หลานสาวตกงาน เครียด ร้องไห้ กรี๊ด
เรียนคุณหมอ ดิฉันรับหลานสาวอายุ 28 ปี มาอยู่ด้วยค่ะ ตั้งแต่เรียนจบมาหลานสาวก็ตกงาน หางานทำไม่ได้เลย คือหลานจบนิติศาสตร์ เกรดนิยม แต่เงินเดือนจะได้อยู่ 8000 บาทไม่เกินนี้ เค้าเลยไม่ยอมทำ แล้วทำให้เค้าเครียดหนัก ถึงกับเคยคิดสั้นมาแล้ว พอมาอาศัยอยู่กับดิฉัน ดิฉันอยู่คอนโด ซึ่งก็ไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัว ข้างห้องจะเสียงดังมาก เปิดเพลงเหมือนอยู่ในผับ คุยกันเสียงดังมาก ปิดประตูกระแทกเสียงดัง ดิฉันก็ไม่พูดกับข้างห้องแล้วแต่หนักกว่าเดิม เค้ากระแทกดังกว่าเดิม แล้วหลานสาวจะไม่ชอบ เค้าเครียดมาก คือนอนไม่หลับอยู่แล้ว ไม่ได้พักผ่อนอยู่แล้วมาที่พักผ่อนแย่ๆ อีก คือตอนนี้หลานเครียดมากค่ะ มีอาการกรี๊ด คลุ้มคลั่ง ร้องไห้ตลอด ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ หลานแค่เครียดหรือจะเสียสติแล้ว คือดิฉันทำอะไรไม่ถูกค่ะ
ศิริรัตน์
.............................................................................
ตอบครับ
ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณ ผมขอเรียบเรียงปัญหาของคุณเสียใหม่ก่อนนะครับ จะได้ใช้หลักวิชาตอบได้ คือผมขอสรุปใหม่ว่าปัญหาของคุณมีสามอย่าง ดังนี้
1. ปัญหาของตัวคุณเอง ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ดูแล (caregiver) สำหรับหลานสาวซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คุณไม่รู้ว่าจะเดินหน้าไปกับชีวิตที่เครียดอย่างนี้อย่างไรดี
2. ปัญหาการอยู่ร่วมกันฉันท์เพื่อนบ้านที่ฝาบ้านติดกัน บ้านเขาก็เปิดเพลงดังยังกะผับแถมกระแทกประตูปึงปัง บ้านเราก็ร้องไห้และกรี๊ดหลังอาหาร เรียกว่าเป็นปัญหา “ชุมชนคนแก้วหูแตก”
3. ปัญหาหลานสาว ซึ่งตกงาน ไปหางานก็มีแต่งานที่ได้เงินน้อย รู้สึกเสียเกียรติ เสียความนับถือตนเอง เครียด คิดฆ่าตัวตาย และมีพฤติกรรมร้องไห้และกรี๊ด
เอาละ ทีนี้เรามาแกะมันทีละปัญหานะ
ปัญหาที่ 1. ตัวคุณเองในฐานะผู้ดูแลหลานซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คุณเป็น caregiver คุณต้องยึดถือแนวทางการเป็นผู้ดูแลที่ถูกต้องไว้ให้มั่นดังนี้ คือ
(1) ความรับผิดชอบหลักของคุณคือดูแลตัวเองให้ตั้งมั่นได้ก่อน คุณถึงจะไปดูแลหลานได้ดี หัดเพิกเฉยกับความกดดันที่หลานสาวยัดเยียดให้ตลอดเวลาเสียบ้าง เพื่อที่คุณจะได้มีพลังดูแลเขาไปนานๆ
