ไม่ได้เกียรตินิยม แล้วชีวิตจะเป็นยังไงต่อ
เอ่อ สวัสดีครับ อาจารย์สันต์
ผมมีเรื่องจะมาเรียนปรึกษาอาจารย์ครับ แต่พอจะเป็นไปได้ไหมครับที่จะตอบเป็นการส่วนตัว เพราะจริงๆ ผมอยากได้ opinion จากแพทย์รุ่นพี่ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าผม และเป็นอาจารย์แพทย์ เพราะอยากปรึกษาเรื่องเรียนต่อตอนเป็นแพทย์ประจำบ้าน (ส่วนตัวประทับใจกับบทความที่อาจารย์เขียนมากครับ เพราะเคลียร์ และเขียนจากความเข้าใจตัวคนที่โดนหรือประสบเหตุการณ์แบบนั้นจริงๆ ไม่ได้ตอบแบบโลกสวยอ่ะครับ)
ผมตอนนี้ทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนปีที่...อยู่ที่.... แต่ว่าสมัยที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 6 ได้ผลการประเมินว่าตกวิชา... ซึ่งตัวผม เพื่อน และรุ่นพี่resident รวมถึงอาจารย์ที่สนิทกันต่างก้อตกใจมากกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะทุกคนต่างก็รู้ว่าผมอยากเรียนต่อสาขานี้ และความรู้ดีมากในด้านนี้ การถูกประเมินว่าตกจึงเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของผมมาก ทั้งๆ ที่ผลการเรียนก็ดี (3.8)
ตอนผมกลับมาผมได้ขอดูคะแนนของผม จึงได้รู้ว่าเป็นเพราะคะแนนปฏิบัติงานซึ่งประเมินโดยอาจารย์โรงพยาบาลสมทบสอน ซึ่งประเมินลักษณะที่แบบแย่มาก ประกอบกับไม่มีเหตุผลชี้แจงใดๆว่าทำไมถึงได้รับการประเมินลักษณะนั้น เรื่องอื่นๆก็ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเราทำได้แย่อย่างไรเมื่อเทียบกับเพื่อนคนอื่น อาจารย์ของคณะผมเขาโทรไปคุยให้ แต่อาจารย์คนนี้ก็ยืนกรานคำเดิมว่าจะให้คะแนนเท่านี้ ไม่ได้ชี้แจงเหตุผมเพิ่มเติมใดๆ
ผมไม่อยากขึ้นศาลปกครองครับ เพราะเท่าที่ไปค้นมากับปรึกษานักกฎหมาย โอกาสที่เราจะชนะก็น้อย เพราะเขาก้ออ้างได้ว่านี่เป็นแค่กฎที่ควรจะทำ แต่ก็ต้องประยุกต์ตามสถานการณ์ เวลา สถานที่ด้วย (เหมือนเขาสามารถเขียนกฎเพิ่มได้เองอ่ะครับ) ประกอบกับถ้าจะเรียนต่อเรสิเด้นที่ประเทศไทย การที่เรามีประวัติแบบนี้อยู่ ก็คงยากอ่ะครับในการไปสมัครแพทย์ประจำบ้านที่อื่น
ตอนนี้ผมได้ซ่อมจนได้รับการประเมินเป็นผ่าน และจบมาทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนเรียบร้อยแล้วครับ แต่ผมมีสิ่งที่อยากเรียนถามอาจารย์ ได้แก่
1. ผมอยากสอบ USMLE ครับ และเตรียมตัวสอบอยู่ จากที่ผมลองไปค้นข้อมูลทั้งของ fb กลุ่ม USMLE for Thai physician, ตัว website อาจารย์เอง ผมทราบว่า ทาง USMLE ไม่สนใจเกรด หรือคะแนนใดๆ ที่ประเทศไทย สนแต่คะแนนของ USMLE เอง แต่มันพอจะมี bias ตอนสัมภาษณ์ไหมครับแบบว่าเราได้เกรดสูงเป็นที่ต้นๆ ของ class (ผมได้เฉลี่ยรวมประมาณ 3.80) ตาม MPSE (Medical Student Performance Evaluation) แต่กลับไม่มีเกียรตินิยมเลย
2. ถ้าผมกลับมาเรียนต่อที่ประเทศไทยแทน ผมคงไม่กลับมาเรียนสถาบันแม่ของผมแล้ว เพราะรู้สึกไม่มีความสุขกับการกระทำที่ไม่ยุติธรรมขนาดนั้น มันคงจะมีความรู้สึกแปลกแบบเหมือนมีอาจารย์คอยจ้องตลอดเวลาอ่ะครับ (ถ้าผมได้สัมภาษณ์ผ่านนะครับ) ก็เลยอยากจะเรียนต่อที่อื่นมากกว่า อยากทราบว่าการเรียนต่อเรสิเด้นท์ ตัวเกียรตินิยมมีความหมายในการคัดเลือกขนาดนั้นไหมครับ ผมควรจะไป fit profile อย่างอื่นยังไงดีครับ ผมไม่ได้อยากเรียนสาขาอื่น ผมยังชอบสาขานี้เหมือนเดิม เพราะชอบเนื้อหาวิชานี้มาก ถ้าผมจะเกลียดคงเกลียดแค่คนที่ประเมินผมมากกว่าอ่ะครับ ซึ่งเกลียดไปก็ทำอะไรเขาไม่ได้อยู่ดี
