กรุณาแนะนำทางสว่างให้ด้วยค่ะ
เรียน คุณหมอสันต์
กรุณาแนะนำทางสว่างให้ด้วยค่ะ ดิฉันเป็นแม่ ที่มีลูก 3 คน อายุ 23 ปี 21 ปี และ 19 ปี สามีทำงานส่วนตัวรายได้เพียงแค่พอใช้จ่ายต่อเดือน ไม่มีเงินเก็บ ตอนนี้เหมือนอยู่ในวังวนของความทุกข์ทั้งเรื่องรายได้ และเรื่องลูก แต่จะหนักไปเรื่องลูกเสียส่วนใหญ่
ลูกคนโต และลูกคนกลางสอบเข้าเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยต่างจังหวัดทั้ง 2 คน คนโตเรียนอยู่ 3 ปี แต่ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จึงขอลาออก อยู่ว่าง ๆ 1 ปี คนกลางโดนรีไทร์มา 2 ครั้งแล้ว ทั้งสองคนเพิ่งมาสมัครลงเรียนมหาวิทยาลัยเปิด แต่เหมือนลูกไม่มีความตั้งใจจะเรียน อาจจะสมัครไปอย่างนั้นตามที่พ่อแม่แนะนำ คุยกับเค้าเรื่องเรียนว่าจะทำอย่างไรต่อ ถ้าไม่เรียนก็ทำงาน เค้าก็ยังยืนยันว่าเค้าจะสมัครเข้าเรียนคณะวิศวะใหม่ ดิฉันค่อนข้างเครียดมากค่ะเรื่องลูก เพราะ
1. เพื่อนที่เรียนมัธยมมาด้วยกันก็เริ่มเรียนจบมีงานทำ แต่ลูกเรามาเริ่มปี 1 ใหม่ แล้วยังไม่ตั้งใจในการเรียนอีก (ทั้งสองคนไม่มีพฤติกรรมเกเร อาจมีเที่ยวกลางคืน สูบบุหรี่บ้าง เพียงแต่ดูเฉื่อยชา ไม่มีเป้าหมายในชีวิต) ทั้งสองคนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลต่าง ๆ ค่อนข้างมาก เรียกว่า เกือบตลอดเวลา ดิฉันเห็นแล้วเหนื่อยใจค่ะ
2. ลุูกทั้งสองคนยังอยากสมัครเข้าเรียนวิศวะใหม่อีก ทั้ง ๆ ที่เคยให้โอกาสเรียนปี 1 ใหม่แล้วคนละ 2 ครั้ง แต่ลูกยังอยากจะเรียนสาขาเดิม คณะเดิมอีกแล้วจะไหวเหรอคะ พ่อแม่เองก็พูดกับเค้าหลายครั้งทั้งเรื่องเรียน เรื่องค่าใช้จ่าย (คนที่ 2 กู้ กยศ.) เคยบอกเค้าว่าเรียนคณะ สาขาใดก็ได้ หรือจะทำงานสายอาชีพก็ให้ไปเรียนทางวิชาชีพเลยก็ได้
3. ฐานะทางบ้านไม่พร้อมที่จะสนับสนุนเค้าโดยไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าเรื่องเวลา หรือค่าใช้จ่าย และตอนนี้คนเล็กก็เรียน ปี 1 เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่รวมค่าเทอมโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 10,000 บาท ต่อคน เพราะต้องจ่ายค่าหอพัก น้ำไฟด้วย ด้วยรายได้อย่างนี้ดิฉันไม่มั่นใจว่าจะส่งเค้าเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง
ดิฉันกังวลมากกับอนาคตของพวกเค้า ว่าจะดูแลตัวเองได้อย่างไร อดีตดิฉันอาจเคยคาดหวังว่าลูก ๆ คงจะดูแลพ่อแม่ได้บ้าง แต่ตอนนี้เหมือนความหวังลางเลือน ไหนจะห่วงชีวิตของตัวเองในวัยเกษียณ ยังต้องห่วงกับชีวิตของลูกอีก
อยากขอคำแนะนำจากคุณหมอค่ะว่า ดิฉันควรจะทำอย่างไรจึงจะคลายความทุกข์ใจลงไปได้บ้าง
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
................................................................
ตอบครับ
นิยามของการเป็นพ่อแม่ตามภาษาของหมอสันต์ก็คือว่าคุณมีความตั้งใจจะทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครรู้มาก่อนเลยว่าหากจะทำให้ดีที่สุดต้องทำอย่างไร แม้คนมีลูก 12 คน เลี้ยงมาดีๆ 11 คน นึกว่ารู้ดีแล้ว แต่ก็มาตกม้าตายเอาคนที่ 12 จนได้
"..อามิตตาภะ..พุทธะ"
สาเหตุที่ไม่มีใครรู้สักคนว่าการจะเลี้ยงลูกให้ได้ดีที่สุดต้องทำอย่างไรนี้ ก็เพราะแม้แต่ตัวพ่อแม่เองก็ยังไม่รู้เลยว่าการเกิดมาเป็นคนนี้ แท้จริงแล้วเรามีความประสงค์สุดท้ายอะไร เมื่อไม่รู้ว่าการเป็นคนที่สมบูรณ์แบบนี้มันต้องมีหน้าตาอย่างไร แล้วเราจะไปปั้นลูกให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้อย่างไรละครับ
พูดถึงตรงนี้ขอนอกเรื่องนิดหนึ่ง สมัยผมอายุ 15 ปี เรียนหนังสือชั้น มศ.3 ผมเคยทำฟาร์มเลี้ยงไก่เล็กๆเก็บไข่ขายที่หลังบ้านพ่อแม่ของผมเอง ผมรู้ว่าในชั่วชีวิตหนึ่งของการเป็นไก่ที่สมบูรณ์แบบนี้ เป้าหมายของการเกิดมาเป็นไก่คืออะไร ซึ่งก็คือการหากินเองเป็น แล้วเติบโตงอกงามจนขนเต็มตัว (full-fledged) แล้วก็ได้พบกับคู่ ผสมพันธุ์ออกไข่บ้าง ฟักไข่บ้าง แล้วก็แก่ตายไป เป้าหมายของการเป็นไก่ผมมั่นใจว่ามีแค่นี้ ผมไม่คิดว่าจะมีเป้าหมายอะไรสูงส่งกว่านี้สำหรับการเกิดมาเป็นไก่ครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะไก่บ้านหรือไก่ป่าก็คล้ายกัน เพราะทุกวันนี้ที่บ้านบนเขามวกเหล็กข้างหลังบ้านเป็นป่าและมีไก่ป่าอยู่หลายตัว ความที่ตัวเองชอบไก่ ผมแอบดูชีวิตของพวกมันก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้
