วัณโรคแฝง (Latent TB) และอยากโชว์ผลงานลดความอ้วน
เรียนคุณหมอสันต์
หนูเป็นนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแห่งหนึ่ง อายุ 35 ปี สุขภาพร่างกายปกติดี (เท่าที่ทราบ อิอิ) ต้องได้รับการตรวจ TB แบบ Gold In-Tube test ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ เป็นประจำค่ะ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของงานค่ะ (คือต้องเข้าส่วนสัตว์ทดลอง..เค้ากลัวจะเอาทีบีไปติดสัตว์ทดลอง...เค้าห่วงสัตว์เค้านะค่ะ...ไม่ได้ห่วงสุขภาพเราหรอก
อิอิ)
ผลคือ Positive แต่ ผลเอกซ์เรย์ ปอด ยังปกติดี สรุปก็คือ เป็น latent TB.
คำถามที่ต้องการถามคือ ทางที่ทำงาน ให้เลือกได้ ระหว่าง การรับยา หรือไม่รับยา รักษา
ซึ่งจากการหาข้อมูลคร่าว ๆ ยาที่รักษาโรคนี้ มีผลข้างเคียงต่อตับ
คำถามสั้น ๆ คือ คุณหมอ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการรับยา รักษา latent
TB คะ
ขอบคุณมากค่ะ
ปล.1 ปกติหนูไม่เคยลงท้าย อิอิ ในจดหมายเท่าไหร่ แต่สังเกตุว่า คุณหมอมักตอบคำถามไป พร้อมกับเสียงหัวเราะเสมอ เลยลองหัดดูบ้างค่ะ หวังว่าคุณหมอคงไม่เห็นว่าเป็นเรื่องไม่สุภาพนะคะ
ปล.2 หนูทำ dukan diet ตามที่คุณหมอแนะนำเมื่อสองเดือนก่อนค่ะ
ได้ผลดีทีเดียว ว่าจะสรุปผลไปให้คุณหมอเมื่อทำครบตามที่กำหนดแล้วแต่บังเอิญว่ามีเรื่อง
TB มารบกวนคุณหมอซะก่อน แต่ไหน ๆ
ก็อีเมล์มาแล้ว เลยถือโอกาสเล่าผลการ diet ให้คุณหมอฟังเลยแล้วกันนะคะ
ก่อนเริ่มทำ หลังจากอ่านที่คุณหมอเขียนเอาไว้ ว่า คนที่เข้ารายการเต้นเปลี่ยนชีวิต
กินอะไร ประกอบกับ เรื่องที่คุณหมอเขียนเกี่ยวกับ รำข้าวโอ้ต เมื่อ หลายเดือนก่อน
(หนูเป็นแฟนพันธุ์แท้คุณหมอค่ะ อ่านทุกเรื่องจริง ๆ หลายรอบด้วย อิอิ)
ทำให้หนูตัดสินใจทำตามแนวทางการลดน้ำหนักแบบ dukan และเข้าไปศึกษาในเวบไซด์ dukan เพิ่มเติมด้วย
ประวัติร่างกาย (แบบย่อ) ก่อนการทำ dukan
เมื่อสามปีก่อน อายุ 33 สูง 160 cm. เป็นคุณแม่ลูกสอง ช่วงท้อง (ตอนอายุ 28 กับ 31) กินกระหน่ำมาก ๆ กินแบบไร้สาระสุด ๆ
หลังคลอดสองปีน้ำหนักค่อย ๆ ลงมา โดยวิธีคุมอาหาร แบบ ไม่ค่อยได้สาระมากเท่าไหร่ นับ แคลอรี่เอา...ออกกำลังบ้าง ไม่ออกบ้าง จนเหลือ น้ำหนัก ประมาณอยู่ในช่วง 58-59-60-61 กิโลกรัม
อายุ 34 ปี เกิดภาวะเครียดในชีวิตนิดหน่อย. ..ปล่อยตัว
แก้ปัญหาด้วยการกิน ! (โง่มาก ๆ อิอิ) น้ำหนักพุ่งมากสุด 65 kg อยู่ประมาณเกือบปี
