คุณหมอเป็นพาหะตับอักเสบไวรัสบี. แต่อยากเรียนต่อศัลยกรรม
สวัสดีครับ อาจารย์หมอสันต์
ผมมีคำถามจะเรียนถามครับ ผมกำลังเรียนแพทย์อยู่ และมีแพลนจะไปเรียนต่อต่ างประเทศครับ ปัญหาคือว่า ผมได้รับเชื้อ Hepatitis B มาตั้งแต่เกิดแล้ว
แต่ไม่เคยมีอาการ สถานะตอนนี้เป็น Hepatitis B
carrier ผมสงสัยว่าถ้าจะไปเรียนแพทย์ เฉพาะทางต่อต่างประเทศ
แพทย์ประจำบ้าน ด้านศัลยกรรม ประเทศ ..... (ถ้าอาจารย์ตอบลงเวปขออนุญาติอย่าบอกชื่อประเทศนะครับ)
แล้วเราเป็น carrier เขาจะรับไหมครับ เพราะทราบมาว่าก่อนเรียนต่ างประเทศต้องส่งผลเลือดให้เค้ าด้วย
และขนาดโรงพยาบาลบำรุง.... ของไทย ยังไม่รับหมอที่มี Hep B carrier เลยครับ
และเรามีวิธีที่จะ seroconversion ที่จะลบ HBsAg ออกไปได้ไหมครับ เช่น ฉีด interferon-alpha หรือยาตัวอื่น หรือคุณหมอจะมีข้อแนะนำเพิ่มเติ มไหมครับ
ด้วยความเคารพ
ผมมีคำถามจะเรียนถามครับ ผมกำลังเรียนแพทย์อยู่ และมีแพลนจะไปเรียนต่อต่
และเรามีวิธีที่จะ seroconversion ที่จะลบ HBsAg ออกไปได้ไหมครับ เช่น ฉีด interferon-alpha หรือยาตัวอื่น หรือคุณหมอจะมีข้อแนะนำเพิ่มเติ
ด้วยความเคารพ
..............................................................
ตอบครับ
1.. ถามว่าประเทศที่คุณหมอจะไปเรียนต่อ
มีข้อห้ามไม่ให้คนเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี.เข้าฝึกอบรมทางด้านศัลยกรรมไหม ตอบว่าผมไม่ทราบครับ
แต่ผมทราบว่าโรงเรียนแพทย์ในอังกฤษซึ่งก็เป็นประเทศในยุโรปเหมือนกันมีข้อห้ามนี้อยู่
ยกตัวอย่างเช่นอย่างที่ออกซ์ฟอร์ดมีกฎให้นักศึกษาแพทย์และหมอใหม่ทุกคนต้องตรวจเลือดดูโรคไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (HIV, HepB, HepC)
และห้ามไม่ให้คนที่ตรวจเลือดได้ผลบวกเข้าร่วมทำหัตถการที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเลือด ซึ่งเรียกรวมๆว่า
Exposure
Prone Procedures หรือ EPPs ซึ่งก็หมายถึงงานศัลยกรรมทั้งหมดด้วย
แต่ว่าให้ทำหน้าที่หมอที่ไม่ต้องทำงาน EPP ได้
2.. ถามว่ามีวิธีที่จะ
seroconversion ที่จะลบ HBsAg ออกไปได้ไหมครับ
ตอบว่ามี คือร้องเพลงรอไงครับ เพื่อให้เข้าใจคำตอบนี้มากขึ้น ผมอยากให้คุณหมอเข้าใจพยาธิวิทยาของโรค
และกลไกการทำงานของยาต้านไวรัสเช่น interferon-alpha ก่อน คือพยาธิวิทยาของโรคนี้มันแบ่งได้เป็นสามระยะ
คือ
ระยะที่
1. ระยะยังไม่รู้จักกัน (immune
tolerance phase) หมายความว่าร่างกายยังไม่รู้จักเชื้อ
ไม่รู้ว่านี่คือศัตรู จึงปล่อยให้อาศัยอยู่ได้อิสระ
ระยะที่ 2. รู้จักกันและเริ่มทำสงคราม (immune active หรือ immune clearance phase) เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มรู้จักไวรัส และเม็ดเลือดขาวจับกินไวรัส ขณะเดียวกันไวรัสส่วนหนึ่งก็อาศัยเม็ดเลือดขาวเป็นสถานที่ก๊อปปี้เพิ่มจำนวนตัวเอง เป็นการสู้กัน มีความเสียหายต่อเซลตับ มีตับอักเสบ
ระยะที่ 3. สงบศีกและยอมให้ไวรัสอยู่ (inactive chronic carrier phase) คือสู้กันไม่รู้แพ้ชนะ แต่พออยู่กันอย่างสงบได้ ไวรัสลดจำนวนลงไปมาก แต่ยังมีอยู่ในตัว ร่างกายก็ไม่ได้โถมปราบปรามแล้ว ได้แต่คุมเชิงกันอยู่