แต่สำหรับการเกิดมาเป็นคน มีใครรู้เบ็ดเสร็จบ้างว่าการเกิดมาเป็นคนนี้เราคาดหวังว่าควรจะบรรลุอะไรบ้าง ลองคิดดูสักหน่อยสิ เป็นโจทย์ที่ไม่ยากนะ แต่คนเราส่วนใหญ่ก็คิดได้แค่ว่าเป้าหมายคือขอให้ทำได้เท่ากับไก่ก็พอแล้ว คือขอให้ทำมาหากินด้วยตัวเองได้ หาคู่ผสมพันธ์ ออกไข่ เอ๊ย ไม่ใช่ ออกลูก แล้วก็แก่ตายไป โดยเน้นที่ให้ทำมาหากินได้ก่อน คือเน้นที่การอยู่รอดหรือ survival mode แม้มนุษย์เราจะเจริญทางวัตถุมากกว่าสมัยอยู่ถ้ำแล้ว แต่ survival mode ก็ยังเป็นเป้าหมายทั้งหมดของชีวิตอยู่นั่นเอง แถมเราจะโง่ลงในแง่ที่กะอีแค่จะหากินได้เองเราดันพากันไปหาวัตถุที่กินไม่ได้กันมากเสียจนทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากโดยที่นกหนูกาไก่มันก็หากินของมันได้เองโดยไม่ต้องทำให้ชีวิตมันยุ่งยากอย่างนี้เลย
ที่ว่าแค่จะหากินก็ไปทำให้มันยุ่งยากก็อย่างเช่น น้องที่ทำงานกับผมที่มวกเหล็กคนหนึ่งเล่าว่าเลิกงานแล้วเธอไปทำงานร้านขายของชำในชนบทให้พ่อแม่ของเธอ ลูกค้าสำคัญส่วนหนึ่งของเธอคือเด็กนักเรียนชั้นป.1-6 เพราะร้านเธออยู่ใกล้ที่จอดรถสองแถวของหมู่บ้าน สินค้าหลักที่ขายให้เด็กป.1-6 เหล่านั้นคือการเติมเงินโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เรียกว่าลูกค้าเด็กนักเรียนประถมตัวน้อยๆเข้าแถวเติมเงินกันยาวเหยียดทุกวัน เงินที่ใช้ก็คือค่าขนมที่พ่อแม่ให้มานั่นแหละ เห็นไหมครับว่านี่แค่ป.1-6 นะชีวิตมันซับซ้อนเสียแล้ว แค่เป้าหมายที่จะหากินได้เองให้ได้ดีเทียบเท่ากับไก่เท่านั้นแหละ เราสอนลูกให้ไปตั้งต้นที่การฝึกใช้สมาร์ทโฟนโน่น
กลับมาเข้าเรื่องของเราดีกว่า ประเด็นแรกคือความทุกข์ของคุณแม่ การจะปลดทุกข์นี้คุณแม่ต้องมีในใจก่อนว่าชีวิตนี้เกิดมาคุณแม่อยากจะบรรลุอะไร ความคาดหวังที่คุณแม่คาดหวังจะบรรลุคืออยากให้ลูกเรียนจบมีงานทำแล้วกลับมาเลี้ยงดูพ่อแม่น้้น ขอโทษนะ..คุณแม่ครับ มันเป็นความคาดหวังบนสิ่งนอกตัวของเราซึ่งเราไม่มีอำนาจไปควบคุมบังคับได้ มันต้องจบลงด้วยความผิดหวังแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะขนาดคาดหวังกับใจของเราที่เราควบคุมบังคับเองได้แท้ๆยังต้องมีลุ้นเลย แล้วนี่ไปคาดหวังเอากับคนอื่นซึ่งเป็นสิ่งนอกตัวที่เราบังคับไม่ได้เลย มันจะไม่ผิดหวังได้อย่างไร
ผมแนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนความคาดหวังในชีวิตเสียใหม่ ว่าให้คาดหวังที่จะให้ชีวิตนี้มีความสุขสงบจากภายในตนเอง (inner peace) ก็พอแล้ว ส่วนเรื่องลูกเต้า สามี เงินทอง ทรัพย์สมบัตินั้น คุณแม่อย่าไปตั้งความคาดหวังเลย ถ้าคุณเห็นด้วยกับผม ผมจึงจะพอมีคำแนะนำให้คุณได้
คำแนะนำของผมให้คุณทำเป็นขั้นๆดังนี้
ขั้นที่ 1. วางเรื่องนอกตัวไว้ก่อน หันมาสนใจเรื่องภายในตัวเอง หันเหความสนใจจากภายนอกสู่ภายใน ภายในร่างกายยาวหนึ่งวาหนาหนึ่งคืบที่มีความทรงจำและความคิดอยู่ด้วยนี่แหละ เอาแค่นี้พอ โดยจะมีสี่ขั้นตอนย่อยดังนี้
1.1 ให้ยอมรับทุกอย่างที่คุณมีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบันเสียก่อน ยอมรับมันอย่างไม่มีเงื่อนไข ยอมรับมันเสมือนว่าคุณทำมันขึ้นมาด้วยมือของคุณเอง ยอมรับแบบศิโรราบ ไม่ต้องไปมีข้อแม้ว่าถ้าลูกเป็นอย่างนี้ ถ้าสามีมีรายได้อย่างนี้ ให้ยอมรับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นี้ 100% ก่อน
