลัวว่าถ้าออกกำลังกายแบบนี้ อาจทำให้สายไฟของเครื่อง pacemaker หักชำรุดได้นะครับ       2.เรื่องการขับรถและเล่นเทนนิสนี่ ต้องรอให้ผ่าน 3 เดือนไปก่อนใช่ไหมครับ  คุณหมอที่ใส่ pacemaker ให้ผมบอกว่าเรื่องขับรถขอให้ 3 เดือนก่อน ส่ว

การเสียสติ ก็คือการทำแบบเดิมๆซ้ำๆแต่คาดหมายผลลัพท์ที่ต่างจากเดิม

(ภาพวันนี้ / ชงโคหน้าบ้าน บานรับลมหนาว) (หมอสันต์พูดกับกลุ่มแฟนบล็อกที่มาเยี่ยม) เวลาเราได้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่มาเครื่องหนึ่ง เราสนใจอ่านคู่มือการใช้งานอย่างจริงจังเพราะอยากจะใช้ประโยชน์จากความซับซ้อนของมันให้เต็มที่ ฟังชั่นพื้นฐานที่สำคัญเช่นกดตรงไหนมันจะสนองตอบอย่างไร หรือถ้าเปิดแอ็พทิ้งไว้มันจะกินพลังงานของเครื่องจนแบตหมด ทุกคนที่มีโทรศัพท์มือถือจะรู้กันทั่ว แต่ร่างกายและใจซึ่งเราได้มาตั้งแต่เกิดและจะต้องใช้มันไปจนตายนี้ มีสักกี่คนที่รู้ว่ามันก็เป็นหุ่นยนต์หรือเป็นเครื่องยนต์ (machine) ชิ้นหนึ่ง มีสักกี่คนที่รู้ว่ามันทำงานโดยกลไกอัตโนมัติเมื่อได้รับสิ่งเร้าอย่างนี้มันต้องสนองตอบอย่างนี้ทุกคราวไปเพราะฟังชั่นพื้นฐานของมันผูกเป็นวงจรไว้เช่นนั้น และมีใครรู้บ้างว่ามันทำงานได้ด้วยพลังงานเหมือนที่มือถือทำงานด้วยแบตเหมือนกัน และถ้าเปิดแอ๊พตัวหลักๆทิ้งไว้เช่นการคิดอะไรฟุ้งซ่านเปะปะหรือคิดกังวล ไม่นานแบตมันก็จะแผ่วลง ยิ่งไปกว่านั้น มีสักกี่คนที่รู้ว่ากายและใจนี้เป็นหุ่นยนต์ที่ประกอบมาแบบยังไม่ทันเสร็จก็เอาออกมาขายแล้ว พูดอีกอย่างว่ากายและใจนี้เป็นหุ่นยนต์ที่ยังไม่สมประกอบ มีแต่ฟังชั่นพื้นฐา

ความสองฝักสองฝ่ายในใจหมอหนุ่ม

(ภาพวันนี้ / ดอกไมยราพยามเช้า) สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็น extern ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งครับ การเรียนหมอ 6 ปีมันช่างยาวนานและใช้กำลังภายในเยอะพอสมควรครับ ผมเรียนรู้ที่จะพอเอาตัวรอดไปได้ในแต่ละวัน จนกระทั่งตอนมาเป็น extern ได้ไปวนโรงพยาบาลในต่างจังหวัดหลายเดือน ซึ่งมีการทำงานที่ไม่เหมือนกับโรงเรียนแพทย์ ตัวผมมีโอกาสได้ดูแลคนไข้ ได้ฝึกทำงานเหมือนหมอคนหนึ่ง ทำให้ผมกลับมารักและเห็นคุณค่าในวิชาชีพแพทย์มากขึ้นมากๆครับ และช่วงเวลา 3 ปีของคลินิก ผมก็ค้นหาตัวเองเจอว่าชอบศัลย์ ได้ elective ในหลายๆที่ก็รู้สึกว่าใช่ แต่ติดตรง mindset ของตัวผมเองครับอาจารย์ ที่รู้สึกอยากพอ อยากวางจากการขวนขวายขะมักเขม้น (observe จาก resident ในคณะครับ) บางครั้งก็ทรมานจากความรู้สึกที่ว่าตัวเองยังรู้ไม่มากพอ ทำให้ลังเลว่าจะ fix ward หรือจะไปใช้ทุนดี และมีโอกาสได้ไปตั้งแคมป์ ได้เจอกับผู้คนใหม่ๆที่หลากหลาย ทำให้รู้สึกว่าโลกใบนี้กว้างใหญ่ มีอะไรให้น่าเรียนรู้อีกเยอะเลยครับ แต่การเรียนหมอนั้น ทั้งความหนักและตารางที่ไม่แน่นอน ทำให้การจัดสรรเวลาของผมเป็นไปได้ยากครับ จึงอยากปรึกษาว่าอาจารย์มีคำแนะนำ วิธีจัดการความคิด การจัดส

