อีกหนึ่งคนจริงตัวเป็นๆ ที่ปรับชีวิตอย่างสิ้นเชิงแล้วโรคเริ่มถอยกลับ
เรียนคุณหมอสันต์ครับ
คุณหมอจำผมได้ไหมครับ คนที่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบสามเส้น แล้วหมอเชียงใหม่แนะนำให้ผ่าตัดบายพาสแต่ผมยังไม่อยากผ่า แล้วได้มาอบรม (คอร์สสุขภาพที่ Health Cottage) เมื่อ 26-27 เมย. 56 หลังการอบรม ผมได้นำไปดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น ในการเลือกซื้อและทานอาหาร
ส่วนการออกกำลังกายก็รักษาระดับ คือ เช้าเดินประมาณ 40-45 นาที
ขณะเดินก็บริหารท่อนแขนโดยยกดัมเบลเหล็กประมาณ 1 กก.
ช่วงเย็นขี่จักรยานรอบหมู่บ้านหรือห้องฟิตเนต 40-45 นาที
นานๆครั้งจะมีอาการเหนื่อยบีบหัวใจนิดๆตอนเริ่มต้น ไม่ได้ออกกำลังกายหนักถึงกับเล่นเทนนิส
ผมเล่นกอล์ฟสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการเดิน 18 หลุมไม่มีอาการเหนื่อยครับ ยกเว้นสนามภูเขา ที่ต้องเดินขึ้น-ลงเนิน
เหนื่อยเล็กน้อย ผมอ่านหนังสือ “คุยกับหมอสันต์” หน้าที่ 155 คนที่ตีบ 3 เส้น ดูแล้วคล้ายๆกัน แต่ ค่า EF ของผมดีกว่า (81 %)
เมื่อ 22 กค. 57 ผมไปสวนหัวใจ ตามคำแนะนำหมอที่เชียงใหม่ บอกว่าสามารถทำบอลลูนให้ได้ (ไม่น่าเล้ย) ปรากฏว่า พอฉีดสีเข้าไปแล้ว หมอบอกว่า มีหินปูนพอกมาก เสี่ยงที่จะทำ เลยไม่ทำ แนะนำเหมือนเดิมคือบายพาส ผมยังไม่ตัดสินใจ ขอคิดก่อน เพิ่งมาอ่านที่หมอเขียน กรณีเดียวกันเลย การอุดตัน พอๆกัน แต่ EF ผมดีกว่า ผลที่ได้คือการฉีดสี 2 ครั้งมาเปรียบเทียบกัน ผมดูแล้วมีตัวหนึ่ง LAD จาก 90 ลงมา 80 % (ตามที่แนบ) ผมไม่เข้าใจภาษาที่หมอเขียน ยกเว้นคำที่หมอสันต์อธิบายไว้ครับ
ผมขอความกรุณาหมอวิเคราะห์ผลของ 17 มค. และ 22 กค. ให้ผมเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่ามีเส้นไหน ดีขึ้น แย่ลง หรือเท่าเดิม (ตามแผ่นฉายที่วิจัยที่อบรม ลดลง) ในที่แนบมีชื่อยาที่ทานด้วยครับ
คุณหมอจำผมได้ไหมครับ คนที่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบสามเส้น แล้วหมอเชียงใหม่แนะนำให้ผ่าตัดบายพาสแต่ผมยังไม่อยากผ่า แล้วได้มาอบรม (คอร์สสุขภาพที่ Health Cottage) เมื่
เมื่อ 22 กค. 57 ผมไปสวนหัวใจ ตามคำแนะนำหมอที่เชียงใหม่ บอกว่าสามารถทำบอลลูนให้ได้ (ไม่น่าเล้ย) ปรากฏว่า พอฉีดสีเข้าไปแล้ว หมอบอกว่า มีหินปูนพอกมาก เสี่ยงที่จะทำ เลยไม่ทำ แนะนำเหมือนเดิมคือบายพาส ผมยังไม่ตัดสินใจ ขอคิดก่อน เพิ่งมาอ่านที่หมอเขียน กรณีเดียวกันเลย การอุดตัน พอๆกัน แต่ EF ผมดีกว่า ผลที่ได้คือการฉีดสี 2 ครั้งมาเปรียบเทียบกัน ผมดูแล้วมีตัวหนึ่ง LAD จาก 90 ลงมา 80 % (ตามที่แนบ) ผมไม่เข้าใจภาษาที่หมอเขียน ยกเว้นคำที่หมอสันต์อธิบายไว้
ผมขอความกรุณาหมอวิเคราะห์ผลของ 17 มค. และ 22 กค. ให้ผมเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่ามีเส้นไหน ดีขึ้น แย่ลง หรือเท่าเดิม (ตามแผ่นฉายที่วิจัยที่อบรม ลดลง) ในที่แนบมีชื่อยาที่ทานด้วยครับ
ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมาหลังไปอบรมและเปลี่ยนการดำรงชีวิต
ดูร่างกายภายนอกผอมลง นน.ลดลง 4 กก. ตอนนี้ 50 กก. แต่รู้สึกว่าเหมือนไม่เป็นอะไร
เมื่อก่อนขับรถช่วงบ่ายใช้เวลาขับ 2.30 ชม.จะง่วง
แต่ตอนนี้ ไม่ง่วง การขับรถเป็นข้อห้ามไหมครับ
หมอที ชม.บอกว่า ปัจจุบันใช้เส้นเลือดฝอยไปช่วยเลี้ยง
อาจเกิดความเสี่ยงฉับพลันได้ ผมลดความเสี่ยงโดยไม่ออกกำลังกายหนัก ไม่วิ่ง
งดทานของทอดนอกบ้าน (ขึ้นบันไดที่บ้านชั้น 2
ไม่เป็นไรครับ)
หมอที ชม.บอกว่า ปัจจุบันใช้เส้นเลือดฝอยไปช่
ปล.หากข้อมูลผมจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ
ผมยินดีให้บอกเล่าต่อครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
..................................................................