1.2 ให้เริ่มสนใจที่จะแยกจิตสำนึก (consciousness) ออกมาจากความคิด (thought) ของเราเอง ทุกลมหายใจเข้าออกให้หัดมองดูความคิดของตัวเอง นี่เป็นตัวเรา (จิตสำนึก) กำลังมองดูความคิด (ซึ่งไม่ใช่ตัวเรา) วิธีมองความคิดแบบนี้เรียกว่า aware of a thought รู้สึกว่าผมจะเคยเขียนตอบคำถามใครคนหนึ่งไปไม่นานก่อนหน้านี้ คุณหาอ่านดูได้ (http://visitdrsant.blogspot.com/2016/10/blog-post.html) คือมองที่ไรก็มองเฉยๆแบบไม่พิพากษา จนความคิดนั้นฝ่อหายไปทุกที
1.3 แล้วก็หันเหจิตสำนึกจากการคิด (thinking a thought) จากเดิมที่คิดโน่นคิดนี่ซึ่งล้วนเป็นเรื่องลบๆในอดีตหรือไม่ก็ในอนาคต ให้หันมาสนใจปัจจุบันขณะ กล่าวคือสนใจว่าตาดูอะไรอยู่ หูฟังอะไรอยู่ ผิวหนังรับสัมผัสร้อนเย็นหรือลมพัดอยู่นะ เป็นต้น อยู่กับปัจจุบัน สนใจรับรู้ตามที่มันเป็น ไม่ไปคิดใส่สีตีไข่ต่อยอด ไม่ไปคิดถึงอดีตอนาคต
1.4 เมื่อใจเริ่มปลอดความคิดและอยู่กับปัจจุบันได้แล้ว ให้เริ่มใช้จิตสำนึกไปสัมผัสรับรู้ (feel) พลังงานธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในร่างกาย อาจจะเริ่มไปตามอวัยวะก่อนก็ได้ เช่นตั้งใจสังเกตที่ฝ่ามือ รับรู้ไออุ่นที่ฝ่ามือ นั่นแหละพลังงานภายในของร่างกาย บางที่นอกจากความรู้สึกอุ่นๆร้อนๆแล้วก็อาจจะเป็นความรู้สึกยิบๆๆ หรือเหน็บๆชาๆ หรือหากยังรับรู้ไม่ได้ก็เอาส่วนง่ายๆเช่นลมหายใจเข้าออกก่อน จนใจสงบแล้วค่อยรับรู้พลังงานภายในของร่างกาย หรือจะฝึกรำมวยจีนก็ได้ เพราะพลังงานในร่างกายก็คือ "ชี่" ในวิชารำมวยจีนหรือชี่กงนั่นเอง ฝึกสนใจรับรู้พลังงานภายในของร่างกายผ่านอวัยวะรับความรู้สึกตามอวัยวะต่างไปทั่ว ตัวจนสามารถรับรู้พลังงานนี้ได้ว่ามันเป็นกลุ่มพลังงานที่เชื่อมโยงถึงกันหมดทั่วตัวเรา ต้องใส่ใจที่จะรับรู้พลังงานภายในร่างกายนี้ให้ได้นะ เพราะมันจะเป็นประตูพาคุณไปสู่ความสุขสงบภายใน ขอให้เชื่อผม ฝึกไป แล้วคุณจะรู้เอง พอคุณอยู่กับปัจจุบันได้ รับรู้พลังงานภายในร่างกายได้ เข้าถึงความสงบสุขภายในตัวได้ นั่นหมายความว่าคุณเอาตัวเองรอดได้แล้ว คราวนี้เรื่องอื่นๆนอกตัวก็จะกลายเป็นเรื่องสะเต๊ะ
ขั้นที่ 2. เมื่อเราเอาตัวเราเองรอดแล้ว คราวนี้เราก็มาช่วยลูกและสามี เวลาคุยกับลูก ให้คุยจากพลังงานภายในร่างกาย คุยจากความสุขสงบภายใน ไม่ใช่แว้ดออกมาจากความคิด สำคัญนะ อย่าคุยกับลูกจากความคิดซึ่งนั่นไม่ใช่ตัวคุณ แต่ให้คุยกับลูกจากความสุขสงบภายใน ณ ปัจจุบันขณะซึ่งเป็นตัวคุณ คุยกับลูกด้วยเมตตาธรรม เนื้อหาที่คุยก็คือกางแผนการใช้เงินในสี่ปีข้างหน้าออกมาเลย ว่าเงินเกือบทั้งหมดจะต้องใช้ส่งน้องสุดท้องเรียนถ้าเขาเรียนไม่ตก ส่วนพี่สองคนได้ใช้เงินไปมากแล้ว ถึงลูกอยากจะเรียนต่อ พ่อแม่ก็ส่งต่อไม่ไหวแล้ว ขอให้หยุดเรียนไปหางานอะไรก็ได้ทำ ถ้าอยากจะเรียน ก็ต้องไปหาเงินยังชีพเอง ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ไม่เรียนก็ไม่เป็นไร คนตั้งมากมายเขาไม่ได้เรียนจบมหาลัยเขาก็มีชีวิตอยู่อย่างพึ่งตัวเองและมีความสุขได้ พ่อแม่ไม่ได้คาดหวังอะไรมากไปกว่าให้ลูกพึ่งตัวเองได้แล้วพ่อแม่ก็จะตายตาหลับ ไม่ต้องกลับมาเลี้ยงดูพ่อแม่ก็ไม่เป็นไร
คุณไม่ต้องแปลกใจที่ลูกจะตีโพยตีพายประท้วง แต่ไม่มีเงินก็คือไม่มีเงิน ยากจนก็คือยากจน ไม่มีอะไรซับซ้อนกว่านั้น แค่ยืนหยัดอยู่กับความจริง ไม่มีการกู้หนี้ยืมสินมาเอาใจลูกอีกต่อไปแล้ว อาจจะปลอบลูกว่าเรามาสู้กับความยากจนด้วยกันเถอะ ซึ่งมันจะฟังดูแปลกหูมากสำหรับลูกเพราะไม่เคยได้ยิน และอย่าแปลกใจที่ลูกจะหนีความจริงโดยการปักหลักอยู่ในห้องนอนและเล่นคอมเป็นเดือนๆไม่ยอมออกจากบ้านไปไหน ก็ช่างเขา คุณเลี้ยงดูเขาต่อไปตามกำลังที่แม่จะทำให้ลูกได้ คิดเสียว่ายังดีกว่าแม่คนอื่นที่มีลูกพิการต้องป้อนข้าวป้อนน้ำเช็ดฉี่เช็ดอึ นี่ลูกเรายังเดินมาเปิดตู้เย็นหากินเองได้ก็ยังดีกว่า ให้เวลาพวกเขาสั่งสมพลังบวกและรวบรวมความกล้า ซึ่งอาจใช้เวลาเป็น 10 ปีหรือ 20 ปี หรือนานกว่านั้นก็ช่างเขา คุณก็ทำอาหารน้อยๆหน่อย ทำของถูกๆแต่ดีเช่นผักหญ้าต่างๆให้เขากิน ให้เขากินขาดๆอิ่มๆ ไม่ต้องอิ่มแปร้ทุกวันเพราะอาหารของคนเราทุกวันนี้มันมากเกินไปจนทำให้สุขภาพเสียอยู่แล้ว