ระยะที่ 2. รู้จักกันและเริ่มทำสงคราม (immune active หรือ immune clearance phase) เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มรู้จักไวรัส และเม็ดเลือดขาวจับกินไวรัส ขณะเดียวกันไวรัสส่วนหนึ่งก็อาศัยเม็ดเลือดขาวเป็นสถานที่ก๊อปปี้เพิ่มจำนวนตัวเอง เป็นการสู้กัน มีความเสียหายต่อเซลตับ มีตับอักเสบ
ระยะที่ 3. สงบศีกและยอมให้ไวรัสอยู่ (inactive chronic carrier phase) คือสู้กันไม่รู้แพ้ชนะ แต่พออยู่กันอย่างสงบได้ ไวรัสลดจำนวนลงไปมาก แต่ยังมีอยู่ในตัว ร่างกายก็ไม่ได้โถมปราบปรามแล้ว ได้แต่คุมเชิงกันอยู่
ในกรณีของคุณหมอนี้ ผมเดาเอาว่ายังอยู่ในระยะที่
1 เหตุที่ต้องเดาก็เพราะคุณหมอไม่ได้ส่ง hepatitis
profile อย่างละเอียดมาให้ผมดูด้วย ผมจึงเดาเอาว่าแอนติเจนต่อยีนที่บ่งบอกการแบ่งตัวของไวรัส (HBeAg) ของคุณหมอยังเป็นบวกอยู่
ร่างกายยังไม่ได้ผลิตภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านยีนไวรัส (Anti HBe เป็นลบ) และยังมีจำนวนไวรัสในร่างกาย (HBV-DNA) มากเป็นล้านๆก๊อปปี้ โดยที่ตับก็ยังดีๆอยู่ไม่มีการอักเสบใดๆ
(SGPT/SGOT ปกติ) คือเดาว่า profile ของคุณหมอเป็นอย่างนี้ ซึ่งโรคในระยะที่ 1 นี้ การจะให้โรคหายก็คือต้องรอให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดไวรัสไปตามธรรมชาติอย่างเดียว
จะใช้ยาต้านไวรัสเช่น interpheron นั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลย
เพราะวิธีออกฤทธิ์ของยาต้านไวรัสไม่เหมือนกระสุนปืนที่ยิงโป้งไปที่ตัวไวรัสโดยตรง
แล้วตายเลย แต่ยานี้ออกฤทธิ์ผ่านเซลเม็ดเลือดขาวไม่ให้ไวรัสมาแบ่งตัวในเซล
คือไวรัสบี.มีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือมันจะอ้อยอิ่งออกฟอร์มแกล้งรอให้เม็ดเลือดขาวเฮี้ยนขึ้นมาแล้วจับมันกินเข้าไปในเซลก่อน
นั่นหมายความว่ารอให้มีสงครามหรือมีปฏิกริยาการอักเสบหรือปฏิกริยาต่อต้านของร่างกายเกิดขึ้นก่อน
มันจึงจะแผลงฤทธิ์ได้ พอเข้าไปในเซลได้ปุ๊บ มันก็จะแอบเข้าไปหากลไกปั๊มยีนซึ่งทำงานคล้ายๆเครื่องปั๊มกุญแจที่อยู่ในเซล
แล้วเอาเครื่องนี้ปั๊มเพิ่มจำนวนไวรัสตัวมันเองออกมาเพียบจนทำเอาเซลแตก ยาต้านไวรัสไปบล็อกเครื่องปั๊มนี้ไม่ให้ทำงาน
ดังนั้นเมื่อไม่มีสงคราม เมื่อเม็ดเลือดขาวไม่จับกินไวรัส ยาก็ออกฤทธิ์ไม่ได้
3.. ถามว่าผมจะมีคำแนะนำอะไรเพิ่มเติมไหม
ตอบว่าผมแนะนำว่า
3.1 ในแง่ของการเลือกสาขาอาชีพ
ผมแนะนำให้เลือกอาชีพที่ไม่ต้องทำอะไรที่เลือดของเราจะมีโอกาสไปปนเปื้อนเลือดของคนไข้
พูดง่ายๆว่าสาขาที่ไม่ต้องทำหัตถการในลักษณะ EPP ดังนั้นศัลยกรรม
สูติกรรม จึงไม่ใช่สาขาที่เหมาะกับตัวคุณหมอ
หันไปทำทางอายุรกรรมหรืออะไรทำนองนั้นดีกว่า ที่ผมแนะนำอย่างนี้ไม่ใช่จะปิดกั้นหรือกีดกันอะไรนะ
แต่ผมมองไปข้างหน้าในอนาคตอันไกลโพ้นว่าหากกระบวนการรักษาโรคของไทยเราเข้าสู่รูปแบบสากล
หมายความว่าวันหนึ่งการรักษาโรคก็คือการทำสัญญาแพ่งกันระหว่างหมอกับคนไข้ภายใต้กฎหมายการขายบริการ (ปัจจุบันนี้กฎหมายไทยบางฉบับได้นิยามการแพทย์ว่าเป็นการขายบริการแล้ว) เมื่อถึงวันนั้น
ตามเงื่อนไขของสัญญา เราจะต้องแจ้งความเสี่ยงในการรักษาทุกอย่างแก่คนไข้
รวมทั้งความเสี่ยงที่เขาจะติดเชื้อไวรัสจากเราด้วย ซึ่งหากวันนั้นมาถึงจริง