ตอบครับ
1.. การที่แพทย์ชวนสวนหัวใจโดยตอนแรกบอกว่าน่าจะทำบอลลูนได้
แต่พอสวนจริงๆแล้วทำไม่ได้ ต้องถอยทัพ อันนี้แพทย์ท่านนั้นทำถูกแล้ว
และแสดงว่าท่านเป็นแพทย์ที่ดีนะครับ เพราะเมื่อใดที่เห็นว่าหากทู่ซี้ทำไปแล้วคนไข้จะเสียมากกว่าได้ก็ถอยฉากโดยไม่ห่วง
“หน้า” หรือ “ฟอร์ม” ของตัวเอง แสดงว่าแพทย์ท่านนั้นบรรลุความเป็นหมออาชีพแล้ว
2.. ขอให้ผมช่วยประเมินผลการสวนหัวใจสองครั้งว่าหลอดเลือดดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรบ้าง
ตอบว่าผมไม่เห็นภาพจึงช่วยประเมินให้ไม่ได้ครับ ผมแนะนำให้ถือตามรายงานของคุณหมอที่สวนหัวใจ
ซึ่งคุณก็บอกเองไปแหม็บๆว่ารอยตีบที่หลอดเลือดข้างซ้าย (LAD)
เมื่อสวนหัวใจครั้งหลังพบว่าตีบน้อยกว่าเมื่อสวนหัวใจครั้งแรก อีกอย่างหนึ่ง
ข้อมูลที่มีประโยชน์คือการที่อาการทั่วไปของคุณดีขึ้น มี fitness มากขึ้น เป็นผลประเมินที่เชื่อถือได้อีกทางหนึ่งว่าโรคของคุณกำลังถอยกลับ
3.. ถามว่าเป็นโรคหัวใจตีบสามเส้นขับรถได้ไหม
ตอบว่าขับได้ครับ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าคนเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบขับรถแล้วจะประสบอุบัติเหตุสูงกว่าคนทั่วไป
สมัยผมเป็นหมอผ่าตัดหัวใจอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์
เคยต้องไปขึ้นศาลเพราะเรื่องนี้ครั้งหนึ่ง คือคนไข้เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบสามเส้นแบบคุณนี้แหละ
เขามีอาชีพขับรถเมล์ เมื่อหมอประจำครอบครัว (GP) ของเขาเห็นผลการตรวจสวนหัวใจว่าหลอดเลือดตีบก็เขียนหนังสือไปถึงบริษัทรถเมล์ห้ามไม่ให้เขาขับรถเมล์ด้วยเหตุผลว่าจะไม่ปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนซึ่งเป็นผู้โดยสาร
เพราะหมอ GP เขาดูแลชุมชน
เขาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของคนในชุมชนของเขา ข้างคนไข้ก็แจ้นมาหาผม
ผมบอกว่าขับได้ และออกใบรับรองแพทย์ให้เขาขับรถเมล์ได้ เรื่องก็เลยต้องไปถึงศาลเพราะหมอสองคนพูดไม่เหมือนกัน
ผมให้การต่อศาลโดยใช้สถิติของโรงพยาบาลที่ผมทำงานอยู่ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะโรคหัวใจ
ว่ากรีนเลนมีคนไข้หลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ขณะนั้นกี่หมื่นคน (ผมจำไม่ได้แล้วตอนนี้)
และเกือบทั้งหมดขับรถอยู่บนถนน ในจำนวนนี้ประมาณ 2,000 คนอยู่ในคิวรอผ่าตัดบายพาส
เพราะที่นั่นกว่าจะได้บายพาสต้องรอเฉลี่ยหลายปีเนื่องจากเป็นระบบสามสิบบาท เอ๊ย..ไม่ใช่
เป็นระบบรักษาฟรีแบบสังคมนิยม แต่สถิติการติดตามคนไข้เหล่านี้ย้อนหลังห้าปีที่ฐานข้อมูลของกรีนเลนทำไว้
ไม่มีอุบัติเหตุที่เกิดเพราะคนเหล่านี้เจ็บหน้าอกหรือหัวใจวายคาพวงมาลัยแม้เพียงครั้งเดียว
มีสถิติบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุหนึ่งราย แต่ก็เป็นเพราะคนขับรถคันอื่นซึ่งเป็นคนหนุ่มซิ่งรถมาชนรถเขา
ผมบอกศาลว่าสิ่งที่คุณหมอ GP ใช้แจ้งระงับไม่ให้คนไข้ขับรถเป็นเพียง
“ข้อสันนิษฐาน” ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความห่วงใยคนในชุมชนของเขา
แต่สิ่งที่ผมนำเสนอต่อศาลเป็น “ข้อเท็จจริง” ผลปรากฏว่าคนไข้ชนะคดี สามารถทำมาหากินขับรถเมล์ต่อไปได้
