น้ำตาลเทียมทำให้เป็นเบาหวานจริงหรือ
เรียนคุณหมอสันต์
ดิฉันมีความไม่แน่ใจในการใช้น้ำตาลเทียมเพื่อลดแคลอรี่
โดยเฉพาะการดื่มโค้กซีโร่ เพราะเพื่อนส่งข้อมูลมาให้ว่า มีการศึกษาในฝรั่งเศสด้วยกลุ่มตัวอย่าง
ผู้หญิงวัยกลางคนจำนวน 66,000 คนตลอดระยะเวลา14ปี และได้ตีพิมพ์ในวารสาร American
Journal of Clinical Nutrition เดือนกุมภาพันธ์ 2013
สรุปผลการศึกษาว่า การดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเที ยม ( Diet Soda) ขนาด12 ozต่อสัปดาห์ เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคเบาหวานช นิดที่ 2 มากขึ้น33% และหาก ดื่มน้ำอัดลมขนาด 20 ozต่อสัปดาห์
เพิ่มอัตราเสี่ยงมากขึ้น 66%. และว่านับเป็นเรื่องน่าแปลกมากที่สมาค ม
American Diabetes Association and the American Dietetic Association ยังคงแนะนำให้คนอ้วนและผู้ป่วยเ บาหวานดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาล เทียม ( Diet Soda) โดยอ้างว่าไม่มีน้ำตาล ปัจจุบันมีคำอธิบายถึงกลไกว่าเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล เทียม(diet
beverage) สมองจะรับรู้และตอบสนองเสมือนว่ ามีน้ำตาลเข้ามาในกระแสเลือด
จึงสั่งการให้หลั่งอินซูลินออกม า แต่ความจริงกลับไม่มีน้ำตาล
จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกวู บ จนรู้สึกหิว กระหายมากขึ้น โดยคุณหมอสามารถ อ่านเพิ่มเติมที่ : https://www.facebook.com/pag es/DoctorSaputocom/13328158005 4309?ref=hl
และดูวีดีโอประกอบได้ที่ : http://tv.naturalnews.com/v. asp?v=19107C5720984CFED65434A3 D19BE236
รบกวนคุณหมอช่วยวิเคราะห์และแนะนำด้วยนะคะว่าดิฉันยังควรใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลแท้ และควรดื่มโค้กซีโร่ต่อไปได้อยู่หรือเปล่า
ขอบพระคุณค่า
...............................................................
น่าชื่นใจจริง จริ๊ง คนไข้ของผม
เจอร์นอลทางการแพทย์ออกมาได้ไม่กี่วันหมอยังไม่ทันได้อ่านเลย คนไข้ของผมอ่านมาให้แล้วเรียบร้อย
ผมตามไปอ่านดูตัววารสารต้นฉบับตัวจริงแล้ว ขอรวบรัดตอบคุณดังนี้
1.. เรามาพูดถึงงานวิจัยนี้ก่อนนะ
1.1.. เอาระดับชั้นและวิธีการวิจัยก่อนนะ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบศึกษาจากแบบสอบถาม
โดยไม่ได้สุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ เรียกว่าไม่ใช่งานวิจัยระดับสูง วิธีทำคือออกแบบสอบถามให้คน 66,118 คนกรอกเป็นระยะๆ ตอบจริงหรือตอบเท็จก็แล้วแต่คนกรอก
แล้วบันทึกติดตามประเด็นการดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ไว้ ทำอยู่นาน 14 ปี แล้วเอาแบบสอบถามมาวิเคราะห์ดู ซึ่งในคนกลุ่มนี้ปีท้ายๆของการบันทึกมีคนเป็นเบาหวานเกิดขึ้น
1,369 คน
ผู้วิจัยจึงแบ่งคนทั้งหมดนี้อออกเป็นสามกลุ่มตามพฤติกรรมการดื่มซอฟท์ดริ๊งของพวกเขา (อย่าลืมว่าไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งนะ แต่แบ่งตามพฤติกรรมเดิม) คือ
กลุ่ม 1. ชอบดื่มน้ำอัดลมใส่น้ำตาลแท้ๆ
กลุ่ม 2 ชอบดื่มน้ำอัดลมใส่น้ำตาลเทียม
กลุ่ม
3
ชอบดื่มน้ำผลไม้แท้ๆ 100% ไม่เพิ่มน้ำตาล
1.2.. ข้อสรุปของการวิจัยนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยไว้ 5 ประเด็นคือ
ข้อสรุป
1.
เมื่อเทียบคนชอบดื่มน้ำผลไม้แท้ๆ 100% กับคนไม่ชอบดื่มซอฟท์ดริ๊งค์ใดๆเลย
พบว่าอัตราการเป็นเบาหวานไม่ต่างกัน พูดง่ายๆว่าดื่มน้ำผลไม้แท้ๆ ไม่สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้นหรือน้อยลง
ข้อสรุป
2.