อายุ 35 ปี คิดได้ ทำใจกับชีวิต ได้....เริ่มต้นรักษาสุขภาพตัวเองอีกครั้ง พยายามออกกำลังกาย พยายามคุมอาหาร
ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็พยายาม แต่มักจะเกิดเหตุการตบะแตกบ่อย ๆ คือ
เมื่อคุมน้ำหนักแล้ว ลดลงมา สอง-สาม กิโล เหมือนตบะแตก...สติหลุดกินเข้าไปอีก
สรุปกลับมาทีเดิม...ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตรงนี้หลายรอบมาก น้ำหนัก อยู่ที่เฉลี่ย 60 กิโลกรัม
เมื่อเดือน มีนาคม 2557 หลังจากอ่านเรื่อง dukan จากเวบคุณหมอ หาข้อมูลเพิ่ม อีก สองสามวัน ก็ตัดสินใจทำทันที (เหตุผลหลักที่ตัดสินใจทำเพราะ หนูศรัทธา ในตัวคุณหมอค่ะ...อ่านดูเหมือนเวอร์ แต่มันจริง ๆ ค่ะ อิอิ) (แต่ไม่ 100% เหมือนในสูตรนะคะ เนื่องจากข้อจำกัดในการใช้ชีวิต
เช่น กินหมูปิ้งเขี่ยมันออก...แต่มันไม่ใช่โปรตีนเพียว เพราะมีน้ำตาล และ
เนื้อหมูติดมันเป็นส่วนประกอบ เนื้อปลา ก็กินทูน่าในน้ำมันพืช
เพราะในเซเว่นแถวที่ทำงาน มันไม่มีแบบน้ำเกลือขาย อันนี้ทราบค่ะ
ว่ามันไม่ถูกต้อง..แต่ชีวิตมันทำได้เท่านี้จริง ...เหตุผล.. drama ค่ะ อย่าไปสนใจเลย)
*** กินรำข้าวโอต และ งาดำ ทุกวัน ***
*** ออกกำลังการ เฉลี่ย 3 วันต่อสัปดาห์ (บางสัปดาห์ออก 4 - 5 วัน, บางสัปดาห์ ออกได้แค่ วันเดียว...หนูเป็นโรคเวลาไม่ค่อยพอใช้เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนค่ะ แต่พยายามใช้วิธีคิดแบบอาจารย์
..."ฉันเห็น....สำคัญกว่าการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของตัวเองเชียวหรือ"...ซึ่งได้ผลดีทีเดียวเวลาด่าตัวเองด้วยประโยคนี้)
เริ่มทำ attack phase 2 วัน น้ำหนักเริ่มต้น 60 กิโลกรัม โดยการกินโปรตีนเพียว ๆ น้ำหนักลดไปประมาณ 0.5-0.8 kg ตามสูตร
ทำ cruise phase อีก 1 เดือน โดยกินสลับวันเว้นวัน...ระหว่าง โปรตีนเพียว กับ โปรตีน+ผัก
(ช่วงนี้ มีการโกงเรื่อย ๆ เช่น กาแฟเย็น สัปดาห์ละแก้ว...กาแฟร้อน (มอคค่า) สัปดาห์ละแก้ว...แม่ทำคั่วขนุนมา ก็ต้องกิน เดี่ยวแม่งอน...มีกินเลี้ยง
ก็กินไก่ทอดเลาะหนังกับส้มตำ...ไปพักโรงแรม..ก็ขอลอง ครัวซอง สักก้อน
เพราะแหม...อุตสาห์มาพักแล้วอ่ะ ขอชิมหน่อยเหอะ อิอิ ฯลฯ) จุดนี้เล่ากันตรง ๆ
เพราะหากอาจารย์เผยแพร่ ข้อมูลนี้ จะได้เป็นข้อมูลกับคนที่กำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่...ชีวิต
บางทีมันก็ไม่เป็นไปตามแผน อย่าคิดมาก...ทำให้ดีที่สุด มันก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย
อย่าล้มเลิก!