และอย่าให้เงินพวกเขาใช้แบบฟรีๆเป็นอันขาด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นนอกเหนือปกติเช่นเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งหมดนี้ให้ทำไปจากจิตใจที่เชื่อมโยงพลังงานภายในร่างกายของตัวคุณเองและกับความสุขสงบภายในใจตัวเอง และความเมตตาต่อลูก วันไหนสบโอกาสคุณก็กอดพวกเขาให้ความรักแก่พวกเขา ไม่มีการประชดประชันดุด่าหรือเรียกร้องบุญคุณ แล้วเดี๋ยวเมตตาธรรมของคุณจะทำให้ลูกๆเขาค่อยๆเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาเองด้วยตัวเขาเอง แต่ตัวคุณก็อย่าไปเฝ้ารอ อย่าไปเฝ้าลุ้นนะ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ถึงลูกเขาจะทำตัวเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขาไม่ยอมทำอะไรตราบจนถึงวันที่คุณตายก็ช่างเขาเถอะ ไม่ต้องห่วง เพราะแม้แต่หมาแมวมันยังมีปัญญาหากินของมันได้เมื่อมันหิว คุณตายไปอย่างไรเสียลูกของคุณก็ต้องมีปัญญาหากินของเขาเองจนได้แหละ แต่ที่พวกเขาไม่ทำตอนนี้เพราะพวกเขายังมีคุณทำให้อยู่
คุณอาจคิดพิลาปรำพันว่ามันเป็นกรรมอะไรหนอทำให้ลูกเราเป็นอย่างนี้ ผมบอกคุณได้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่ประสบปัญหานี้ในยุคนี้ ในยุคสมัยก่อนที่คนรุ่นคุณยังเป็นลูก พ่อแม่พร่ำสอนให้คุณมีความกตัญญู มีความรับผิดชอบและบังคับให้ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน วิธีสอนแบบนั้นทำให้ได้ลูกแบบตัวคุณ ซึ่งว่าไปแล้วก็เกือบสมบูรณ์แบบ ขาดอยู่นิดเดียวคือในใจส่วนลึกมันคอยแต่จะคิดย้อนอดีตว่าชีวิตในวัยเด็กมันช่างโหดร้ายทารุณและไม่สนุกสนานเอาเสียเลย คุณจึงมีความตั้งใจลึกๆว่าถ้าคุณมีลูกของตัวเอง จะไม่ทำให้พวกเขาต้องลำบากในวัยเด็กอย่างที่คุณเคยโดน จะไม่ทำให้พวกเขาต้องมีวัยเด็กที่โหดร้ายทารุณ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากความคิดแบบนั้นก็คือลูกของคุณตอนนี้เนี่ยไง คือได้คนแบบไม่รู้สึกว่าจะมีอะไรลำบากเลยในชีวิตนี้ เฉยไว้ เดี๋ยวความช่วยเหลือก็จะมาเอง ปัญหาอะไรยากก็ไม่ต้องแก้ เพราะไม่เคยแก้ ไม่รู้วิธีแก้ และไม่รู้จะแก้ไปทำไม เพราะชีวิตที่ผ่านมาไม่ต้องแก้ปัญหาก็ไม่เห็นจะมีอะไร เดี๋ยวพ่อแม่ก็แก้ให้หมด ไม่มีเงินพ่อแม่ก็กู้มาให้ ไม่มีข้าวกินเดี๋ยวพ่อแม่ก็หามาให้กิน ลูกของคนอื่นบางคนเขาเล่าให้ผมฟังว่าตัวคุณแม่ไม่สบาย ลูกชายพาแฟนมาบ้าน ไม่ได้จะมาเยี่ยมคุณแม่หรอก จะพาแฟนมากินข้าว แต่พอคุณแม่ไม่ได้ทำอาหารไว้เพราะคุณแม่ไม่สบาย ลูกก็ตัดพ้อต่อว่าว่าอุตสาห์พาแฟนมากินฝีมือคุณแม่แต่ไม่ได้กิน ได้พูดตัดพ้อต่อว่าคุณแม่แล้วตัวคุณลูกสบายใจ แต่คุณแม่ฟังแล้วน้ำตาร่วงว่าตัวเองไม่สบายลูกยังคาดหวังว่าแม่จะต้องบริการรับใช้อีกหรือนี่ นี่คือรูปแบบพิมพ์นิยมของการมีลูกสมัยนี้ จะว่าเป็นกรรมก็เป็นกรรมหากกรรมหมายถึงสิ่งที่เราทำไว้ในอดีต เราเลี้ยงเขาไม่ให้ได้พบกับความโหดร้ายทารุณของความรับผิดชอบ เพราะเป็นสิ่งที่เราเองไม่ชอบจึงไม่อยากให้ลูกได้รับ แต่ความคิดอย่างนั้นทำให้ได้ลูกอย่างที่เราได้มาตอนนี้นี่ไง
คุณเป็นตัวอย่างของคุณพ่อคุณแม่ส่วนที่มีฐานะไม่ได้ร่ำรวย ผมจะเล่าให้ฟังนะว่าผู้ป่วยของผมเองจำนวนมากที่เป็นคนร่ำคนรวยแล้วทุกคนก็มีปัญหาว่าทุกคนต่างก็มีลูกที่ไม่เอาไหน บ้างลูกเรียนอะไรไม่เคยจบ บ้างลูกไม่ยอมทำอะไรเลย บ้างลูกหนีไปทำอะไรไร้สาระไม่ยอมกลับมาช่วยพ่อแม่ดูแลหรือดำเนินกิจการต่อ ทิ้งให้พ่อแม่ต้องลำบากเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์จนมีแนวโน้มว่าพ่อแม่คงจะต้องตายคาทรัพย์นั้น ดังนั้นปัญหานี้มันเป็นปัญหาของยุคสมัย ไม่ใช่ว่าเป็นปัญหาของคนรวยหรือคนไม่รวย