(2) ทำใจรับบทบาทของผู้ดูแลให้ได้ก่อน ยอมรับกับตัวเองว่านี่มันเป็น “งาน” อย่างหนึ่งของเรา และมันเป็นงานยาว คือวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร แล้วก็มามองขอบเขตของงานให้สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริงว่าเรามีทรัพยากรอยู่แค่ไหน เราจะดลบันดาลอะไรได้แค่ไหน เสมือนการจะวิ่งมาราธอนมันก็ต้องฟิตร่างกาย เตรียมตัวช่วยเช่นน้ำดื่ม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
(3) ต้องรู้จักพักเอาแรง จัดเวลาและสถานที่ให้คุณได้อยู่กับตัวเองบ้างทุกวัน ไม่ใช่จมอยู่กับหลานสาวและเรื่องของเขาทั้งวัน คุณอาจหลบฉากไปทำเรื่องง่ายๆเช่นเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์สักสิบนาที หรือหาเวลาออกไปเดินเล่น 10 – 15 นาที วันละสักสองครั้ง เพราะถ้าคุณไม่รู้จักเบรก ความคับข้องใจจะสะสมจนถึงระดับเดือดพล่านในที่สุด และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับหลานสาวที่คุณรักก็จะพลอยเสียหายไปด้วย
(4) หาโอกาสเติมพลังให้ตัวเอง (rejuvinate) งานวิจัยในสิบปีที่ผ่านมาพบชัดแล้วว่าผู้ดูแลผู้ป่วยที่อุทิศตนให้กับคนที่ตนรักจนไม่ใส่ใจกับความจำเป็นของตัวเองนั้นท้ายที่สุดจะกลายเป็นคนป่วยเสียเอง คุณต้องออกกำลังกายทุกวัน ดูแลตนเองเรื่องโภชนาการ ไม่ใช่เครียดแล้วก็กินทุกอย่างที่ขวางหน้า
(5) รู้จักหาความช่วยเหลือจากภายนอก การที่คุณเขียนมาหาผมนี่ก็เป็นเรื่องที่ดี มีคนอื่นรอบตัวเราอีกมากที่หากเรารู้จักเลือกใช้ก็จะเบาแรงเราในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังอย่างหลานสาวคุณได้
(6) ระวังโรคซึมเศร้าจะมาเยือนตัวเอง เพราะโรคซึมเศร้าหรือ “จิตตก” นี้มันชอบกินคนที่ต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เมื่อใดก็ตามที่เราสังเกตตนเองพบว่าเราคงจะถูกคุกคามด้วยภาวะซึมเศร้าเสียแล้ว ควรรีบเสาะหาความช่วยเหลือจากแพทย์ เพราะภาวะซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ อย่าปล่อยให้มันทำลายคุณภาพชีวิตของเรา หรือแม้กระทั่งทำลายชีวิตเราโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
ปัญหาที่ 2. ความเครียดที่เกิดจากการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ผมจะไม่พูดถึงวิธีแก้ปัญหาที่เป็นคอมมอนเซนส์ที่ชาวบ้านทั่วไปเขาทำกันอยู่แล้ว เช่น ลองคุยกับเขาดีๆดูก่อน หรือแจ้งตำรวจ หรือย้ายบ้านหนี ฯลฯ แต่ผมจะพูดถึงการแก้ปัญหาที่แก้จากตัวเรา ไม่ใช่ไปแก้ที่เพื่อนบ้าน ด้วยหลักการสนองตอบต่อสิ่งเร้าแบบสร้างสรรค์ แบบไม่ให้เราเครียด สิ่งเร้าในที่นี้ก็คือเพื่อนบ้านเสียงดัง เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามา เรามีวิธีสนองตอบได้สองอย่างคือ แบบทำให้เราเครียด กับแบบทำให้เราไม่เครียด ปรมาจารย์ของวิชานี้เป็นจิตแพทย์ชาวยิวชื่อ วิคเตอร์ แฟรงเคิล เขาถูกนาซีจับขังคุกและถูกทรมานต่างๆ ลูกเมียก็ถูกนาซีฆ่าตายหมด เขายังใช้วิธีสนองตอบต่อสิ่งเหล่านั้นแบบไม่ทำให้เขาเครียดได้ เช่นถูกนาซีจับแก้ผ้าทำทดลองทางการแพทย์ แทนที่เขาจะสนองตอบแบบกลัวและเคียดแค้น เขากลับสนองตอบแบบจินตนาการว่าตัวเขาออกไปยืนอยู่ที่มุมห้อง และกำลังบรรยายให้นักศึกษาแพทย์ฟังว่าเชลย ซึ่งในที่นี้ก็คือร่างกายของเขานั่นแหละ กำลังถูกนาซีทรมานอย่างไร สถานการณ์ของคุณในชุมชนคนหูแตกไม่ได้แย่เท่าค่ายนาซีนี่ครับ ลองหัดสนองตอบต่อสิ่งเร้าแบบสร้างสรรค์ดูสิ แน่นอนว่าการฝึกให้มีสติให้รู้ตัวทันทีเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบ ย่อมจะช่วยให้เราตั้งหลักสนองตอบแบบสร้างสรรค์ได้สำเร็จ
ปัญหาที่ 3. คือปัญหาของหลานสาว เธอเป็นคนป่วยทางจิตแล้วอย่างแน่นอน อย่างเบาะๆก็เป็นโรคซึมเศร้า ขั้นตอนแรกนี้ผมแนะนำให้ไปรับการรักษาโดยจิตแพทย์จะดีที่สุด ขั้นตอนต่อไปคุณอาจจะช่วยเขาได้บ้าง คือการให้เขาเรียนรู้ที่จะคิดใหม่ทำใหม่ ทางการแพทย์เรียกว่า cognitive therapy คือการเรียนรู้ที่จะสอนตัวเองให้คิดใหม่ว่าเรื่องที่เคยเป็นเหตุให้เครียดนี้ ให้มองใหม่ว่า (1) มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา (2) มันได้เกิดขึ้นแล้วในชีวิตเรา และ (3) เรามีช่องทางจัดการมันโดยไม่ให้เราเครียดได้
ความกลัวดั้งเดิมของหลานคุณรวมทั้งเด็กสมัยนี้ส่วนใหญ่คือกลัวที่จะต้องออกมาเผชิญชีวิตจริง อยากจะเรียนหนังสือไปไม่รู้จบ จบป.ตรีแล้วขอเรียน ป.โท จบป.โทแล้วของเรียนป.เอก จบป.เอกแล้วขอเรียนซูเปอร์ด็อค ถ้ามีหลักสูตรที่เรียนจนตายคาได้ก็จะเรียน เพราะกลัวที่จะต้องจบมา กลัวหางานไม่ได้ กลัวถูกปฏิเสธ กลัวจะต้องทำงานแล้วจะทำไม่ได้ กลัวสังคม คนไข้ของผมบางคนจบป.โทแล้วขอเรียนป.เอก พ่อแม่ปฏิเสธที่จะให้เงิน ก็หมกตัวเงียบอยู่ในบ้าน กลัว ไม่กล้าไปหางานทำ เพราะกลัวเขาไล่ตะเพิดว่าไม่มีงาน กลัวเขาตะโกนใส่หน้าว่าไปให้พ้น หรือกลัวเขาดูถูกว่ามีแต่งานกวาดพื้น เอาไหม เป็นต้น ความกลัวเหล่านี้เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูในอดีตที่ไม่เปิดโอกาสให้รับมือ (cope) กับปัญหาหรือความผิดหวังมามากพอ ทำให้ขาดทักษะในการรับมือ (coping skill) จึงออกมาในรูปของการเรียกร้องให้คนอื่นมาช่วยรับมือแทน