แค่ให้ลูกเป็นคนที่เบิกบานและไวต่อเวทนา (Joyful and Sensible)
เมื่อวานนี้ผมคุยกับสมาชิก SR ท่านหนึ่งซึ่งเป็นคุณแม่ โดยคุยกันในเรื่องการเลี้ยงลูก เนื้อหาสาระที่คุยกันอาจมีประโยชน์กับผู้อ่านที่มีลูก จึงเอามาเล่าไว้ตรงนี้
หมอสันต์
คุณมีความกังวลอะไรเกี่ยวกับเขาบ้าง
คุณแม่
หนูก็กังวลเรื่องว่าจะให้เขามีอนาคตอย่างไร มีอาชีพอะไรดี เพราะสมัยคนรุ่นเขา อย่างเป็นหมอก็คงไม่ได้เพราะเพราะรู้อยู่แล้วว่าอาชีพอย่างเช่นเป็นหมอก็ตาม ในอนาคตก็คงจะถูกแทนที่ด้วย AI (หุ่นยนต์) หมด
หมอสันต์
คุณไม่ต้องไปเดือดร้อนกับการที่ AI จะครองโลกดอก AI ครองโลกแล้วจะเป็นอะไรไป ดีเสียอีกที่ผู้คนจะได้มีความทุกข์น้อยลง หนึ่ง ก็จากการที่ไม่ต้องไปทำงาน เพราะการทำงานไม่ใช่หรือที่ทำให้เราต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนปากกัดตีนถืบอย่างทุกวันนี้ โลกทุกวันนี้คนเรามีความมั่นคงในทางกายภาพมากพอจนไม่ต้องเสียชีวิตทั้งชีวิตไปกับการต่อสู้เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย (surviving) อีกต่อไปแล้ว สอง ก็จากการที่ความคิดของคนจะมาเหมือนกันไปหมดเพราะมันเป็นความคิดของหุ่นยนต์ คนก็จะได้ไม่ต้องทะเลาะกันเพราะชุดของความคิดที่บ่งชี้ความเป็นตัวตนของแต่ละคนขัดกัน ความจริงทุกวันนี้หุ่นยนต์กระจอกอย่างกูเกิ้ลก็ทำให้ความคิดของผู้คนทั้งโลกมาเหมือนกันเสียส่วนหนึ่งแล้ว ถ้า AI ตัวจริงมาความคิดของคนก็จะเหมือนกันหมดเพราะทุกความคิดล้วนได้มาจาก AI ปัญหาที่จะมาทุกข์เพราะความคิดยึดถือในอัตตาตัวเองแบบงี่เง่าก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ สรุปว่าคุณไม่ต้องไปเดือดร้อนกังวลกับ AI
คุณแม่
คือหนูคิดว่าจะให้ลูกไปเรียนที่ไหนดี ที่จะให้เขาพัฒนาไปทำอะไรที่มีคุณค่าผ่าน digital ได้ ยกตัวอย่างเช่นอย่างมาร์ค ซักเกอร์เบอร์ก เป็นต้น หรืออย่างการทำบริษัทยูนิคอร์น (บริษัทใหม่ที่เข้าตลาดแล้วหุ้นกระฉูด) อย่างเด็กอินโดนีเซียเขาทำได้นะ แต่ระบบของไทยไม่มีทางสร้างเด็กอย่างนั้นได้ หนูกับแฟนไปดูว่าจะส่งเขาไปเรียนสิงค์โปร์ดีไหม เพราะสิงค์โปร์โตมาได้อย่างรวดเร็วในชั่ว generation เดียว เขาทำได้อย่างไร เพราะเขามีระบบการศึกษาที่เอื้อให้เกิดสิ่งอย่างนี้ได้
หมอสันต์
การให้การศึกษาเด็ก เรื่องจะส่งไปเรียนที่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่คุณตั้งลำให้ถูกก่อนว่าคุณอยากให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนอย่างไรก่อน เรื่องอื่นไม่สำคัญ แต่สำคัญเขาต้องเติบโตขึ้นมาแบบเป็นคนที่ joyful และ sensible
คุณแม่
Joyful หนูเข้าใจนะคะ คือให้เขาเป็นคนที่เบิกบานมีความสุข ส่วน sensible หนูยังไม่เข้าใจ อาจารย์หมายความว่าให้เขาเป็นคนเซ็นซิทีฟต่อเรื่องต่างๆหรือเปล่า