เมื่อเทียบคนชอบดื่มน้ำอัดลม (ทั้งแบบน้ำตาลแท้กับแบบน้ำตาลเทียม) กับคนไม่ดื่มซอฟท์ดริ๊งค์ใดๆเลย
พบว่าคนชอบดี่มน้ำอัดลมทั้งสองแบบต่างเป็นเบาหวานมากกว่าคนไม่ชอบดื่มซอฟท์ดริ๊งค์ใดๆเลย
ข้อสรุป
3.
เมื่อเทียบคนดื่มน้ำอัดลมด้วยกัน (ทั้งแบบน้ำตาลแท้และแบบน้ำตาลเทียม)
พบว่าพวกดื่มปริมาณมาก
(สัปดาห์ละมากกว่า
603
ซีซี.) เป็นเบาหวานมากกว่าพวกปริมาณดื่มน้อย
ข้อสรุป
4.
เมื่อเทียบคนดื่มน้ำอัดลมแบบน้ำตาลแท้กับแบบน้ำตาลเทียม
พบว่าพวกดื่มแบบน้ำตาลเทียมดื่มน้ำอัดลมเป็นปริมาณมาก (เฉลี่ย 568 ซีซีต่อสัปดาห์) กว่าพวกดื่มแบบน้ำตาลแท้ (เฉลี่ย 328 ซีซี.ต่อสัปดาห์)
ข้อสรุป
5.
เฉพาะในกรณีกลุ่มดื่มน้ำอัดลมแบบน้ำตาลเทียม งานวิจัยนี้ไม่สามารถบอกได้ว่ามีปัจจัยอื่น (confound factors) ซ่อนอยู่เบื้องหลังน้ำตาลเทียมแล้วมาเป็นต้นเหตุของการทำให้อุบัติการณ์ของการเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป (ที่ไม่ดื่มซอฟท์ดริ๊งเลย) หรือไม่ เพราะงานวิจัยนี้ไม่ได้สำรวจบันทึกปัจจัยอื่นๆเหล่านั้นไว้
จึงสมควรที่จะมีการทำวิจัยซ้ำอีกครั้งโดยทำแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อจะได้พิสูจน์ให้เห็นดำเห็นแดงว่าน้ำตาลเทียมเป็นต้นเหตุของการเป็นเบาหวานจริงหรือไม่
1.3.. ผู้วิจัยได้ “คาดเดา” กลไก (proposed mechanism) แถมท้ายว่า
“.. อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อคนกินอะไรหวานๆสมองจะคาดหมายว่าน้ำตาลจะเข้ามาสู่กระแสเลือด
จึงสั่งปล่อยอินสุลินเข้ามารอ แต่เมื่อไม่มีน้ำตาลเข้ามาจริงๆ
ทำให้ระดับน้ำตาลตกลงจนเจ้าตัวรู้สึกหิวต้องหาอะไรกินมากๆ” อย่าลื้ม..ม ส่วนนี้เป็นข้อคาดเดาแถมท้ายงานวิจัยนะครับ
ไม่ใช่ผลการวิจัย
2.. แต่พอคนเอาผลวิจัยนี้มาโพนทะนา กลับโพนทะนาว่าผลวิจัยบอกว่าน้ำตาลเทียมทำให้คนกินเป็นเบาหวานมากขึ้น
แล้วเอากลไกคาดเดา (proposed mechanism) มาอธิบายต่อราวกับเป็นผลสรุปจากงานวิจัย
ซึ่งมันไม่ใช่เลย งานวิจัยที่ไม่ได้สุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบจะไปสรุปเป็นตุเป็นตุว่าอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดเบาหวานได้อย่างไร
เพราะมีปัจจัยกวนมากมายที่ทำให้คนเป็นเบาหวาน การโพนทะนาอย่างนี้ตีความได้สองอย่าง ฃ
อย่างที่หนึ่ง คือคนโพนทะนาประเมินผลการวิจัยไม่เป็น หรือ
อย่างที่สอง
ก็คือคนโพนทะนาหาเรื่องขายสินค้าของตัวเอง
สำหรับหมอซาปูโต้ที่คุณบอกมานั้นเขาเป็นหมอที่เอาดีทางการแพทย์ทางเลือก (alternative
medicine) เว็บไซท์ของเขา (http://doctorsaputo.com/shop.php)
ขายสินค้าการแพทย์ทางเลือกหลายชนิดรวมทั้งอุปกรณ์สวนก้นทำดีท๊อกซ์ แต่ว่าคุณต้องเสียเงินเป็นสมาชิกก่อนนะจึงจะเข้าไปใช้บริการและเอารายละเอียดในเว็บไซท์ของเขาได้
ผมจึงตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะเป็นกรณีแกล้งโง่ซะละมัง
3.. ถามผมว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้ไหมที่ว่าน้ำตาลเทียมหรือ Aspartem จะทำให้อินสุลินออกในเลือดมามาก และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดฮวบลง ตอบว่าหลักฐานวิจัยตามดูระดับน้ำตาลและระดับอินสุลินในเลือดหลังกินน้ำตาลเทียมนั้น
มีคนทำวิจัยไว้แล้วและตีพิมพ์สรุปผลไว้แล้วว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
รู้สึกจะตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการอังกฤษ (BJN) ดังนั้นไม่ต้องเสียเวลาเดาให้ลำบากเลย
คำตอบก็คือน้ำตาลเทียมไม่ได้ทำให้อินสุลินสูงขึ้นหรือน้ำตาลลดลง
