หมอสันต์ให้สัมภาษณ์ทีวีไทยพีบีเอส.เรื่องตัวชี้วัดสุขภาพ
นพ.สันต์ ให้สัมภาษณ์ทีวี.ไทยพีบีเอส.
พิธีกร
คุณหมอเป็นศัลยแพทย์หัวใจที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเสียเอง แต่บอกว่าเมื่อป่วย ก็ไม่อยากถูกผ่าตัด เลือกปรับสมดุลให้ตัวเอง คือยังไงคะ
นพ.สันต์
ที่จริงเรื่องราวของผมก็ไม่ได้มีอะไรพิศดารนะครับ คือตอนไม่ป่วยก็ไม่เคยธุระ แบบที่เขาว่าไม่เห็นโลงไม่หลั่งน้ำตา พอป่วยระดับที่อาจตายได้ขึ้นมา ความกลัวตายก็กระตุ้นให้เกิดขยันขันแข็งใส่ใจสุขภาพขึ้นมา ความเป็นมามันก็มีอยู่แค่นี้เอง จะมีประเด็นอยู่นิดนึงก็ตรงที่คนทั่วไปเวลาเขาป่วยเขาก็วิ่งไปหาหมอ หมอว่าไงเขาก็ว่างั้น แต่ผมเองเป็นหมอซะเอง เวลาผมป่วยผมจะวิ่งไปหาใครละครับ ผมก็ต้องวิ่งกลับไปหาวิชาแพทย์ที่ผมเรียนมา ไปทบทวนค้นคว้าให้มันละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น ว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผมเองนั้นคือวิธีใด ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่ธรรมด๊า ธรรมดา ว่าวิธีที่ดีที่สุดก็แค่ปรับวิถีชีวิตตัวเองไปอย่างสิ้นเชิง การใช้ชีวิตในรูปแบบที่ทำให้ตัวผมป่วยซึ่งผมทำมาตลอดผมควรจะเลิกซะ การใช้ชีวิตในแบบที่จะทำให้ผมหายป่วยซึ่งผมไม่เคยทำ ผมก็ควรจะทำซะ แล้ววิธีที่จะให้ทำมันก็ไม่ใช่ศาสตร์ที่ซับซ้อนอะไร มันก็มีเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการคบหาเพื่อนที่ชวนกันไปหาสิ่งดีๆด้านสุขภาพ มีสี่อย่างเท่านี้เองเท่านี้เอง
พิธีกร
แนวทางการปรับวิถีชีวิตที่ว่านั้น มันคือการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนจริงไหม
นพ.สันต์
ยั่งยืนจริงไหม ผมแยกเป็นสองประเด็นนะ
ประเด็นแรก การที่คนเราควรลุกขึ้นมาดูแลตัวเองนี่เป็นของที่ยั่งยืนไหม ตอบว่ายั่งยืนแน่นอนครับ องค์การอนามัยโลกก็พยายามลุ้นเหลือเกิน เขาใช้คำว่า Self Management เป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกมองว่าเป็นทางไปทางเดียวของการจะให้คนทั้งโลกมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่สอง ในแง่ของผลวิจัยทางการแพทย์นี่ก็ชัดเจนมาก ว่าการใช้ยาใช้การผ่าตัดลดอัตราตายโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหัวใจขาดเลือดลงได้ 20-30% แต่การจัดการตัวเองโดยอาศัยตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดตัวทำให้อัตราตายลดลงได้ถึง 91% จึงถือได้ว่ายั่งยืนกว่าแน่นอน เจ็ดตัวคือ น้ำหนัก ความดันเลือด ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด จำนวนพืชผักผลไม้ที่กินต่อวัน จำนวนการออกกำลังกายต่อวัน และการสูบบุหรี่ ทั้งเจ็ดอย่างนี้สมาคมหัวใจอเมริกันเรียกว่า ง่ายๆเจ็ดอย่าง หรือ Simple 7 เป็นเรื่องที่ตัวผู้ป่วยบริหารจัดการด้วยตัวเองได้
พิธีกร
หนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องอาหาร ปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพในแนวทางของคุณหมอคืออย่างไรคะ
นพ.สันต์
ผมใช้ 3 แนวทางหลักคือ
หนึ่ง ลดการกินเนื้อสัตว์ ไส้กรอกเบคอนแฮม ไม่กินเลย เนื้อหมูเนื้อวัวพยายามหลีกเลี่ยง ส่วน ไข่ ไก่ ปลา ยังกินอยู่แต่ก็พยายามลดลงจนเหลือน้อยมากๆ แล้วทดแทนด้วยการกินอาหารพืชอันได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่วต่างๆและธัญพืชไม่ขัดสีให้มากขึ้น เรียกว่าแนวทาง plant based หรือกินพืชเป็นหลัก