ทำไมยุคสมัยนี้ จึงมีปัญหาอย่างนี้ ผมไม่อาจจะทราบได้ ได้แต่เดาเอาว่าการที่คนรุ่นเราขยันคิดและขยันทำทำให้เราทำอะไรทางด้านวัตถุไว้มากเกินไป มากเกินความจำเป็น มากจนแทบจะทำให้โลกนี้เละจวนเจียนจะอยู่ไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าคนรุ่นใหม่จะขี้เกียจแบบเอาง่ายเข้าว่า นั่งเล่นคอมมันทุกวัน กินข้าวบ้างไม่กินบ้าง ไม่สร้างสรรค์หรือสะสมอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลยทั้งชีวิต ทำอย่างนี้กันเสียสักหลายๆชั่วอายุคน โลกนี้มันอาจจะดีขึ้นและน่าอยู่ขึ้นก็ได้นะ ผมมองว่าคนรุ่นเราเป็นรุ่นที่หลงทาง หลงไปสร้างเสริมวัตถุนอกตัว หลงไปคิดว่าตัวเองจะควบคุมสิ่งแวดล้อมและสังคมนอกตัวได้ซึ่งความเป็นจริงก็คือเราคุมไม่ได้ ชีวิตของคนรุ่นเราจึงไม่ได้พบกับความสุขสงบจากภายใน เพราะตัวของเราเองคือกายและใจของเราซึ่งเป็นที่ที่เราจะค้นพบความสุขสงบจากภายในได้นี้เราไม่เคยสนใจที่จะเรียนรู้ เราก็เลยมีชีวิตที่ลำบากและทุเรศ คือลำบากเรื่องทำมาหากินกันทั้งชาติ สะสมวัตถุไว้ครอบครองมากแล้วก็จริง แต่ชีวิตก็ยังมีแต่ความอยาก คนรุ่นใหม่พวกเขาคงเห็นว่าชีวิตของพ่อแม่เป็นชีวิตที่ลำบากและทุเรศมั้ง และพวกเขาคงตัดสินใจได้เลยว่าพวกเขาจะไม่มีชีวิตแบบนี้ อะไรที่คนรุ่นเราว่าดีเขาจึงตีความได้ทันทีว่ามันไม่ดี นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้โลกในอนาคตดีขึ้นก็ได้ นี่เป็นแค่การเดาของหมอสันต์ ผิดถูกอย่างไร อีกหลายชั่วอายุคนข้างหน้าคนรุ่นโน้นคงจะได้เห็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
กรุณาแนะนำทางสว่างให้ด้วยค่ะ ดิฉันเป็นแม่ ที่มีลูก 3 คน อายุ 23 ปี 21 ปี และ 19 ปี สามีทำงานส่วนตัวรายได้เพียงแค่พอใช้จ่ายต่อเดือน ไม่มีเงินเก็บ ตอนนี้เหมือนอยู่ในวังวนของความทุกข์ทั้งเรื่องรายได้ และเรื่องลูก แต่จะหนักไปเรื่องลูกเสียส่วนใหญ่
ลูกคนโต และลูกคนกลางสอบเข้าเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยต่างจังหวัดทั้ง 2 คน คนโตเรียนอยู่ 3 ปี แต่ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จึงขอลาออก อยู่ว่าง ๆ 1 ปี คนกลางโดนรีไทร์มา 2 ครั้งแล้ว ทั้งสองคนเพิ่งมาสมัครลงเรียนมหาวิทยาลัยเปิด แต่เหมือนลูกไม่มีความตั้งใจจะเรียน อาจจะสมัครไปอย่างนั้นตามที่พ่อแม่แนะนำ คุยกับเค้าเรื่องเรียนว่าจะทำอย่างไรต่อ ถ้าไม่เรียนก็ทำงาน เค้าก็ยังยืนยันว่าเค้าจะสมัครเข้าเรียนคณะวิศวะใหม่ ดิฉันค่อนข้างเครียดมากค่ะเรื่องลูก เพราะ
1. เพื่อนที่เรียนมัธยมมาด้วยกันก็เริ่มเรียนจบมีงานทำ แต่ลูกเรามาเริ่มปี 1 ใหม่ แล้วยังไม่ตั้งใจในการเรียนอีก (ทั้งสองคนไม่มีพฤติกรรมเกเร อาจมีเที่ยวกลางคืน สูบบุหรี่บ้าง เพียงแต่ดูเฉื่อยชา ไม่มีเป้าหมายในชีวิต) ทั้งสองคนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตและสื่อโซเชียลต่าง ๆ ค่อนข้างมาก เรียกว่า เกือบตลอดเวลา ดิฉันเห็นแล้วเหนื่อยใจค่ะ
2. ลุูกทั้งสองคนยังอยากสมัครเข้าเรียนวิศวะใหม่อีก ทั้ง ๆ ที่เคยให้โอกาสเรียนปี 1 ใหม่แล้วคนละ 2 ครั้ง แต่ลูกยังอยากจะเรียนสาขาเดิม คณะเดิมอีกแล้วจะไหวเหรอคะ พ่อแม่เองก็พูดกับเค้าหลายครั้งทั้งเรื่องเรียน เรื่องค่าใช้จ่าย (คนที่ 2 กู้ กยศ.) เคยบอกเค้าว่าเรียนคณะ สาขาใดก็ได้ หรือจะทำงานสายอาชีพก็ให้ไปเรียนทางวิชาชีพเลยก็ได้
3. ฐานะทางบ้านไม่พร้อมที่จะสนับสนุนเค้าโดยไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าเรื่องเวลา หรือค่าใช้จ่าย และตอนนี้คนเล็กก็เรียน ปี 1 เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่รวมค่าเทอมโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 10,000 บาท ต่อคน เพราะต้องจ่ายค่าหอพัก น้ำไฟด้วย ด้วยรายได้อย่างนี้ดิฉันไม่มั่นใจว่าจะส่งเค้าเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง
ดิฉันกังวลมากกับอนาคตของพวกเค้า ว่าจะดูแลตัวเองได้อย่างไร อดีตดิฉันอาจเคยคาดหวังว่าลูก ๆ คงจะดูแลพ่อแม่ได้บ้าง แต่ตอนนี้เหมือนความหวังลางเลือน ไหนจะห่วงชีวิตของตัวเองในวัยเกษียณ ยังต้องห่วงกับชีวิตของลูกอีก
อยากขอคำแนะนำจากคุณหมอค่ะว่า ดิฉันควรจะทำอย่างไรจึงจะคลายความทุกข์ใจลงไปได้บ้าง
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
................................................................