หมอสันต์
ไม่ใช่อย่างนั้นครับ นี่เป็นข้อจำกัดของภาษานะ ที่ผมเลือกคำว่า sensible ถ้าในสามัญสำนึกทั่วไปคำนี้หมายถึงการเป็นคนหนักแน่น (firm) รอบรู้ (informed) มีความยับยั้งชั่งใจไม่บ้าทะลุ (sober) มีเหตุมีผล (reasonable) ประมาณนั้น
ผมหาคำในภาษาไทยไม่ได้ ถ้าจะให้ผมใช้คำภาษาไทยก็ขอใช้ไทยปนบาลีก็แล้วกันนะ คำว่า sensible ผมใช้คำว่าเป็นคนที่ "ไวต่อเวทนา" ก็แล้วกัน คำว่าเวทนานี้เป็นคำในภาษาบาลีแปลว่า feeling ซึ่งหมายถึงทั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นอาการบนร่างกายและความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ แต่ไม่เกี่ยวกับความคิดต่อยอดบนความรู้สึกนะ ความคิดต่อยอดบนความรู้สึกหรือ thought นั้นเป็นอีกส่วนหนึ่ง thought นั้นตรงกับคำว่า "สังขาร" ในภาษาบาลี ไม่เกี่ยวกับเวทนา
ทำไมต้องเป็นคนไวต่อเวทนา (feeling) ก็เพราะคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมีความทุกข์ ความทุกข์นั้นล้วนมาจากความคิดของตัวเอง แล้วความคิดเหล่านั้นมันมาจากไหน ความคิดเหล่านั้นล้วนเกิดขึ้นต่อยอดบนความรู้สึกหรือบนเวทนา(feeling)นะ กลไกการเกิดความคิดก็คือมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้นอายตนะแล้วถูกแปลงเป็นภาษาในใจด้วยความเร็วแบบสายฟ้าแลบ แล้วสิ่งเร้าที่ได้รับการตีความเป็นภาษาแล้วนั้นตกกระทบกายและใจเกิดเป็นความรู้สึกหรือเวทนา(feeling)ขึ้นบนร่างกายและในใจ เมื่อมีความรู้สึก เช่นชอบหรือไม่ชอบแล้ว ความคิดจึงเกิดขึ้นต่อยอดหลังจากนั้น ซึ่งมักเป็นความคิดที่เกิดขึ้นผ่านกลไกสนองตอบแบบอัตโนมัติโดยไม่ได้ทันชั่งใจ และเกือบจะร้อยทั้งร้อยเป็นความคิดที่จะนำไปสู่การเป็นทุกข์
ประเด็นสำคัญก็คือเมื่อเป็นคนไวต่อเวทนา(feeling) รู้ว่าเวทนาเกิดขึ้น เฝ้าสังเกตเวทนาอยู่ ความคิดที่จะมาต่อยอดบนเวทนาจะไม่เกิด นี่ ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงนี้ การไวต่อเวทนามันทำให้สามารถตัดตอนความคิดงี่เง่าไม่ให้เกิดได้ แล้วเวทนาที่เกิดขึ้นนี้ สังเกตไปเถอะ ร้อยทั้งร้อยมันมาแล้วมันก็ไป มันจบแค่นั้น
การจะมีคุณสมบัติข้างต้นไม่ว่าการเป็นคนหนักแน่น รอบรู้ มีความยับยั้งชั่งใจไม่บ้าทะลุ มีเหตุมีผล มันต้องสามารถตัดตอนความคิดงี่เง่าไม่ให้เกิดหรือเกิดแล้วไม่ให้ลามไปได้ การตัดตอนมันทำได้ง่ายที่สุดในขั้นการเกิดเวทนา(feeling) เมื่อเวทนาเกิดแล้วรู้ทันที ทุกอย่างจบที่นั่น การเป็นคนไวต่อเวทนาจึงสำคัญอย่างนี้
คุณแม่
หนูอ่านเรื่องที่อาจารย์จะทำแค้มป์ทักษะชีวิตสำหรับเด็ก ไม่เห็นอาจารย์พูดถึงเรื่อง sensible นี้เลย
นพ.สันต์