3. อาจารย์ครับ ผมจะมีวิธีทำใจยังไงบ้างอ่ะครับที่เราจะไม่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 เหมือนกับเพื่อนคนอื่น มันจะมีผลต่อชีวิตการเรียนต่อ หรือการทำงานมากไหมครับ
4. ผมควรที่จะทำยังไงต่อเรื่องการตามเรื่องอ่ะครับ ผมอยากจะเดินเรื่องต่อให้สุดทาง จนผมบอกกับตัวเองได้ว่า ผมทำเต็มที่แล้วนะ ผมจะได้ไม่กลับมาเสียใจทีหลังว่าทำไมถึงไม่ทำให้หมด
5. ส่วนตัวผมปลงแล้วกับระบบการเรียนแบบนี้ คณะที่ผมอยู่เป็นคณะที่ conservative มาก (อาจารย์น่าจะรู้แล้วแหล่ะครับ ขอโทษทีนะครับ) บางครั้งมากจนเกินไป และมองว่าเรื่องแค่นี้ เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ แค่คนสิบกว่าคนเอง มันก็เกิดทุกปีอยู่แล้ว ไม่มีระบบไหนที่ perfect ทุกอย่างหรอก แต่สำหรับผม มันเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจมาก เพราะนี่เป็นวิชาที่เรารักที่สุด ถนัดที่สุด ทำได้ดีที่สุด การได้การประเมินแบบนี้ มันทำให้ผมรู้สึกไม่มั่นใจเลยว่าเรามีความสามารถจริงๆ หรือเปล่า จากประสบการณ์ของอาจารย์เคยมีคนที่ fail ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ แล้วเป็นแพทย์ที่เก่งในสาขานั้นๆ ไหมครับ แล้วเขาทำอย่างนั้นได้เพราะอะไรอ่าครับ
ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ
ปล ขอโทษด้วยที่รบกวนอาจารย์ครับ
.........................................................................
ตอบครับ
จดหมายของผู้ป่วยที่จั่วหัวว่าขอถามเป็นการส่วนตัวมีเข้ามาแยะมาก ผมทิ้งไปหมดเพราะไม่มีเวลาอธิบายซ้ำซาก แต่ของคุณหมอผมไม่ทิ้ง เพราะผมให้ความสำคัญกับปัญหาของน้องๆที่เพิ่งเข้ามาสู่อาชีพแพทย์เป็นพิเศษ จึงหยิบมาตอบ และถือเป็นโอกาสนี้อธิบายกับแฟนบล็อกหมอสันต์ซ้ำอีกครั้งว่าผมไม่ตอบคำถามหรือรับปรึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเป็นการส่วนตัว เพราะที่ตอบจดหมายอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพื่อเปิดคลินิกรักษาโรคทางไปรษณีย์ แต่เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะ (public education) ตัวจดหมายเป็นเพียงสื่อการสอนที่จะพาไปสู่คำอธิบายที่ผู้ป่วยทั่วไปจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเองได้ จึงจะตอบทางบล็อกทางเดียวเท่านั้น โดยผมรับปากว่าจะตัดทอนเนื้อหาจดหมายและปิดบังข้อมูลที่จะทำให้สืบสาวไปหาตัวผู้ถามได้เสียทั้งหมด
อีกประเด็นหนึ่งที่จะขออนุญาตซักซ้อมความเข้าใจตรงนี้ซ้ำก็คือทุกวันนี้มีจดหมายถามเรื่องการเจ็บป่วยเข้ามามาก แต่ผมมีเวลาตอบน้อย จดหมายจำนวนมากจึงถูกทิ้งไปเดือนละหลายร้อยฉบับ ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ดี เพราะในหนังสือสมบัติผู้ดีสมัยก่อนที่ผมเคยเรียนตอนเป็นเด็ก มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่าผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย แต่ผมสารภาพว่าผมทำตัวเป็นผู้ดีไม่ไหวเพราะผมไม่มีเงิน..เอ๊ย ไม่ใช่ พูดผิด พูดใหม่ เพราะผมไม่มีเวลา ตรงนี้ผมต้องกราบขออภัยท่านเจ้าของจดหมายเหล่านั้นไว้ด้วย
คราวนี้มาตอบคำถามของน้องหมอท่านนี้ไปทีละข้อนะ