ตอบครับ
นิยามของการเป็นพ่อแม่ตามภาษาของหมอสันต์ก็คือว่าคุณมีความตั้งใจจะทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครรู้มาก่อนเลยว่าหากจะทำให้ดีที่สุดต้องทำอย่างไร แม้คนมีลูก 12 คน เลี้ยงมาดีๆ 11 คน นึกว่ารู้ดีแล้ว แต่ก็มาตกม้าตายเอาคนที่ 12 จนได้
"..อามิตตาภะ..พุทธะ"
สาเหตุที่ไม่มีใครรู้สักคนว่าการจะเลี้ยงลูกให้ได้ดีที่สุดต้องทำอย่างไรนี้ ก็เพราะแม้แต่ตัวพ่อแม่เองก็ยังไม่รู้เลยว่าการเกิดมาเป็นคนนี้ แท้จริงแล้วเรามีความประสงค์สุดท้ายอะไร เมื่อไม่รู้ว่าการเป็นคนที่สมบูรณ์แบบนี้มันต้องมีหน้าตาอย่างไร แล้วเราจะไปปั้นลูกให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้อย่างไรละครับ
พูดถึงตรงนี้ขอนอกเรื่องนิดหนึ่ง สมัยผมอายุ 15 ปี เรียนหนังสือชั้น มศ.3 ผมเคยทำฟาร์มเลี้ยงไก่เล็กๆเก็บไข่ขายที่หลังบ้านพ่อแม่ของผมเอง ผมรู้ว่าในชั่วชีวิตหนึ่งของการเป็นไก่ที่สมบูรณ์แบบนี้ เป้าหมายของการเกิดมาเป็นไก่คืออะไร ซึ่งก็คือการหากินเองเป็น แล้วเติบโตงอกงามจนขนเต็มตัว (full-fledged) แล้วก็ได้พบกับคู่ ผสมพันธุ์ออกไข่บ้าง ฟักไข่บ้าง แล้วก็แก่ตายไป เป้าหมายของการเป็นไก่ผมมั่นใจว่ามีแค่นี้ ผมไม่คิดว่าจะมีเป้าหมายอะไรสูงส่งกว่านี้สำหรับการเกิดมาเป็นไก่ครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะไก่บ้านหรือไก่ป่าก็คล้ายกัน เพราะทุกวันนี้ที่บ้านบนเขามวกเหล็กข้างหลังบ้านเป็นป่าและมีไก่ป่าอยู่หลายตัว ความที่ตัวเองชอบไก่ ผมแอบดูชีวิตของพวกมันก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้
แต่สำหรับการเกิดมาเป็นคน มีใครรู้เบ็ดเสร็จบ้างว่าการเกิดมาเป็นคนนี้เราคาดหวังว่าควรจะบรรลุอะไรบ้าง ลองคิดดูสักหน่อยสิ เป็นโจทย์ที่ไม่ยากนะ แต่คนเราส่วนใหญ่ก็คิดได้แค่ว่าเป้าหมายคือขอให้ทำได้เท่ากับไก่ก็พอแล้ว คือขอให้ทำมาหากินด้วยตัวเองได้ หาคู่ผสมพันธ์ ออกไข่ เอ๊ย ไม่ใช่ ออกลูก แล้วก็แก่ตายไป โดยเน้นที่ให้ทำมาหากินได้ก่อน คือเน้นที่การอยู่รอดหรือ survival mode แม้มนุษย์เราจะเจริญทางวัตถุมากกว่าสมัยอยู่ถ้ำแล้ว แต่ survival mode ก็ยังเป็นเป้าหมายทั้งหมดของชีวิตอยู่นั่นเอง แถมเราจะโง่ลงในแง่ที่กะอีแค่จะหากินได้เองเราดันพากันไปหาวัตถุที่กินไม่ได้กันมากเสียจนทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากโดยที่นกหนูกาไก่มันก็หากินของมันได้เองโดยไม่ต้องทำให้ชีวิตมันยุ่งยากอย่างนี้เลย
ที่ว่าแค่จะหากินก็ไปทำให้มันยุ่งยากก็อย่างเช่น น้องที่ทำงานกับผมที่มวกเหล็กคนหนึ่งเล่าว่าเลิกงานแล้วเธอไปทำงานร้านขายของชำในชนบทให้พ่อแม่ของเธอ ลูกค้าสำคัญส่วนหนึ่งของเธอคือเด็กนักเรียนชั้นป.1-6 เพราะร้านเธออยู่ใกล้ที่จอดรถสองแถวของหมู่บ้าน สินค้าหลักที่ขายให้เด็กป.1-6 เหล่านั้นคือการเติมเงินโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เรียกว่าลูกค้าเด็กนักเรียนประถมตัวน้อยๆเข้าแถวเติมเงินกันยาวเหยียดทุกวัน เงินที่ใช้ก็คือค่าขนมที่พ่อแม่ให้มานั่นแหละ เห็นไหมครับว่านี่แค่ป.1-6 นะชีวิตมันซับซ้อนเสียแล้ว แค่เป้าหมายที่จะหากินได้เองให้ได้ดีเทียบเท่ากับไก่เท่านั้นแหละ เราสอนลูกให้ไปตั้งต้นที่การฝึกใช้สมาร์ทโฟนโน่น
กลับมาเข้าเรื่องของเราดีกว่า ประเด็นแรกคือความทุกข์ของคุณแม่ การจะปลดทุกข์นี้คุณแม่ต้องมีในใจก่อนว่าชีวิตนี้เกิดมาคุณแม่อยากจะบรรลุอะไร ความคาดหวังที่คุณแม่คาดหวังจะบรรลุคืออยากให้ลูกเรียนจบมีงานทำแล้วกลับมาเลี้ยงดูพ่อแม่น้้น ขอโทษนะ..คุณแม่ครับ มันเป็นความคาดหวังบนสิ่งนอกตัวของเราซึ่งเราไม่มีอำนาจไปควบคุมบังคับได้ มันต้องจบลงด้วยความผิดหวังแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะขนาดคาดหวังกับใจของเราที่เราควบคุมบังคับเองได้แท้ๆยังต้องมีลุ้นเลย แล้วนี่ไปคาดหวังเอากับคนอื่นซึ่งเป็นสิ่งนอกตัวที่เราบังคับไม่ได้เลย มันจะไม่ผิดหวังได้อย่างไร
ผมแนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนความคาดหวังในชีวิตเสียใหม่ ว่าให้คาดหวังที่จะให้ชีวิตนี้มีความสุขสงบจากภายในตนเอง (inner peace) ก็พอแล้ว ส่วนเรื่องลูกเต้า สามี เงินทอง ทรัพย์สมบัตินั้น คุณแม่อย่าไปตั้งความคาดหวังเลย ถ้าคุณเห็นด้วยกับผม ผมจึงจะพอมีคำแนะนำให้คุณได้
