น้องสาวห้ามแม่กินเต้าหู้เพราะกลัวแม่สมองเสื่อม แต่พี่ชายไม่ยอม
คุณหมอสันต์ที่เคารพ
ผมกับน้องสาวกำลังดูแลคุณแม่ (จีน) อายุ 72 ปี ผมอยากให้ท่านทานเต้าหู้เยอะเพราะมีโปรตีนและเคี้ยวง่ายและแม่ก็ชอบ แต่น้องสาวห้ามแม่ทานเต้าหู้โดยอ้างว่าจะทำให้แม่ซึ่งอายุมากแล้วสมองเสื่อม โดยอ้างงานวิจัยอะไรไม่รู้จากเน็ท ผมจนปัญญาไม่รู้จะช่วยแม่อย่างไร เพราะน้องสาวเธอ hard core เหลือเกิน แต่เธอก็รักแม่มาก
อยากฟังคำแนะนำจากคุณหมอสันต์ครับ
......................................................................
ตอบครับ
นี่เพิ่งจะเป็นจดหมายฉบับแรกนะเนี่ยที่เล่าว่าพี่น้องแย่งกันดูแลแม่ ก่อนหน้านี้มีแต่จดหมายโยนพ่อแม่ไปมา สาธุ นับว่าคุณสองคนพี่น้องเป็นลูกกตัญญูที่ควรยกย่อง
ถามว่าคนสูงอายุ กินเต้าหู้มาก จะทำให้สมองเสื่อมจริงไหม ตอบว่า
“..ไม่ทราบครับ”
เพราะข้อมูลวิจัยเท่าที่มียังสรุปไม่ได้ ต้องรองานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ ซึ่งหากจะทำก็ต้องทำกันนานเป็นสิบปี แต่ผมพนันว่าจะไม่มีใครทำ ก็โถ เต้าหู้ไม่ใช่สินค้าที่จะตีทะเบียนจดลิขสิทธิ์ได้ เต้าหู้จะดีหรือจะชั่วจะไปมีใครที่ไหนสนใจละครับ ผมเชื่อว่าคำถามของคุณจะไม่มีคำตอบแม้ในอนาคตสิบปีข้างหน้าก็ยังจะไม่มีคำตอบ ดังนั้นผมแนะนำให้คุณกับน้องสาวโยนหัวก้อยตัดสินกันเอาเองก็แล้วกันนะครับ
“..จบข่าว”
แต่ว่า โห ผมไม่เคยตอบจดหมายใครสั้นจุ๊ดจู๋แบบนี้เลยนะเนี่ย เพื่อไม่ให้คำตอบสั้นผิดมาตรฐานของหมอสันต์ ผมเล่าให้ฟังคร่าวๆนะว่างานวิจัยเรื่องเต้าหู้กับสมองเสื่อมนี้เขาทำมากันอย่างไรบ้าง
ท้าวความไปดั้งเดิม วงการแพทย์ได้ทำวิจัยเต้าหู้ในประเด็นผลต่อไขมันในเลือดไว้แยะ เป็นงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบทั้งนั้น งานวิจัยทบทวนที่ดีมากงานหนึ่งตีพิมพ์ไว้ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ซึ่งได้ผลสรุปว่าถั่วเหลืองทำให้ไขมันเลว (LDL) ในเลือดลดลง
ต่อมามีผู้เอาสารชื่อไอโซฟลาโวนส์ (isoflavones) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ที่มีมากตามธรรมชาติในถั่วเหลือง ไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงเซลแล้วก็พบว่ามันป้องกันไม่ให้เซลประสาท (neuron) และเซลเกลีย (glial cell) ไม่ให้แตก (apoptosis) ได้ แถมมันยังช่วยซ่อมก้านเซลประสาท (axon regeneration) ได้อีกด้วย วงการแพทย์จึงมีความหวังว่าเต้าหู้จะรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