เช่นขอเรียนต่อเพื่อให้พ่อแม่รับมือกับความกลัวที่จะต้องหาเงินเองแทน ร้องกรี๊ดเพื่อให้คุณย่าและเพื่อนบ้านหันมาสนใจมาคลายเครียดให้ตัวเองแทน เป็นต้น เวลาจะทำอะไรกับใครก็จะมีเงื่อนไขมากมายเพื่อประกันไม่ให้ความนับถือตัวเองซึ่งเปราะบางมากต้องเสียไป จะทำงานก็ต้องต่อรองเงินเดือนสวัสดิการเพื่อจะได้ยืนยันกับตัวเองว่าเราเก่ง เรามีค่า ในที่สุดจึงกลายเป็นคนที่ไม่มีใครเอา เพราะเรื่องมาก กลายเป็นคนไร้ค่าไปจริงๆ
การจะแก้ปัญหานี้ มีสองส่วน คือ
ส่วนที่ 1. การ “คิดบวก” ซึ่งเป็นหลักการที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่นหัดคิดเสียใหม่ เงินเดือนน้อยเรอะ ก็ดีเหมือนกัน คนอื่นเขาจะได้ไม่คาดหวังกับเรามาก เราจะได้เรียนรู้ลองผิดลองถูกได้สบาย ไม่ให้เงินเดือนเลยเรอะ ก็เอาไว้ก่อนน่า อย่างน้อยก็ยังได้หัดทำงาน หัดปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ที่ต้องควักกระเป๋าค่ารถเมล์และค่าข้าวนี้แม้เราไม่ทำงานเราก็ต้องไปโน่นมานี่ต้องจ่ายเหมือนกันอยู่แล้ว อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนที่ 2. เป็นส่วนที่ลึกซึ้งและยากกว่า คือการหัดให้มีสติระลึกได้เสมอว่าใจเราสนองตอบต่อสิ่งที่เข้ามาหา ในลักษณะลบหรือเปล่า การสนองตอบมีได้ทั้งการคิด พูด ทำ ที่สำคัญที่สุดคือการสนองตอบด้วยการคิด เพราะมันเกิดขึ้นรวดเร็วแล้วพาเราเข้าป่าโดยไม่รู้ตัว นอกจากการคอยระลึกได้ว่าเราสนองตอบไปอย่างไรแล้ว ยังต้องหัดความรู้จักใจตัวเอง ว่า ณ ขณะนี้ใจเราเป็นอย่างไร เครียดหรือว่าผ่อนคลาย ถ้าคอยระลึกได้บ่อยๆว่าเราคิดอะไรออกไป และรู้ตัวอยู่บ่อยๆว่าเราเครียดหรือผ่อนคลาย โครงการหัดคิดบวกก็จะทำสำเร็จได้ง่ายขึ้น
ลองดูนะครับ สิ่งที่หลานสาวคุณขาดไปนี้ คนเราควรจะได้รับการอบรมสั่งสอนโดยพ่อแม่ตั้งแต่สมัยเราเป็นเด็กอายุสองสามขวบแล้ว แต่น่าเสียดายที่ในวัยนั้นพ่อแม่ก็เพิ่งมีอายุกันยี่สิบกว่า ยังไม่รู้จักชีวิต กว่าพ่อแม่จะมารู้จักชีวิตก็อายุห้าหกสิบปีแล้ว ซึ่งลูกก็โตเกินไปแล้ว เราก็เลยเรียนรู้แบบผิดๆมาว่าเวลามีปัญหาจะมีคนอื่นมาแก้ให้ พอถึงตาต้องแก้เองมันก็ทำไม่เป็น มันก็เลยเป็นวงจร “ชีวิตที่จมปลักความเครียด” ที่วนเวียนกันหลายชั่วอายุคนเช่นนี้เอง แต่ถึงจะสายก็พยายามทำไปเถอะครับ ดีกว่าทนทุกข์อยู่กับความเครียดไม่มีทางออกเสียเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ศิริรัตน์
.............................................................................