หลังทำ cruise phase น้ำหนักลดลงมาอีก 3-4 กิโลกรัม (อยู่ที่ 56)
ตอนนี้ทำ consolidation phase อยู่ค่ะ โดยกิน โปรตีน+ผัก และ มีวันโปรตีนล้วน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และมี celebration meal
ตอนนี้ทำมากได้ 2 สัปดาห์แล้วสำหรับ consolidation phase น้ำหนักอยู่ที่ 54 กิโลกรัมค่ะ
คนทัก กันตรึม สวยขึ้น ไม่เหี่ยว ไม่ย้วย ! และมีหลาย ๆ คนพยายามทำตามค่ะ
ว่าจะรายงานนิดเดียวนะเนี่ย !!!! ยาวทีเดียว
ทิ้งท้ายไว้นิดหนึ่งค่ะ ประเด็นคือ
หนูตรวจร่างกายประจำปี ของที่ทำงาน (ตอนนั้นคือ ทำ cruise phase มาหนึ่งเดือน)
ผลคือ HDL ต่ำลงค่ะ !!!! LDL หนูสูงขึ้นค่ะ !!!! (HDL=64, LDL=134) เครียดทีเดียว !!! สงสัยหนูอัด กุ้ง หมู หนักไปหน่อย (หนูไม่มีผลก่อนเริ่ม dukan diet ค่ะ มีแต่ผลตรวจร่างกายเมื่อปีทีแล้วนู้นเลยอยู่ที่ HDL=78,
LDL=129)
แผนตอนนี้คือ ทำ consolidation phase เสร็จแล้ว (ตามสูตรต้องทำเพื่อป้องกันการโยโย่ และค่อย ๆ ให้ร่างกายรู้จักแป้งใหม่อีกครั้ง...จำนวนวันที่ต้องทำ
คือ นน. ที่ลด (กิโลกรัม) x 10 = 50 วันค่ะ สำหรับหนู)
หลังจากนั้นหนูว่าจะมาปรับการกินอีกนิด แล้วลองไปตรวจเลือดดูใหม่ค่ะ
ด้วยรัก และเคารพ + ศรัทธา ค่ะ
หนูเป็นนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแห่งหนึ่ง อายุ 35 ปี สุขภาพร่างกายปกติดี (เท่าที่ทราบ อิอิ) ต้องได้รับการตรวจ TB แบบ Gold In-Tube test ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ เป็นประจำค่ะ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของงานค่ะ (คือต้องเข้าส่วนสัตว์ทดลอง..
ผลคือ Positive แต่ ผลเอกซ์เรย์ ปอด ยังปกติดี สรุปก็คือ เป็น latent TB.
คำถามที่ต้องการถามคือ ทางที่ทำงาน ให้เลือกได้ ระหว่าง การรับยา หรือไม่รับยา รักษา
ซึ่งจากการหาข้อมูลคร่าว ๆ ยาที่รักษาโรคนี้ มีผลข้างเคียงต่อตับ
คำถามสั้น ๆ คือ คุณหมอ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการรั
ขอบคุณมากค่ะ
ปล.1 ปกติหนูไม่เคยลงท้าย อิอิ ในจดหมายเท่าไหร่ แต่สังเกตุว่า คุณหมอมักตอบคำถามไป พร้อมกับเสียงหัวเราะเสมอ เลยลองหัดดูบ้างค่ะ หวังว่าคุณหมอคงไม่เห็นว่าเป็
ปล.2 หนูทำ dukan diet ตามที่คุณหมอแนะนำเมื่อสองเดื
ก่อนเริ่มทำ หลังจากอ่านที่คุณหมอเขี
ประวัติร่างกาย (แบบย่อ) ก่อนการทำ dukan
เมื่อสามปีก่อน อายุ 33 สูง 160 cm. เป็นคุณแม่ลูกสอง ช่วงท้อง (ตอนอายุ 28 กับ 31) กินกระหน่ำมาก ๆ กินแบบไร้สาระสุด ๆ
หลังคลอดสองปีน้ำหนักค่อย ๆ ลงมา โดยวิธีคุมอาหาร แบบ ไม่ค่อยได้สาระมากเท่าไหร่ นับ แคลอรี่เอา...ออกกำลังบ้าง ไม่ออกบ้าง จนเหลือ น้ำหนัก ประมาณอยู่ในช่วง 58-59-60-61 กิโลกรัม
อายุ 34 ปี เกิดภาวะเครียดในชีวิตนิดหน่อย.
