ขอให้ดีกับตัวเองบ้าง ให้ได้สักครึ่งหนึ่งที่คุณดีกับคนอื่นก็ยังดี
คุณหมอสันต์ครับ
ผมพาแม่อายุ 72 ปี ซึ่งมีอาการเหนื่อยง่าย วัดความดันได้ 120/70 อัตราการเต้นหัวใจ 102 ครั้ง เข้าโรงพยาบาล... ที่จังหวัด... (เบิกราชการได้) แพทย์วินิจฉัยว่าหัวใจล้มเหลว ได้รักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ สองวันต่อมาก็ดีขึ้นจนถอดท่อได้ ต่อมาหลังถอดท่อมีอาการไข้ 38.5 บ้าง 40 บ้าง ตัวร้อนมาก ต้องเช็ดตัวกันตลอดเวลา หมอให้กินยาพารา กินไปสิบกว่าครั้งผมก็ไม่กล้าให้คุณแม่กินต่อ เพราะกลัวพิษของยา ผมพยายามถามหมอว่าเป็นอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเปล่า หมอซึ่งเป็นหมอเด็กๆก็บอกอย่างไม่สนใจใยดีว่าไม่ใช่หรอก พยายามจะขอคำปรึกษาก็ตัดบทแสดงความรำคาญ และไม่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อแต่อย่างใด จนวันต่อมาคุณแม่มีอาการเบลอตาลอย แต่ไข้ยังสูง ผมก็ขอคุยกับหมออีกคนหนึ่งซึ่งสูงวัยกว่าแต่มาดูคนไข้น้อยกว่าคือมาสักสองวันครั้ง หมอท่านนี้บอกว่าจะดูให้ แล้วก็เจาะเลือดส่งไปตรวจ แล้วให้รอผล โดยไม่ได้ให้ยาฆ่าเชื้อเลย วันต่อมาอาการคุณแม่แย่ลงชัดเจน ผมปรับทุกข์กับพยาบาล เธอกระซิบบอกผมว่าถ้าเป็นแม่ของเธอ เธอจะย้ายแม่ของเธอไปรพ.เอกชน และแนะนำว่าคุณแม่อาการมากไปไกลคงไม่ไหว เธอแนะนำให้ย้ายไปรพ.เอกชนใกล้ๆ ผมกับพี่ๆตัดสินใจพาคุณแม่ไปรักษาในรพ.เอกชน จึงได้เริ่มยาฆ่าเชื้อ ใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ และมีปัญหาไตหยุดทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคุณแม่เร็วมาก จากเดิมที่ยังร้องเพลงกับเพื่อนๆได้กลายเป็นช็อกหมดสติไม่รู้ว่าจะมีโอกาสฟื้นหรือไม่ ระยะเวลาที่เริ่มมีไข้และผมเริ่มขอให้คุณหมอคิดถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดมาจนถึงวันที่ได้รับยาฆ่าเชื้อนั้น นับรวมได้ 5 วัน เป็นช่วงที่อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมเป็นทุกข์มาก ไหนจะห่วงแม่ ไหนจะต้องคอยช่วยเหลือพี่ๆและครอบครัวเขาซึ่งมีปัญหาทางการเงิน ไหนจะพะวงเรื่องลูกของตัวเองซึ่งไม่ตั้งใจเรียนเอาแต่เล่นคอม ไหนจะค่าใช้จ่ายในรพ.เอกชนซึ่งตกวันละ 4 หมื่นบาท โดยที่ผมต้องขายบ้านแน่นอนหากยังรักษาที่นี่อยู่ ทั้งหมดนี้คงจะไม่เลวร้ายอย่างนี้ถ้าหมอที่รพ...จะดูแลคุณแม่ให้จริงจังกว่านี้สักหน่อย ผมกำลังคิดจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรพ... เพื่อให้หมอเขาได้สำนึกบ้าง จึงอยากปรึกษาคุณหมอสันต์ว่าการดูแลของหมอผิดหลักวิชาไหม ถ้าผมฟ้องเรียกค่าเสียหายจะมีโอกาสชนะไป
............................................