ทักษะชีวิตทั้งสิบอย่างที่องค์การอนาม้ยโลกแนะนำว่าทุกคนควรมีนั้น ไม่ว่าจะเป็น การรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง การรับมือกับความเครียด การสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การคิดวินิจฉัย การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การเข้าใจเห็นใจผู้อื่น การรู้ตัว ทั้งหมดนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถตั้งหลักชั่งใจประเมินสิ่งเร้าที่เข้ามาให้ได้ก่อน ซึ่งนั่นก็คือต้องจับเวทนา(feeling)ให้ได้ ต้องไวต่อเวทนา ตรงนี้เป็นทั้งหมดของทุกๆทักษะชีวิต
คุณแม่
แล้วทำอย่างไรลูกจึงจะเป็นคน joyful and sensible ละคะ
นพ. สันต์
การเป็นคน joyful หรือการมีพลังบวกในชีวิตมันเป็นธรรมชาติของคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด งานวิจัยพบว่าเด็กอายุก่อนครบขวบปีแรกหัวเราะวันละ 400 ครั้ง แล้วก็ค่อยๆลดลงจนเหลือ 17.5 ครั้งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เพราะระบบการฝึกสอนคนของสังคมและโรงเรียนจะยับยั้งหรือไม่โปรโมทความเบิกบาน เมื่อเด็กหัวเราะดังเรามักจะดุให้เงียบ ในทางตรงกันข้ามเรากลับไปโปรโมทความคิดลบให้เกิดขึ้นในใจเด็ก เช่นเมื่อเด็กดราม่าแผดร้องไม่พอใจที่อัตตาของเขาถูกคุกคาม เราเข้าไปโอ๋ เด็กจึงเติบโตขึ้นมาโดยไม่มีความชำนาญในการใช้ความเบิกบานหรือพลังชีวิตเป็นเครื่องมือ แต่กลับไปชำนาญในการใช้ความคิดหรือการเล่นดราม่าเป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิต ดังนั้นคุณต้องเปลี่ยนวิธีเลี้ยงดูเขาแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คือเมื่อเขาเบิกบานคุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่าเขามีแรงดึงดูดคุณเข้าไปหาเขา ไปเบิกบานร่วมกับเขา เมื่อเขาออกงิ้วโกรธหรือทำท่าน้อยใจซึมเศร้า แสดงท่าเป็นทุกข์ คุณต้องถอยห่างให้เขาเห็นว่าเขากำลังขับไล่คุณออกไปจากเขา คุณต้องปล่อยให้เขาทุกข์อยู่คนเดียว เขาจึงจะได้เรียนรู้ว่าการเล่นดราม่าไม่ใช่วิธีใช้ชีวิต เพราะถ้าเขาเข้าใจผิดว่าการเล่นดราม่าเป็นวิธีใช้ชีวิต มันก็เหมือนการหัดตัวเองให้เป็นคนบ้า หัดไปหัดมา ในที่สุดก็จะบ้าจริงๆ คือถูกความคิดและอารมณ์ครอบจนกู่ไม่กลับ
คุณแม่
แล้วในแง่การจะให้เขาเป็นคน sensible ละคะ
นพ.สันต์
ระบบการศึกษาที่เราให้กับเด็กในโรงเรียนเป็นระบบทำลายความเป็นคน sensible ของเด็ก คือเราสอนให้เด็กจดจำความคิดอ่าน (intellect) หรือขี้ปากผู้ใหญ่โดยยกย่องว่านี่เรียกว่าความรู้ แต่แท้จริงมันเป็นแค่สิ่งที่จำกัดอยู่ในกรอบที่อายตนะรับรู้ได้เท่านั้นทั้งๆที่ชีวิตหรือ existence นี้มันยังมีสิ่งที่กว้างไกลออกไปจากที่อายตนะรับรู้ได้อีกมาก แล้วเด็กก็รีไซเคิ้ลความคิดและคอนเซ็พท์เก่าๆที่ถูกยัดเยียดใส่หัวนั้นซ้ำซากในการเรียนชั้นสูงขึ้นไปและในการทำงานอาชีพ หรือแม้กระทั่งหลังการแต่งงานมีครอบครัว