ตอบครับ
ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณ ผมขอเรียบเรียงปัญหาของคุณเสียใหม่ก่อนนะครับ จะได้ใช้หลักวิชาตอบได้ คือผมขอสรุปใหม่ว่าปัญหาของคุณมีสามอย่าง ดังนี้
1. ปัญหาของตัวคุณเอง ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ดูแล (caregiver) สำหรับหลานสาวซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คุณไม่รู้ว่าจะเดินหน้าไปกับชีวิตที่เครียดอย่างนี้อย่างไรดี
2. ปัญหาการอยู่ร่วมกันฉันท์เพื่อนบ้านที่ฝาบ้านติดกัน บ้านเขาก็เปิดเพลงดังยังกะผับแถมกระแทกประตูปึงปัง บ้านเราก็ร้องไห้และกรี๊ดหลังอาหาร เรียกว่าเป็นปัญหา “ชุมชนคนแก้วหูแตก”
3. ปัญหาหลานสาว ซึ่งตกงาน ไปหางานก็มีแต่งานที่ได้เงินน้อย รู้สึกเสียเกียรติ เสียความนับถือตนเอง เครียด คิดฆ่าตัวตาย และมีพฤติกรรมร้องไห้และกรี๊ด
เอาละ ทีนี้เรามาแกะมันทีละปัญหานะ
ปัญหาที่ 1. ตัวคุณเองในฐานะผู้ดูแลหลานซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คุณเป็น caregiver คุณต้องยึดถือแนวทางการเป็นผู้ดูแลที่ถูกต้องไว้ให้มั่นดังนี้ คือ
(1) ความรับผิดชอบหลักของคุณคือดูแลตัวเองให้ตั้งมั่นได้ก่อน คุณถึงจะไปดูแลหลานได้ดี หัดเพิกเฉยกับความกดดันที่หลานสาวยัดเยียดให้ตลอดเวลาเสียบ้าง เพื่อที่คุณจะได้มีพลังดูแลเขาไปนานๆ
(2) ทำใจรับบทบาทของผู้ดูแลให้ได้ก่อน ยอมรับกับตัวเองว่านี่มันเป็น “งาน” อย่างหนึ่งของเรา และมันเป็นงานยาว คือวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร แล้วก็มามองขอบเขตของงานให้สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริงว่าเรามีทรัพยากรอยู่แค่ไหน เราจะดลบันดาลอะไรได้แค่ไหน เสมือนการจะวิ่งมาราธอนมันก็ต้องฟิตร่างกาย เตรียมตัวช่วยเช่นน้ำดื่ม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
(3) ต้องรู้จักพักเอาแรง จัดเวลาและสถานที่ให้คุณได้อยู่กับตัวเองบ้างทุกวัน ไม่ใช่จมอยู่กับหลานสาวและเรื่องของเขาทั้งวัน คุณอาจหลบฉากไปทำเรื่องง่ายๆเช่นเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์สักสิบนาที หรือหาเวลาออกไปเดินเล่น 10 – 15 นาที วันละสักสองครั้ง เพราะถ้าคุณไม่รู้จักเบรก ความคับข้องใจจะสะสมจนถึงระดับเดือดพล่านในที่สุด และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับหลานสาวที่คุณรักก็จะพลอยเสียหายไปด้วย
(4) หาโอกาสเติมพลังให้ตัวเอง (rejuvinate) งานวิจัยในสิบปีที่ผ่านมาพบชัดแล้วว่าผู้ดูแลผู้ป่วยที่อุทิศตนให้กับคนที่ตนรักจนไม่ใส่ใจกับความจำเป็นของตัวเองนั้นท้ายที่สุดจะกลายเป็นคนป่วยเสียเอง คุณต้องออกกำลังกายทุกวัน ดูแลตนเองเรื่องโภชนาการ ไม่ใช่เครียดแล้วก็กินทุกอย่างที่ขวางหน้า
(5) รู้จักหาความช่วยเหลือจากภายนอก การที่คุณเขียนมาหาผมนี่ก็เป็นเรื่องที่ดี มีคนอื่นรอบตัวเราอีกมากที่หากเรารู้จักเลือกใช้ก็จะเบาแรงเราในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังอย่างหลานสาวคุณได้
