น้ำมันปลาแค้ปซูล (Fish Oil) เป็นมิตรหรือศัตรู
เรียน คุณหมอสันต์ครับ
ขอเล่าประวัติผมก่อนครับ คุณพ่อของผมเสียชีวิตแล้วด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาต สลับกับอัมพฤกษ์อยู่ 2 ปี ก่อนเสียชีวิตตอนอายุ 52 ปี คุณแม่ปัจจุบันอายุ 77 ปี เป็นเกือบทุกโรคครับ ความดัน เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม (ผ่าตัดเปลี่ยน) และโรคหัวใจ (บายพาส 3 เส้น) ปัจจุบันนั่งรถเข็น เดินได้บ้างเล็กน้อย
ตัวผมเองทำงานออฟฟิศ อายุ 45 ปี สูง 175 ซม.หนัก 85 กก. มีโรคประจำตัว ดังนี้ครับ
1. เป็นเก๊าท์ โดย Attack ครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว (วัดได้ 6-8 ปัจจุบันทานยา Allopulinol 100 mg วันละ 1 เม็ด)
2. ความดันโลหิตสูง 150/100 (ขณะทานยา Amlodipine 5 mg ½ เม็ดและ Atenolol 50 mg 1 เม็ด /วัน)
3. ไขมันพอกตับ และตับอักเสบ (SGPT = 50-100 กว่าๆต่อกันมากว่า 10 ปี)
4. ไตรกลีเซอไรด์สูง (200-350 ต่อกันกว่า 5 ปี)
5. HDL = 33 , LDL = 120
โชคดีที่ผมอ่านพบข้อความเรื่องที่คุณหมอแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ที่แชร์จากเพื่อนๆผ่าน Facebook ผมทำตามแต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ โดยลดแป้งและน้ำตาลแต่ยังไม่ลดไขมัน ทานผักผลไม้เกิน 5 เสิร์ฟวิ่งต่อวัน และออกกำลังกายบ้างเล็กน้อย ยังไม่ปรับการควบคุมอารมณ์(ทำยากที่สุด) และมีบ้างบางวันที่เกิดโยโย่ ยังไม่งดเหล้า เบียร์ (ประมาณ 2 ครั้ง/สัปดาห์) ในเวลา 4 เดือนน้ำหนักลง 12 กก.ครับ (จาก 85 กก. เป็น 73 กก.ในปัจจุบัน) โดยที่ผล
ตรวจเลือดหลังทำประมาณ 2 เดือน เป็นดังนี้
1. เก๊าท์ ไม่เปลี่ยนแปลง (ทานยา Allopulinol 100 mg วันละ 1 เม็ด)
2. ความดันลดเหลือ 110/80 (ขณะทานยาเท่าเดิม)
3. ตับอักเสบดีขึ้น (SGPT = 15)
4. ไตรกลีเซอไรด์เหลือ 97
5. HDL = 39 , LDL = 126
ทราบจากข้อเขียนเก่าของคุณหมอ ที่คุณหมอแนะนำให้ทานน้ำมันปลา ซึ่งผมดูจากกรรมพันธุ์รวมทั้งผลตรวจเลือดของผม ผมน่าจะมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสูงมากๆ คำถามคือผมควรทานน้ำมันปลาไหมครับ ถ้าควรๆทานวันละเท่าไหร่ ต้องดู DHA , EPA ไหมครับว่าร่างกายควรได้รับวันละกี่ mg มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังไหมครับ เช่น LDL สูงขึ้น , โลหะหนักจากวัตถุดิบ , อาการเลือดไหลไม่หยุด ถ้าผมต้องการให้แม่ (77 ปี), ภรรยา(32 ปี) , ลูกสาว (6 ปี) ทาน ควรไหมครับ ถ้าควร จะให้ทานปริมาณเท่าไหร่ ตัวคุณหมอทานอยู่ไหมครับ ยี่ห้ออะไรครับ (ขอโทษที่ละลาบละล้วงครับ)
ข้อเขียนของคุณหมอเปลี่ยนชีวิตผมไปในทางที่ดีขึ้นมากครับ คนก็ทักกันเยอะ (เรื่องลดนน.) ผลตรวจเลือดที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนี้ผมพยายามออกกำลังให้ได้ตามที่คุณหมอแนะนำ รวมทั้งพยายามควบคุมอารมณ์ให้ดีขึ้น ผมหวังว่าคงจะห่างจากโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และแน่นอนครับผมจะพยายามเผยแพร่ข้อเขียนของคุณหมอออกไปในวงที่กว้างขึ้น ขอขอบพระคุณแรงบันดาลใจจากคุณหมอมากๆครับ
ด้วยความเคารพนับถือ
... ....
แฟนคลับคุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์
......................................................