1..ถามว่าถ้าอยากไปฝึกอบรมเมืองนอก สอบ USMLE ผ่านข้อเขียนแล้ว จะไปตกสัมภาษณ์เพราะไม่ได้เกียรตินิยมไหม ตอบว่าไม่หรอกครับ เพราะการสอบสัมภาษณ์ กรรมการเขาจะมีโครงสร้างประเด็นที่จะตรวจวัดไว้ล่วงหน้าเขียนเป็นโผไว้ในมือหมดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทักษะการสื่อสาร เจตคติต่ออาชีพ และวุฒิภาวะของผู้เข้าสอบ แต่ถ้าผมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์คุณแล้วคุณเผลอโอดครวญกับผมว่าคุณควรจะได้เกียรตินิยมแต่ไม่ได้ ผมจะให้คุณสอบตกทันทีเพราะคุณแสดงความไม่มีวุฒิภาวะให้เห็น
2.. ถามว่าควรจะไป fit profile ยังไงดีจึงจะสอบเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านในเมืองไทยได้ ตอบว่าเหตุที่จะทำให้สอบเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านในเมืองไทยได้เรียงตามลำดับความสำคัญ มีดังนี้
(2.1) เป็นนักศึกษาแพทย์ที่มีผลงานเข้าตาอาจารย์ในภาควิชามาก่อน และเหล่าอาจารย์หมายตาจะเอาไว้เป็นอาจารย์ของแผนก
(2.2) เป็นเด็กฝาก จากผู้ฝากที่เหล่าอาจารย์เขาเคารพนับถือและเกรงใจ พูดง่ายๆว่ามีเส้น แต่ว่าต้องเป็นเส้นที่พวกอาจารย์ส่วนใหญ่เขาเกรงใจด้วย เช่นเป็นอาจารย์ของอาจารย์อีกที ซึ่งมักจะต้องเป็นเส้นในหมู่แพทย์ด้วยกัน เส้นนอกวงเช่นเส้นทหารหรือเส้นนักการเมืองก็ไม่เวิร์ค
(2.3) กรณีจะเข้าฝึกอบรมที่สถาบันของตัวเอง ตอนเป็นนักเรียนต้องเป็นคนขยัน รับผิดชอบ และอ่อนน้อมถ่อมตนขยันเข้าหาอาจารย์จนอาจารย์ส่วนใหญ่เอ็นดูรักใคร่และจำหน้าได้
(2.4) มีต้นสังกัดส่งเข้าฝึกอบรมและเป็นผู้จ่ายเงินเดือนระหว่างการฝึกอบรมให้
(2.5) หลบไปสมัครในสถาบันฝึกอบรมที่ขาดแคลนแพทย์ประจำบ้านอย่างหนักเพราะมีเหตุพิเศษที่คนไม่ชอบไปเรียนที่นั่น
(2.6) มีหนังสือแนะนำตัวที่ดีจากคนที่อาจารย์ส่วนใหญ่ในแผนกนั้นเชื่อถือ แต่อย่าลืมว่าข้อนี้มีความสำคัญเป็นลำดับสุดท้ายนะ
3. ถามว่าไม่ได้เกียรตินิยมจะเสียหายต่อชีวิตและงานอาชีพข้างหน้ามากไหม ตอบว่าไม่มากหรอกครับ เพราะเกียรตินิยมหรือศักดิ์ศรีของสถาบันที่เราจบมา จะมีประโยชน์ต่อเราเฉพาะสามวันแรกนับจากวันที่เพื่อนร่วมงานและคนไข้เริ่มรู้จักเราเท่านั้นแหละ พอพ้นสามวันไปแล้วทั้งเพื่อนร่วมงานและคนไข้เขาจะตัดสินของเขาเองว่าเราเป็นหมอที่ได้เรื่องหรือเป็นหมอระดับ “ขี้หมา” และผมรับประกันคุณอย่างหนึ่งว่าเขาไม่ตัดสินจากเกียรตินิยมหรือจากสถาบันที่คุณจบอย่างแน่นอน แต่เขาจะตัดสินจากการเป็นคนมีความรู้ทักษะวิชาชีพดี มีจริยธรรม และโอภาปราศัย สูตรนี้ใช้ได้ทั้งการทำงานที่เมืองไทยและเมืองนอก
4. ถามว่าควรจะตามเรื่องที่ถูกอาจารย์แกล้งทำให้ตกหนึ่งวิชาจนพลาดโอกาสได้เกียรตินิยมครั้งนี้ต่ออย่างไรดี ตอบว่าให้เลิกตามซะเถอะเพราะไร้ประโยชน์ ภาษาจิ๊กโก๋เรียกว่าเขาตอกตะปูปิดฝาโลงไปแล้ว ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นอื่นได้ เพราะ (1) มองจากมุมกฎระเบียบ การให้คะแนนภาคปฏิบัติเป็นดุลพินิจของอาจารย์ผู้คุม คำว่า “ดุลพินิจ” แปลว่า “สุดแล้วแต่จะโปรด” การจะรื้อฟื้นว่าดุลพินิจของใครถูกหรือผิดต้องมีกฎหมายหรือระเบียบที่เขียนไว้ก่อนหน้านั้นชัดเจนให้อ้างอิงเทียบเคียงจึงจะรื้อฟื้นได้ แต่ในกรณีดุลพินิจในการให้คะแนนของอาจารย์นี้ ผมยังไม่เคยได้ยินว่ามีกฎระเบียบใดๆให้อ้างอิง (2) มองในเชิงการหาทางบีบให้อาจารย์เปลี่ยนใจก็ไม่มีทาง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ทุกคนย่อมมี “องค์” ยิ่งเป็นอาจารย์โรงพยาบาลสมทบสอนแม้จะดูเหมือนไม่มีองค์แต่หากถูกอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์มาบีบ องค์ของท่านจะพองขึ้นมา ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นที่รู้กันมาช้านานจนอาจารย์โรงเรียนแพทย์ไม่มีใครกล้าแหยมอาจารย์รพ.สมทบสอน เพราะกลัวจะโดนตอกกลับว่าถ้าเอ็งเก่งนักก็ตามมาสอนเองสิวะ