เขาจึงมีชีวิตอยู่อย่างหมักเม่า คือชีวิตที่จมอยู่กับความคิดเก่าๆบูดๆที่ถูกยัดเยียดมาจากโรงเรียนและสังคม เด็กจึงมองชีวิตว่าเป็นบทละครตายตัวที่น่าเบื่อหน่าย ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากชีวิตในโลกของความคิดเป็นชีวิตในโลกของตัวตนอัตตา เขาจึงมองชีวิตว่าแยกส่วนออกมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาและแยกตัวออกมาจากชีวิตอื่น เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างหวาดระแวงในความปลอดภัยของตัวเอง เครียด และไม่มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจชีวิตอื่น
การจะทำให้เด็กเป็นคน sensible
ประการที่ 1. คุณจะต้องเปิดให้เขาได้มีชีวิตอยู่กับความสด ความท้าทาย ไม่จืดชืด ของสิ่งเร้าจากธรรมชาติรอบตัวที่เข้ามา ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ให้เขาได้เห็นธรรมชาตินอกตัวจากมุมมองของเขาเอง ให้เขาได้ sense ด้วยตัวเองว่าทุกช็อตที่ผ่านแต่ละอายตนะเข้ามากลายเป็น feeling หรือเวทนาขึ้นในตัวเองนั้น มันช่างมหัศจรรย์ มันช่างน่าทึ่ง ทั้งหมดนี้เป็นการสอนโดยไม่ต้องใช้ภาษา อาศัยการ sensing เวทนาล้วนๆ โดยอาศัยธรรมชาติรอบตัวเป็นสื่อการสอน
ประการที่ 2. คุณจะต้องเปิดให้เด็กได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยตัวเอง คำว่าการสร้างสรรค์ (creativity) มันเป็นผลรวมของจินตนาการ (imagination) ความบันดาลใจ (inspiration) และปัญญาญาณ (intuition) ซึ่งทั้งหมดนั้นหาไม่ได้จากขี้ปากของผู้ใหญ่ที่ยัดเยียดใส่หัวให้เด็ก แต่มันเกิดจากการที่พลังปัญญาจากภายนอกไหลเข้ามาสู่หัวของเด็กเองขณะที่ในหัวของเขาปลอดความคิดที่ผูกโยงกับความยึดถือในอัตตาตัวตนใดๆ โดยอาศัยกิจกรรมสร้างสรรค์ก็อาจเริ่มตั้งแต่สิ่งง่ายๆเช่นวาดภาพลายเส้น ระบายสี ปั้นดินเหนียว ไปจนถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ในลักษณะเป็นโปรเจ็คเฉพาะกาลที่ยากขึ้นๆ
ประการที่ 3. คุณจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ออกไปนอกโลกส่วนตัว ไปอยู่ร่วมโลกกับคนอื่น ให้ได้เข้าถึงเมตตาธรรม โดยอาศัยกิจกรรมเข้าไปรับรู้ช่วยเหลือแบ่งปันให้คนอื่นที่ลำบากกว่าตัวเอง กิจกรรมช่วยสัตว์ ช่วยโลก เป็นต้น
ประการที่ 4. เนื่องจากลูกคุณโตพอสมควรแล้ว ได้รับอิทธิพลของความคิดเข้าไปมากแล้ว คุณจะต้องฝึกสอนการวางความคิดในรูปแบบสากล เช่นสอนการผ่อนคลายร่างกาย การรับรู้ความรู้สึกบนผิวกาย การสะดุ้งตัวเองให้ตื่นเสมอ การนั่งสมาธิ การดึงความสนใจออกมาจากความคิด และสอนให้เขารู้จักเปิดรับพลังงานจากภายนอกเข้ามาสร้างความมีชีวิตชีวาให้ตัวเองในรูปของการหายใจเข้าลึกๆในธรรมชาติที่สงบและสอาด