อายุ 35 ปี คิดได้ ทำใจกับชีวิต ได้....เริ่มต้นรักษาสุขภาพตั
เมื่อเดือน มีนาคม 2557 หลังจากอ่านเรื่อง dukan จากเวบคุณหมอ หาข้อมูลเพิ่ม อีก สองสามวัน ก็ตัดสินใจทำทันที (เหตุผลหลักที่ตัดสินใจทำเพราะ หนูศรัทธา ในตัวคุณหมอค่ะ...อ่านดูเหมื
*** กินรำข้าวโอต และ งาดำ ทุกวัน ***
*** ออกกำลังการ เฉลี่ย 3 วันต่อสัปดาห์ (บางสัปดาห์ออก 4 - 5 วัน, บางสัปดาห์ ออกได้แค่ วันเดียว...หนูเป็นโรคเวลาไม่ค่
เริ่มทำ attack phase 2 วัน น้ำหนักเริ่มต้น 60 กิโลกรัม โดยการกินโปรตีนเพียว ๆ น้ำหนักลดไปประมาณ 0.5-0.8 kg ตามสูตร
ทำ cruise phase อีก 1 เดือน โดยกินสลับวันเว้นวัน...ระหว่
(ช่วงนี้ มีการโกงเรื่อย ๆ เช่น กาแฟเย็น สัปดาห์ละแก้ว...กาแฟร้อน (
หลังทำ cruise phase น้ำหนักลดลงมาอีก 3-4 กิโลกรัม (อยู่ที่ 56)
ตอนนี้ทำ consolidation phase อยู่ค่ะ โดยกิน โปรตีน+ผัก และ มีวันโปรตีนล้วน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และมี celebration meal
ตอนนี้ทำมากได้ 2 สัปดาห์แล้วสำหรับ consolidation phase น้ำหนักอยู่ที่ 54 กิโลกรัมค่ะ
คนทัก กันตรึม สวยขึ้น ไม่เหี่ยว ไม่ย้วย ! และมีหลาย ๆ คนพยายามทำตามค่ะ
ว่าจะรายงานนิดเดียวนะเนี่ย !!!! ยาวทีเดียว
ทิ้งท้ายไว้นิดหนึ่งค่ะ ประเด็นคือ
หนูตรวจร่างกายประจำปี ของที่ทำงาน (ตอนนั้นคือ ทำ cruise phase มาหนึ่งเดือน)
ผลคือ HDL ต่ำลงค่ะ !!!! LDL หนูสูงขึ้นค่ะ !!!! (HDL=64, LDL=134) เครียดทีเดียว !!! สงสัยหนูอัด กุ้ง หมู หนักไปหน่อย (หนูไม่มีผลก่อนเริ่ม dukan diet ค่ะ มีแต่ผลตรวจร่างกายเมื่อปีทีแล้
แผนตอนนี้คือ ทำ consolidation phase เสร็จแล้ว (ตามสูตรต้องทำเพื่อป้องกั
ด้วยรัก และเคารพ + ศรัทธา ค่ะ
...............................................................