5. ถามว่าคนที่เคยสอบตกตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ แล้วเป็นแพทย์ที่เก่งในสาขานั้นๆมีไหม ตอบว่ามีสิครับ มีเยอะแยะไป ถามต่อว่าแล้วเขาทำอย่างนั้นได้เพราะอะไร ตอบว่าก็เพราะเขาอาศัยวุฒิภาวะของตัวเองเรียนรู้วิธีประเมินและปรับปรุงแก้ไขตัวเองแบบทำไปทีละโมเมนต์ไงครับ เราสอบตกนั่นครูประเมินเรานะ แต่ส่วนของเราก็ต้องประเมินตัวเองด้วยว่าเราสอบตกเพราะอะไร นี่พูดถึงเหตุที่ทำให้สอบตกนะ ไม่ใช่พูดถึงว่ามีความรู้ความสามารถหรือไม่มี ยกตัวอย่างคำถามในการประเมินตัวเองเช่น เราไปเหยียบตาปลาอาจารย์เข้าตอนไหนนะ เป็นต้น ประเมินแล้วสรุปสาเหตุได้แล้วเราก็แก้ไขสาเหตุนั้นเสียเพื่อให้เราสอบได้ นั่นเป็นประเด็นสอบได้หรือสอบตกซึ่งว่าไปแล้วเป็นส่วนที่ยากและเครียด ส่วนประเด็นเราจะมีความรู้ความสามารถหรือไม่มีนั้นเป็นส่วนที่ง่ายและไม่เครียด ตัวเราย่อมประเมินตัวเองและแก้ไขตัวเองได้ทุกเมื่ออยู่แล้ว และเราก็ต้องประเมินแก้ไขตัวเองอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดชีวิตแม้เมื่อหลังจากเรียนจบก็ตาม ประเมินแล้วก็แก้ไข ทำไปแบบสบายๆไม่เครียด เพราะไม่เกี่ยวกับสอบได้หรือสอบตก ไม่มีตรงไหนที่จะต้องวอรี่หรือตีอกชกหัวเลย
หมดคำถามแล้วนะ คราวนี้ให้ผมคุยกับคุณแบบพี่คุยกับน้องบ้าง คุณเรียนหนังสือเก่งควรจะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งแต่ไม่ได้ นั่นเป็นเรื่องจริงและผมเชื่อคุณ แต่ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะพูดกัน ประเด็นสำคัญก็คือในชีวิตของเรานี้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรอบตัวแยะมากและเกิดขึ้นตลอดเวลาเกิดขึ้นกับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ยิ่งแค่กฎระเบียบตัวชี้วัดอันเป็นสมมุติบัญญัติที่มนุษย์เราคิดขึ้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง มันจะมีคนแหก ถ่าง อ้อม อ้าง หรือเหยียบ ไม่เว้นแต่ละวัน คุณเติบโตมาถึงขั้นนี้แล้วขอให้คุณมองสิ่งเหล่านี้ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงตลกประกอบฉากละครเท่านั้น เพื่อจะได้เอาเวลาส่วนใหญ่ไปโฟกัสกับสิ่งที่เป็นสารัตถะจริงๆของละครเรื่องนี้ นั่นคือ ในการมาสู่อาชีพแพทย์นี้ คุณอยากจะบรรลุอะไรที่เป็นเนื้อหาสาระจริงจังบ้าง ซึ่งสืบสาวไปแล้วก็จะหนีไม่พ้นสองอย่างหลักคือ (1) การได้มีความสุขในชีวิตของตัวเอง กับ (2) การได้ช่วยเหลือคนไข้
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ ผมแนะนำให้คุณเสาะหาคุณลักษณะสองอย่างเท่านั้น คือ
(1) บ่มเพาะเมตตาธรรมให้งอกงามในใจคุณ เริ่มต้นด้วยการให้อภัยทานแก่อาจารย์ที่แกล้งทำให้คุณสอบตกก่อน
(2) เรียนรู้ที่จะชอบและสนุกกับการศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างน้อยก็ในสาขาของเรา