ความตายของคนใกล้ชิดเป็น "ครูใหญ่" ให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของแต่ละลมหายใจของเราที่เหลืออยู่

คุณหมอครับ ภรรยาผมเพิ่งสิ้นลมไป ผมรู้สึกชา เชื่องช้า เหมือนทำอะไรไม่ถูกเมื่อต้องอยู่คนเดียว ผมไม่ใช่คนเข้าวัดเข้าวา ในใจมีแต่ภาพอดีต ผมร้องไห้บ้าง กลัวความเหงา กลัวความลึกลับของความตาย ……………………………………………………………………… ตอบครับ 1.. การเป็นคนไม่เคยสนใจศาสนาไม่เข้าวัดเข้าวาในช่วงชีวิตที่ผ่านมานั้นไม่ใช่ประเด็นสลักสำคัญอะไร ดีเสียอีกที่ไม่มีคอนเซ็พท์โน่นนี่นั่นมาเป็นขยะรกหน่วยความจำในหัว การจะมีชีวิตที่ดี ไม่จำเป็นต้องไปฟังเอาจากใครพูดที่ไหน แค่ขยันทิ้งคอนเซ็พท์เก่าๆที่สังคมหรือภาวะรอบตัวยัดเยียดให้เรายึดถือเกี่ยวพันโดยไม่จำเป็นไปเสียให้หมด แล้วเริ่มต้นสังเกตรับรู้ยอมรับทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาที่เดี๋ยวนี้ตามที่มันเป็น ค่อยๆถอยกลับเข้าไปสู่ความสงบที่ส่วนลึกของใจเราเอง แล้วก็จะมีชีวิตที่ดี คือสงบเย็นและสร้างสรรค์ได้เอง 2.. อดีตเป็นเพียงความคิดที่เราคิดขึ้นที่เดี๋ยวนี้โดยเราจงใจเรียบเรียงให้ต่อเนื่องเหมือนนิยายเรื่องยาวเอาไว้ให้ตัวเองอ่าน ดังนั้นหากจะแสวงหาสิ่งดีๆในชีวิต อย่าไปยุ่งกับอดีต อย่าไปคิดถึงหรือจมอยู่กับอดีต และอย่าไปปักหลักเชื่อว่าคุณเป็นสิ่งเดียวที่คงที่สถาพรที่นั่งมองความเปลี่ยนแปลงของสิ

โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 รักษาให้ตัวชี้วัดไต (GFR) ดีขึ้นได้ด้วยเปลี่ยนอาหารมากินพืชเป็นหลัก

(ภาพวันนี้ / ต้อยติ่ง) เรียนคุณหมอสันต์ ผมอายุ 72 เป็นโรคไต ตอนนี้ค่าไตเหลือ 34 หมอให้ยามากินเยอะมากตามรายการแนบ ห้ามกินผักผลไม้มาก ห้ามกินโปรตีนมาก แล้วผมจะกินอะไรละครับ ผมอยากถามคุณหมอสันต์ว่ายาโรคไตที่ได้มานั้นมันมียาอะไรบ้าง มันทำหน้าที่อะไร มันจำเป็นไหม นอกเหนือจากยาเหล่านี้จะมีวิธีอื่นไหมที่ผมจะมีชีวิตต่อไปจนตายไปเองโดยไม่ต้องล้างไต ขอบคุณครับ ………………………………………………… ตอบครับ เป็นความจริงที่ว่าการรักษาโรคไตเรื้อรังในปัจจุบันโฟกัสอยู่ที่การใช้ยา ซึ่งก็เหมือนกับการรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ เพราะวงการแพทย์กระแสหลักยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ ยารักษาโรคไตทั้งหมดนั้นแบ่งเป็นหมวดตามหลักการแก้ปัญหาโรคไต ได้หลายกลุ่ม ได้แก่ (1) การลดความดันเลือดด้วยยาในกลุ่ม ACEI และ ARB, (2) การลดไขมันในเลือดด้วยยาในกลุ่ม statin (3) การกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นด้วยการฉีดยากระตุ้นไขกระดูกกลุ่ม erythropoietin (4) การลดบวมด้วยยาขับปัสสาวะ (5) การจับเอาฟอสเฟตส่วนเกินออกจากร่างกายด้วยยาเช่นแคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตท และยา sevelamer (6) การจับเอาโปตัสเซียมส่วนเกินออกด้วยยาเช่น calcium polystyrene sulfo