ตอบครับ
ผมเพิ่งเสร็จจากการทำแค้มป์สุขภาพให้กับผู้เกษียณอายุของสถาบันแห่งหนึ่ง ไปกินไปนอนอยู่ที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งที่นครนายกสามวันสามคืนรวด สนุกดี กลับมาเปิดคอมก็พบเจ้าของจดหมายท่านนี้ซึ่งเขียนมาทวงคำตอบเป็นครั้งที่สาม ประกอบกับมีจดหมายท่านอื่นอีกหลายท่านที่เขียนมาถามเรื่องน้ำมันปลาค้างอยู่ ประเด็นส่วนใหญ่คล้ายกันคืออ่านจากเน็ทแล้วคนโน้นว่าน้ำมันปลาดีคนนี้ว่าน้ำมันปลาชั่วสรุปแล้วมันอะไรกันแน่ ผมจึงจะรวบตอบซะเลยทีเดียวแบบเหมาเข่งให้ครบทุกประเด็น ถือว่าจดหมายถามเรื่องน้ำมันปลาได้รับการล้างบางย้อนหลังหมดเกลี้ยงในวันนี้แล้วนะครับ
ประเด็นที่ 1. การแพทย์เพื่อขายข่าว
ข่าวคือสินค้า นี่เป็นสัจจะธรรมมานมนาน ประเด็นคือปัจจุบันมีคนแข่งกันทำมาหากินกับข่าว “เยอะ” มาก คนเราเมื่อทำมาหากินกับสินค้า ก็ต้องเรียนรู้ว่าสินค้าของตัวหน้าตาแบบไหนขายได้ หน้าตาแบบไหนจะขายไม่ออก ซึ่งสูตรสำเร็จก็มีแล้ว แบบที่คนเขาพูดกันว่า “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียเงิน” และถ้าท่านเป็นคนที่อดทนเฝ้าดูละครน้ำเน่าทางโทรทัศน์ไทยติดต่อกันมานานสักสามสิบปีที่ผ่านมา ท่านก็จะเห็นว่าวรรณกรรมน้ำเน่าคลาสสิกของไทยจะถูกหมุนเวียนเอาขึ้นมาทำละครโทรทัศน์ซ้ำๆซากๆทุกๆ 5-10 ปี แต่ละรอบที่กลับมาก็จะเพิ่มจุดขายของยุคสมัยเข้าไป เช่นต้องมี ตบจูบ ตบจูบ หรือพระเอกต้องปล้ำนางเอก เป็นต้น (พระเอกบ้าอะไรวะ ปล้ำผู้หญิง หึ หึ ขอโทษ นอกเรื่อง) การสร้างจุดขายมันยังมีอีกหลายมุมนะ เช่นต้องหักมุม ต้องสร้างคนธรรมดาให้เป็นฮีโร่หรือไม่ก็เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจ ต้องถลกกระโปรง เอ๊ย ไม่ใช่เปิดโปงให้เซอร์ไพรส์หรือตระหนกตกใจ เช่นด้วยวิธีพูดความจริงครึ่งเดียว อีกครึ่งปิดไว้เพื่อให้เกิดจินตนาการทางร้าย เป็นต้น เหล่านี้คือวิธีทำมาหากินกับข่าว ซึ่งไม่ใช่ความลับอะไร เป็นที่รู้กันทั่ว ฝ่ายผู้ขายข่าวนั้นรู้ดีอยู่แล้วว่าตัวเองกำลังทำอะไร และผู้บริโภคก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ ผมเพียงแต่หยิบขึ้นมาพูดถึงเท่านั้น ไม่ถือเป็นผลงานระดับ “เปิดโปง” แต่อย่างใด
การแพทย์แผนปัจจุบันทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นธุรกรรมการขายข่าว พวกเราหมู่แพทย์ที่ทำวิจัยเรียกกิจกรรมในส่วนนี้แบบค่อนแคะว่า “Pop medicine” กล่าวคือทุกวันนี้สำนักงานข่าวฝรั่งใหญ่ๆไม่น้อยที่เข้ามามีเอี่ยวกับวารสารการแพทย์ซึ่งเป็นแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ้างก็ออกเงินให้ทำวิจัยเพื่อหาประเด็นไปทำข่าว บ้างก็เข้ามาถือหุ้น บ้างก็ลงทุนเปิดหัววารสารการแพทย์ใหม่ขึ้นมาซะเองเลย เกือบทุกสำนักงานข่าวต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นด๊อกเตอร์ที่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ คอยนั่งหาว่าแง่มุมไหนของผลวิจัยจะสามารถนำไปแง้ม ไปแพลม หรือไปเผยแพร่ในลักษณะที่จะกลายเป็นสินค้าข่าวขายดีได้บ้าง หากฟลุ้คๆสร้างสมัยนิยมหรือความบ้าเห่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นได้เหมือนจุดไฟให้ไหม้ฟางได้สำเร็จ ก็จะได้ทำมาหากินกับความบ้านั้นเป็นรอบๆไปจนกว่าไฟจะมอด ความที่ผู้บริโภคทั่วไปในโลกใบนี้เป็นคนสองบุคลิก คือด้านหนึ่งเป็นคนไม่เดียงสาเรื่องการจัดชั้นหลักฐานวิทยาศาสตร์เลยว่าผลวิจัยอย่างไหนมีน้ำหนักให้เชื่อถือได้แค่ไหน ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็ศรัทธาวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่งคือศรัทธาถึงระดับงมงายเลยทีเดียว ด้วยการที่มีผู้บริโภคอย่างนี้ การทำมาหากินแบบ Pop Medicine นี้ก็จึงทำมาค้าขึ้นเรื่อยมา มีข่าวมีประเด็นใหม่ๆทางด้านสุขภาพออกมาไม่เว้นแต่ละเดือน มุขนี้แป๊กแล้วก็หันไปเล่นมุขโน้น อย่างนี้เรื่อยไป