ตอบครับ
อู้ฮูว์ จดหมายของคุณยาวเป็นหน้าเลยนะ
อ่านจดหมายจบก็ “หยับง่วง” ซะแล้วเนี่ย เอาเป็นว่าคุณเขียนยาว
ผมเขียนสั้นก็แล้วกันนะ ผู้อ่านท่านอื่นๆจะได้อ่านพอดีๆ
1.. ถามว่าทุกวันนี้อยู่สุขสบายดี
ไม่มีอาการอะไร แล้วตรวจภูมิคุ้มกันวัณโรคด้วยวิธี TB แบบ Gold
In-Tube test ได้ผลบวก ซึ่งก็หมายความว่าเป็นวัณโรคแฝง
(latent TB) คือมีเชื้อวัณโรคตัวเป็นๆซุ่มอยู่ในตัว ควรจะกินยารักษาวัณโรคหรือไม่
ตอบว่า ในเชิงวิทยาศาสตร์ หากเป็นคนไทย อยู่ในเมืองไทย ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานอะไรจะมาตอบคำถามนี้ได้ครับ
ดังนั้นจะกินก็ได้ จะไม่กินก็ได้ คุณโยนหัวก้อยเลือกเอาเองเถอะ เพราะบ่อยครั้งที่ตอบไปว่าไม่มีหลักฐานยืนยันว่าควรทำอย่างไร
คนก็ยังชอบเขียนมาถามกลับอีกว่า “ถ้าเป็นหมอสันต์จะทำอย่างไร?” คือถึงตอนจำเป็นต้องเดาก็ไม่ยอมเดาเอง จะมาให้ผมเดาให้ เออ.. แล้วผลมันต่างกันตรงไหนละครับ
สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่รู้จักการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยวิธี QuantiFERON -TB Gold In-Tube test (QFT-GIT) มันเป็นการตรวจหาโมเลกุลภูมิคุ้มกันชื่อ interferon gamma (IFN-gamma) อันเป็นโมเลกุลที่ปล่อยออกมาจากเม็ดเลือดขาวขณะถูกกระตุ้นโดยเชื้อวัณโรค วิธีตรวจชนิดนี้เขาทำในห้องแล็บจึงทำซ้ำๆได้ ไม่เหมือนตรวจทุเบอร์คุลินที่ทำในร่างกายคนและทำได้เพียงครั้งเดียว การตรวจ Gold In Tube test นี้มีความไวและความจำเพาะดีกว่าการตรวจด้วยวิธีทูเบอร์คูลินเทสท์ อีกทั้งการเคยฉีดหรือไม่เคยฉีดวัคซีนบีซีจี.มาก่อนก็ไม่มีผลต่อการตรวจชนิดนี้ เพราะโมเลกุลที่ Gold In Tube ตรวจหานี้ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อสนองตอบต่อเชื้อวัณโรคของคน ส่วนวัคซีนบีซีจี.นั้นเป็นเชื้อวัณโรคของวัว โมเลกุลภูมิต้านทานมันจึงแตกต่างกัน ผลการตรวจ Gold In Tube test นี้จึงชัดแจ้งกว่า คือถ้าได้ผลลบก็แสดงว่าไม่มีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัวแน่ ไม่ต้องกินยา แต่ถ้าได้ผลบวกก็ต้องถูกวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคแฝง คือมีเชื้อวัณโรคเป็นๆซุ่มอยู่ในตัว
โดยทั่วไปในเมืองไทยแพทย์สาขาอุรุเวชจะรักษาวัณโรคแฝงเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยงที่เชื้อวัณโรคที่แฝงอยู่ในตัวจะกำเริบขึ้นมาเท่านั้น เช่นคนเป็นเอดส์ หรือคนที่กำลังได้ยากดภูมิคุ้มกันหรือยาเคมีบำบัดอยู่ เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นวัณโรคแฝงทั่วๆไปแพทย์มักจะไม่ค้นหาหรือทำการรักษาครับ เพราะคาดว่าคงจะมีจำนวนเยอะมากเพราะเมืองไทยเป็นแหล่งระบาดของวัณโรคมีเชื้ออยู่ในอากาศทั่วไปจนคนส่วนใหญ่ล้วนเคยได้รับเชื้อกันหมดแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่มีหลักฐานใดๆว่าการจับคนเป็นวัณโรคแฝงในถิ่นระบาดของวัณโรคมาให้ยารักษาหมดทุกคนจะมีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการอยู่เฉยๆหรือเปล่า แนวคิดนี้ไม่เหมือนกับในประเทศที่ไม่มีวัณโรคระบาด เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมุมมองในเชิงป้องกันการแพร่กระจายของโรคเป็นหลัก คือทันที่ที่วินิจฉัยว่าใครเป็นวัณโรคแฝง เขาจับรักษาหมดเกลี้ยง เพราะคนเป็นวัณโรคแฝงมีจำนวนน้อย มันคุ้มค่าที่จะป้องกันไม่ให้เขาป่วยและแพร่เชื้อออกไปให้คนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับเชื้อ
2.. ถามว่ากินอาหารลดน้ำหนักโดยเน้นอาหารโปรตีนและผัก แล้วไขมันดี (HDL) ลดลงจากเท่าไหร่ไม่รู้เหลือ 64 มก./ดล. เป็นผลจากการลดน้ำหนักหรือเปล่า ตอบว่า เปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปเมื่อลดน้ำหนักลงได้ จะทำให้ HDL เพิ่มขึ้น ข้อมูลสถิติคือหากลดน้ำหนักได้ 2.7 กก. HDL จะเพิ่มขึ้น 1 มก./ดล.
สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่รู้จักการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยวิธี QuantiFERON -TB Gold In-Tube test (QFT-GIT) มันเป็นการตรวจหาโมเลกุลภูมิคุ้มกันชื่อ interferon gamma (IFN-gamma) อันเป็นโมเลกุลที่ปล่อยออกมาจากเม็ดเลือดขาวขณะถูกกระตุ้นโดยเชื้อวัณโรค วิธีตรวจชนิดนี้เขาทำในห้องแล็บจึงทำซ้ำๆได้ ไม่เหมือนตรวจทุเบอร์คุลินที่ทำในร่างกายคนและทำได้เพียงครั้งเดียว การตรวจ Gold In Tube test นี้มีความไวและความจำเพาะดีกว่าการตรวจด้วยวิธีทูเบอร์คูลินเทสท์ อีกทั้งการเคยฉีดหรือไม่เคยฉีดวัคซีนบีซีจี.มาก่อนก็ไม่มีผลต่อการตรวจชนิดนี้ เพราะโมเลกุลที่ Gold In Tube ตรวจหานี้ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อสนองตอบต่อเชื้อวัณโรคของคน ส่วนวัคซีนบีซีจี.นั้นเป็นเชื้อวัณโรคของวัว โมเลกุลภูมิต้านทานมันจึงแตกต่างกัน ผลการตรวจ Gold In Tube test นี้จึงชัดแจ้งกว่า คือถ้าได้ผลลบก็แสดงว่าไม่มีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัวแน่ ไม่ต้องกินยา แต่ถ้าได้ผลบวกก็ต้องถูกวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคแฝง คือมีเชื้อวัณโรคเป็นๆซุ่มอยู่ในตัว
โดยทั่วไปในเมืองไทยแพทย์สาขาอุรุเวชจะรักษาวัณโรคแฝงเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยงที่เชื้อวัณโรคที่แฝงอยู่ในตัวจะกำเริบขึ้นมาเท่านั้น เช่นคนเป็นเอดส์ หรือคนที่กำลังได้ยากดภูมิคุ้มกันหรือยาเคมีบำบัดอยู่ เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นวัณโรคแฝงทั่วๆไปแพทย์มักจะไม่ค้นหาหรือทำการรักษาครับ เพราะคาดว่าคงจะมีจำนวนเยอะมากเพราะเมืองไทยเป็นแหล่งระบาดของวัณโรคมีเชื้ออยู่ในอากาศทั่วไปจนคนส่วนใหญ่ล้วนเคยได้รับเชื้อกันหมดแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่มีหลักฐานใดๆว่าการจับคนเป็นวัณโรคแฝงในถิ่นระบาดของวัณโรคมาให้ยารักษาหมดทุกคนจะมีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการอยู่เฉยๆหรือเปล่า แนวคิดนี้ไม่เหมือนกับในประเทศที่ไม่มีวัณโรคระบาด เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมุมมองในเชิงป้องกันการแพร่กระจายของโรคเป็นหลัก คือทันที่ที่วินิจฉัยว่าใครเป็นวัณโรคแฝง เขาจับรักษาหมดเกลี้ยง เพราะคนเป็นวัณโรคแฝงมีจำนวนน้อย มันคุ้มค่าที่จะป้องกันไม่ให้เขาป่วยและแพร่เชื้อออกไปให้คนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับเชื้อ
2.. ถามว่ากินอาหารลดน้ำหนักโดยเน้นอาหารโปรตีนและผัก แล้วไขมันดี (HDL) ลดลงจากเท่าไหร่ไม่รู้เหลือ 64 มก./ดล. เป็นผลจากการลดน้ำหนักหรือเปล่า ตอบว่า เปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปเมื่อลดน้ำหนักลงได้ จะทำให้ HDL เพิ่มขึ้น ข้อมูลสถิติคือหากลดน้ำหนักได้ 2.7 กก. HDL จะเพิ่มขึ้น 1 มก./ดล.