เป็นหมอเปิดคลินิกจนคนไข้ติด เกษียณแล้วอยากปิดแต่ปิดไม่ลง

(ภาพวันนี้ / ดอก ฮอลลี่ฮ็อค) ขอคำปรึกษาจากอจ.หมอค่ะ เราสองคน สามีจบแพทย์ … รุ่น … ดิฉันพยาบาล ดิฉันลาออกก่อนเกษียณค่ะ ส่วนคุณหมอรับราชการจนเกษียณ เราสองคนจากรพ. … ไปอยู่ รพ. … ย้ายไปจว. … ก่อนจะย้ายมา จว … เพราะ อจ.ในกระทรวงให้มาช่วยเพราะที่นี่หมอลาออกกันมากขาดแคลนแพทย์ อยู่มาตั้งแต่ปี … เกษียณแล้วอยากจะปิดคลินิกแต่ปิดไม่ลงเพราะเป็นห่วงคนไข้ จะขอปรึกษาอจ.ว่าตอนอจ.จะปิดคลินิก อจ.ทำยังไงคะ ห่วงคนไข้ปิดไม่ได้สักทีค่ะ คิดว่าจะปิดต้นปี 67 ค่ะ …………………………………………………… ตอบครับ 1.. ถามว่าเปิดคลินิกทำมาจนเกษียณ จะปิดดีไหม ตอบว่าทุกอย่างเมื่อมี “เปิด” ก็ต้องมี “ปิด” ไม่ปิดตอนนี้ก็ต้องไปปิดเอาตอนสุดท้าย คือตายคา (ขอโทษ หิ หิ) ถ้าเลือกแบบแรกต้องมีแผนลูกประกอบ คือปิดแล้วจะไปทำอะไร เพราะปัญหาของผู้สูงอายุที่ป่วยหรือเป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้สาเหตุหนึ่งคือแก่แล้วไม่มีอะไรทำ แต่ถ้าเลือกเอาแบบหลังไม่ต้องมีแผนลูกประกอบ เพราะเมื่อตายคาแล้วปัญหาทุกอย่างก็จบไปพร้อมกันแบบรูดมหาราช 2.. ถามว่าสมัยหมอสันต์ปิดคลินิกส่วนตัวของตัวเองทำอย่างไร ตอบว่า โห.. ผมต้องทบทวนความจำหน่อยนะ เพราะนั่นมันปีพ.ศ. 2525 ซึ่งก็คือสี่สิบกว่