ความหวังอันนี้ได้นำมาสู่การผลิตสารไอโซฟลาโวนส์จากถั่วเหลืองให้คนไข้หญิงสูงอายุทดลองกินเพื่อรักษาสมองเสื่อม งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยชั้นหนึ่งแบบแบ่งกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบตีพิมพ์ใน JAMA วิธีวิจัยคือเอาคนไข้มาแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอก อีกกลุ่มหนึ่งให้กินไอโซฟลาโวนส์ กินกันอยู่นานหกเดือนแล้ววัดการทำงานของสมองและความจำแข่งกันปรากฏว่าผลที่ได้ไม่ต่างกันเลย จึงเป็นการตอกตะปูปิดฝาโลงความเชื่อที่ว่าเต้าหู้ทำให้สมองใสและความจำดีตั้งแต่นั้น (ปี 2004)
ต่อมา (ปี 2008) ก็มีคนไปทำวิจัยระดับระบาดวิทยากับชาวอินโดนีเซียที่ชราคืออายุเกิน 65 ปีแล้ว จำนวน 700 กว่าคน หมายความว่าวิจัยด้วยแบบสอบถามว่าคุณชอบกินเต้าหู้ไหม? แล้วก็ให้ทำแบบทดสอบความจำคล้ายๆทำโจทย์เลข แล้วก็เอาคำตอบว่าชอบกินหรือไม่ชอบกินเต้าหู้มาประเมินควบกับคะแนนทำโจทย์เลข แล้วสรุปผลว่าพวกชอบกินเต้าหู้ทำคะแนนได้ต่ำกว่าพวกไม่ชอบกินเล็กน้อย จึงสรุปผลวิจัยโครมแบบคณะปฏิวัติว่าเต้าหู้ทำให้คนชราอายุเกิน 65 ปีเป็นสมองเสื่อม...ป๊าด..ด ผมต้องย้ำนิดหนึ่งนะงานวิจัยชิ้นนี้เป็นหลักฐานระดับต่ำ ต่ำทั้งในแง่ชั้นของหลักฐานซึ่งยังเป็นเพียงแค่งานวิจัยแบบสอบถามเชิงระบาดวิทยา และต่ำในแง่คุณภาพของการวิจัยซึ่งไม่มีการคำนึงถึงปัจจัยกวนใดๆเลย วงการแพทย์จึงไม่ได้ให้ราคางานวิจัยชิ้นนี้
แต่ว่าการทำมาหากินกับผลวิจัยของคนในโลกนี้มันมีทุกรูปแบบ ขอให้สรุปอะไรก็ได้ออกมาเหอะ มีคนเอาไปทำมาหากินได้ทั้งนั้น แล้วในโลกใบนี้พวกที่จ้องจะหาเรื่องอัดคุณประโยชน์ของอาหารพืชผักตามธรรมชาตินั้นมีอยู่แล้ว ก็คือพวกที่ทำมาหากินกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และอาหารที่ใช้ไขมันทรานส์ทำนั่นไง พวกนี้จึงตัดเอาคำสรุปงานวิจัยที่อ้างว่าเต้าหู้ทำให้สมองเสื่อมออกมากระจายขยายผลทางอินเตอร์เน็ท ซึ่งก็ได้ผลจริงๆซะด้วยเห็นแมะ อย่างน้อยพวกนิยมถั่วเหลืองก็เสียลูกค้าไปเข้ามือตลาดคนขายเนื้อคนหนึ่งละ คือคุณแม่ของคุณไง
ต่อมาก็มีก็มีการทำวิจัยแบบเดียวกันนี้กับกลุ่มคนเดิมซ้ำอีกที่อินโดนีเซียนั่นแหละ แต่คราวนี้ได้ผลสรุปว่าคนสูงอายุทั้งชอบกินเต้าหู้ไม่ชอบกินเต้าหู้ก็มีคะแนนสมองเสื่อมพอๆกัน เออ..เอากับเขาสิ ท่านผู้อ่านตามผมทันไหมครับ เขาทำวิจัยกันสองครั้ง กับคนกลุ่มเดิม แต่ ได้ผลคนละแบบ
ต่อมาก็มีคนจีนคงเห็นคนอินโดทำแล้วดังก็จึงไปทำวิจัยแบบเดียวกันนี้อีก คือวิจัยแบบระบาดวิทยา ส่งแบบสอบถามและให้ทำเลข โดยทำกับกลุ่มคนจีนกลุ่มเล็กๆ ที่ประเทศจีน แล้วก็ได้ข้อสรุปกลับไปเหมือนงานวิจัยแรก คือสรุปว่าคนสูงอายุที่ตอบแบบสอบถามว่าชอบกินเต้าหู้ มีคะแนนสมองเสื่อมมากกว่าคนสูงอายุที่ตอบแบบสอบถามว่าไม่ชอบกินเต้าหู้เล็กน้อย
ที่อุตส่าห์เล่ารายละเอียดงานวิจัยกิ๊กก๊อกสามงานหลังให้ฟังนี่ ด้วยเหตุผลเดียวนะ คือจะทำให้คำตอบจดหมายของคุณยาวขึ้นอีกสักหน่อย แต่เนื้อหาแทบไม่มีประโยชน์อะไรกับท่านผู้อ่านเลย ต้องขอโทษด้วย