4.. ดูคุณจะเป็นห่วงที่ตัวเองผอมลง
คำแนะนำทั่วไปก็คือเวลาอายุมากขึ้น ใครมาทักว่าผอมให้ดีใจ
เพราะคนอายุมากที่ผอมจะอายุยืนกว่าคนอ้วน ดังนั้นเมื่ออายุมาก ผอมดีกว่าอ้วน
แต่ถ้าคุณไม่อยากผอมมาก ก็เพิ่มอาหารโปรตีนสิครับ ถ้าไม่ชอบอาหารเนื้อสัตว์หมูเห็ดเป็ดไก่ก็ใช้โปรตีนจากพืชเช่นถั่ว
งา นัทต่างๆ แทนก็ได้ ถ้าได้โปรตีนวันละสัก 60 -100 กรัมพร้อมกับออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อไปด้วยรับประกันว่าไม่ผอมแน่
5.. คำปรารภของคุณหมอที่เชียงใหม่ที่ว่าปัจจุบันนี้ใช้เส้นเลือดฝอยไปช่วยเลี้ยง
อาจเกิดความเสี่ยงฉับพลันได้ นั่นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้มาจากงานวิจัย COURAGE trial ซึ่งทำการวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบคนไข้หลอดเลือดหัวใจตีบสองเส้นบ้าง
สามเส้นบ้าง ที่ไม่ได้ตีบตรงโคนหลอดเลือดซ้าย (LM) และที่มีอาการเจ็บหน้าอกไม่ถึงชั้นที่
4 (คือไม่ถึงกับขยับตัวนิดเดียวเป็นเจ็บ) โดยให้กลุ่มหนึ่งรักษาด้วยการไม่ทำอะไรรุกล้ำ
อีกกลุ่มหนึ่งรักษาแบบรุกล้ำ เช่นทำบอลลูนหรือทำบายพาส แล้วตามดูสิบสองปี พบว่าอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือการตายกะทันหันของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันเลย
6. สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นๆ
ท่านเจ้าของจดหมายนี้เป็นตัวอย่างของผู้ลงมือปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างจริงจังด้วยการออกกำลังกายและการปรับอาหารการกิน
แม้ว่าจะมาลงมือช้าไปหน่อย คือมาลงมือเอาเมื่อเป็นโรคจ๋าจนทำบอลลูนไม่ไหวและแพทย์แนะนำให้ทำผ่าตัดบายพาสแล้ว
แต่แม้จะช้าก็ไม่ได้สายเกินไป และเมื่อลงมือปรับไปแล้วก็มีผลดีให้เห็น
อย่างน้อยผลการตรวจสวนหัวใจสองครั้งก็ได้ผลว่าครั้งที่สองดีกว่าครั้งแรก อาการเจ็บหน้าอกก็น้อยลง
และความฟิตของร่างกายก็มากขึ้น ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับหลักฐานวิจัยที่วงการแพทย์สรุปได้ก่อนหน้านี้ว่าการปรับวิถีชีวิตทำให้โรคถอยกลับได้
สำหรับท่านที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างคนไข้ท่านนี้ การจะตัดสินใจบอลลูน
ไม่บอลลูน ผ่าตัด ไม่ผ่าตัด นั้นไม่สำคัญ ท่านจะทำยังไงก็ได้ ชอบแบบไหนก็ทำไปเถอะ
แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้และท่านจะต้องทำให้ได้ คือการปรับเปลี่ยนชีวิตตัวเองไปอย่างสิ้นเชิงและจริงจังเหมือนอย่างที่ท่านที่เป็นเจ้าของจดหมายฉบับนี้ได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว
นพ.สันต์
ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Boden WE, O'rourke RA, Teo KK, et al; COURAGE Trial Co-Principal Investigators and Study Coordinators.The evolving pattern of symptomatic coronary artery disease in the United States and Canada: baseline characteristics of the Clinical Outcomes Utilizing Revascularization and Aggressive DruG Evaluation (COURAGE) trial. Am J Cardiol. 2007;99:208-212.