เพราะความซึมเศร้าในอีกมุมหนึ่งก็คือการ "หด" ของพลังชีวิต

(ภาพวันนี้ / ใบพุดทรา) อาจารย์คะ หนูเป็นมะเร็งตับ ตอนแรกเป็นแล้วเลิกทำงาน ยิ่งแย่ จึงกลับมาทำงานแบบลดการทำงานลง เมื่อกลางเดือนที่แล้วหนูไปเรียนสีนำ้กับอาจารย์ … ช่วงอยู่ในการวาดรูป อาการปวดตามตัวหายไปหมดเลยคะ รู้สึกถึงจิตใจเบิกบาน (ส่วนใหญ่ตอนนี้ ใจยังไม่ค่อยเบิกบานคะ)    อาการปวดที่หายไป เหมือนกับตอนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ไปเข้าคอร์สสุขภาพยาวๆ แวะเยี่ยมญาติ อาการเกร็งคอ ปวดตัว ก็จะหายไป พอใกล้กลับมาเมืองไทย ก็รู้ตัวว่าเริ่มเกร็ง และค่อยๆเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จับได้เลยว่าเริ่มเกร็งตรงไหนก่อน อีกอย่างคือตอนไปเที่ยว อาการใจสั่นจาก PVC ก็ลดลงเยอะคะ กลับมาอยู่กรุงเทพ เพิ่มฃึ้นเยอะ หนูใช้ Apple Watch ไม่รู้ว่าคิดไปเอง หรือมีอัตตาสูงเวลากลับมาเมืองไทยเลยเริ่มเป็นอีก หรือแค่เวลาเดินทาง กิจกรรมเยอะ นั่งเฉยๆน้อย (อันนี้ไม่น่าอธิบายทั้งหมด เพราะบางที ก่อนจะกลับ 1 วันก็เริ่มค่อยๆปวดเพิ่มขึ้นแล้วคะ) ตอนนี้ที่รับรู้ได้ชัดเจนขึ้น คือตอนใจหม่นหมอง หรือเวลาใจเบิกบานคะ  ซึ่งส่วนใหญ่ใจยังไม่สงบเย็นคะ ความสม่ำเสมอในการจัดการกับความคิดคงยังน้อยคะ การจับความคิดแล้วจัดเข้าหมวดหมู่แล้ววางลง กับการต

เรื่องไร้สาระ (33) โปรเจ็ค: Kitchen Island

รูปภาพ
สัปดาห์นี้ไม่ต้องทำแค้มป์เพราะมีแพทย์ท่านอื่นมาทำแค้มป์เฉพาะโรคแทน ขอบคุณที่ช่วยสงเคราะห์ผู้สูงวัย ผมมีเวลามองหาอะไรสักอย่างที่ไร้สาระทำแล้ว สิ่งแรกที่ป๊อบอัพขึ้นมาในหัวก็คือทำโต๊ะกลางครัวหรือ Kitchen Island เสียใหม่ เพราะตัวเก่าที่ผมทำไว้สิบกว่าปีมาแล้วมันเล็กและคับแคบ เนื่องจากคุณหมอสมวงศ์เธอใช้ครัวแบบนานาชาติคือนอกจากจะทำต้มยำทำแกงแบบไทยๆแล้วยังทำขนมปังซาวโด ขนมปังแข็งบิสคอติแบบอิตาลี่ ทำเนยถั่วและแยมสาระพัดผลไม้ไว้กินเอง ยังไม่นับพวกคัมบูฉะซึ่งเลิกไปกลางคันเพราะรับมือกับการเติบโตของสโคบี้ไม่ไหว ทำให้บัดเดี๋ยวต้องเคลียร์ผิวโต๊ะเพื่อนวดแป้ง บัดเดี๋ยวต้องเคลียร์ผิวโต๊ะเพื่อหั่นแตงโมง แถมการออกแบบโต๊ะเดิมก็ไม่ถูกต้องด้วยหลักเออร์โกดีไซน์ ใช้ไปได้สักสิบปีเธอเริ่มบ่นว่าผิวโต๊ะต่ำไป ผมก็เสริมขาโต๊ะให้สูงขึ้น แก้ปัญหาไปได้ แต่บางปัญหาต้องมีวิธีแก้ที่ลึกซึ้งกว่านี้ เช่นเพื่อนบ้านเอาหม้อเหล็กญี่ปุ่นหนัก 5 กก.สำหรับอบขนมปังมาขายถูกๆให้ เธอก็ซื้อมาใช้ด้วยความยินดี แต่ผมแอบสังเกตเห็นเธอต้องโก้งโค้งก้มลงไปยกหม้อที่หนักอึ้งขึ้นมาจากพื้นใต้โต๊ะ ยังไม่นับที่แขวนของใช้มีไม่พอ ที่ครอบหูกันเสียงเมื่อ