ป๊าด..ด โทะ เดี๋ยวนี้หมอสันต์กลายเป็นทนายรับปรึกษาการฟ้องหมอไปเสียแล้วหรือนี่ ฮี่..ฮี่ แต่เอาเถอะ ถามมาแล้วก็จะตอบไป ทุกเรื่องที่มีประเด็นที่ผมจะให้ความรู้คนอ่านได้ ผมตอบให้ทั้งนั้น
1. ถามว่าการดูแลคุณแม่ที่รพ.แรกผิดหลักวิชาไหม ตอบว่าวิชาแพทย์ไม่มีผิดถูก ไม่เหมือนวิชากฎหมาย วิชาแพทย์เป็นวิชาวิเคราะห์หาเหตุและแก้ไขปัญหาไปตามเหตุ และหลักวิชาที่รวบรวมไว้ก็เป็นหลักกลางๆไว้ใช้ในกรณีทั่วไป เมื่อเจาะลึกลงไปแต่ละกรณีมันย่อมแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อมที่แพทย์มองเห็นแล้วใช้ดุลพินิจตัดสินว่าควรจะทำการรักษาอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นกรณีผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาล ใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สายสวนปัสสาวะมาแล้ว ต่อมามีไข้สูง การวินิจฉัยเบื้องต้นหลักวิชา (กลางๆนะ) มีอยู่ว่าต้องให้คิดถึงการติดเชื้อจากการใส่ท่อหายใจหรือท่อปัสสาวะ หรือเชื้อจากอากาศในโรงพยาบาลเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ และเมื่อสงสัยก็ต้องพิสูจน์โดยการส่งเสมหะ ปัสสาวะ เลือด ไปเพาะดูเชื้อ ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการอะไรฉุกเฉินมากก็จะรอผลการพิสูจน์ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากหรือมีความเสี่ยงมาก เช่นผู้ป่วยสูงอายุนี่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ต้องพูดถึงว่าเบลอตาลอยแล้วเพราะนั่นเป็นอาการสมองขาดเลือดจากการช็อกแล้ว สรุปว่าถ้ามีความเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดมาก หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดแล้วก็จะให้ยาฆ่าเชื้อไปก่อนเลยโดยไม่ต้องรอฟังผลซึ่งจะใช้เวลาหลายวัน เมื่อได้ผลการเพาะเชื้อแล้วค่อยมาว่ากันอีกที นี่เป็นหลักวิชาแบบกลางๆนะ รายละเอียดต้องปรับเปลี่ยนได้ไปตามปัจจัยแวดล้อมในแต่ละเคส
2. ถามว่าถ้าคุณฟ้องหมอและโรงพยาบาลคุณจะชนะไหม ฮี่ ฮี่ หมอสันต์ตอบไม่ได้หรอกครับ เพราะกฎหมายไทยนี้ให้อำนาจตัดสินว่าใครแพ้ใครชนะแก่ตุลาการคนเดียว แล้วห้ามเถียงด้วย แถมยังต้องแสดงความเคารพด้วย เพราะตัวหมอสันต์เองเวลาไปเป็นพยานในศาลยังต้องพูดว่าข้าแต่ศาลที่เคารพอยู่เล้ย ดังนั้นคำถามนี้มาถามผิดคนแน่นอน ต้องไปถามตุลาการ แล้วต้องเป็นตุลาการผู้เป็นเจ้าของคดีนี้ด้วยนะ เพราะตุลาการที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคดีก็อาจจะตอบผิดไปคนละทาง
ผมตอบคำถามคุณหมดแล้ว คราวนี้ให้ผมคุยกับคุณแบบกันเองบ้าง ผมขอคุยแค่สองประเด็น