คำแนะนำของผมให้คุณทำเป็นขั้นๆดังนี้
ขั้นที่ 1. วางเรื่องนอกตัวไว้ก่อน หันมาสนใจเรื่องภายในตัวเอง หันเหความสนใจจากภายนอกสู่ภายใน ภายในร่างกายยาวหนึ่งวาหนาหนึ่งคืบที่มีความทรงจำและความคิดอยู่ด้วยนี่แหละ เอาแค่นี้พอ โดยจะมีสี่ขั้นตอนย่อยดังนี้
1.1 ให้ยอมรับทุกอย่างที่คุณมีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบันเสียก่อน ยอมรับมันอย่างไม่มีเงื่อนไข ยอมรับมันเสมือนว่าคุณทำมันขึ้นมาด้วยมือของคุณเอง ยอมรับแบบศิโรราบ ไม่ต้องไปมีข้อแม้ว่าถ้าลูกเป็นอย่างนี้ ถ้าสามีมีรายได้อย่างนี้ ให้ยอมรับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นี้ 100% ก่อน
1.2 ให้เริ่มสนใจที่จะแยกจิตสำนึก (consciousness) ออกมาจากความคิด (thought) ของเราเอง ทุกลมหายใจเข้าออกให้หัดมองดูความคิดของตัวเอง นี่เป็นตัวเรา (จิตสำนึก) กำลังมองดูความคิด (ซึ่งไม่ใช่ตัวเรา) วิธีมองความคิดแบบนี้เรียกว่า aware of a thought รู้สึกว่าผมจะเคยเขียนตอบคำถามใครคนหนึ่งไปไม่นานก่อนหน้านี้ คุณหาอ่านดูได้ (http://visitdrsant.blogspot.com/2016/10/blog-post.html) คือมองที่ไรก็มองเฉยๆแบบไม่พิพากษา จนความคิดนั้นฝ่อหายไปทุกที
1.3 แล้วก็หันเหจิตสำนึกจากการคิด (thinking a thought) จากเดิมที่คิดโน่นคิดนี่ซึ่งล้วนเป็นเรื่องลบๆในอดีตหรือไม่ก็ในอนาคต ให้หันมาสนใจปัจจุบันขณะ กล่าวคือสนใจว่าตาดูอะไรอยู่ หูฟังอะไรอยู่ ผิวหนังรับสัมผัสร้อนเย็นหรือลมพัดอยู่นะ เป็นต้น อยู่กับปัจจุบัน สนใจรับรู้ตามที่มันเป็น ไม่ไปคิดใส่สีตีไข่ต่อยอด ไม่ไปคิดถึงอดีตอนาคต
1.4 เมื่อใจเริ่มปลอดความคิดและอยู่กับปัจจุบันได้แล้ว ให้เริ่มใช้จิตสำนึกไปสัมผัสรับรู้ (feel) พลังงานธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในร่างกาย อาจจะเริ่มไปตามอวัยวะก่อนก็ได้ เช่นตั้งใจสังเกตที่ฝ่ามือ รับรู้ไออุ่นที่ฝ่ามือ นั่นแหละพลังงานภายในของร่างกาย บางที่นอกจากความรู้สึกอุ่นๆร้อนๆแล้วก็อาจจะเป็นความรู้สึกยิบๆๆ หรือเหน็บๆชาๆ หรือหากยังรับรู้ไม่ได้ก็เอาส่วนง่ายๆเช่นลมหายใจเข้าออกก่อน จนใจสงบแล้วค่อยรับรู้พลังงานภายในของร่างกาย หรือจะฝึกรำมวยจีนก็ได้ เพราะพลังงานในร่างกายก็คือ "ชี่" ในวิชารำมวยจีนหรือชี่กงนั่นเอง ฝึกสนใจรับรู้พลังงานภายในของร่างกายผ่านอวัยวะรับความรู้สึกตามอวัยวะต่างไปทั่ว ตัวจนสามารถรับรู้พลังงานนี้ได้ว่ามันเป็นกลุ่มพลังงานที่เชื่อมโยงถึงกันหมดทั่วตัวเรา ต้องใส่ใจที่จะรับรู้พลังงานภายในร่างกายนี้ให้ได้นะ เพราะมันจะเป็นประตูพาคุณไปสู่ความสุขสงบภายใน ขอให้เชื่อผม ฝึกไป แล้วคุณจะรู้เอง พอคุณอยู่กับปัจจุบันได้ รับรู้พลังงานภายในร่างกายได้ เข้าถึงความสงบสุขภายในตัวได้ นั่นหมายความว่าคุณเอาตัวเองรอดได้แล้ว คราวนี้เรื่องอื่นๆนอกตัวก็จะกลายเป็นเรื่องสะเต๊ะ
ขั้นที่ 2. เมื่อเราเอาตัวเราเองรอดแล้ว คราวนี้เราก็มาช่วยลูกและสามี เวลาคุยกับลูก ให้คุยจากพลังงานภายในร่างกาย คุยจากความสุขสงบภายใน ไม่ใช่แว้ดออกมาจากความคิด สำคัญนะ อย่าคุยกับลูกจากความคิดซึ่งนั่นไม่ใช่ตัวคุณ แต่ให้คุยกับลูกจากความสุขสงบภายใน ณ ปัจจุบันขณะซึ่งเป็นตัวคุณ คุยกับลูกด้วยเมตตาธรรม เนื้อหาที่คุยก็คือกางแผนการใช้เงินในสี่ปีข้างหน้าออกมาเลย ว่าเงินเกือบทั้งหมดจะต้องใช้ส่งน้องสุดท้องเรียนถ้าเขาเรียนไม่ตก ส่วนพี่สองคนได้ใช้เงินไปมากแล้ว ถึงลูกอยากจะเรียนต่อ พ่อแม่ก็ส่งต่อไม่ไหวแล้ว ขอให้หยุดเรียนไปหางานอะไรก็ได้ทำ ถ้าอยากจะเรียน ก็ต้องไปหาเงินยังชีพเอง ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ไม่เรียนก็ไม่เป็นไร คนตั้งมากมายเขาไม่ได้เรียนจบมหาลัยเขาก็มีชีวิตอยู่อย่างพึ่งตัวเองและมีความสุขได้ พ่อแม่ไม่ได้คาดหวังอะไรมากไปกว่าให้ลูกพึ่งตัวเองได้แล้วพ่อแม่ก็จะตายตาหลับ ไม่ต้องกลับมาเลี้ยงดูพ่อแม่ก็ไม่เป็นไร