ทั้งหมดที่ผมพูดมานี้ไม่ใช่ของใหม่ มีโรงเรียนที่เขาตั้งขึ้นมาเพื่อสอนสิ่งเหล่านี้ให้เด็กเป็นการเฉพาะก็มี ถ้าคุณไม่สะดวกที่จะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนแบบนั้น คุณก็สอนลูกด้วยหลักการสี่ข้อข้างต้นนี้ด้วยตัวคุณเองก็ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
หมอสันต์
คุณมีความกังวลอะไรเกี่ยวกับเขาบ้าง
คุณแม่
หนูก็กังวลเรื่องว่าจะให้เขามีอนาคตอย่างไร มีอาชีพอะไรดี เพราะสมัยคนรุ่นเขา อย่างเป็นหมอก็คงไม่ได้เพราะเพราะรู้อยู่แล้วว่าอาชีพอย่างเช่นเป็นหมอก็ตาม ในอนาคตก็คงจะถูกแทนที่ด้วย AI (หุ่นยนต์) หมด
หมอสันต์
คุณไม่ต้องไปเดือดร้อนกับการที่ AI จะครองโลกดอก AI ครองโลกแล้วจะเป็นอะไรไป ดีเสียอีกที่ผู้คนจะได้มีความทุกข์น้อยลง หนึ่ง ก็จากการที่ไม่ต้องไปทำงาน เพราะการทำงานไม่ใช่หรือที่ทำให้เราต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนปากกัดตีนถืบอย่างทุกวันนี้ โลกทุกวันนี้คนเรามีความมั่นคงในทางกายภาพมากพอจนไม่ต้องเสียชีวิตทั้งชีวิตไปกับการต่อสู้เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย (surviving) อีกต่อไปแล้ว สอง ก็จากการที่ความคิดของคนจะมาเหมือนกันไปหมดเพราะมันเป็นความคิดของหุ่นยนต์ คนก็จะได้ไม่ต้องทะเลาะกันเพราะชุดของความคิดที่บ่งชี้ความเป็นตัวตนของแต่ละคนขัดกัน ความจริงทุกวันนี้หุ่นยนต์กระจอกอย่างกูเกิ้ลก็ทำให้ความคิดของผู้คนทั้งโลกมาเหมือนกันเสียส่วนหนึ่งแล้ว ถ้า AI ตัวจริงมาความคิดของคนก็จะเหมือนกันหมดเพราะทุกความคิดล้วนได้มาจาก AI ปัญหาที่จะมาทุกข์เพราะความคิดยึดถือในอัตตาตัวเองแบบงี่เง่าก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ สรุปว่าคุณไม่ต้องไปเดือดร้อนกังวลกับ AI
คุณแม่
คือหนูคิดว่าจะให้ลูกไปเรียนที่ไหนดี ที่จะให้เขาพัฒนาไปทำอะไรที่มีคุณค่าผ่าน digital ได้ ยกตัวอย่างเช่นอย่างมาร์ค ซักเกอร์เบอร์ก เป็นต้น หรืออย่างการทำบริษัทยูนิคอร์น (บริษัทใหม่ที่เข้าตลาดแล้วหุ้นกระฉูด) อย่างเด็กอินโดนีเซียเขาทำได้นะ แต่ระบบของไทยไม่มีทางสร้างเด็กอย่างนั้นได้ หนูกับแฟนไปดูว่าจะส่งเขาไปเรียนสิงค์โปร์ดีไหม เพราะสิงค์โปร์โตมาได้อย่างรวดเร็วในชั่ว generation เดียว เขาทำได้อย่างไร เพราะเขามีระบบการศึกษาที่เอื้อให้เกิดสิ่งอย่างนี้ได้
หมอสันต์
การให้การศึกษาเด็ก เรื่องจะส่งไปเรียนที่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่คุณตั้งลำให้ถูกก่อนว่าคุณอยากให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนอย่างไรก่อน เรื่องอื่นไม่สำคัญ แต่สำคัญเขาต้องเติบโตขึ้นมาแบบเป็นคนที่ joyful และ sensible
คุณแม่
Joyful หนูเข้าใจนะคะ คือให้เขาเป็นคนที่เบิกบานมีความสุข ส่วน sensible หนูยังไม่เข้าใจ อาจารย์หมายความว่าให้เขาเป็นคนเซ็นซิทีฟต่อเรื่องต่างๆหรือเปล่า