ขอแค่คุณมีสองอย่างนี้ผมรับประกันว่าชีวิตภายหน้าของคุณจะรุ่งโรจน์แน่นอน ไม่ต้องไปวอรี่อะไรกับเกียรตินิยมเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมมีเรื่องจะมาเรียนปรึกษาอาจารย์ครับ แต่พอจะเป็นไปได้ไหมครับที่จะตอบเป็นการส่วนตัว เพราะจริงๆ ผมอยากได้ opinion จากแพทย์รุ่นพี่ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าผม และเป็นอาจารย์แพทย์ เพราะอยากปรึกษาเรื่องเรียนต่อตอนเป็นแพทย์ประจำบ้าน (ส่วนตัวประทับใจกับบทความที่อาจารย์เขียนมากครับ เพราะเคลียร์ และเขียนจากความเข้าใจตัวคนที่โดนหรือประสบเหตุการณ์แบบนั้นจริงๆ ไม่ได้ตอบแบบโลกสวยอ่ะครับ)
ผมตอนนี้ทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนปีที่...อยู่ที่.... แต่ว่าสมัยที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 6 ได้ผลการประเมินว่าตกวิชา... ซึ่งตัวผม เพื่อน และรุ่นพี่resident รวมถึงอาจารย์ที่สนิทกันต่างก้อตกใจมากกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะทุกคนต่างก็รู้ว่าผมอยากเรียนต่อสาขานี้ และความรู้ดีมากในด้านนี้ การถูกประเมินว่าตกจึงเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของผมมาก ทั้งๆ ที่ผลการเรียนก็ดี (3.8)
ตอนผมกลับมาผมได้ขอดูคะแนนของผม จึงได้รู้ว่าเป็นเพราะคะแนนปฏิบัติงานซึ่งประเมินโดยอาจารย์โรงพยาบาลสมทบสอน ซึ่งประเมินลักษณะที่แบบแย่มาก ประกอบกับไม่มีเหตุผลชี้แจงใดๆว่าทำไมถึงได้รับการประเมินลักษณะนั้น เรื่องอื่นๆก็ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเราทำได้แย่อย่างไรเมื่อเทียบกับเพื่อนคนอื่น อาจารย์ของคณะผมเขาโทรไปคุยให้ แต่อาจารย์คนนี้ก็ยืนกรานคำเดิมว่าจะให้คะแนนเท่านี้ ไม่ได้ชี้แจงเหตุผมเพิ่มเติมใดๆ
ผมไม่อยากขึ้นศาลปกครองครับ เพราะเท่าที่ไปค้นมากับปรึกษานักกฎหมาย โอกาสที่เราจะชนะก็น้อย เพราะเขาก้ออ้างได้ว่านี่เป็นแค่กฎที่ควรจะทำ แต่ก็ต้องประยุกต์ตามสถานการณ์ เวลา สถานที่ด้วย (เหมือนเขาสามารถเขียนกฎเพิ่มได้เองอ่ะครับ) ประกอบกับถ้าจะเรียนต่อเรสิเด้นที่ประเทศไทย การที่เรามีประวัติแบบนี้อยู่ ก็คงยากอ่ะครับในการไปสมัครแพทย์ประจำบ้านที่อื่น
ตอนนี้ผมได้ซ่อมจนได้รับการประเมินเป็นผ่าน และจบมาทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนเรียบร้อยแล้วครับ แต่ผมมีสิ่งที่อยากเรียนถามอาจารย์ ได้แก่
1. ผมอยากสอบ USMLE ครับ และเตรียมตัวสอบอยู่ จากที่ผมลองไปค้นข้อมูลทั้งของ fb กลุ่ม USMLE for Thai physician, ตัว website อาจารย์เอง ผมทราบว่า ทาง USMLE ไม่สนใจเกรด หรือคะแนนใดๆ ที่ประเทศไทย สนแต่คะแนนของ USMLE เอง แต่มันพอจะมี bias ตอนสัมภาษณ์ไหมครับแบบว่าเราได้เกรดสูงเป็นที่ต้นๆ ของ class (ผมได้เฉลี่ยรวมประมาณ 3.80) ตาม MPSE (Medical Student Performance Evaluation) แต่กลับไม่มีเกียรตินิยมเลย
2. ถ้าผมกลับมาเรียนต่อที่ประเทศไทยแทน ผมคงไม่กลับมาเรียนสถาบันแม่ของผมแล้ว เพราะรู้สึกไม่มีความสุขกับการกระทำที่ไม่ยุติธรรมขนาดนั้น มันคงจะมีความรู้สึกแปลกแบบเหมือนมีอาจารย์คอยจ้องตลอดเวลาอ่ะครับ (ถ้าผมได้สัมภาษณ์ผ่านนะครับ) ก็เลยอยากจะเรียนต่อที่อื่นมากกว่า อยากทราบว่าการเรียนต่อเรสิเด้นท์ ตัวเกียรตินิยมมีความหมายในการคัดเลือกขนาดนั้นไหมครับ ผมควรจะไป fit profile อย่างอื่นยังไงดีครับ ผมไม่ได้อยากเรียนสาขาอื่น ผมยังชอบสาขานี้เหมือนเดิม เพราะชอบเนื้อหาวิชานี้มาก ถ้าผมจะเกลียดคงเกลียดแค่คนที่ประเมินผมมากกว่าอ่ะครับ ซึ่งเกลียดไปก็ทำอะไรเขาไม่ได้อยู่ดี