คุณไม่ต้องแปลกใจที่ลูกจะตีโพยตีพายประท้วง แต่ไม่มีเงินก็คือไม่มีเงิน ยากจนก็คือยากจน ไม่มีอะไรซับซ้อนกว่านั้น แค่ยืนหยัดอยู่กับความจริง ไม่มีการกู้หนี้ยืมสินมาเอาใจลูกอีกต่อไปแล้ว อาจจะปลอบลูกว่าเรามาสู้กับความยากจนด้วยกันเถอะ ซึ่งมันจะฟังดูแปลกหูมากสำหรับลูกเพราะไม่เคยได้ยิน และอย่าแปลกใจที่ลูกจะหนีความจริงโดยการปักหลักอยู่ในห้องนอนและเล่นคอมเป็นเดือนๆไม่ยอมออกจากบ้านไปไหน ก็ช่างเขา คุณเลี้ยงดูเขาต่อไปตามกำลังที่แม่จะทำให้ลูกได้ คิดเสียว่ายังดีกว่าแม่คนอื่นที่มีลูกพิการต้องป้อนข้าวป้อนน้ำเช็ดฉี่เช็ดอึ นี่ลูกเรายังเดินมาเปิดตู้เย็นหากินเองได้ก็ยังดีกว่า ให้เวลาพวกเขาสั่งสมพลังบวกและรวบรวมความกล้า ซึ่งอาจใช้เวลาเป็น 10 ปีหรือ 20 ปี หรือนานกว่านั้นก็ช่างเขา คุณก็ทำอาหารน้อยๆหน่อย ทำของถูกๆแต่ดีเช่นผักหญ้าต่างๆให้เขากิน ให้เขากินขาดๆอิ่มๆ ไม่ต้องอิ่มแปร้ทุกวันเพราะอาหารของคนเราทุกวันนี้มันมากเกินไปจนทำให้สุขภาพเสียอยู่แล้ว และอย่าให้เงินพวกเขาใช้แบบฟรีๆเป็นอันขาด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นนอกเหนือปกติเช่นเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งหมดนี้ให้ทำไปจากจิตใจที่เชื่อมโยงพลังงานภายในร่างกายของตัวคุณเองและกับความสุขสงบภายในใจตัวเอง และความเมตตาต่อลูก วันไหนสบโอกาสคุณก็กอดพวกเขาให้ความรักแก่พวกเขา ไม่มีการประชดประชันดุด่าหรือเรียกร้องบุญคุณ แล้วเดี๋ยวเมตตาธรรมของคุณจะทำให้ลูกๆเขาค่อยๆเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาเองด้วยตัวเขาเอง แต่ตัวคุณก็อย่าไปเฝ้ารอ อย่าไปเฝ้าลุ้นนะ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ถึงลูกเขาจะทำตัวเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขาไม่ยอมทำอะไรตราบจนถึงวันที่คุณตายก็ช่างเขาเถอะ ไม่ต้องห่วง เพราะแม้แต่หมาแมวมันยังมีปัญญาหากินของมันได้เมื่อมันหิว คุณตายไปอย่างไรเสียลูกของคุณก็ต้องมีปัญญาหากินของเขาเองจนได้แหละ แต่ที่พวกเขาไม่ทำตอนนี้เพราะพวกเขายังมีคุณทำให้อยู่
คุณอาจคิดพิลาปรำพันว่ามันเป็นกรรมอะไรหนอทำให้ลูกเราเป็นอย่างนี้ ผมบอกคุณได้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่ประสบปัญหานี้ในยุคนี้ ในยุคสมัยก่อนที่คนรุ่นคุณยังเป็นลูก พ่อแม่พร่ำสอนให้คุณมีความกตัญญู มีความรับผิดชอบและบังคับให้ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน วิธีสอนแบบนั้นทำให้ได้ลูกแบบตัวคุณ ซึ่งว่าไปแล้วก็เกือบสมบูรณ์แบบ ขาดอยู่นิดเดียวคือในใจส่วนลึกมันคอยแต่จะคิดย้อนอดีตว่าชีวิตในวัยเด็กมันช่างโหดร้ายทารุณและไม่สนุกสนานเอาเสียเลย คุณจึงมีความตั้งใจลึกๆว่าถ้าคุณมีลูกของตัวเอง จะไม่ทำให้พวกเขาต้องลำบากในวัยเด็กอย่างที่คุณเคยโดน จะไม่ทำให้พวกเขาต้องมีวัยเด็กที่โหดร้ายทารุณ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากความคิดแบบนั้นก็คือลูกของคุณตอนนี้เนี่ยไง คือได้คนแบบไม่รู้สึกว่าจะมีอะไรลำบากเลยในชีวิตนี้ เฉยไว้ เดี๋ยวความช่วยเหลือก็จะมาเอง ปัญหาอะไรยากก็ไม่ต้องแก้ เพราะไม่เคยแก้ ไม่รู้วิธีแก้ และไม่รู้จะแก้ไปทำไม เพราะชีวิตที่ผ่านมาไม่ต้องแก้ปัญหาก็ไม่เห็นจะมีอะไร เดี๋ยวพ่อแม่ก็แก้ให้หมด ไม่มีเงินพ่อแม่ก็กู้มาให้ ไม่มีข้าวกินเดี๋ยวพ่อแม่ก็หามาให้กิน ลูกของคนอื่นบางคนเขาเล่าให้ผมฟังว่าตัวคุณแม่ไม่สบาย ลูกชายพาแฟนมาบ้าน ไม่ได้จะมาเยี่ยมคุณแม่หรอก จะพาแฟนมากินข้าว แต่พอคุณแม่ไม่ได้ทำอาหารไว้เพราะคุณแม่ไม่สบาย ลูกก็ตัดพ้อต่อว่าว่าอุตสาห์พาแฟนมากินฝีมือคุณแม่แต่ไม่ได้กิน ได้พูดตัดพ้อต่อว่าคุณแม่แล้วตัวคุณลูกสบายใจ แต่คุณแม่ฟังแล้วน้ำตาร่วงว่าตัวเองไม่สบายลูกยังคาดหวังว่าแม่จะต้องบริการรับใช้อีกหรือนี่ นี่คือรูปแบบพิมพ์นิยมของการมีลูกสมัยนี้ จะว่าเป็นกรรมก็เป็นกรรมหากกรรมหมายถึงสิ่งที่เราทำไว้ในอดีต เราเลี้ยงเขาไม่ให้ได้พบกับความโหดร้ายทารุณของความรับผิดชอบ เพราะเป็นสิ่งที่เราเองไม่ชอบจึงไม่อยากให้ลูกได้รับ แต่ความคิดอย่างนั้นทำให้ได้ลูกอย่างที่เราได้มาตอนนี้นี่ไง
คุณเป็นตัวอย่างของคุณพ่อคุณแม่ส่วนที่มีฐานะไม่ได้ร่ำรวย ผมจะเล่าให้ฟังนะว่าผู้ป่วยของผมเองจำนวนมากที่เป็นคนร่ำคนรวยแล้วทุกคนก็มีปัญหาว่าทุกคนต่างก็มีลูกที่ไม่เอาไหน บ้างลูกเรียนอะไรไม่เคยจบ บ้างลูกไม่ยอมทำอะไรเลย บ้างลูกหนีไปทำอะไรไร้สาระไม่ยอมกลับมาช่วยพ่อแม่ดูแลหรือดำเนินกิจการต่อ ทิ้งให้พ่อแม่ต้องลำบากเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์จนมีแนวโน้มว่าพ่อแม่คงจะต้องตายคาทรัพย์นั้น ดังนั้นปัญหานี้มันเป็นปัญหาของยุคสมัย ไม่ใช่ว่าเป็นปัญหาของคนรวยหรือคนไม่รวย