ถ้าจะถามความเห็นส่วนตัวของผม (ขอเสนอความเห็นบ้างตะ) ผมเห็นว่าน้ำตาลเทียมทุกชนิด ไม่ว่าจะทำจากแอสปาร์เทมหรือซูคราโลส
นับรวมทั้งน้ำตาลแล็คโตส (ที่ใช้ทำเป็นตัวผงเพื่อเพิ่มปริมาณให้ตักง่าย) ด้วย
ทุกองค์ประกอบของมันเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วก็ล้วนถูกย่อยเป็นโมเลกุลพื้นฐานซึ่งมีอยู่ในอาหารทั่วๆไปนี่เอง
มันไม่ใช่สารสังเคราะห์พิสดารมาจากไหน มันจะไปออกฤทธิ์พิสดารอย่างที่ว่านั้นได้อย่างไร
4.. ถามผมว่าแล้วน้ำตาลเทียมช่วยลดความอ้วนได้ไหม อันนี้มีงานวิจัยมาก โดยที่ผลวิจัยมันให้ผลขัดๆกันอยู่
แต่มีคนทบทวนงานวิจัยทั้งหมดอย่างละเอียดไว้สองคน คนหนึ่งชื่อ Raben อีกคนหนึ่งชื่อ Hunty การทบทวนของทั้งสองคนนี้ให้ผลตรงกันว่าถ้าเป็นการกินน้ำตาลเทียมแบบกินแทนน้ำตาลแท้ที่เคยกินอยู่เดิม
เช่นเปลี่ยนน้ำอัดลมใส่น้ำตาลแท้มาเป็นน้ำอัดลมใส่น้ำตาลเทียม จะมีผลช่วยลดน้ำหนักได้
5.. กล่าวโดยสรุป “..หวานเป็นลม ขมเป็นยา” หิ หิ ขอโทษ นอกเรื่อง
เพราะนี่มืดแล้วไปมวกเหล็กไม่ทันเสียแล้ว กล่าวโดยสรุปวงการแพทย์ยังถือว่าน้ำตาลเทียมดีกว่าน้ำตาลแท้ในแง่ของการช่วยลดแคลอรี่ในอาหาร ถ้าเป็นคนติดรสหวาน
และยังถือตามหลักฐานปัจจุบันว่าน้ำตาลเทียมเป็นอะไรที่ปลอดภัยไร้กังวล งานวิจัยขี้หมาต่างๆที่ว่าน้ำตาลเทียมมีพิษมีภัยอย่างนั้นอย่างนี้ยังเป็นหลักฐานระดับต่ำที่ในทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ ดังนั้น ณ ขณะนี้ ให้ถือตามหลักฐานและคำแนะนำของสมาคมเบาหวานอเมริกัน (ADA) ที่แนะนำให้คนติดรสหวานใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลแท้เพื่อลดแคลอรี่ต่อไป ผมถือว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีเป็นอันดับสอง รองลงมาจากวิธีเลิกรสหวานแบบหักดิบไปเลยครับ
ปล. ขออนุญาตป่าวประกาศเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับเรื่องจริยธรรมเกี่ยวกับการทำและการใช้ผลงานวิจัยหน่อยนะ ว่า "..หมอสันต์ไม่ได้ทำน้ำตาลเทียมขาย ไม่ได้มีญาติขายน้ำอัดลมใส่น้ำตาลเทียม และไม่ได้รับทรัพย์ในรูปแบบใดๆมาปกป้องน้ำตาลเทียม ในการเขียนบทความนี้...อามิตตาพุทธ."
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Fagherazzi et al.
Consumption of artificially and sugar-sweetened beverages and incident type 2
diabetes in the Etude Epidémiologique auprès des femmes de la Mutuelle Générale
de l'Education Nationale-European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition
cohort.
American Journal of Clinical Nutrition. January 2013.
American Journal of Clinical Nutrition. January 2013.
2. Renwick AG MS.
Sweet-taste receptors, low-energy sweeteners, glucose absorption and insulin
release.
British Journal of Nutrition. 2010;104(10):1415-1420. REVIEW
British Journal of Nutrition. 2010;104(10):1415-1420. REVIEW
3. Raben and
Richelsen. Artificial sweeteners: a place in the field of functional foods?
Focus on obesity and related metabolic disorders.
Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care. 2012;15:597-604.
Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care. 2012;15:597-604.
4. De la Hunty at al.
A review of the effectiveness of aspartame in helping with weight control. Nutrition Bulletin 31; 2006