ถ้าความตายจะมาถึง มันจะมาถึงที่ปลายสุดของลมหายใจนี้ด้วยตัวของมันเอง

(ภาพวันนี้ / Morning walk วันฟ้าครื้ม) เรียนคุณหมอ เพิ่งได้รับทราบการวินิจฉัยโรคที่แท้จริงของตัวเองที่เป็นสาเหตุให้กลืนอะไรไม่ได้จากการที่คุณหมออธิบายผล CT ให้ฟังวันนี้เอง ว่ามะเร็งเต้านมเดิมที่ผ่าตัดฉายแสงเคมีบำบัดครบแล้วนั้นกลับมาอีกโดยแพร่ไปที่ปอด ต่อมน้ำเหลืองในทรวงอก ซึ่งขยายโตถึง 7 ซม.จนเบียดหลอดอาหารให้กลืนไม่ได้ มะเร็งส่วนหนึ่งได้แพร่ไปที่ตับด้วย ดิฉันได้คุยกับลูกๆถึงเรื่องจะให้อาหารเพื่อบรรเทาอาการโดยการใส่สายยางให้อาหารทางจมูกหรือทางหน้าท้องแล้ว ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ทำ แต่จากนี้ไปควรทำตัวอย่างไร ขอคำแนะนำด้วย ……………………………………………….. ตอบครับ คำตอบวันนี้ใช้สำหรับการดูแลตัวเองที่บ้านสำหรับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นมะเร็งระยะแพร่กระจายที่จบการรักษาผ่าตัดเคมีบำบัดฉายแสงแล้ว และตัดสินใจไม่ให้การรักษาแบบประคับประคองใดๆเช่นการให้อาหารทางสายยาง เป็นต้น โดยเน้นกรณีกลืนอาหารไม่ได้ 1.. ในเรื่องอาหาร เน้นอาหารที่เหลวระดับใกล้เคียงกับน้ำ เช่นน้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำผักปั่นหรือน้ำถั่วปั่นเจือน้ำมากๆ เป็นต้น อยากกินอะไรที่รสชาติถูกปาก เช่นก๋วยเตี๋ยว ก็ซื้อมาปรุงให้เต็มยศแล้วเอาเอาใส่โถปั่นความเร็วสูงปั่

หมอสันต์ประกาศชวนคนไทยทั่วไปเข้าร่วมงานวิจัยอาหารไทยเพื่อสุขภาพ (Healthy Thai Diet)

รูปภาพ
วันนี้ของดตอบคำถามหนึ่งวันเพื่อประกาศปชส.ชวนแฟนบล็อกเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัยอาหารไทยเพื่อสุขภาพที่หมอสันต์เคยเกริ่นไว้นานแล้ว งานวิจัยอาหารไทยสุขภาพ การวิจัยนี้ทำโดยคณะผู้วิจัย 13 คนโดยมีหมอสันต์เป็นหัวหน้าคณะ มีวัตถุประสงค์ที่จะตอบคำถามว่าการบริโภคอาหารไทยสุขภาพ(Healthy Thai Diet-HTD) ซึ่งเป็นอาหารไทยแท้ใช้เครื่องปรุงอาหารไทยแท้ได้ทุกอย่างรวมทั้งกะทิ กะปิ น้ำปลา แต่เปลี่ยนเฉพาะวัตถุดิบอาหารให้เป็นพืชล้วนๆไม่มีเนื้อสัตว์เลย จะมีผลดีต่อสุขภาพในรูปของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ความดันเลือด ตัวชี้วัดการอักเสบ ตัวชี้วัดการทำงานของตับและไต ชนิดจำนวนและขนาดยาที่กิน ชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่จอประสาทตา หรือไม่ วิธีวิจัยคือคณะผู้วิจัยจะเปิดรับอาสาสมัครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีค่าดัชนีสุขภาพ (น้ำหนัก ความดัน ไขมัน น้ำตาล) ตัวใดตัวหนึ่งสูงผิดปกติ หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร (หัวใจ เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง อ้วน) โรคใดโรคหนึ่งโดยที่อาจจะกินยาหรือไม่กินยาอยู่ก็ได้ จำนวนรวมทั้งสิ้น 60 ท่าน แล้วใช้คอมพิวเตอร์สุ่มตัวอย่างแบ่งออก

วัคซีนป้องกันติดเชื้อปอดอักเสบแบบรุกล้ำ (IPV) สำหรับผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