3. อาจารย์ครับ ผมจะมีวิธีทำใจยังไงบ้างอ่ะครับที่เราจะไม่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 เหมือนกับเพื่อนคนอื่น มันจะมีผลต่อชีวิตการเรียนต่อ หรือการทำงานมากไหมครับ
4. ผมควรที่จะทำยังไงต่อเรื่องการตามเรื่องอ่ะครับ ผมอยากจะเดินเรื่องต่อให้สุดทาง จนผมบอกกับตัวเองได้ว่า ผมทำเต็มที่แล้วนะ ผมจะได้ไม่กลับมาเสียใจทีหลังว่าทำไมถึงไม่ทำให้หมด
5. ส่วนตัวผมปลงแล้วกับระบบการเรียนแบบนี้ คณะที่ผมอยู่เป็นคณะที่ conservative มาก (อาจารย์น่าจะรู้แล้วแหล่ะครับ ขอโทษทีนะครับ) บางครั้งมากจนเกินไป และมองว่าเรื่องแค่นี้ เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ แค่คนสิบกว่าคนเอง มันก็เกิดทุกปีอยู่แล้ว ไม่มีระบบไหนที่ perfect ทุกอย่างหรอก แต่สำหรับผม มันเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจมาก เพราะนี่เป็นวิชาที่เรารักที่สุด ถนัดที่สุด ทำได้ดีที่สุด การได้การประเมินแบบนี้ มันทำให้ผมรู้สึกไม่มั่นใจเลยว่าเรามีความสามารถจริงๆ หรือเปล่า จากประสบการณ์ของอาจารย์เคยมีคนที่ fail ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ แล้วเป็นแพทย์ที่เก่งในสาขานั้นๆ ไหมครับ แล้วเขาทำอย่างนั้นได้เพราะอะไรอ่าครับ
ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ
ปล ขอโทษด้วยที่รบกวนอาจารย์ครับ
.........................................................................
ตอบครับ
จดหมายของผู้ป่วยที่จั่วหัวว่าขอถามเป็นการส่วนตัวมีเข้ามาแยะมาก ผมทิ้งไปหมดเพราะไม่มีเวลาอธิบายซ้ำซาก แต่ของคุณหมอผมไม่ทิ้ง เพราะผมให้ความสำคัญกับปัญหาของน้องๆที่เพิ่งเข้ามาสู่อาชีพแพทย์เป็นพิเศษ จึงหยิบมาตอบ และถือเป็นโอกาสนี้อธิบายกับแฟนบล็อกหมอสันต์ซ้ำอีกครั้งว่าผมไม่ตอบคำถามหรือรับปรึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเป็นการส่วนตัว เพราะที่ตอบจดหมายอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพื่อเปิดคลินิกรักษาโรคทางไปรษณีย์ แต่เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะ (public education) ตัวจดหมายเป็นเพียงสื่อการสอนที่จะพาไปสู่คำอธิบายที่ผู้ป่วยทั่วไปจะเอาไปใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเองได้ จึงจะตอบทางบล็อกทางเดียวเท่านั้น โดยผมรับปากว่าจะตัดทอนเนื้อหาจดหมายและปิดบังข้อมูลที่จะทำให้สืบสาวไปหาตัวผู้ถามได้เสียทั้งหมด
อีกประเด็นหนึ่งที่จะขออนุญาตซักซ้อมความเข้าใจตรงนี้ซ้ำก็คือทุกวันนี้มีจดหมายถามเรื่องการเจ็บป่วยเข้ามามาก แต่ผมมีเวลาตอบน้อย จดหมายจำนวนมากจึงถูกทิ้งไปเดือนละหลายร้อยฉบับ ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ดี เพราะในหนังสือสมบัติผู้ดีสมัยก่อนที่ผมเคยเรียนตอนเป็นเด็ก มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่าผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย แต่ผมสารภาพว่าผมทำตัวเป็นผู้ดีไม่ไหวเพราะผมไม่มีเงิน..เอ๊ย ไม่ใช่ พูดผิด พูดใหม่ เพราะผมไม่มีเวลา ตรงนี้ผมต้องกราบขออภัยท่านเจ้าของจดหมายเหล่านั้นไว้ด้วย
คราวนี้มาตอบคำถามของน้องหมอท่านนี้ไปทีละข้อนะ