ประเด็นที่ 2. การแพทย์แบบตาบอดคลำช้าง
การแพทย์แผนปัจจุบันนี้รุ่งเรืองมาได้เพราะความเข้าใจสรีรวิทยาหรือระบบการทำงานของอวัยวะร่างกายมนุษย์ได้เกือบจะทะลุปรุโปร่ง จะมียกเว้นบ้างก็บางอวัยวะอย่างเช่นสมองเท่านั้นที่เรายังไม่เข้าใจมันดีนัก ซึ่งคงจะเป็นเพราะในสมัยกลางพวกพระซึ่งใหญ่อยู่ในยุโรปได้ผูกขาดเรื่องความคิดจิตใจไว้เล่นเสียพวกเดียวและห้ามไม่ให้พวกหมอเข้าไปยุ่งเด็ดขาด ถ้าข้ามแดนตรงนี้ก็จะเอากันถึงตายเลยทีเดียว วิชาแพทย์จึงอาจจะล้าหลังในเรื่องความคิดจิตใจไปบ้าง แต่ภาพรวมก็คือแพทย์รู้จักระบบร่างกายมนุษย์ดีไม่แพ้ช่างซ่อมรู้จักไส้ในของรถยนต์ โรคที่แก้ได้ด้วยความเข้าใจระบบร่างกายได้รับการแก้ไขไปเกือบหมด แม้กระทั่งความพิการของร่างกายที่เป็นมาตั้งแต่เกิดก็แก้ได้เสียเป็นส่วนใหญ่ ตอนนี้วงการแพทย์เหลือแต่ปัญหาที่เกิดจากสิ่งนอกร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาหาร สิ่งแวดล้อม และสไตล์การใช้ชีวิต ซึ่งมาก่อความเพี้ยนขึ้นในระบบแบบเนียนๆ คือแบบที่เรียกรวมๆว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เปรียบเหมือนช่างซ่อมรถยนต์ต้องมาเจอปัญหาน้ำมันไม่ตรงสเป๊ค หรือลูกค้าเอารถไปขับในที่ขี้ฝุ่นในมีเม็ดเล็กจนเล็ดผ่านไส้กรองเข้าไปได้ ความรู้ระบบเครื่องยนต์อย่างเดียวไม่พอแก้ปัญหา เขาต้องเรียนรู้ไกลไปถึงขี้ฝุ่นในอากาศ สารปนเปื้อนในน้ำมัน เขาต้องทดลองไปว่าน้ำมันแบบไหนจากแหล่งไหนทำให้เครื่องเป็นอย่างไร กว่าจะสรุปได้ก็ต้องลองผิดลองถูกไปอีกนานโขอยู่ การแพทย์เราก็เดินทางมาถึงตรงนี้ เราต้องเรียนรู้ว่าอาหาร สิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์แบบไหนมีผลต่อระบบร่างกายอย่างไร วิธีเรียนก็มีอย่างเดียว คือลองผิดลองถูก ปัญหามีอยู่เพียงแค่ว่าเรื่องนอกร่างกายคนที่จะต้องเรียนรู้มันแยะ การจะสรุปผลกระทบต่อร่างกายคนได้แต่ละเรื่องแต่ละประเด็นมันก็นานเป็นชั่วอายุคน แถมข้อมูลที่วิจัยได้ขั้นต้นจะเอาไปใช้เป็นฐานการวิจัยในขั้นที่สองก็มีข้อจำกัดอีก เพราะปัจจัยแวดล้อมเดิมๆเปลี่ยนไปหมดแล้วต้องมาจูนกันใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า ยกตัวอย่างง่ายเอาเรื่องน้ำมันปลาที่เราจะคุยกันวันนี้ก็แล้วกัน ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาเมื่อยี่สิบสามสิบปี่ก่อนบ่งชี้ว่าน้ำมันปลาลดปฏิกริยาการอักเสบในคนและชลอการแข็งตัวของเลือดและลดการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดลงได้ พอเราจะเอาความรู้เบื้องต้นนี้มาทำการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อยืนยัน ก็ปรากฏว่ามีปัจจัยกวนใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกเพียบ เช่น คนไข้สมัยนี้ล้วนกินยาลดไขมัน (statin) กันมากยิ่งกว่ากินขนมเสียอีก ยาแอสไพรินสมัยนี้คนทั่วไปก็กินกันเป็นว่าเล่นเช่นกัน ยาเหล่านี้ล้วนลดการอักเสบได้ ทำให้การทำวิจัยเพื่อพิสูจน์ว่าฤทธิ์ลดการอักเสบของน้ำมันปลามีอยู่จริงหรือเปล่าทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลยในทางปฏิบัติเพราะหาคนไข้ที่ไม่ได้รับยาต้านการอักเสบอื่นได้อยู่เลยมาวิจัยไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ทำให้การเสาะหาความรู้ใหม่ในทางการแพทย์ทุกวันนี้มีความคืบหน้าในระดับตาบอดคลำช้าง ผมจึงเรียกว่าเป็น “การแพทย์แบบตาบอดคลำช้าง” ไง