ประเด็นแรก เรื่องการจะฟ้องหมอ จะฟ้องโรงพยาบาล ผมรักคุณและเห็นในความทุกข์ของคุณนะ แต่ถ้าคุณรักผม คุณอย่าไปฟ้องเลย คุณฟ้องไปจำเลยตัวเอ้ของคุณคือใคร คือหมอเด็กๆจบใหม่คนหนึ่ง ซึ่งผมฟังเรื่องที่เล่าแล้วเป็นพชท.1 (แพทย์ใช้ทุนปี1 คือเพิ่งจบมาหมาดๆ เขาให้มาเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลใหญ่ก่อนออกไปรักษาคนไข้ด้วยตัวเองจริงๆ) จำเลยของคุณเป็นเด็ก เป็นเด็กเอียด ซึ่งผมฟังตามเรื่องที่เล่า เขายังไม่รู้แม้กระทั่งว่าการจะมีความสุขกับการประกอบวิชาชีพแพทย์นี้มันต้องทำอย่างไร พอคุณฟ้องเขา สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้แน่ๆก็คือหมอคนนี้จะกลายเป็นหมอที่เกลียดคนไข้ไปตลอดชีวิต แต่เขาก็ไม่ไปไหนนะ ทั้งๆที่เกลียดคนไข้แต่เขาก็ยังจะเป็นหมออยู่ เขาจะไปไหนได้ละ ก็ในเมื่ออยู่ในอาชีพที่ทุกอย่างใส่พานมาถวายอย่างอาชีพหมอนี้เขายังเอาตัวไม่รอด เขาจะไปทำมาหากินอาชีพอื่นซึ่งล้วนต้องอาศัยการปากกัดตีนถีบได้อย่างไร เมื่อเขาเกลียดคนไข้ แต่ยังรักษาคนไข้อยู่ แล้วเวรจะไปตกที่ใคร ก็ต้องไปตกที่คนไข้ของเขาในอนาคต ใช่ไหมครับ
ถ้าคุณมีเจตนาจะให้หมอและโรงพยาบาลสำนึกในความผิดพลาดที่ทำไปและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ผมแนะนำให้คุณเขียนบันทึกถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล เล่าเรื่อง ข้อสังเกตุ และคำแนะนำของคุณ ทุกโรงพยาบาลมีระบบพัฒนาคุณภาพ จดหมายของคุณจะมีสถานะเป็นใบร้องเรียนให้มีการแก้ไข (CAR - corrective action request) ซึงจะไปเข้ากระบวนการแก้ไขที่เขามีอยู่ วิธีนี้จะเป็นการทำบุญ ดีกว่าการก่อเวร
ถ้าคุณมีเจตนาจะได้เงินมาเยียวยาความเสียหายคลายความเดือดร้อนของคุณบ้าง ในกรณีที่เป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทอง (สามสิบบาท) ก็อาจเรียกร้องเอาเงินชดเชยผ่านกลไกมาตรา 41 ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ แต่กรณีคุณแม่ของคุณไม่ได้ เพราะใช้สิทธิเบิกราชการ ผมแนะนำว่าให้คุณเขียนถึงผู้อำนวยการอีกนั่นแหละ ขอให้เขารับเอาคุณแม่ของคุณกลับมารักษาที่รพ...ซึ่งคุณเบิกได้ และหากมีรายจ่ายพิเศษที่่จำเป็นนอกเหนือจากสิทธิเบิกก็ขอให้เขายกเว้นเพราะคุณเดือดร้อน แต่อย่าไปขอถึงขนาดให้เขาจ่ายค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนเลย เพราะมันไม่มีกลไกอะไรให้เขาทำได้ ถ้าจะเอาขนาดนั้นมันก็ต้องฟ้องร้องกันลูกเดียว ซึ่งผมมองในภาพรวมว่ามันเสียมากกว่าได้ ผมแนะนำว่าให้คุณอโหสิ ให้อภัยทาน แล้วค่อยๆเดินหน้ากับชีวิตบนสิ่งที่มีและที่เป็นนี้ต่อไป
ประเด็นที่ 2. คือเรื่องความทุกข์ในชีวิตของคุณ เมื่อไม่กี่วันมานี้ เย็นวันหนึ่งหลังจากเหนื่อยกับการตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลกันแล้วทั้งวัน คือผมยังตรวจคนไข้เก่าอยู่เป็นบางวัน ยังไม่ได้เกษียณ 100% ขณะกำลังนั่งคุยกับพยาบาลซึ่งเป็นผู้ช่วยของผม ผมบอกเธอประโยคหนึ่งว่า