1..ถามว่าถ้าอยากไปฝึกอบรมเมืองนอก สอบ USMLE ผ่านข้อเขียนแล้ว จะไปตกสัมภาษณ์เพราะไม่ได้เกียรตินิยมไหม ตอบว่าไม่หรอกครับ เพราะการสอบสัมภาษณ์ กรรมการเขาจะมีโครงสร้างประเด็นที่จะตรวจวัดไว้ล่วงหน้าเขียนเป็นโผไว้ในมือหมดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทักษะการสื่อสาร เจตคติต่ออาชีพ และวุฒิภาวะของผู้เข้าสอบ แต่ถ้าผมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์คุณแล้วคุณเผลอโอดครวญกับผมว่าคุณควรจะได้เกียรตินิยมแต่ไม่ได้ ผมจะให้คุณสอบตกทันทีเพราะคุณแสดงความไม่มีวุฒิภาวะให้เห็น
2.. ถามว่าควรจะไป fit profile ยังไงดีจึงจะสอบเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านในเมืองไทยได้ ตอบว่าเหตุที่จะทำให้สอบเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านในเมืองไทยได้เรียงตามลำดับความสำคัญ มีดังนี้
(2.1) เป็นนักศึกษาแพทย์ที่มีผลงานเข้าตาอาจารย์ในภาควิชามาก่อน และเหล่าอาจารย์หมายตาจะเอาไว้เป็นอาจารย์ของแผนก
(2.2) เป็นเด็กฝาก จากผู้ฝากที่เหล่าอาจารย์เขาเคารพนับถือและเกรงใจ พูดง่ายๆว่ามีเส้น แต่ว่าต้องเป็นเส้นที่พวกอาจารย์ส่วนใหญ่เขาเกรงใจด้วย เช่นเป็นอาจารย์ของอาจารย์อีกที ซึ่งมักจะต้องเป็นเส้นในหมู่แพทย์ด้วยกัน เส้นนอกวงเช่นเส้นทหารหรือเส้นนักการเมืองก็ไม่เวิร์ค
(2.3) กรณีจะเข้าฝึกอบรมที่สถาบันของตัวเอง ตอนเป็นนักเรียนต้องเป็นคนขยัน รับผิดชอบ และอ่อนน้อมถ่อมตนขยันเข้าหาอาจารย์จนอาจารย์ส่วนใหญ่เอ็นดูรักใคร่และจำหน้าได้
(2.4) มีต้นสังกัดส่งเข้าฝึกอบรมและเป็นผู้จ่ายเงินเดือนระหว่างการฝึกอบรมให้
(2.5) หลบไปสมัครในสถาบันฝึกอบรมที่ขาดแคลนแพทย์ประจำบ้านอย่างหนักเพราะมีเหตุพิเศษที่คนไม่ชอบไปเรียนที่นั่น
(2.6) มีหนังสือแนะนำตัวที่ดีจากคนที่อาจารย์ส่วนใหญ่ในแผนกนั้นเชื่อถือ แต่อย่าลืมว่าข้อนี้มีความสำคัญเป็นลำดับสุดท้ายนะ
3. ถามว่าไม่ได้เกียรตินิยมจะเสียหายต่อชีวิตและงานอาชีพข้างหน้ามากไหม ตอบว่าไม่มากหรอกครับ เพราะเกียรตินิยมหรือศักดิ์ศรีของสถาบันที่เราจบมา จะมีประโยชน์ต่อเราเฉพาะสามวันแรกนับจากวันที่เพื่อนร่วมงานและคนไข้เริ่มรู้จักเราเท่านั้นแหละ พอพ้นสามวันไปแล้วทั้งเพื่อนร่วมงานและคนไข้เขาจะตัดสินของเขาเองว่าเราเป็นหมอที่ได้เรื่องหรือเป็นหมอระดับ “ขี้หมา” และผมรับประกันคุณอย่างหนึ่งว่าเขาไม่ตัดสินจากเกียรตินิยมหรือจากสถาบันที่คุณจบอย่างแน่นอน แต่เขาจะตัดสินจากการเป็นคนมีความรู้ทักษะวิชาชีพดี มีจริยธรรม และโอภาปราศัย สูตรนี้ใช้ได้ทั้งการทำงานที่เมืองไทยและเมืองนอก
4. ถามว่าควรจะตามเรื่องที่ถูกอาจารย์แกล้งทำให้ตกหนึ่งวิชาจนพลาดโอกาสได้เกียรตินิยมครั้งนี้ต่ออย่างไรดี ตอบว่าให้เลิกตามซะเถอะเพราะไร้ประโยชน์ ภาษาจิ๊กโก๋เรียกว่าเขาตอกตะปูปิดฝาโลงไปแล้ว ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นอื่นได้ เพราะ (1) มองจากมุมกฎระเบียบ การให้คะแนนภาคปฏิบัติเป็นดุลพินิจของอาจารย์ผู้คุม คำว่า “ดุลพินิจ” แปลว่า “สุดแล้วแต่จะโปรด” การจะรื้อฟื้นว่าดุลพินิจของใครถูกหรือผิดต้องมีกฎหมายหรือระเบียบที่เขียนไว้ก่อนหน้านั้นชัดเจนให้อ้างอิงเทียบเคียงจึงจะรื้อฟื้นได้ แต่ในกรณีดุลพินิจในการให้คะแนนของอาจารย์นี้ ผมยังไม่เคยได้ยินว่ามีกฎระเบียบใดๆให้อ้างอิง (2) มองในเชิงการหาทางบีบให้อาจารย์เปลี่ยนใจก็ไม่มีทาง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ทุกคนย่อมมี “องค์” ยิ่งเป็นอาจารย์โรงพยาบาลสมทบสอนแม้จะดูเหมือนไม่มีองค์แต่หากถูกอาจารย์จากโรงเรียนแพทย์มาบีบ องค์ของท่านจะพองขึ้นมา ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นที่รู้กันมาช้านานจนอาจารย์โรงเรียนแพทย์ไม่มีใครกล้าแหยมอาจารย์รพ.สมทบสอน เพราะกลัวจะโดนตอกกลับว่าถ้าเอ็งเก่งนักก็ตามมาสอนเองสิวะ