ภายใต้ระบบการแพทย์แบบนี้ข้อมูลชิ้นเล็กๆที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละเดือนผู้เกี่ยวข้องจึงไม่พึงรีบ “กระต๊าก” ว่าเป็นสัจจะธรรม เหมือนเมื่อคนตาบอดคนหนึ่งคลำที่หางช้างพบดุ้นยาวๆปลายเป็นขนแล้วจะรีบสรุปว่าช้างคือแค่นี้ย่อมไม่ใช่แน่ ในฐานะผู้บริโภค เมื่อท่านรับทราบผลวิจัยใหม่ทางการแพทย์แต่ละครั้ง ให้ทำใจเหมือนได้ฟังคนตาบอดคนหนึ่งที่คลำหางช้างอยู่ร้องตะโกนว่า “ช้างเป็นดุ้นเล็กยาวมีขนที่ปลาย” ฟังแล้วท่านควรเฉยไว้ก่อน เดี๋ยวคนตาบอดอีกคนก็จะตะโกนอีกอย่าง ตามๆกันมา นานๆไปรูปลักษณ์ที่แท้จริงของช้างเป็นอย่างไรพวกคนตาบอดเขาก็คงจะสรุปกันออกมาจนได้ แต่นานแค่ไหนไม่รู้ ตอนนี้ให้ท่านใช้หลักฟังแล้วเฉยไว้ก่อน
ประเด็นที่ 3. ชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์
เมืองไทยเรานี้บางส่วนดูทันสมัยผู้คนค้นคว้าข้อมูลในเน็ทแล้วส่งต่อให้กันเป็นว่าเล่น แต่แท้จริงแล้วล้าหลัง เปิดดูหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ก็ยังมีข่าวผู้วิเศษหมอน้อยหมอเณรหลวงปู่เจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆอยู่ไม่ได้ขาด วิทยาศาสตร์ปลอม หมอเก๊ นักวิชาการเทียม ก็ยังทำมาค้าขายกันได้เอิกเกริกบนอินเตอร์เน็ทนั่นแหละ เพราะผู้คนแยกไม่ออกว่าอะไรคือคุณค่าแท้ อะไรคือคุณค่าเทียม การที่ผมจะพูดให้คนไทยวันนี้รู้จักการจำแนกหลักฐานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง มันอาจจะผิดที่ผิดเวลาไปหน่อย แต่ผมก็จะพูด เพราะผมเห็นว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น
คือสิ่งที่สื่อเอามาประโคมว่าเป็นผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น เจาะลึกลงไปแล้วมันมีระดับความน่าเชื่อถือต่างกัน เรียกว่ามีระดับชั้นของหลักฐาน (level of evidence) ต่างกัน ตั้งแต่เชื่อถือได้ 100% ไปจนถึงเชื่อถือได้ 0% ก็ล้วนจั่วหัวว่าเป็นผลวิจัยวิทยาศาสตร์ได้หมด พูดง่ายว่ามีทั้งจริงทั้งหลอก หลักฐานทางการแพทย์ที่เราใช้กันทั่วไปนี้ เราใช้กันแต่หลักฐานการวิจัยในคน ส่วนการวิจัยในสัตว์หรือในห้องทดลองเราไม่ได้เอามาใช้ในคน งานวิจัยในคนแบ่งแบบง่ายๆเป็นสองระดับ ตามความเชื่อถือได้ของมัน คือ
3.1 งานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม (RCT) คืองานวิจัยที่เอาคนจริงๆตัวเป็นๆมาจำนวนหนึ่ง จับฉลากสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินของจริง อีกกลุ่มหนึ่งให้กินของปลอมโดยไม่ให้รู้ว่าใครได้ของจริง ใครได้ของปลอม แล้วเอาผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน ภาษาหมอเรียกว่า randomized clinical trial เขียนย่อว่า RCT
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อราวยี่สิบปีมาแล้ว มีคนอยากรู้ว่าการกินปลามากช่วยลดการตายจากโรคหัวใจได้หรือเปล่าจึงทำการวิจัยชื่อ “อาหารและการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ” (Diet And Reinfarction Trial เขียนย่อว่า DART) โดยเอาผู้ชายที่เพิ่งเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาหมาดๆจำนวน 2,032 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งบังคับกินปลาที่มีน้ำมันมากสัปดาห์ละ 200 – 400 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารตามปกติของตน แล้วติดตามดูสองปีพบว่ากลุ่มที่ที่ถูกบังคับให้กินปลามากมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มที่กินอาหารตามกว่าปกติ 29% จึงสรุปว่าคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาแล้ว การกินปลามากถึง 200-400 กรัมต่อสัปดาห์ลดการตายลงได้
งานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มนี้ วงการแพทย์ถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด คือเป็นหลักฐานชั้นที่ 1
3.2 งานวิจัยเชิงสังเกต (observational) บางทีก็เรียกว่างานวิจัยเชิงระบาดวิทยา (epidermiologic) เป็นการวิจัยแบบตามไปดูคนสองกลุ่มที่กินหรืออยู่ต่างกัน โดยที่การจะกินจะอยู่ของแต่ละคนนั้นเจ้าตัวเขาเลือกเขาทำของเขาเองอยู่ก่อนแล้ว ผู้วิจัยไม่ได้สุ่มตัวอย่างเอาเขามาจับฉลากแยกกลุ่มแล้วบังคับให้ทำ งานวิจัยแบบนี้เป็นระดับที่ต้องฟังหูไว้หู เพราะการที่เขากินเขาอยู่ของเขาเองอยู่แล้วอาจมีปัจจัยกวนซ่อนอยู่เบื้องหลังเป็นตัวผลักดันให้เขาทำอย่างนั้น ทำให้ผลการวิจัยถูกตีความผิดเพี้ยนไปได้
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้ว เมื่อข้อมูลสถิติบอกว่าคนญี่ปุ่นที่ไปอยู่เกาะฮาวายเป็นโรคหัวใจตายกันมาก คนก็เพ่งเล็งว่าคงเป็นเพราะกาแฟ จึงทำการวิจัยโดยการตามดูคนญี่ปุ่นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว อีกกลุ่มหนึ่งคือคนที่ไม่ดื่มกาแฟ ตามดูไปได้สี่ปีก็พบว่ากลุ่มคนที่ดื่มกาแฟเป็นโรคหัวใจตายมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ดื่ม จึงสรุปตอนนั้นว่ากาแฟสัมพันธ์กับการตายจากโรคหัวใจมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ผิดความจริง
ถามว่าทำไมงานวิจัยเชิงระบาดวิทยาหรือเชิงสังเกตบางครั้งจึงให้ผลสรุปที่ผิดความจริงไปได้ ตอบว่าเพราะมันมีปัจจัยกวน (confound factor) ที่จำแนกคนออกเป็นสองกลุ่มแบบอัตโนมัติรอไว้ล่วงหน้าก่อนที่นักวิจัยจะตามไปดูแล้ว โดยที่ผู้วิจัยไม่ทราบ ในกรณีของงานวิจัยกาแฟนี้ปัจจัยกวนที่ว่านั้นคือการสูบบุหรี่ คือคนญี่ปุ่นที่เกาะฮาวายสมัยนั้นพวกที่ดื่มกาแฟมีเปอร์เซ็นต์คนสูบบุหรี่สูงกว่าพวกที่ไม่ดื่มกาแฟ ความเป็นจริงคือบุหรี่ต่างหากที่สัมพันธ์กับการตายจากหัวใจมากขึ้น ไม่ใช่กาแฟ เมื่อแยกเอาคนสูบบุหรี่ออกไปจากทั้งสองกลุ่ม ก็พบว่าผู้ดื่มกาแฟกับไม่ดื่มมีอัตราตายจากโรคหัวใจเท่ากัน นี่เป็นตัวอย่างพึงระวังในการแปลผลการวิจัยเชิงระบาดวิทยา เพราะในเรื่องร่างกายมนุษย์กับอาหารและสิ่งแวดล้อมนี้มีปัจจัยกวนแยะมาก ซึ่งหากไม่ได้ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม ก็อาจจะถูกปัจจัยกวนแบ่งกลุ่มให้แบบอัตโนมัติล่วงหน้าโดยผู้วิจัยไม่รู้ตัว แล้วผลที่ได้ก็จะเพี้ยนไปแบบนี้
อนึ่ง โปรดสังเกตว่าผมไม่ได้พูดถึงงานวิจัยที่ไม่ได้ทำในคนเลยนะ เช่นงานวิจัยในสัตว์ทดลอง งานวิจัยในห้องแล็บ เพราะเป็นหลักฐานวิจัยระดับต่ำที่วงการแพทย์ไม่ได้เอาผลมาใช้กับคน แต่ก็เป็นหลักฐานที่ถูกใช้อ้างกันมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีอ้างในอินเตอร์เน็ทเพื่อขายสินค้า ยกตัวอย่างเช่นมีคนสกัดเอาสารจากเปลือกผลไม้ชนิดหนึ่งไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงเซลมะเร็งในห้องแล็บ แล้วพบว่าสารสกัดนั้นยับยั้งการเติบโตหรือฆ่าเซลมะเร็งได้ ก็สรุปผลวิจัยว่าสารสกัดนั้นหากคนกินแล้วจะป้องกันมะเร็งได้และทำออกขายกันเอิกเกริก เป็นต้น
นอกจากนี้ข้อมูลในอินเตอร์เน็ทอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้เป็นหลักฐานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เลย เป็นแต่เพียงความเชื่อ หรือสมมุติฐาน หรือข้อสันนิฐาน หรือเรื่องเล่า (anecdotal) ซึ่งเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงบ้าง เป็นเรื่องที่กุขึ้นมาเพื่อขายของบ้าง บางทีก็อ้างงานวิจัยที่ทำกับกลุ่มประชากรหนึ่งซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆแบบหนึ่ง ไปใช้กับอีกกลุ่มประชากรหนึ่งซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการวิจัยแตกต่างกันออกไป วิธีการอ้างแบบมั่วนิ่มนี้เรียกว่า extrapolation ซึ่งวงการแพทย์ไม่ได้นับเป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด
กล่าวโดยสรุป เมื่อได้ข้อมูลมาจากเน็ท ท่านจะต้องเจาะลึกกลั่นกรองลงไปให้ได้ก่อนว่ามันเป็นผลวิจัยระดับไหน เป็นการวิจัยในคนหรือไม่ ถ้าเป็น เป็นการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ หรือเป็นการติดตามสังเกตเชิงระบาดวิทยา ถ้าไม่ใช่การทดลองในคน เป็นการทดลองในสัตว์หรือในห้องทดลอง หรือว่าเป็นแค่คำบอกเล่าไร้สาระ คือจัดชั้นมันเสียก่อน แล้วให้น้ำหนักไปตามชั้นของมัน อะไรที่เป็นหลักฐานชั้นต่ำฟังแล้วก็ทิ้งได้เลย อะไรที่เป็นชั้นที่ควรฟังหูไว้หู ฟังแล้วก็เฉยไว้ก่อน ถ้าท่านเจาะลงไปไม่ได้ว่ามันเป็นหลักฐานชั้นสูงหรือชั้นต่ำ ให้ท่านนับเป็นหลักฐานชั้นต่ำไว้ก่อน โดยวิธีนี้ท่านก็จะไม่ต้องเป็นบ้าเพราะอินเตอร์เน็ท
ประเด็นที่ 4. น้ำมันปลาแค้ปซูลลดอัตราตายจากโรคหัวใจได้จริงหรือ
ถ้าคุณถามผมเมื่อสองปีก่อนผมจะตอบว่า “จริงครับ” แต่ถามผมตอนนี้ผมตอบว่า “น่าจะจริง” เพราะสองปีที่ผ่านมานี้มีหลักฐานใหม่ๆเกิดขึ้นซึ่งให้ผลสรุปขัดแย้งกับหลักฐานเดิมทำให้ความเชื่อมั่นที่ว่าน้ำมันปลาลดการตายจากโรคหัวใจได้ ถูกสั่นคลอนไปเล็กน้อย
เนื่องจากเรื่องน้ำมันปลากับโรคหัวใจนี้มีผลวิจัยมากพอควร ผมจึงจะตัดงานระดับวิจัยเชิงระบาดวิทยาทิ้งหมด จะพูดถึงแต่งานวิจัยชั้นหนึ่งที่ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) เท่านั้น ซึ่งแบ่งงานวิจัยระดับนี้ได้เป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ
พวกที่ 1. งานวิจัยที่สรุปผลได้ว่าน้ำมันปลาลดการตายจากโรคหัวใจได้จริง
1.1 งานวิจัย DART เอาผู้ชายที่เพิ่งเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาหมาดๆจำนวน 2,032 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งบังคับกินปลา (ปลาจริงๆ ไม่ใช่น้ำมันปลา) ที่มีน้ำมันมากสัปดาห์ละ 200 – 400 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารตามปกติของตน แล้วติดตามดูสองปีพบว่ากลุ่มที่ที่ถูกบังคับให้กินปลามากมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มที่กินอาหารตามกว่าปกติ 29% จึงสรุปว่าคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาแล้ว การกินปลามากถึง 200-400 กรัมต่อสัปดาห์ (ซึ่งทำให้ได้น้ำมันปลา 500-800 มก.ต่อวัน) ลดการตายจากโรคหัวใจลงได้
1.2 งานวิจัย ISIS ที่อินเดีย เอาคนไข้ที่รับไว้ด้วยโรคหัวใจในรพ.มาสุ่มแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่ม กลุ่มแรก ให้กินน้ำมันปลาแคปซูล 1.8 กรัมทุกวัน กลุ่มสอง ให้กินน้ำมันมัสตาร์ด 20 กรัมทุกวัน กลุ่มสาม ให้กินน้ำมันหลอก แล้วตามดูหนึ่งปีพบว่าพวกกินน้ำมันปลาเกิดหัวใจวายต่ำสุด (25%) พวกกินน้ำมันมัสตาร์ดเกิดรองลงมา (28%) พวกกินน้ำมันปลอมเกิดมากที่สุด (35%) จึงสรุปว่าน้ำมันปลาลดจุดจบแบบร้ายแรงของโรคหัวใจลงได้
1.3 งานวิจัย GISSI เอาไข้โรคหัวใจมา 11,324 คน จับฉลากแบ่งเป็นสี่กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ให้กินน้ำมันปลา 850 มก.ทุกวัน กลุ่มสองกินวิตามินอี. 300 มก.ทุกวัน กลุ่มสามกินทั้งสองอย่าง กลุ่มสี่กินแต่ยาหลอก แล้วตามดูสามปีครึ่งพบว่ากลุ่มที่กินน้ำมันปลาอย่างเดียวมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มยาหลอก 20% การเสียชีวิตกะทันหันต่ำกว่ากลุ่มยาหลอก 45% ไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลง 4% แต่ขณะเดียวกันไขมันเลว (LDL) ก็เพิ่มขึ้น 2.5%