หมอสันต์
ไม่ใช่อย่างนั้นครับ นี่เป็นข้อจำกัดของภาษานะ ที่ผมเลือกคำว่า sensible ถ้าในสามัญสำนึกทั่วไปคำนี้หมายถึงการเป็นคนหนักแน่น (firm) รอบรู้ (informed) มีความยับยั้งชั่งใจไม่บ้าทะลุ (sober) มีเหตุมีผล (reasonable) ประมาณนั้น
ผมหาคำในภาษาไทยไม่ได้ ถ้าจะให้ผมใช้คำภาษาไทยก็ขอใช้ไทยปนบาลีก็แล้วกันนะ คำว่า sensible ผมใช้คำว่าเป็นคนที่ "ไวต่อเวทนา" ก็แล้วกัน คำว่าเวทนานี้เป็นคำในภาษาบาลีแปลว่า feeling ซึ่งหมายถึงทั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นอาการบนร่างกายและความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ แต่ไม่เกี่ยวกับความคิดต่อยอดบนความรู้สึกนะ ความคิดต่อยอดบนความรู้สึกหรือ thought นั้นเป็นอีกส่วนหนึ่ง thought นั้นตรงกับคำว่า "สังขาร" ในภาษาบาลี ไม่เกี่ยวกับเวทนา
ทำไมต้องเป็นคนไวต่อเวทนา (feeling) ก็เพราะคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมีความทุกข์ ความทุกข์นั้นล้วนมาจากความคิดของตัวเอง แล้วความคิดเหล่านั้นมันมาจากไหน ความคิดเหล่านั้นล้วนเกิดขึ้นต่อยอดบนความรู้สึกหรือบนเวทนา(feeling)นะ กลไกการเกิดความคิดก็คือมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้นอายตนะแล้วถูกแปลงเป็นภาษาในใจด้วยความเร็วแบบสายฟ้าแลบ แล้วสิ่งเร้าที่ได้รับการตีความเป็นภาษาแล้วนั้นตกกระทบกายและใจเกิดเป็นความรู้สึกหรือเวทนา(feeling)ขึ้นบนร่างกายและในใจ เมื่อมีความรู้สึก เช่นชอบหรือไม่ชอบแล้ว ความคิดจึงเกิดขึ้นต่อยอดหลังจากนั้น ซึ่งมักเป็นความคิดที่เกิดขึ้นผ่านกลไกสนองตอบแบบอัตโนมัติโดยไม่ได้ทันชั่งใจ และเกือบจะร้อยทั้งร้อยเป็นความคิดที่จะนำไปสู่การเป็นทุกข์
ประเด็นสำคัญก็คือเมื่อเป็นคนไวต่อเวทนา(feeling) รู้ว่าเวทนาเกิดขึ้น เฝ้าสังเกตเวทนาอยู่ ความคิดที่จะมาต่อยอดบนเวทนาจะไม่เกิด นี่ ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงนี้ การไวต่อเวทนามันทำให้สามารถตัดตอนความคิดงี่เง่าไม่ให้เกิดได้ แล้วเวทนาที่เกิดขึ้นนี้ สังเกตไปเถอะ ร้อยทั้งร้อยมันมาแล้วมันก็ไป มันจบแค่นั้น
การจะมีคุณสมบัติข้างต้นไม่ว่าการเป็นคนหนักแน่น รอบรู้ มีความยับยั้งชั่งใจไม่บ้าทะลุ มีเหตุมีผล มันต้องสามารถตัดตอนความคิดงี่เง่าไม่ให้เกิดหรือเกิดแล้วไม่ให้ลามไปได้ การตัดตอนมันทำได้ง่ายที่สุดในขั้นการเกิดเวทนา(feeling) เมื่อเวทนาเกิดแล้วรู้ทันที ทุกอย่างจบที่นั่น การเป็นคนไวต่อเวทนาจึงสำคัญอย่างนี้
คุณแม่
หนูอ่านเรื่องที่อาจารย์จะทำแค้มป์ทักษะชีวิตสำหรับเด็ก ไม่เห็นอาจารย์พูดถึงเรื่อง sensible นี้เลย
นพ.สันต์