เรียนคุณหมอสันต์ การฉีดวัคซีนปอดอักเสบสำหรับคนอายุ 65 ปีขึ้นไปสรุปว่าเขาจะเอายังไงกันแน่ ต้องฉีดเข็มเดียวหรือสองเข็มคะ ………………………………….. ตอบครับ เรื่องวัคซีนปอดอักเสบแบบรุกล้ำ (invasive pneumococcal vaccine) นี้ มีการเปลี่ยนแปลงชนิดวัคซีนและวิธีฉีดบ่อยมาก นานมาแล้วหลายปีผมเคยตอบคำถามนี้โดยการเล่าประวัติศาสตร์ให้ฟังว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีฉีดวัคซีนนี้ที่ผ่านมามีมาเป็นขั้นตอนอย่างไรบ้าง บางช่วงแนะนำฉีดเข็มเดียว บางช่วงแนะนำฉีดสองเข็ม หลังจากเขียนไปยาวเหยียดผลก็คือท่านผู้อ่านเขียนมาถามว่า “สรุปว่าหมอสันต์จะให้ฉีดเข็มเดียวหรือสองเข็ม?” หิ..หิ ดังนั้นการตอบคำถามในวันนี้จะไม่มีการลำเลิกถึงประวัติศาสตร์ให้สับสน แต่ขอแจ้งแนวปฏิบัติล่าสุดอันเดียว (ACIP 2023-2024) ตรงๆโต้งๆเลยว่า 1.. กรณีคนทั่วไปที่อายุ 65 ปีขึ้นไปและไม่เคยได้วัคซีนปอดอักเสบมาก่อน ให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบแบบรุกล้ำด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในสองวิธีต่อไปนี้ คือ วิธีที่หนึ่ง ฉีดวัคซีน PCV20 (Prevnar20) เข็มเดียวแล้วจบ หรือ วิธีที่สอง หากไม่มีวัคซีน PCV20 (Prevnar20) ก็ให้ฉีดวัคซีน PCV15 (Vaxneuvance) หนึ่งเข็มแล้วตามด้วยวัคซีน PPSV23 (Pneumova

แค้มป์พลิกผันโรคเบาหวานด้วยตนเอง RDMBY-2 โดยหมอจิ๊บ (พญ.จริญญา)

รูปภาพ
พญ. จริญญา จูพานิชย์ (หมอจิ๊บ) แคมป์เบาหวานแค้มป์แรกจบแล้วและว่างเว้นมานานมากเพราะผมยังควานหาตัวหมอเบาหวานที่จะมาทำแค้มป์ยังไม่พบ ตัวหมอสันต์เองไม่ใช่หมอเบาหวานย่อมไม่เหมาะจะเป็นผู้ทำแค้มป์รักษาโรคเบาหวานเพราะยังรู้ตื้นลึกหนาบางของยารักษาโรคไม่ดีเท่าหมอเบาหวาน แต่ตอนนี้ผมหาตัวหมอเบาหวานคนนั้นพบแล้ว เธอชื่อ พญ.จริญญา จูพานิชย์ (หมอจิ๊บ) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเบาหวานที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับวิธีใช้ชีวิตเป็นกิจที่หนึ่งในการรักษาเบาหวาน นอกจากจะครบเครื่องเรื่องโรคเบาหวานที่เธอทำมานานปีแล้ว เธอยังสนใจเป็นพิเศษในการสอนแบบ coaching ให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักให้ได้ด้วย เพราะเธอมองเห็นความเป็นญาติสนิทกันระหว่างโรคเบาหวานกับโรคอ้วน เมื่อได้ตัวผู้สอนแล้วผมจึงตัดสินใจเปิด “แค้มป์รักษาโรคเบาหวานด้วยตนเอง ครั้งที่ 2 (RDMBY-2)” ในวันที่ 11-13 พย. 66 ที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ โดยแค้มป์นี้จะสอนโดยตรงและอำนวยการสอนโดยคุณหมอจิ๊บล้วนๆ หมอสันต์จะไม่ได้โผล่หน้ามาทักทายเลย (เพราะช่วงนั้นหมอสันต์อยู่ต่างประเทศ หิ หิ) รายละเอียดของแค้มป์มีตารางแค้มป์ประมาณนี้ Day 1 09.30-10.30 ลงทะเบียน เช็คอินที่บ้าน Grove H