พวกที่ 2. งานวิจัยที่สรุปผลได้ว่าการกินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลไม่ลดการตายจากหัวใจ
2.1 งานวิจัยขนาดเล็กที่นอร์เวย์ เขาเอาคนไข้โรคหัวใจซึ่งเป็นคนนอร์เวย์มา 300 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลา 3.4 กรัมต่อวัน กลุ่มสองให้กินน้ำมันข้าวโพด 4 กรัมต่อวัน แล้วตามดูไปปีครึ่ง พบว่าทั้งสองกลุ่มเกิดจุดจบที่ร้ายแรงทางด้านหัวใจไม่ต่างกันเลย แพทย์ที่ยังศรัทธาน้ำมันปลาเม้นท์กันว่าคงเป็นเพราะชาวนอร์เวย์กินปลามากเป็นอาจิณอยู่แล้วมั้ง การให้กินน้ำมันปลาเพิ่มขึ้นจึงไม่เกิดผลอะไร แต่คำวิจารณ์นี้เป็นเพียงมั้งศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
2.2 งานวิจัยใหม่ขนาดใหญ่ทำที่อิตาลี่เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนเมื่อปีกว่ามานี้เอง เขาเอาคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจจากคลินิก 860 แห่ง จำนวน 12,513 คน จับฉลากสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 1 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันหลอก (ซึ่งก็คือน้ำมันมะกอก) แล้วตามดูไป 5 ปีพบว่าอัตราตายและอัตราเกิดหัวใจวายและอัมพาตไม่ต่างกันเลย..แป่ว ผู้สันทัดกรณีก็เม้าท์กันไปว่าคงเป็นเพราะอาหารอิตาลี่ซึ่งใกล้เคียงกับอาหารเมดิเตอเรเนียนมีไขมันโอเมก้า 3 สูงอยู่แล้วบ้าง เพราะใช้น้ำมันมะกอกซึ่งมีผลดีต่อหัวใจอยู่ส่วนหนึ่งมาแทนน้ำมันหลอกในกลุ่มควบคุมทำให้มองความแตกต่างไม่เห็นบ้าง
จะเห็นว่าแม้หลักฐานระดับสูงเอง ก็ยังให้ผลขัดแย้งกัน เพราะแต่ละงานวิจัยก็ทำในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ข้อสรุปของหมอสันต์ในเรื่องนี้คือ โหลงโจ้งแล้วน้ำหนักก็ยังค่อนไปทางว่าการกินปลาช่วยลดการตายจากหัวใจขาดเลือดได้ ส่วนการกินน้ำมันปลาแค้ปซูลนั้นก็อาจจะ..อาจจะนะ อาจจะช่วยลดการตายจากหัวใจหลอดเลือดได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ค่อยได้อาหารที่ครบถ้วน หรือไม่ค่อยมีโอกาสได้กินปลา
ถามว่าตัวหมอสันต์เองกินน้ำมันปลาแค้ปซูลไหม ตอบว่าตัวหมอสันต์นั้นกำลังกินปลาจริงๆมากขึ้นด้วยการเข้าครัวทำอาหารเอง (เพิ่มเริ่ม คุยซะแล้ว) ส่วนน้ำมันปลาเป็นแค้ปซูลนั้นหมอสันต์ก็เคยกิน แต่ตอนนี้เลิกไม่กินแล้ว เพราะกินปลาจริงๆอร่อยกว่าแยะ ตัวท่านผู้อ่านเองหากเป็นโรคหัวใจอยู่ ควรกินปลาให้มากขึ้น แต่จะกินน้ำมันปลาแค้ปซูลหรือไม่กิน ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของท่านเถอะนะครับ
ทุกวันนี้สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) ยังแนะนำให้ประชาชนทุกคนทุกเพศทุกวัยกินปลาจริงๆอย่างน้อยสัปดาห์ละสองมื้อ (มื้อละราว 100 กรัม) ส่วนคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดไปเรียบร้อยแล้ว หากกินปลาไม่ได้มากตามที่แนะนำ AHA ก็แนะนำให้คุยกับหมอของท่านเอาเองว่าจะกินน้ำมันปลาเป็นแค้ปซูลเสริมดีไหม
ส่วนมาตรฐานในการป้องกันโรคหัวใจในคนที่เป็นโรคแล้ว (AHA/ACCF Secondary Prevention Guideline 2011) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ยังใช้กันอยู่ ก็ยังแนะนำให้คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดกินน้ำมันปลาแค้ปซูลเสริม 1 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นโปรดตระหนักด้วยว่ามาตรฐานฉบับปี 2011 นี้ออกมาก่อนที่ผลวิจัยครั้งใหม่ล่าสุดจากอิตาลี่ที่สรุปว่าน้ำมันปลาไม่ลดอัตราตายของโรคหัวใจและอัมพาตจะได้ตีพิมพ์(ปี 2013) ดังนั้นการประชุมตาบอดคลำช้าง.. เอ๊ย ไม่ใช่ การประชุมกำหนดมาตรฐานใหม่ของผู้เชี่ยวชาญของ AHA/ACCF ครั้งหน้า อนาคตของน้ำมันปลาแค้ปซูลจะรุ่งเรืองหรือรุ่งริ่ง ก็ยากที่จะคาดเดา แต่ทันทีที่ทราบข่าวแล้วผมรับปากว่าจะนำมาเล่าให้ท่านฟัง