(6) ระวังโรคซึมเศร้าจะมาเยือนตัวเอง เพราะโรคซึมเศร้าหรือ “จิตตก” นี้มันชอบกินคนที่ต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เมื่อใดก็ตามที่เราสังเกตตนเองพบว่าเราคงจะถูกคุกคามด้วยภาวะซึมเศร้าเสียแล้ว ควรรีบเสาะหาความช่วยเหลือจากแพทย์ เพราะภาวะซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ อย่าปล่อยให้มันทำลายคุณภาพชีวิตของเรา หรือแม้กระทั่งทำลายชีวิตเราโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
ปัญหาที่ 2. ความเครียดที่เกิดจากการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ผมจะไม่พูดถึงวิธีแก้ปัญหาที่เป็นคอมมอนเซนส์ที่ชาวบ้านทั่วไปเขาทำกันอยู่แล้ว เช่น ลองคุยกับเขาดีๆดูก่อน หรือแจ้งตำรวจ หรือย้ายบ้านหนี ฯลฯ แต่ผมจะพูดถึงการแก้ปัญหาที่แก้จากตัวเรา ไม่ใช่ไปแก้ที่เพื่อนบ้าน ด้วยหลักการสนองตอบต่อสิ่งเร้าแบบสร้างสรรค์ แบบไม่ให้เราเครียด สิ่งเร้าในที่นี้ก็คือเพื่อนบ้านเสียงดัง เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามา เรามีวิธีสนองตอบได้สองอย่างคือ แบบทำให้เราเครียด กับแบบทำให้เราไม่เครียด ปรมาจารย์ของวิชานี้เป็นจิตแพทย์ชาวยิวชื่อ วิคเตอร์ แฟรงเคิล เขาถูกนาซีจับขังคุกและถูกทรมานต่างๆ ลูกเมียก็ถูกนาซีฆ่าตายหมด เขายังใช้วิธีสนองตอบต่อสิ่งเหล่านั้นแบบไม่ทำให้เขาเครียดได้ เช่นถูกนาซีจับแก้ผ้าทำทดลองทางการแพทย์ แทนที่เขาจะสนองตอบแบบกลัวและเคียดแค้น เขากลับสนองตอบแบบจินตนาการว่าตัวเขาออกไปยืนอยู่ที่มุมห้อง และกำลังบรรยายให้นักศึกษาแพทย์ฟังว่าเชลย ซึ่งในที่นี้ก็คือร่างกายของเขานั่นแหละ กำลังถูกนาซีทรมานอย่างไร สถานการณ์ของคุณในชุมชนคนหูแตกไม่ได้แย่เท่าค่ายนาซีนี่ครับ ลองหัดสนองตอบต่อสิ่งเร้าแบบสร้างสรรค์ดูสิ แน่นอนว่าการฝึกให้มีสติให้รู้ตัวทันทีเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบ ย่อมจะช่วยให้เราตั้งหลักสนองตอบแบบสร้างสรรค์ได้สำเร็จ
ปัญหาที่ 3. คือปัญหาของหลานสาว เธอเป็นคนป่วยทางจิตแล้วอย่างแน่นอน อย่างเบาะๆก็เป็นโรคซึมเศร้า ขั้นตอนแรกนี้ผมแนะนำให้ไปรับการรักษาโดยจิตแพทย์จะดีที่สุด ขั้นตอนต่อไปคุณอาจจะช่วยเขาได้บ้าง คือการให้เขาเรียนรู้ที่จะคิดใหม่ทำใหม่ ทางการแพทย์เรียกว่า cognitive therapy คือการเรียนรู้ที่จะสอนตัวเองให้คิดใหม่ว่าเรื่องที่เคยเป็นเหตุให้เครียดนี้ ให้มองใหม่ว่า (1) มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา (2) มันได้เกิดขึ้นแล้วในชีวิตเรา และ (3) เรามีช่องทางจัดการมันโดยไม่ให้เราเครียดได้