3. ถามว่าการกินแต่อาหารโปรตีนและผักทำให้ HDL ลดลงหรือเปล่า
ตอบว่า..เปล่าครับ เพราะงานวิจัยความสัมพันธ์ของอาหารกับ HDL พบว่า
HDL ไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มหรือลดโปรตีนแต่อย่างใด
แต่สัมพันธ์กับชนิดของไขมันที่กิน กล่าวคือในกรณีทั่วไปถ้าเปลี่ยนอาหารจากไขมันอิ่มตัวซึ่งถือว่าเป็นไขมันก่อโรค มาเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งถือว่าเป็นไขมันไม่ก่อโรค จะมีผลให้ HDL ลดลงระดับหนึ่ง คำแนะนำปัจจุบันจึงเน้นให้กินไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว
(เช่นน้ำมันมะกอก ถั่วลิสง ผลเปลือกแข็งหรือ nut ต่างๆ) และไขมันจากปลา (ไขมันจากตัวปลา หรือน้ำมันปลาอัดเม็ด ไม่ใช่น้ำมันที่ใช้ทอดปลา) แทนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเช่นน้ำมันถั่วเหลือง ขณะเดียวกันก็ลดการกินไขมันทรานส์ (ที่ใช้ทำอาหารอุตสาหกรรมต่างๆ) ซึ่งเป็นตัวทำให้ HDL ลดต่ำลง
ปัจจัยที่ทำให้ HDL เพิ่มหรือลดที่สำคัญอีกสามตัวคือการออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ถ้าคุณลดน้ำหนักได้สำเร็จแล้วก็พลอยลดการออกกำลังกายลงไปด้วย นั่นก็เป็นไปได้ว่าไขมันดีจะลดลง เพราะสูตรสำเร็จคือยิ่งออกกำลังกายมาก HDL ยิ่งสูงขึ้น (จะมีข้อยกเว้นก็เฉพาะในบางคนที่มีพันธุกรรมการเผาผลาญไขมันไม่เหมือนชาวบ้านเขาทำให้ HDL ต่ำเตี้ยแบบถาวรแม้จะขยันออกกำลังกาย แต่ก็ดีอยู่หน่อยว่าคนที่พันธุกรรมผิดปกติเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปเสมอไป)
เช่นเดียวกันถ้า เดิมคุณดื่มแอลกอฮอล์แล้วต่อมาเลิกดื่ม ไขมันดี HDL ก็จะลดลง เพราะเป็นที่ทราบกันมาในวงการแพทย์นานแล้วว่าแอลกอฮอล์ทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น ทำให้ตายจากโรคหัวใจน้อยลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะเชียร์ให้ดื่มแอลกอฮอล์นะครับ เพราะโหลงโจ้งแล้วคนดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะตายด้วยโรคห้วใจขาดเลือดน้อยกว่าคนไม่ดื่ม แต่ก็ตายด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคไข้โป้ง โรคฮอนด้าซินโดรม (ตกมอเตอร์ไซค์) มากกว่าคนไม่ดื่ม ส่วนบุหรี่นั้นถ้าคุณสูบอยู่ต้องเลิกลูกเดียว เพราะบุหรี่ทำให้ HDL ลดต่ำลง