"..ขอให้คุณดีกับตัวเองบ้าง ให้ได้สักครึ่งหนึ่งของที่คุณดีกับคนอื่นก็ยังดี"
ประโยคเดียวกันนี้แหละ ที่ผมอยากจะพูดกับคุณ ชีวิตของคุณเป็นทุกข์เพราะคุณตั้งใจจะทำสิ่งดีๆต่อคนอื่นมากแต่ลืมดีกับตัวเอง มันเป็นชีวิตที่ไม่ถูกต้อง การดีกับตัวเองหมายถึงการทำให้ตัวเองสุขกายสบายใจ
การจะสุขกาย คุณต้องมีเวลานอนหลับพักผ่อนเพียงพอ กินอาหารที่มีพืชผักผลไม้ให้มาก และจัดเวลาให้ตัวเองได้ออกกำลังกายทุกวัน
การจะสุขใจ คุณต้องขยันฝึกสติอยู่ทุกลมหายใจที่คิดขึ้นได้ขณะใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อพาตัวเองให้ "หลุดพ้น" จากความคิดลบที่รุมเร้าคุณอยู่ตลอดเวลาได้สำเร็จ เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความเดือดแค้นแทนคุณแม่ การต้องไปอุ้มชูการเงินพี่ๆน้องๆ การต้องประกบลูก ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของคนอื่น การช่วยเหลือคนอื่น เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของคุณมีคุณค่า (value) แต่ชีวิตคุณยังขาดอีกอย่างหนึ่ง คือความหมาย (meaning) ผมหมายถึงความหมายของชีวิต ชีวิตจะมีความหมาย ถ้าเราเกิดมาแล้วได้ทำให้จิตใจของเราพัฒนาไปสู่ทิศทางที่หลุดพ้นจากบ่วงความคิดลบและความห่วงใยทั้งมวล ถึงเวลาที่เราตายจากโลกนี้ไป เราจะตายจากไปอย่างมีสติปล่อยวางและเข้าใจชีวิตโดยไม่มีอะไรเกาะเกี่ยวผูกพันในใจเราอีก นั่นแหละคือความหมายของชีวิต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมพาแม่อายุ 72 ปี ซึ่งมีอาการเหนื่อยง่าย วัดความดันได้ 120/70 อัตราการเต้นหัวใจ 102 ครั้ง เข้าโรงพยาบาล... ที่จังหวัด... (เบิกราชการได้) แพทย์วินิจฉัยว่าหัวใจล้มเหลว ได้รักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ สองวันต่อมาก็ดีขึ้นจนถอดท่อได้ ต่อมาหลังถอดท่อมีอาการไข้ 38.5 บ้าง 40 บ้าง ตัวร้อนมาก ต้องเช็ดตัวกันตลอดเวลา หมอให้กินยาพารา กินไปสิบกว่าครั้งผมก็ไม่กล้าให้คุณแม่กินต่อ เพราะกลัวพิษของยา ผมพยายามถามหมอว่าเป็นอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเปล่า หมอซึ่งเป็นหมอเด็กๆก็บอกอย่างไม่สนใจใยดีว่าไม่ใช่หรอก พยายามจะขอคำปรึกษาก็ตัดบทแสดงความรำคาญ และไม่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อแต่อย่างใด จนวันต่อมาคุณแม่มีอาการเบลอตาลอย แต่ไข้ยังสูง ผมก็ขอคุยกับหมออีกคนหนึ่งซึ่งสูงวัยกว่าแต่มาดูคนไข้น้อยกว่าคือมาสักสองวันครั้ง หมอท่านนี้บอกว่าจะดูให้ แล้วก็เจาะเลือดส่งไปตรวจ แล้วให้รอผล โดยไม่ได้ให้ยาฆ่าเชื้อเลย วันต่อมาอาการคุณแม่แย่ลงชัดเจน ผมปรับทุกข์กับพยาบาล เธอกระซิบบอกผมว่าถ้าเป็นแม่ของเธอ เธอจะย้ายแม่ของเธอไปรพ.เอกชน และแนะนำว่าคุณแม่อาการมากไปไกลคงไม่ไหว เธอแนะนำให้ย้ายไปรพ.