5. ถามว่าคนที่เคยสอบตกตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ แล้วเป็นแพทย์ที่เก่งในสาขานั้นๆมีไหม ตอบว่ามีสิครับ มีเยอะแยะไป ถามต่อว่าแล้วเขาทำอย่างนั้นได้เพราะอะไร ตอบว่าก็เพราะเขาอาศัยวุฒิภาวะของตัวเองเรียนรู้วิธีประเมินและปรับปรุงแก้ไขตัวเองแบบทำไปทีละโมเมนต์ไงครับ เราสอบตกนั่นครูประเมินเรานะ แต่ส่วนของเราก็ต้องประเมินตัวเองด้วยว่าเราสอบตกเพราะอะไร นี่พูดถึงเหตุที่ทำให้สอบตกนะ ไม่ใช่พูดถึงว่ามีความรู้ความสามารถหรือไม่มี ยกตัวอย่างคำถามในการประเมินตัวเองเช่น เราไปเหยียบตาปลาอาจารย์เข้าตอนไหนนะ เป็นต้น ประเมินแล้วสรุปสาเหตุได้แล้วเราก็แก้ไขสาเหตุนั้นเสียเพื่อให้เราสอบได้ นั่นเป็นประเด็นสอบได้หรือสอบตกซึ่งว่าไปแล้วเป็นส่วนที่ยากและเครียด ส่วนประเด็นเราจะมีความรู้ความสามารถหรือไม่มีนั้นเป็นส่วนที่ง่ายและไม่เครียด ตัวเราย่อมประเมินตัวเองและแก้ไขตัวเองได้ทุกเมื่ออยู่แล้ว และเราก็ต้องประเมินแก้ไขตัวเองอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดชีวิตแม้เมื่อหลังจากเรียนจบก็ตาม ประเมินแล้วก็แก้ไข ทำไปแบบสบายๆไม่เครียด เพราะไม่เกี่ยวกับสอบได้หรือสอบตก ไม่มีตรงไหนที่จะต้องวอรี่หรือตีอกชกหัวเลย
หมดคำถามแล้วนะ คราวนี้ให้ผมคุยกับคุณแบบพี่คุยกับน้องบ้าง คุณเรียนหนังสือเก่งควรจะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งแต่ไม่ได้ นั่นเป็นเรื่องจริงและผมเชื่อคุณ แต่ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะพูดกัน ประเด็นสำคัญก็คือในชีวิตของเรานี้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรอบตัวแยะมากและเกิดขึ้นตลอดเวลาเกิดขึ้นกับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ยิ่งแค่กฎระเบียบตัวชี้วัดอันเป็นสมมุติบัญญัติที่มนุษย์เราคิดขึ้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง มันจะมีคนแหก ถ่าง อ้อม อ้าง หรือเหยียบ ไม่เว้นแต่ละวัน คุณเติบโตมาถึงขั้นนี้แล้วขอให้คุณมองสิ่งเหล่านี้ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงตลกประกอบฉากละครเท่านั้น เพื่อจะได้เอาเวลาส่วนใหญ่ไปโฟกัสกับสิ่งที่เป็นสารัตถะจริงๆของละครเรื่องนี้ นั่นคือ ในการมาสู่อาชีพแพทย์นี้ คุณอยากจะบรรลุอะไรที่เป็นเนื้อหาสาระจริงจังบ้าง ซึ่งสืบสาวไปแล้วก็จะหนีไม่พ้นสองอย่างหลักคือ (1) การได้มีความสุขในชีวิตของตัวเอง กับ (2) การได้ช่วยเหลือคนไข้
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ ผมแนะนำให้คุณเสาะหาคุณลักษณะสองอย่างเท่านั้น คือ
(1) บ่มเพาะเมตตาธรรมให้งอกงามในใจคุณ เริ่มต้นด้วยการให้อภัยทานแก่อาจารย์ที่แกล้งทำให้คุณสอบตกก่อน
(2) เรียนรู้ที่จะชอบและสนุกกับการศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างน้อยก็ในสาขาของเรา
ขอแค่คุณมีสองอย่างนี้ผมรับประกันว่าชีวิตภายหน้าของคุณจะรุ่งโรจน์แน่นอน ไม่ต้องไปวอรี่อะไรกับเกียรตินิยมเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์