เช่นเดียวกันถ้า เดิมคุณดื่มแอลกอฮอล์แล้วต่อมาเลิกดื่ม ไขมันดี HDL ก็จะลดลง เพราะเป็นที่ทราบกันมาในวงการแพทย์นานแล้วว่าแอลกอฮอล์ทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น ทำให้ตายจากโรคหัวใจน้อยลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะเชียร์ให้ดื่มแอลกอฮอล์นะครับ เพราะโหลงโจ้งแล้วคนดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะตายด้วยโรคห้วใจขาดเลือดน้อยกว่าคนไม่ดื่ม แต่ก็ตายด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคไข้โป้ง โรคฮอนด้าซินโดรม (ตกมอเตอร์ไซค์) มากกว่าคนไม่ดื่ม ส่วนบุหรี่นั้นถ้าคุณสูบอยู่ต้องเลิกลูกเดียว เพราะบุหรี่ทำให้ HDL ลดต่ำลง
อย่างไรก็ตาม HDL 64 มก./ดล.ของคุณถือว่าปกติ
ไม่ได้ต่ำผิดปกติ คุณเองก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่ในห้องแล็บ
ยังไม่เข้าใจอีกหรือว่าค่าต่างๆที่เราวัดได้หากมันอยู่ในพิสัยปกติ (normal
range) มันก็คือค่าปกติ จะสูงหรือต่ำ แต่หากอยู่ในพิสัยปกติ
มันมีความหมายเท่ากัน..คือปกติ การที่ค่าที่วัดได้วิ่งขึ้นวิ่งลงภายในพิสัยปกติ
โดยนิยามเชิงสถิติแล้วมันเป็นความแปรปรวนที่เกิดได้กับข้อมูลซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติ
(normal variation) จึงไม่มีนัยสำคัญเชิงสถิติ การที่ค่าแล็บลงมาหน่อยก็รีบกระต๊ากๆทั้งๆที่มันยังอยู่ในพิสัยปกติ
แสดงว่ายังไม่เข้าใจความหมายเชิงสถิติของดัชนีสุขภาพต่างๆ แบบนี้อนาคตจะไปจบที่โรคประสาทนะ..จะบอกให้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ปล. ผมลงจดหมายของคุณโดยไม่ตัดทอน
ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านจำนวนมากที่กำลังลดความอ้วนอยู่ได้ทราบว่าสูตรอาหารที่ผมเล่าให้ฟังว่าผมใช้ในรายการเต้นเปลี่ยนชีวิตนั้น
เป็นสูตรอาหารที่ลดน้ำหนักได้จริง และมีคนตัวเป็นๆนำไปใช้ได้ผลแล้วมากพอควร
รวมทั้งตัวคุณก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคนเหล่านั้น ท่านที่สนใจจะลดความอ้วนอาจหาย้อนอ่านเรื่องรายการอาหารที่ใช้ในรายการ
“เต้นเปลี่ยนชีวิต” ดูได้ที่ (http://visitdrsant.blogspot.com/2014/03/dance-your-fat-off.html)
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
1.
Rader DJ, deGoma EM. Approach to the patient with extremely low
HDL-cholesterol. J Clin Endocrinol Metab.
Oct 2012;97(10):3399-407. [Medline]. [Full Text].
2.
Eslick GD, Howe PR, Smith C, et al. Benefits of fish oil
supplementation in hyperlipidemia: a systematic review and meta-analysis. Int
J Cardiol. Sep 5 2008;[Medline].
3. Brinton EA, Eisenberg S, Breslow JL. A low-fat diet decreases high density lipoprotein (HDL) cholesterol levels by decreasing HDL apolipoprotein transport rates. J Clin Invest ;85(1): 144–151.