เอกชนใกล้ๆ ผมกับพี่ๆตัดสินใจพาคุณแม่ไปรักษาในรพ.เอกชน จึงได้เริ่มยาฆ่าเชื้อ ใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ และมีปัญหาไตหยุดทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคุณแม่เร็วมาก จากเดิมที่ยังร้องเพลงกับเพื่อนๆได้กลายเป็นช็อกหมดสติไม่รู้ว่าจะมีโอกาสฟื้นหรือไม่ ระยะเวลาที่เริ่มมีไข้และผมเริ่มขอให้คุณหมอคิดถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดมาจนถึงวันที่ได้รับยาฆ่าเชื้อนั้น นับรวมได้ 5 วัน เป็นช่วงที่อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมเป็นทุกข์มาก ไหนจะห่วงแม่ ไหนจะต้องคอยช่วยเหลือพี่ๆและครอบครัวเขาซึ่งมีปัญหาทางการเงิน ไหนจะพะวงเรื่องลูกของตัวเองซึ่งไม่ตั้งใจเรียนเอาแต่เล่นคอม ไหนจะค่าใช้จ่ายในรพ.เอกชนซึ่งตกวันละ 4 หมื่นบาท โดยที่ผมต้องขายบ้านแน่นอนหากยังรักษาที่นี่อยู่ ทั้งหมดนี้คงจะไม่เลวร้ายอย่างนี้ถ้าหมอที่รพ...จะดูแลคุณแม่ให้จริงจังกว่านี้สักหน่อย ผมกำลังคิดจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรพ... เพื่อให้หมอเขาได้สำนึกบ้าง จึงอยากปรึกษาคุณหมอสันต์ว่าการดูแลของหมอผิดหลักวิชาไหม ถ้าผมฟ้องเรียกค่าเสียหายจะมีโอกาสชนะไป
............................................
ป๊าด..ด โทะ เดี๋ยวนี้หมอสันต์กลายเป็นทนายรับปรึกษาการฟ้องหมอไปเสียแล้วหรือนี่ ฮี่..ฮี่ แต่เอาเถอะ ถามมาแล้วก็จะตอบไป ทุกเรื่องที่มีประเด็นที่ผมจะให้ความรู้คนอ่านได้ ผมตอบให้ทั้งนั้น
1. ถามว่าการดูแลคุณแม่ที่รพ.แรกผิดหลักวิชาไหม ตอบว่าวิชาแพทย์ไม่มีผิดถูก ไม่เหมือนวิชากฎหมาย วิชาแพทย์เป็นวิชาวิเคราะห์หาเหตุและแก้ไขปัญหาไปตามเหตุ และหลักวิชาที่รวบรวมไว้ก็เป็นหลักกลางๆไว้ใช้ในกรณีทั่วไป เมื่อเจาะลึกลงไปแต่ละกรณีมันย่อมแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อมที่แพทย์มองเห็นแล้วใช้ดุลพินิจตัดสินว่าควรจะทำการรักษาอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นกรณีผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาล ใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สายสวนปัสสาวะมาแล้ว ต่อมามีไข้สูง การวินิจฉัยเบื้องต้นหลักวิชา (กลางๆนะ) มีอยู่ว่าต้องให้คิดถึงการติดเชื้อจากการใส่ท่อหายใจหรือท่อปัสสาวะ หรือเชื้อจากอากาศในโรงพยาบาลเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ และเมื่อสงสัยก็ต้องพิสูจน์โดยการส่งเสมหะ ปัสสาวะ เลือด ไปเพาะดูเชื้อ ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการอะไรฉุกเฉินมากก็จะรอผลการพิสูจน์ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากหรือมีความเสี่ยงมาก เช่นผู้ป่วยสูงอายุนี่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ต้องพูดถึงว่าเบลอตาลอยแล้วเพราะนั่นเป็นอาการสมองขาดเลือดจากการช็อกแล้ว