สอง กินแต่อาหารในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่กินอาหารที่สกัดเอามาแต่แคลอรี่อย่างน้ำมัน หรือน้ำตาล ไม่กินอาหารธัญญพืชที่ขัดสีเอาผิวทิ้งไปอย่างข้าวขาว แป้งขัดขาว หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการปรับแต่งเชิงอุตสาหกรรม นี่เรียกว่าแนวทาง whole food
สาม งดการใช้น้ำมันทำอาหาร เปลี่ยนมาทำอาหารด้วยวิธีง่ายๆเช่นกินสด อบ ต้ม นึ่ง ย่าง ถ้าจะผัดจะทอดก็ไม่ใช้น้ำมัน ใช้น้ำ หรือใช้ลมร้อนแทน เรียกว่าแนวทางไขมันต่ำหรือ low fat เพราะตัวผมเองเป็นโรคไขมันในเลือดสูงด้วย
สรุปว่า กินพืชเป็นหลัก ไม่สกัดไม่ขัดสี ไม่ใช้น้ำมัน ภาษาอังกฤษว่า plant based, whole food, low fat
พิธีกร
วันนี้จัดกิจกรรมในเรื่องของอาหาร ประโยชน์ของการทำอาหารกินเองและคำแนะนำในการเลือกเมนูจากคุณหมอมีอะไรบ้างคะ
นพ.สันต์
เราจงใจให้เห็นของจริงในสามประเด็นที่ผมอยากจะสื่อ คือ
1. เลือกกินอะไร ผมแนะนำให้เลือกกินพืชมากๆ กินเนื้อสัตว์น้อยๆ
2. ปรุงอย่างไร ผมแนะนำให้ปรุงน้อยๆ ใช้ความเย็นช่วยคงความสดไว้แล้วกินสดๆ ถ้าจะปรุงก็ปรุงแบบง่ายๆ ต้ม นึ่ง ถ้าจะผัดจะทอดก็ทำแบบไม่ใช้น้ำมัน ซึ่งวันนี้ก็มีตัวอย่างให้ดู
3. ทำเองหรือซื้อเขาดี ผมแนะนำให้หาเวลาทำเอง ไม่มีเวลาก็ทำของง่ายๆเช่นข้าวต้มถั่วธัญพืช ทำครั้งเดียวแล้วแบ่งเป็นหลายๆซองแช่แข็งไว้แล้วทะยอยเอาออกมากินวันละถุง
ที่แสดงวิธีทำให้ดูเป็นตัวอย่างในวันนี้จับเอาประเด็นหลักสำคัญมาทำให้ดู เช่น การเพิ่มปริมาณการกินผักผลไม้ด้วยวิธีปั่นด้วยความเร็วสูงให้กลายเป็นของเหลวดื่มได้ การอบถั่วและนัทไว้กินเป็นอาหารว่างแทนขนมกรุบกรอบหรือคุ้กกี้ การผัดโดยไม่ใช้น้ำมัน การทอดด้วยลมร้อน เป็นต้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
-------------------------------------------------------------------------
พิธีกร
คุณหมอเป็นศัลยแพทย์หัวใจที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเสียเอง แต่บอกว่าเมื่อป่วย ก็ไม่อยากถูกผ่าตัด เลือกปรับสมดุลให้ตัวเอง คือยังไงคะ
นพ.สันต์
ที่จริงเรื่องราวของผมก็ไม่ได้มีอะไรพิศดารนะครับ คือตอนไม่ป่วยก็ไม่เคยธุระ แบบที่เขาว่าไม่เห็นโลงไม่หลั่งน้ำตา พอป่วยระดับที่อาจตายได้ขึ้นมา ความกลัวตายก็กระตุ้นให้เกิดขยันขันแข็งใส่ใจสุขภาพขึ้นมา ความเป็นมามันก็มีอยู่แค่นี้เอง จะมีประเด็นอยู่นิดนึงก็ตรงที่คนทั่วไปเวลาเขาป่วยเขาก็วิ่งไปหาหมอ หมอว่าไงเขาก็ว่างั้น แต่ผมเองเป็นหมอซะเอง เวลาผมป่วยผมจะวิ่งไปหาใครละครับ ผมก็ต้องวิ่งกลับไปหาวิชาแพทย์ที่ผมเรียนมา ไปทบทวนค้นคว้าให้มันละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น ว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผมเองนั้นคือวิธีใด ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่ธรรมด๊า ธรรมดา ว่าวิธีที่ดีที่สุดก็แค่ปรับวิถีชีวิตตัวเองไปอย่างสิ้นเชิง การใช้ชีวิตในรูปแบบที่ทำให้ตัวผมป่วยซึ่งผมทำมาตลอดผมควรจะเลิกซะ การใช้ชีวิตในแบบที่จะทำให้ผมหายป่วยซึ่งผมไม่เคยทำ ผมก็ควรจะทำซะ แล้ววิธีที่จะให้ทำมันก็ไม่ใช่ศาสตร์ที่ซับซ้อนอะไร มันก็มีเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการคบหาเพื่อนที่ชวนกันไปหาสิ่งดีๆด้านสุขภาพ มีสี่อย่างเท่านี้เองเท่านี้เอง
พิธีกร
แนวทางการปรับวิถีชีวิตที่ว่านั้น มันคือการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนจริงไหม
นพ.สันต์
ยั่งยืนจริงไหม ผมแยกเป็นสองประเด็นนะ