จะฟื้นฟูตัวเองเมื่อเป็นโรคพาร์คินสันอย่างไร

(ภาพวันนี้ / เปลี่ยนจากชมวิวมาชม carpenter shop ส่วนตัวของหมอสันต์แก้เบื่อบ้าง ตอนนี้กำลังบ้าทำโต๊ะกลางครัว kitchen island)      ฉบับนี้ขอตอบคำถามของผู้ป่วยพาร์คินสันที่ถามวิธีฟื้นฟูตัวเอง ก่อนจะตอบคำถาม ผมขอพูดถึงโรคพาร์คินสัน (Parkinson Disease) ให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นๆได้ทราบเป็นแบ็คกราวด์ไว้สักหน่อยนะครับ       โรคนี้มีนิยามว่าคือภาวะที่มีการเสื่อมของเซลประสาทที่ทำหน้าที่ปล่อยโดปามีนในก้านสมอง (substantia nigra)       มีสาเหตุประมาณ 10% เกิดจากพันธุกรรม ที่เหลือ 90% ไม่ทราบสาเหตุ       มีอาการสำคัญห้ากลุ่มคือ (1) มือสั่น (2) กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง (3) การเคลื่อนไหวช้าและผิดปกติ (4) ทรงตัวลำบาก (5) อาจมีอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเช่น ท้องผูก ซึมเศร้า สมองเสื่อม เห็นภาพหลอน การนอนผิดปกติ พฤติกรรมผิดปกติ ลุกแล้วหน้ามืด อั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น       โรคนี้วินิจฉัยจากอาการเท่านั้น ไม่มีวิธีตรวจยืนยันทางแล็บใดๆขณะคนไข้ยังมีชีวิตอยู่ แต่หากหลังการเสียชีวิตแล้วถ้านำเนื้อสมองมาตรวจทางพยาธิวิทยาจะพบว่ามีการเสื่อมของเซลประสาทชนิดที่มีเม็ดสี (neuromelanin) อยู่ในเซล โดยเซลที่รอดชีวิตมักม

หมอสันต์พูดกับสมาชิก SR-33 เรื่องคอนเซ็พท์ของชีวิต

(ภาพวันนี้ / หมอกเช้า หน้าบ้าน) เรามาที่นี่ เพื่อเสาะหาวิธีหลุดพ้นออกไปจากกรงความคิดของเราเอง จะด้วยเหตุใดก็ตาม (1) บ้างมาเพราะความคิดทำให้เครียด (2) บ้างมาเพราะความคิดทำให้เราป่วย (3) บ้างมาเพราะความคิดทำให้ไม่มีความสุข หรือบางคนมาด้วยเหตุพิเศษ คือ (4) ใจมีแต่ความสงสัยตะหงิดๆว่าชีวิตมันมีแค่นี้หรือ กิน นอน ขับถ่าย สืบพันธ์ ป่วย ทุกข์ แล้วก็ตายไป มันมีอะไรควรค่าแก่การเสาะหาทำความรู้จักมากกว่านี้อีกไหม ไม่ว่าแต่ละท่านจะมาด้วยเหตุใดก็ตาม ผมจะแบ่งเรื่องที่เราจะพูดจะทำขณะอยู่ด้วยกันสี่วันที่นี่ออกเป็นสองส่วน คือ (1) คอนเซ็พท์ของชีวิต (2) การลงมือปฏิบัติเพื่อวางความคิด สี่วันนี้ผมคาดหวังจะให้ท่าน “แม่นยำในคอนเซ็พท์ของชีวิต และช่ำชองในการใช้เครื่องมือวางความคิด” “แม่นยำในคอนเซ็พท์ ช่ำชองในการใช้เครื่องมือ” ผมมีเวลาให้กับคอนเซ็พท์แค่ 5% เพื่อจะได้ให้เวลากับการฝึกใช้เครื่องมือวางความคิด 95 % ในชั่วโมงแรกนี้เรามาคุยกันเรื่องคอนเซ็พท์ของชีวิตก่อน ผมมีคอนเซ็พท์หลักของชีวิตที่จะเสนอให้ทำความเข้าใจเพียงห้าเรื่องเท่านั้น คือ คอนเซ็พท์ที่ 1. การยอมรับ (Acceptance) หมายถึงการที่เราควรจะขยันผ่อนคลาย ยิ