สรุปว่าถึงวันนี้หลักฐานระดับเชื่อถือได้ว่าเต้าหู้ทำให้คนสูงอายุสมองเสื่อมเร็วจริงหรือไม่ยังไม่มี มีแต่งานวิจัยกิ๊กก๊อกที่ไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มซึ่งเชื่อถืออะไรไม่ได้ ต้องรองานวิจัยระดับดีๆ ซึ่งวันนี้ยังไม่มีคนทำ และยังไม่มีทีท่าว่าจะมีใครทำในสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้านี้ ดังนั้นในระหว่างนี้ให้ใช้หลักพ่อขุนราม คือใครใคร่กินเต้าหู้ก็จงกิน ใครไม่ใคร่กินเต้าหู้ก็อย่ากิน ส่วนหมอสันต์นั้น ม.ทำอะไรให้กินก็กินหมด ไม่เกี่ยงว่าเป็นเต้าหู้ หรือเต้าฮวย หรือเต้าทึง หิ..หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Anderson JW1, Johnstone BM, Cook-Newell ME. Meta-analysis of the effects of soy protein intake on serum lipids. N Engl J Med. 1995 Aug 3;333(5):276-82.
2. Kreijkamp-Kaspers S, Kok L, Grobbee DE, de Haan DHF, Aleman A, Lampe JW, van der Schouw YT.Effect of Soy Protein Containing Isoflavones on Cognitive Function, Bone Mineral Density, and Plasma Lipids in Postmenopausal WomenA Randomized Controlled Trial. JAMA 2004;10(3):196-202
3. Hogervorst E, Sadjimim T, Yesufu A, Kreager P, Rahardjo TB. High tofu intake is associated with worse memory in elderly Indonesian men and women. Dement Geriatr Cogn Disord. 2008; 26(1):50-7. Epub 2008 Jun 27.
4. Hogervorst E, Mursjid F, Priandini D, Setyawan H, Ismael RI, Bandelow S, Rahardjo TB. Borobudur revisited: soy consumption may be associated with better recall in younger, but not in older, rural Indonesian elderly. Brain Res. 2011 Mar 16; 1379:206-12. Epub 2010 Oct 28.
5. Soni M, Rahardjo TB, Soekardi R, Sulistyowati Y, Lestariningsih, Yesufu-Udechuku A, Irsan A, Hogervorst E.Phytoestrogens and cognitive function: a review. Maturitas. 2014; 77(3):209-20. Epub 2014 Jan 8.
6. Xu X, Xiao S, Rahardjo TB, Hogervorst E.Tofu intake is associated with poor cognitive performance among community-dwelling elderly in China. J Alzheimers Dis. 2015; 43(2):669-75.
7. Fournier LR, Ryan Borchers TA, Robison LM, Wiediger M, Park JS, Chew BP, McGuire MK, Sclar DA, Skaer TL, Beerman KA. The effects of soy milk and isoflavone supplements on cognitive performance in healthy, postmenopausal women. J Nutr Health Aging. 2007 Mar-Apr; 11(2):155-64.