ทักษะชีวิตทั้งสิบอย่างที่องค์การอนาม้ยโลกแนะนำว่าทุกคนควรมีนั้น ไม่ว่าจะเป็น การรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง การรับมือกับความเครียด การสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การคิดวินิจฉัย การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การเข้าใจเห็นใจผู้อื่น การรู้ตัว ทั้งหมดนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถตั้งหลักชั่งใจประเมินสิ่งเร้าที่เข้ามาให้ได้ก่อน ซึ่งนั่นก็คือต้องจับเวทนา(feeling)ให้ได้ ต้องไวต่อเวทนา ตรงนี้เป็นทั้งหมดของทุกๆทักษะชีวิต
คุณแม่
แล้วทำอย่างไรลูกจึงจะเป็นคน joyful and sensible ละคะ
นพ. สันต์
การเป็นคน joyful หรือการมีพลังบวกในชีวิตมันเป็นธรรมชาติของคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด งานวิจัยพบว่าเด็กอายุก่อนครบขวบปีแรกหัวเราะวันละ 400 ครั้ง แล้วก็ค่อยๆลดลงจนเหลือ 17.5 ครั้งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เพราะระบบการฝึกสอนคนของสังคมและโรงเรียนจะยับยั้งหรือไม่โปรโมทความเบิกบาน เมื่อเด็กหัวเราะดังเรามักจะดุให้เงียบ ในทางตรงกันข้ามเรากลับไปโปรโมทความคิดลบให้เกิดขึ้นในใจเด็ก เช่นเมื่อเด็กดราม่าแผดร้องไม่พอใจที่อัตตาของเขาถูกคุกคาม เราเข้าไปโอ๋ เด็กจึงเติบโตขึ้นมาโดยไม่มีความชำนาญในการใช้ความเบิกบานหรือพลังชีวิตเป็นเครื่องมือ แต่กลับไปชำนาญในการใช้ความคิดหรือการเล่นดราม่าเป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิต ดังนั้นคุณต้องเปลี่ยนวิธีเลี้ยงดูเขาแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คือเมื่อเขาเบิกบานคุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่าเขามีแรงดึงดูดคุณเข้าไปหาเขา ไปเบิกบานร่วมกับเขา เมื่อเขาออกงิ้วโกรธหรือทำท่าน้อยใจซึมเศร้า แสดงท่าเป็นทุกข์ คุณต้องถอยห่างให้เขาเห็นว่าเขากำลังขับไล่คุณออกไปจากเขา คุณต้องปล่อยให้เขาทุกข์อยู่คนเดียว เขาจึงจะได้เรียนรู้ว่าการเล่นดราม่าไม่ใช่วิธีใช้ชีวิต เพราะถ้าเขาเข้าใจผิดว่าการเล่นดราม่าเป็นวิธีใช้ชีวิต มันก็เหมือนการหัดตัวเองให้เป็นคนบ้า หัดไปหัดมา ในที่สุดก็จะบ้าจริงๆ คือถูกความคิดและอารมณ์ครอบจนกู่ไม่กลับ
คุณแม่
แล้วในแง่การจะให้เขาเป็นคน sensible ละคะ
นพ.สันต์
ระบบการศึกษาที่เราให้กับเด็กในโรงเรียนเป็นระบบทำลายความเป็นคน sensible ของเด็ก คือเราสอนให้เด็กจดจำความคิดอ่าน (intellect) หรือขี้ปากผู้ใหญ่โดยยกย่องว่านี่เรียกว่าความรู้ แต่แท้จริงมันเป็นแค่สิ่งที่จำกัดอยู่ในกรอบที่อายตนะรับรู้ได้เท่านั้นทั้งๆที่ชีวิตหรือ existence นี้มันยังมีสิ่งที่กว้างไกลออกไปจากที่อายตนะรับรู้ได้อีกมาก แล้วเด็กก็รีไซเคิ้ลความคิดและคอนเซ็พท์เก่าๆที่ถูกยัดเยียดใส่หัวนั้นซ้ำซากในการเรียนชั้นสูงขึ้นไปและในการทำงานอาชีพ หรือแม้กระทั่งหลังการแต่งงานมีครอบครัว