สรุปว่าถ้ามีความเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดมาก หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดแล้วก็จะให้ยาฆ่าเชื้อไปก่อนเลยโดยไม่ต้องรอฟังผลซึ่งจะใช้เวลาหลายวัน เมื่อได้ผลการเพาะเชื้อแล้วค่อยมาว่ากันอีกที นี่เป็นหลักวิชาแบบกลางๆนะ รายละเอียดต้องปรับเปลี่ยนได้ไปตามปัจจัยแวดล้อมในแต่ละเคส
2. ถามว่าถ้าคุณฟ้องหมอและโรงพยาบาลคุณจะชนะไหม ฮี่ ฮี่ หมอสันต์ตอบไม่ได้หรอกครับ เพราะกฎหมายไทยนี้ให้อำนาจตัดสินว่าใครแพ้ใครชนะแก่ตุลาการคนเดียว แล้วห้ามเถียงด้วย แถมยังต้องแสดงความเคารพด้วย เพราะตัวหมอสันต์เองเวลาไปเป็นพยานในศาลยังต้องพูดว่าข้าแต่ศาลที่เคารพอยู่เล้ย ดังนั้นคำถามนี้มาถามผิดคนแน่นอน ต้องไปถามตุลาการ แล้วต้องเป็นตุลาการผู้เป็นเจ้าของคดีนี้ด้วยนะ เพราะตุลาการที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคดีก็อาจจะตอบผิดไปคนละทาง
ผมตอบคำถามคุณหมดแล้ว คราวนี้ให้ผมคุยกับคุณแบบกันเองบ้าง ผมขอคุยแค่สองประเด็น
ประเด็นแรก เรื่องการจะฟ้องหมอ จะฟ้องโรงพยาบาล ผมรักคุณและเห็นในความทุกข์ของคุณนะ แต่ถ้าคุณรักผม คุณอย่าไปฟ้องเลย คุณฟ้องไปจำเลยตัวเอ้ของคุณคือใคร คือหมอเด็กๆจบใหม่คนหนึ่ง ซึ่งผมฟังเรื่องที่เล่าแล้วเป็นพชท.1 (แพทย์ใช้ทุนปี1 คือเพิ่งจบมาหมาดๆ เขาให้มาเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลใหญ่ก่อนออกไปรักษาคนไข้ด้วยตัวเองจริงๆ) จำเลยของคุณเป็นเด็ก เป็นเด็กเอียด ซึ่งผมฟังตามเรื่องที่เล่า เขายังไม่รู้แม้กระทั่งว่าการจะมีความสุขกับการประกอบวิชาชีพแพทย์นี้มันต้องทำอย่างไร พอคุณฟ้องเขา สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้แน่ๆก็คือหมอคนนี้จะกลายเป็นหมอที่เกลียดคนไข้ไปตลอดชีวิต แต่เขาก็ไม่ไปไหนนะ ทั้งๆที่เกลียดคนไข้แต่เขาก็ยังจะเป็นหมออยู่ เขาจะไปไหนได้ละ ก็ในเมื่ออยู่ในอาชีพที่ทุกอย่างใส่พานมาถวายอย่างอาชีพหมอนี้เขายังเอาตัวไม่รอด เขาจะไปทำมาหากินอาชีพอื่นซึ่งล้วนต้องอาศัยการปากกัดตีนถีบได้อย่างไร เมื่อเขาเกลียดคนไข้ แต่ยังรักษาคนไข้อยู่ แล้วเวรจะไปตกที่ใคร ก็ต้องไปตกที่คนไข้ของเขาในอนาคต ใช่ไหมครับ
ถ้าคุณมีเจตนาจะให้หมอและโรงพยาบาลสำนึกในความผิดพลาดที่ทำไปและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ผมแนะนำให้คุณเขียนบันทึกถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล เล่าเรื่อง ข้อสังเกตุ และคำแนะนำของคุณ ทุกโรงพยาบาลมีระบบพัฒนาคุณภาพ จดหมายของคุณจะมีสถานะเป็นใบร้องเรียนให้มีการแก้ไข (CAR - corrective action request) ซึงจะไปเข้ากระบวนการแก้ไขที่เขามีอยู่ วิธีนี้จะเป็นการทำบุญ ดีกว่าการก่อเวร