ผมกับน้องสาวกำลังดูแลคุณแม่ (จีน) อายุ 72 ปี ผมอยากให้ท่านทานเต้าหู้เยอะเพราะมีโปรตีนและเคี้ยวง่ายและแม่ก็ชอบ แต่น้องสาวห้ามแม่ทานเต้าหู้โดยอ้างว่าจะทำให้แม่ซึ่งอายุมากแล้วสมองเสื่อม โดยอ้างงานวิจัยอะไรไม่รู้จากเน็ท ผมจนปัญญาไม่รู้จะช่วยแม่อย่างไร เพราะน้องสาวเธอ hard core เหลือเกิน แต่เธอก็รักแม่มาก
อยากฟังคำแนะนำจากคุณหมอสันต์ครับ
......................................................................
ตอบครับ
นี่เพิ่งจะเป็นจดหมายฉบับแรกนะเนี่ยที่เล่าว่าพี่น้องแย่งกันดูแลแม่ ก่อนหน้านี้มีแต่จดหมายโยนพ่อแม่ไปมา สาธุ นับว่าคุณสองคนพี่น้องเป็นลูกกตัญญูที่ควรยกย่อง
ถามว่าคนสูงอายุ กินเต้าหู้มาก จะทำให้สมองเสื่อมจริงไหม ตอบว่า
“..ไม่ทราบครับ”
เพราะข้อมูลวิจัยเท่าที่มียังสรุปไม่ได้ ต้องรองานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ ซึ่งหากจะทำก็ต้องทำกันนานเป็นสิบปี แต่ผมพนันว่าจะไม่มีใครทำ ก็โถ เต้าหู้ไม่ใช่สินค้าที่จะตีทะเบียนจดลิขสิทธิ์ได้ เต้าหู้จะดีหรือจะชั่วจะไปมีใครที่ไหนสนใจละครับ ผมเชื่อว่าคำถามของคุณจะไม่มีคำตอบแม้ในอนาคตสิบปีข้างหน้าก็ยังจะไม่มีคำตอบ ดังนั้นผมแนะนำให้คุณกับน้องสาวโยนหัวก้อยตัดสินกันเอาเองก็แล้วกันนะครับ
“..จบข่าว”
แต่ว่า โห ผมไม่เคยตอบจดหมายใครสั้นจุ๊ดจู๋แบบนี้เลยนะเนี่ย เพื่อไม่ให้คำตอบสั้นผิดมาตรฐานของหมอสันต์ ผมเล่าให้ฟังคร่าวๆนะว่างานวิจัยเรื่องเต้าหู้กับสมองเสื่อมนี้เขาทำมากันอย่างไรบ้าง
ท้าวความไปดั้งเดิม วงการแพทย์ได้ทำวิจัยเต้าหู้ในประเด็นผลต่อไขมันในเลือดไว้แยะ เป็นงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบทั้งนั้น งานวิจัยทบทวนที่ดีมากงานหนึ่งตีพิมพ์ไว้ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ซึ่งได้ผลสรุปว่าถั่วเหลืองทำให้ไขมันเลว (LDL) ในเลือดลดลง
ต่อมามีผู้เอาสารชื่อไอโซฟลาโวนส์ (isoflavones) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ที่มีมากตามธรรมชาติในถั่วเหลือง ไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงเซลแล้วก็พบว่ามันป้องกันไม่ให้เซลประสาท (neuron) และเซลเกลีย (glial cell) ไม่ให้แตก (apoptosis) ได้ แถมมันยังช่วยซ่อมก้านเซลประสาท (axon regeneration) ได้อีกด้วย วงการแพทย์จึงมีความหวังว่าเต้าหู้จะรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