ความกลัวดั้งเดิมของหลานคุณรวมทั้งเด็กสมัยนี้ส่วนใหญ่คือกลัวที่จะต้องออกมาเผชิญชีวิตจริง อยากจะเรียนหนังสือไปไม่รู้จบ จบป.ตรีแล้วขอเรียน ป.โท จบป.โทแล้วของเรียนป.เอก จบป.เอกแล้วขอเรียนซูเปอร์ด็อค ถ้ามีหลักสูตรที่เรียนจนตายคาได้ก็จะเรียน เพราะกลัวที่จะต้องจบมา กลัวหางานไม่ได้ กลัวถูกปฏิเสธ กลัวจะต้องทำงานแล้วจะทำไม่ได้ กลัวสังคม คนไข้ของผมบางคนจบป.โทแล้วขอเรียนป.เอก พ่อแม่ปฏิเสธที่จะให้เงิน ก็หมกตัวเงียบอยู่ในบ้าน กลัว ไม่กล้าไปหางานทำ เพราะกลัวเขาไล่ตะเพิดว่าไม่มีงาน กลัวเขาตะโกนใส่หน้าว่าไปให้พ้น หรือกลัวเขาดูถูกว่ามีแต่งานกวาดพื้น เอาไหม เป็นต้น ความกลัวเหล่านี้เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูในอดีตที่ไม่เปิดโอกาสให้รับมือ (cope) กับปัญหาหรือความผิดหวังมามากพอ ทำให้ขาดทักษะในการรับมือ (coping skill) จึงออกมาในรูปของการเรียกร้องให้คนอื่นมาช่วยรับมือแทน เช่นขอเรียนต่อเพื่อให้พ่อแม่รับมือกับความกลัวที่จะต้องหาเงินเองแทน ร้องกรี๊ดเพื่อให้คุณย่าและเพื่อนบ้านหันมาสนใจมาคลายเครียดให้ตัวเองแทน เป็นต้น เวลาจะทำอะไรกับใครก็จะมีเงื่อนไขมากมายเพื่อประกันไม่ให้ความนับถือตัวเองซึ่งเปราะบางมากต้องเสียไป จะทำงานก็ต้องต่อรองเงินเดือนสวัสดิการเพื่อจะได้ยืนยันกับตัวเองว่าเราเก่ง เรามีค่า ในที่สุดจึงกลายเป็นคนที่ไม่มีใครเอา เพราะเรื่องมาก กลายเป็นคนไร้ค่าไปจริงๆ
การจะแก้ปัญหานี้ มีสองส่วน คือ
ส่วนที่ 1. การ “คิดบวก” ซึ่งเป็นหลักการที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่นหัดคิดเสียใหม่ เงินเดือนน้อยเรอะ ก็ดีเหมือนกัน คนอื่นเขาจะได้ไม่คาดหวังกับเรามาก เราจะได้เรียนรู้ลองผิดลองถูกได้สบาย ไม่ให้เงินเดือนเลยเรอะ ก็เอาไว้ก่อนน่า อย่างน้อยก็ยังได้หัดทำงาน หัดปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ที่ต้องควักกระเป๋าค่ารถเมล์และค่าข้าวนี้แม้เราไม่ทำงานเราก็ต้องไปโน่นมานี่ต้องจ่ายเหมือนกันอยู่แล้ว อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนที่ 2. เป็นส่วนที่ลึกซึ้งและยากกว่า คือการหัดให้มีสติระลึกได้เสมอว่าใจเราสนองตอบต่อสิ่งที่เข้ามาหา ในลักษณะลบหรือเปล่า การสนองตอบมีได้ทั้งการคิด พูด ทำ ที่สำคัญที่สุดคือการสนองตอบด้วยการคิด เพราะมันเกิดขึ้นรวดเร็วแล้วพาเราเข้าป่าโดยไม่รู้ตัว นอกจากการคอยระลึกได้ว่าเราสนองตอบไปอย่างไรแล้ว ยังต้องหัดความรู้จักใจตัวเอง ว่า ณ ขณะนี้ใจเราเป็นอย่างไร เครียดหรือว่าผ่อนคลาย ถ้าคอยระลึกได้บ่อยๆว่าเราคิดอะไรออกไป และรู้ตัวอยู่บ่อยๆว่าเราเครียดหรือผ่อนคลาย โครงการหัดคิดบวกก็จะทำสำเร็จได้ง่ายขึ้น
ลองดูนะครับ สิ่งที่หลานสาวคุณขาดไปนี้ คนเราควรจะได้รับการอบรมสั่งสอนโดยพ่อแม่ตั้งแต่สมัยเราเป็นเด็กอายุสองสามขวบแล้ว แต่น่าเสียดายที่ในวัยนั้นพ่อแม่ก็เพิ่งมีอายุกันยี่สิบกว่า ยังไม่รู้จักชีวิต กว่าพ่อแม่จะมารู้จักชีวิตก็อายุห้าหกสิบปีแล้ว ซึ่งลูกก็โตเกินไปแล้ว เราก็เลยเรียนรู้แบบผิดๆมาว่าเวลามีปัญหาจะมีคนอื่นมาแก้ให้ พอถึงตาต้องแก้เองมันก็ทำไม่เป็น มันก็เลยเป็นวงจร “ชีวิตที่จมปลักความเครียด” ที่วนเวียนกันหลายชั่วอายุคนเช่นนี้เอง แต่ถึงจะสายก็พยายามทำไปเถอะครับ ดีกว่าทนทุกข์อยู่กับความเครียดไม่มีทางออกเสียเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์