ถ้าคุณมีเจตนาจะได้เงินมาเยียวยาความเสียหายคลายความเดือดร้อนของคุณบ้าง ในกรณีที่เป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทอง (สามสิบบาท) ก็อาจเรียกร้องเอาเงินชดเชยผ่านกลไกมาตรา 41 ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ แต่กรณีคุณแม่ของคุณไม่ได้ เพราะใช้สิทธิเบิกราชการ ผมแนะนำว่าให้คุณเขียนถึงผู้อำนวยการอีกนั่นแหละ ขอให้เขารับเอาคุณแม่ของคุณกลับมารักษาที่รพ...ซึ่งคุณเบิกได้ และหากมีรายจ่ายพิเศษที่่จำเป็นนอกเหนือจากสิทธิเบิกก็ขอให้เขายกเว้นเพราะคุณเดือดร้อน แต่อย่าไปขอถึงขนาดให้เขาจ่ายค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนเลย เพราะมันไม่มีกลไกอะไรให้เขาทำได้ ถ้าจะเอาขนาดนั้นมันก็ต้องฟ้องร้องกันลูกเดียว ซึ่งผมมองในภาพรวมว่ามันเสียมากกว่าได้ ผมแนะนำว่าให้คุณอโหสิ ให้อภัยทาน แล้วค่อยๆเดินหน้ากับชีวิตบนสิ่งที่มีและที่เป็นนี้ต่อไป
ประเด็นที่ 2. คือเรื่องความทุกข์ในชีวิตของคุณ เมื่อไม่กี่วันมานี้ เย็นวันหนึ่งหลังจากเหนื่อยกับการตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลกันแล้วทั้งวัน คือผมยังตรวจคนไข้เก่าอยู่เป็นบางวัน ยังไม่ได้เกษียณ 100% ขณะกำลังนั่งคุยกับพยาบาลซึ่งเป็นผู้ช่วยของผม ผมบอกเธอประโยคหนึ่งว่า
"..ขอให้คุณดีกับตัวเองบ้าง ให้ได้สักครึ่งหนึ่งของที่คุณดีกับคนอื่นก็ยังดี"
ประโยคเดียวกันนี้แหละ ที่ผมอยากจะพูดกับคุณ ชีวิตของคุณเป็นทุกข์เพราะคุณตั้งใจจะทำสิ่งดีๆต่อคนอื่นมากแต่ลืมดีกับตัวเอง มันเป็นชีวิตที่ไม่ถูกต้อง การดีกับตัวเองหมายถึงการทำให้ตัวเองสุขกายสบายใจ
การจะสุขกาย คุณต้องมีเวลานอนหลับพักผ่อนเพียงพอ กินอาหารที่มีพืชผักผลไม้ให้มาก และจัดเวลาให้ตัวเองได้ออกกำลังกายทุกวัน
การจะสุขใจ คุณต้องขยันฝึกสติอยู่ทุกลมหายใจที่คิดขึ้นได้ขณะใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อพาตัวเองให้ "หลุดพ้น" จากความคิดลบที่รุมเร้าคุณอยู่ตลอดเวลาได้สำเร็จ เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความเดือดแค้นแทนคุณแม่ การต้องไปอุ้มชูการเงินพี่ๆน้องๆ การต้องประกบลูก ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของคนอื่น การช่วยเหลือคนอื่น เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของคุณมีคุณค่า (value) แต่ชีวิตคุณยังขาดอีกอย่างหนึ่ง คือความหมาย (meaning) ผมหมายถึงความหมายของชีวิต ชีวิตจะมีความหมาย ถ้าเราเกิดมาแล้วได้ทำให้จิตใจของเราพัฒนาไปสู่ทิศทางที่หลุดพ้นจากบ่วงความคิดลบและความห่วงใยทั้งมวล ถึงเวลาที่เราตายจากโลกนี้ไป เราจะตายจากไปอย่างมีสติปล่อยวางและเข้าใจชีวิตโดยไม่มีอะไรเกาะเกี่ยวผูกพันในใจเราอีก นั่นแหละคือความหมายของชีวิต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์