ความหวังอันนี้ได้นำมาสู่การผลิตสารไอโซฟลาโวนส์จากถั่วเหลืองให้คนไข้หญิงสูงอายุทดลองกินเพื่อรักษาสมองเสื่อม งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยชั้นหนึ่งแบบแบ่งกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบตีพิมพ์ใน JAMA วิธีวิจัยคือเอาคนไข้มาแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอก อีกกลุ่มหนึ่งให้กินไอโซฟลาโวนส์ กินกันอยู่นานหกเดือนแล้ววัดการทำงานของสมองและความจำแข่งกันปรากฏว่าผลที่ได้ไม่ต่างกันเลย จึงเป็นการตอกตะปูปิดฝาโลงความเชื่อที่ว่าเต้าหู้ทำให้สมองใสและความจำดีตั้งแต่นั้น (ปี 2004)
ต่อมา (ปี 2008) ก็มีคนไปทำวิจัยระดับระบาดวิทยากับชาวอินโดนีเซียที่ชราคืออายุเกิน 65 ปีแล้ว จำนวน 700 กว่าคน หมายความว่าวิจัยด้วยแบบสอบถามว่าคุณชอบกินเต้าหู้ไหม? แล้วก็ให้ทำแบบทดสอบความจำคล้ายๆทำโจทย์เลข แล้วก็เอาคำตอบว่าชอบกินหรือไม่ชอบกินเต้าหู้มาประเมินควบกับคะแนนทำโจทย์เลข แล้วสรุปผลว่าพวกชอบกินเต้าหู้ทำคะแนนได้ต่ำกว่าพวกไม่ชอบกินเล็กน้อย จึงสรุปผลวิจัยโครมแบบคณะปฏิวัติว่าเต้าหู้ทำให้คนชราอายุเกิน 65 ปีเป็นสมองเสื่อม...ป๊าด..ด ผมต้องย้ำนิดหนึ่งนะงานวิจัยชิ้นนี้เป็นหลักฐานระดับต่ำ ต่ำทั้งในแง่ชั้นของหลักฐานซึ่งยังเป็นเพียงแค่งานวิจัยแบบสอบถามเชิงระบาดวิทยา และต่ำในแง่คุณภาพของการวิจัยซึ่งไม่มีการคำนึงถึงปัจจัยกวนใดๆเลย วงการแพทย์จึงไม่ได้ให้ราคางานวิจัยชิ้นนี้
แต่ว่าการทำมาหากินกับผลวิจัยของคนในโลกนี้มันมีทุกรูปแบบ ขอให้สรุปอะไรก็ได้ออกมาเหอะ มีคนเอาไปทำมาหากินได้ทั้งนั้น แล้วในโลกใบนี้พวกที่จ้องจะหาเรื่องอัดคุณประโยชน์ของอาหารพืชผักตามธรรมชาตินั้นมีอยู่แล้ว ก็คือพวกที่ทำมาหากินกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และอาหารที่ใช้ไขมันทรานส์ทำนั่นไง พวกนี้จึงตัดเอาคำสรุปงานวิจัยที่อ้างว่าเต้าหู้ทำให้สมองเสื่อมออกมากระจายขยายผลทางอินเตอร์เน็ท ซึ่งก็ได้ผลจริงๆซะด้วยเห็นแมะ อย่างน้อยพวกนิยมถั่วเหลืองก็เสียลูกค้าไปเข้ามือตลาดคนขายเนื้อคนหนึ่งละ คือคุณแม่ของคุณไง
ต่อมาก็มีก็มีการทำวิจัยแบบเดียวกันนี้กับกลุ่มคนเดิมซ้ำอีกที่อินโดนีเซียนั่นแหละ แต่คราวนี้ได้ผลสรุปว่าคนสูงอายุทั้งชอบกินเต้าหู้ไม่ชอบกินเต้าหู้ก็มีคะแนนสมองเสื่อมพอๆกัน เออ..เอากับเขาสิ ท่านผู้อ่านตามผมทันไหมครับ เขาทำวิจัยกันสองครั้ง กับคนกลุ่มเดิม แต่ ได้ผลคนละแบบ
ต่อมาก็มีคนจีนคงเห็นคนอินโดทำแล้วดังก็จึงไปทำวิจัยแบบเดียวกันนี้อีก คือวิจัยแบบระบาดวิทยา ส่งแบบสอบถามและให้ทำเลข โดยทำกับกลุ่มคนจีนกลุ่มเล็กๆ ที่ประเทศจีน แล้วก็ได้ข้อสรุปกลับไปเหมือนงานวิจัยแรก คือสรุปว่าคนสูงอายุที่ตอบแบบสอบถามว่าชอบกินเต้าหู้ มีคะแนนสมองเสื่อมมากกว่าคนสูงอายุที่ตอบแบบสอบถามว่าไม่ชอบกินเต้าหู้เล็กน้อย
ที่อุตส่าห์เล่ารายละเอียดงานวิจัยกิ๊กก๊อกสามงานหลังให้ฟังนี่ ด้วยเหตุผลเดียวนะ คือจะทำให้คำตอบจดหมายของคุณยาวขึ้นอีกสักหน่อย แต่เนื้อหาแทบไม่มีประโยชน์อะไรกับท่านผู้อ่านเลย ต้องขอโทษด้วย