เขาจึงมีชีวิตอยู่อย่างหมักเม่า คือชีวิตที่จมอยู่กับความคิดเก่าๆบูดๆที่ถูกยัดเยียดมาจากโรงเรียนและสังคม เด็กจึงมองชีวิตว่าเป็นบทละครตายตัวที่น่าเบื่อหน่าย ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากชีวิตในโลกของความคิดเป็นชีวิตในโลกของตัวตนอัตตา เขาจึงมองชีวิตว่าแยกส่วนออกมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาและแยกตัวออกมาจากชีวิตอื่น เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างหวาดระแวงในความปลอดภัยของตัวเอง เครียด และไม่มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจชีวิตอื่น
การจะทำให้เด็กเป็นคน sensible
ประการที่ 1. คุณจะต้องเปิดให้เขาได้มีชีวิตอยู่กับความสด ความท้าทาย ไม่จืดชืด ของสิ่งเร้าจากธรรมชาติรอบตัวที่เข้ามา ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ให้เขาได้เห็นธรรมชาตินอกตัวจากมุมมองของเขาเอง ให้เขาได้ sense ด้วยตัวเองว่าทุกช็อตที่ผ่านแต่ละอายตนะเข้ามากลายเป็น feeling หรือเวทนาขึ้นในตัวเองนั้น มันช่างมหัศจรรย์ มันช่างน่าทึ่ง ทั้งหมดนี้เป็นการสอนโดยไม่ต้องใช้ภาษา อาศัยการ sensing เวทนาล้วนๆ โดยอาศัยธรรมชาติรอบตัวเป็นสื่อการสอน
ประการที่ 2. คุณจะต้องเปิดให้เด็กได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยตัวเอง คำว่าการสร้างสรรค์ (creativity) มันเป็นผลรวมของจินตนาการ (imagination) ความบันดาลใจ (inspiration) และปัญญาญาณ (intuition) ซึ่งทั้งหมดนั้นหาไม่ได้จากขี้ปากของผู้ใหญ่ที่ยัดเยียดใส่หัวให้เด็ก แต่มันเกิดจากการที่พลังปัญญาจากภายนอกไหลเข้ามาสู่หัวของเด็กเองขณะที่ในหัวของเขาปลอดความคิดที่ผูกโยงกับความยึดถือในอัตตาตัวตนใดๆ โดยอาศัยกิจกรรมสร้างสรรค์ก็อาจเริ่มตั้งแต่สิ่งง่ายๆเช่นวาดภาพลายเส้น ระบายสี ปั้นดินเหนียว ไปจนถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ในลักษณะเป็นโปรเจ็คเฉพาะกาลที่ยากขึ้นๆ
ประการที่ 3. คุณจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ออกไปนอกโลกส่วนตัว ไปอยู่ร่วมโลกกับคนอื่น ให้ได้เข้าถึงเมตตาธรรม โดยอาศัยกิจกรรมเข้าไปรับรู้ช่วยเหลือแบ่งปันให้คนอื่นที่ลำบากกว่าตัวเอง กิจกรรมช่วยสัตว์ ช่วยโลก เป็นต้น
ประการที่ 4. เนื่องจากลูกคุณโตพอสมควรแล้ว ได้รับอิทธิพลของความคิดเข้าไปมากแล้ว คุณจะต้องฝึกสอนการวางความคิดในรูปแบบสากล เช่นสอนการผ่อนคลายร่างกาย การรับรู้ความรู้สึกบนผิวกาย การสะดุ้งตัวเองให้ตื่นเสมอ การนั่งสมาธิ การดึงความสนใจออกมาจากความคิด และสอนให้เขารู้จักเปิดรับพลังงานจากภายนอกเข้ามาสร้างความมีชีวิตชีวาให้ตัวเองในรูปของการหายใจเข้าลึกๆในธรรมชาติที่สงบและสอาด
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์