คุณหมอก็คงจะเข้าใจผม ว่าผมแนะนำไม่ให้คุณหมอเลือกอาชีพศัลยกรรมด้วยเหตุใด
3.2 ความคิดที่อยากไปเรียนต่อเมืองนอกเมืองนาเป็นความคิดที่ดีและผมสนับสนุนสุดลิ่มทิ่มประตู
แต่ผมแนะนำเพิ่มเติมว่าให้คุณหมอเริ่มซื้อประกันสุขภาพนานาชาติที่ครอบคลุมการเจ็บป่วยทั่วโลกไว้เสียแต่วันนี้ (เช่น BUPA international) เพราะเมื่อเราไปอยู่เมืองนอก หากเขาเห็นว่าเราเป็นโรคที่ต้นทุนการรักษาแพงหูดับอย่างตับอักเสบไวรัสบีนี้ขณะที่เราไม่มีประกันสุขภาพของเราเอง
จะหานายจ้างรับเราเข้าทำงานยากมาก และถึงหานายจ้างหรือสถานฝึกอบรมได้โดยเรารับผิดชอบสุขภาพตัวเอง
หากป่วยขึ้นมาขณะอยู่เมืองนอกจริงๆ เราจะหมดเนื้อหมดตัวถึงขั้นล้มละลายได้
ผมมีเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งนะ ไปประชุมหรือดูงานเมืองนอกสองสามอาทิตย์เนี่ยแหละ
แล้วเกิดป่วยเป็นถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันต้องผ่าตัดขึ้นมา โอ้โฮ เรื่องใหญ่มาก
เพราะค่าผ่าตัดหลายล้าน ต้องวิ่งเต้นจับเส้นสายช่วยกันอุตลุต
จึงได้ผ่าตัดราคาประหยัดแบบหลบเลี่ยงกฎระเบียบได้บ้างเล็กน้อย
แต่พี่แกก็ยังต้องจ่ายล้านกว่าบาท (สมัยเมื่อสิบปีมาแล้วนะ เงินไม่ใช่น้อย)
3.3 ในขณะที่ด้านหนึ่งคุณหมอเดินหน้าทำหน้าที่ของหมอที่ดี
คือหาทางเรียนต่อเพื่อทักษะความรู้ให้ตัวเอง
แต่อีกด้านหนึ่งผมก็อยากให้ทำหน้าที่ของคนไข้ด้วย ซึ่งในฐานะคนไข้นี้
คุณหมอต้องทำสามอย่างคือ
3.3.1 คุณหมอต้องเข้าหาและเกาะติดอาจารย์แพทย์ที่เป็น
hepatologist คนใดคนหนึ่งไว้ ถ้าโรงเรียนแพทย์ของคุณหมอไม่มีอาจารย์สาขานี้
ก็ควรไปเสาะหาที่รพ.อื่น ไม่ใช่ปล่อยตัวเองให้อยู่ในมือของหมอประจำคลินิกสวัสดิการ
รพ. เพราะความรู้ในการรักษาโรคนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก หมอที่ไม่ได้อยู่กับโรคนี้ทุกวัน
ไม่ว่าจะเป็นหมอทั่วไป หมออายุรกรรม หรือแม้แต่หมออายุรกรรมเฉพาะด้านโรคทางเดินอาหาร
(gastroenterologist) ยากที่จะตามความรู้โรคนี้ได้ทัน
3.3.2 คนในครอบครัวของคุณหมอทุกคน
รวมทั้งแฟนของคุณหมอด้วย ควรได้รับการตรวจภูมิคุ้มกันโรคนี้ ใครไม่มีภูมิคุ้มกัน
ก็ควรจับฉีดวัคซีนให้หมด
3.3.3 เตรียมพร้อมฟูมฟักภูมิต้านทานของร่างกายเราไว้ให้ดี
ด้วยการวางรูทีนชีวิตให้มีการพักผ่อนให้พอ ออกกำลังกายให้หนักทุกวัน กินอาหารถูกส่วนซึ่งต้องหนักไปทางผักและผลไม้ และจัดการความเครียดทางใจให้ดี
เพราะเมื่อวันทำสงครามระหว่างเรากับเชื้อโรค (immune clearance phase) มาถึง ไม่มีอะไรช่วยเราได้มากเท่าภูมิต้านทานของร่างกายตามธรรมชาติของเราเอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. University of Oxford. Consent to
being tested for hepatitis B, hepatitis C and HIV (bloodborne viruses. Accessed
on May 17, 2013 at http://www.admin.ox.ac.uk/media/global/wwwadminoxacuk/localsites/occupationalhealth/documents/Consent_form-Medical_Student.pdf
2. Keeffe EB, Dieterich DT, Han SH, et al. A treatment algorithm for the management of chronic hepatitis B virus infection in the United States: an update. Clin Gastroenterol Hepatol. Aug 2006;4(8):936-62.