สรุปว่าถึงวันนี้หลักฐานระดับเชื่อถือได้ว่าเต้าหู้ทำให้คนสูงอายุสมองเสื่อมเร็วจริงหรือไม่ยังไม่มี มีแต่งานวิจัยกิ๊กก๊อกที่ไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มซึ่งเชื่อถืออะไรไม่ได้ ต้องรองานวิจัยระดับดีๆ ซึ่งวันนี้ยังไม่มีคนทำ และยังไม่มีทีท่าว่าจะมีใครทำในสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้านี้ ดังนั้นในระหว่างนี้ให้ใช้หลักพ่อขุนราม คือใครใคร่กินเต้าหู้ก็จงกิน ใครไม่ใคร่กินเต้าหู้ก็อย่ากิน ส่วนหมอสันต์นั้น ม.ทำอะไรให้กินก็กินหมด ไม่เกี่ยงว่าเป็นเต้าหู้ หรือเต้าฮวย หรือเต้าทึง หิ..หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Anderson JW1, Johnstone BM, Cook-Newell ME. Meta-analysis of the effects of soy protein intake on serum lipids. N Engl J Med. 1995 Aug 3;333(5):276-82.
2. Kreijkamp-Kaspers S, Kok L, Grobbee DE, de Haan DHF, Aleman A, Lampe JW, van der Schouw YT.Effect of Soy Protein Containing Isoflavones on Cognitive Function, Bone Mineral Density, and Plasma Lipids in Postmenopausal WomenA Randomized Controlled Trial. JAMA 2004;10(3):196-202
3. Hogervorst E, Sadjimim T, Yesufu A, Kreager P, Rahardjo TB. High tofu intake is associated with worse memory in elderly Indonesian men and women. Dement Geriatr Cogn Disord. 2008; 26(1):50-7. Epub 2008 Jun 27.
4. Hogervorst E, Mursjid F, Priandini D, Setyawan H, Ismael RI, Bandelow S, Rahardjo TB. Borobudur revisited: soy consumption may be associated with better recall in younger, but not in older, rural Indonesian elderly. Brain Res. 2011 Mar 16; 1379:206-12. Epub 2010 Oct 28.
5. Soni M, Rahardjo TB, Soekardi R, Sulistyowati Y, Lestariningsih, Yesufu-Udechuku A, Irsan A, Hogervorst E.Phytoestrogens and cognitive function: a review. Maturitas. 2014; 77(3):209-20. Epub 2014 Jan 8.
6. Xu X, Xiao S, Rahardjo TB, Hogervorst E.Tofu intake is associated with poor cognitive performance among community-dwelling elderly in China. J Alzheimers Dis. 2015; 43(2):669-75.
7. Fournier LR, Ryan Borchers TA, Robison LM, Wiediger M, Park JS, Chew BP, McGuire MK, Sclar DA, Skaer TL, Beerman KA. The effects of soy milk and isoflavone supplements on cognitive performance in healthy, postmenopausal women. J Nutr Health Aging. 2007 Mar-Apr; 11(2):155-64.