2. Boden WE, O'Rourke
RA, Teo KK, et al: Optimal medical therapy with or without PCI for stable
coronary disease. N Engl J Med 2007;356:1503-1516.
3. Trikalinos TA,
Alsheikh-Ali AA, Tatsioni A, et al: Percutaneous coronary interventions for
non-acute coronary artery disease: a quantitative 20-year synopsis and a
network meta-analysis. Lancet 2009;373:911-918.
4. Stergiopoulos K,
Brown DL: Initial coronary stent implantation with medical therapy vs medical
therapy alone for stable coronary artery disease: meta-analysis of randomized
controlled trials. Arch
5. Go AS, Mozaffarian
D, Roger VL, et al: Heart Disease and Stroke Statistics--2013 Update: A Report
From the American Heart Association. Circulation 2013;127:e6-e245.
6. Agostoni P, Valgimigli M, Biondi-Zoccai GG, et al: Clinical effectiveness of bare-metal stenting compared with balloon angioplasty in total coronary occlusions: insights from a systematic overview of randomized trials in light of the drug-eluting stent era. Am Heart J 2006;151:682-689.
7. Hanekamp C, Koolen J, Bonnier H, et al: Randomized comparison of balloon angioplasty versus silicon carbon-coated stent implantation for de novo lesions in small coronary arteries. Am J Cardiol 2004;93:1233-1237.
6. Agostoni P, Valgimigli M, Biondi-Zoccai GG, et al: Clinical effectiveness of bare-metal stenting compared with balloon angioplasty in total coronary occlusions: insights from a systematic overview of randomized trials in light of the drug-eluting stent era. Am Heart J 2006;151:682-689.
7. Hanekamp C, Koolen J, Bonnier H, et al: Randomized comparison of balloon angioplasty versus silicon carbon-coated stent implantation for de novo lesions in small coronary arteries. Am J Cardiol 2004;93:1233-1237.
8.
Ornish D, Brown SE, et al. Can lifestyle changes reverse coronary heart
disease. The Lancet 1990fb 336: 129-33 1990.
9.
Ornish D, et. al. Intensive lifestyle changes for reversal of coronary heart
disease. JAMA 1998; 280(23): 2001-2007 1998
10. Esselstyn CB Jr, Ellis SG, Medendorp SV, Crowe TD. A
strategy to
arrest and reverse coronary artery disease: a 5-year
longitudinal study
of a single physician’s practice. J Fam Pract 1995;41:560 –568.
11. Esselstyn CB Jr. Updating a 12-year experience with arrest
and reversal therapy for coronary heart disease (an overdue requiem for
palliative cardiology). Am J Cardiol 1999;84:339 –341.
12. Esselstyn CB Jr. Resolving the coronary artery disease
epidemic
through plant-based nutrition. Prev Cardiol 2001;4:171–177.
.............................................
29 กค. 57
จดหมายจากผู้อ่าน
แฟนชื่อ ... ....... เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นเวลา 4 ปีแล้ว จากวันนั้นถึงวันนี้ไม่เคยกินยาตามหมอสั่ง ไม่กินเลยค่ะ แต่ตอนนี้วิ่งมาราธอน 42 กิโลค่ะ รับทั้งถ้วยรับทั้งเหรียญ เพียบ จากที่อ้วน 78 กิโล ตอนนี้ 60 กิโล ดูแลตัวเองแบบที่หมอทำ สุดยอดค่ะ
........................................................
.............................................
29 กค. 57
จดหมายจากผู้อ่าน
แฟนชื่อ ... ....... เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นเวลา 4 ปีแล้ว จากวันนั้นถึงวันนี้ไม่เคยกิ
........................................................