ประเด็นแรก การที่คนเราควรลุกขึ้นมาดูแลตัวเองนี่เป็นของที่ยั่งยืนไหม ตอบว่ายั่งยืนแน่นอนครับ องค์การอนามัยโลกก็พยายามลุ้นเหลือเกิน เขาใช้คำว่า Self Management เป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกมองว่าเป็นทางไปทางเดียวของการจะให้คนทั้งโลกมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่สอง ในแง่ของผลวิจัยทางการแพทย์นี่ก็ชัดเจนมาก ว่าการใช้ยาใช้การผ่าตัดลดอัตราตายโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหัวใจขาดเลือดลงได้ 20-30% แต่การจัดการตัวเองโดยอาศัยตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดตัวทำให้อัตราตายลดลงได้ถึง 91% จึงถือได้ว่ายั่งยืนกว่าแน่นอน เจ็ดตัวคือ น้ำหนัก ความดันเลือด ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด จำนวนพืชผักผลไม้ที่กินต่อวัน จำนวนการออกกำลังกายต่อวัน และการสูบบุหรี่ ทั้งเจ็ดอย่างนี้สมาคมหัวใจอเมริกันเรียกว่า ง่ายๆเจ็ดอย่าง หรือ Simple 7 เป็นเรื่องที่ตัวผู้ป่วยบริหารจัดการด้วยตัวเองได้
พิธีกร
หนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องอาหาร ปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพในแนวทางของคุณหมอคืออย่างไรคะ
นพ.สันต์
ผมใช้ 3 แนวทางหลักคือ
หนึ่ง ลดการกินเนื้อสัตว์ ไส้กรอกเบคอนแฮม ไม่กินเลย เนื้อหมูเนื้อวัวพยายามหลีกเลี่ยง ส่วน ไข่ ไก่ ปลา ยังกินอยู่แต่ก็พยายามลดลงจนเหลือน้อยมากๆ แล้วทดแทนด้วยการกินอาหารพืชอันได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่วต่างๆและธัญพืชไม่ขัดสีให้มากขึ้น เรียกว่าแนวทาง plant based หรือกินพืชเป็นหลัก
สอง กินแต่อาหารในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่กินอาหารที่สกัดเอามาแต่แคลอรี่อย่างน้ำมัน หรือน้ำตาล ไม่กินอาหารธัญญพืชที่ขัดสีเอาผิวทิ้งไปอย่างข้าวขาว แป้งขัดขาว หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการปรับแต่งเชิงอุตสาหกรรม นี่เรียกว่าแนวทาง whole food
สาม งดการใช้น้ำมันทำอาหาร เปลี่ยนมาทำอาหารด้วยวิธีง่ายๆเช่นกินสด อบ ต้ม นึ่ง ย่าง ถ้าจะผัดจะทอดก็ไม่ใช้น้ำมัน ใช้น้ำ หรือใช้ลมร้อนแทน เรียกว่าแนวทางไขมันต่ำหรือ low fat เพราะตัวผมเองเป็นโรคไขมันในเลือดสูงด้วย
สรุปว่า กินพืชเป็นหลัก ไม่สกัดไม่ขัดสี ไม่ใช้น้ำมัน ภาษาอังกฤษว่า plant based, whole food, low fat
พิธีกร
วันนี้จัดกิจกรรมในเรื่องของอาหาร ประโยชน์ของการทำอาหารกินเองและคำแนะนำในการเลือกเมนูจากคุณหมอมีอะไรบ้างคะ
นพ.สันต์
เราจงใจให้เห็นของจริงในสามประเด็นที่ผมอยากจะสื่อ คือ
1. เลือกกินอะไร ผมแนะนำให้เลือกกินพืชมากๆ กินเนื้อสัตว์น้อยๆ
2. ปรุงอย่างไร ผมแนะนำให้ปรุงน้อยๆ ใช้ความเย็นช่วยคงความสดไว้แล้วกินสดๆ ถ้าจะปรุงก็ปรุงแบบง่ายๆ ต้ม นึ่ง ถ้าจะผัดจะทอดก็ทำแบบไม่ใช้น้ำมัน ซึ่งวันนี้ก็มีตัวอย่างให้ดู
3. ทำเองหรือซื้อเขาดี ผมแนะนำให้หาเวลาทำเอง ไม่มีเวลาก็ทำของง่ายๆเช่นข้าวต้มถั่วธัญพืช ทำครั้งเดียวแล้วแบ่งเป็นหลายๆซองแช่แข็งไว้แล้วทะยอยเอาออกมากินวันละถุง
ที่แสดงวิธีทำให้ดูเป็นตัวอย่างในวันนี้จับเอาประเด็นหลักสำคัญมาทำให้ดู เช่น การเพิ่มปริมาณการกินผักผลไม้ด้วยวิธีปั่นด้วยความเร็วสูงให้กลายเป็นของเหลวดื่มได้ การอบถั่วและนัทไว้กินเป็นอาหารว่างแทนขนมกรุบกรอบหรือคุ้กกี้ การผัดโดยไม่ใช้น้ำมัน การทอดด้วยลมร้อน เป็นต้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
-------------------------------------------------------------------------