อนึ่ง โปรดสังเกตว่าถ้าเป็นการกินปลาตัวจริง วงการแพทย์แนะนำให้คนทั่วไปไม่ว่าชายหญิงเด็กผู้ใหญ่ทุกคนกินได้หมด แต่ถ้าเป็นน้ำมันปลาแบบแค้ปซูล วงการแพทย์แนะนำให้เฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจแล้วเท่านั้นจึงจะกินนะครับ เพราะงานวิจัยการกินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลส่วนใหญ่ทำแต่ในคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นหากจะเอาน้ำมันปลาแค้ปซูลให้ลูก เมีย และแม่ยายกิน โดยที่พวกเธอไม่ได้เป็นโรคหัวใจและไม่มีปัจจัยเสี่ยง นั่นเป็นเรื่องของคุณเองนะครับ ไม่ใช่คำแนะนำของวงการแพทย์
ประเด็นที่ 5. โด้สของน้ำมันปลาแค้ปซูลที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร
ตอบว่าไม่มีใครทราบครับ
งานวิจัยเรื่องขนาดที่เหมาะสมของน้ำมันปลาแบบแคปซูล ในแง่ของผลดีต่อหัวใจ หากใช้ในขนาดต่ำๆระดับ 1 – 2 กรัมนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพอหรือยัง เพราะผลวิจัยขัดแย้งกันเอง บ้างก็ว่าโด้สขนาดนี้ใช้ได้แล้ว บ้างก็ว่าต่ำไปยังไม่ได้ผล ณ วันนี้ยังไม่มีใครตอบได้เด็ดขาดว่าโด้สที่พอดีของน้ำมันปลาแบบแคปซูลคือเท่าใด ข่าวดีก็คือขณะนี้มีงานวิจัยใหญ่อีกงานหนึ่งกำลังทำอยู่ชื่องานวิจัย REDUCE-IT (Reduction of Cardiovascular Events with EPA–Intervention Trial) โดยสุ่มเอาคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและมีไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 200 มก.มาจำนวน 8,000 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันหลอก แล้วตามดูว่าน้ำมันปลาขนาดสูงถึงวันละ 4 มก.นี้จะลดการตายได้หรือเปล่า ผลจะเป็นอย่างไร อีกสักหกปีคงจะสรุปผลได้ว่าที่คนร่ำร้องว่าต้องให้โด้สน้ำมันปลาสูงๆนั้นมันจริงหรือเปล่า
ในระหว่างนี้ก็ตัวใครตัวมันไปก่อนนะ ใครใคร่กินน้อยก็กินวันละ 1 กรัมก็พอ ใครใคร่กินมากก็กินได้ถึงวันละ 4 กรัม ใครไม่อยากกินแคปซูลอะไรทั้งนั้นก็ไม่ต้องกิน แต่อย่างน้อยก็ควรกินปลาจริงๆเป็นอาหารให้มากเข้าไว้นะครับ เพราะหลักฐานระดับสูงล้วนสรุปผลได้ตรงกันว่ากินปลามากดีต่อสุขภาพแน่ๆ
ประเด็นที่ 6. กินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ
หลายปีมาแล้ว มีงานวิจัยหนึ่งชื่อ “งานวิจัยดูผลการเสริมอาหารเซเลเนียมและวิตามินอีเพื่อป้องกันมะเร็ง” เรียกย่อว่า SELECT ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการกินเซเลเนียมเสริมไม่ได้ลดการเป็นมะเร็ง และการกินวิตามินอี.เสริมเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งเล็กน้อยด้วยซ้ำไป แต่ข้อสรุปของงานวิจัยนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะคุยกันหรอก ที่ผมพูดถึงงานวิจัยนี้เพราะหลายปีต่อมา คือประมาณปี 2013 ได้มีผู้เอาข้อมูลผลการตรวจไขมันของงานวิจัยนี้มาวิเคราะห์ในลักษณะการวิจัยเชิงสังเกต แล้วตีพิมพ์ผลการตรวจพบไว้เป็นงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในวารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติอเมริกันว่า เมื่อแบ่งตัวอย่างเลือดจากงานวิจัย SELECT ออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดต่ำ กับกลุ่มที่ระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดสูง แล้วดูสถิติการเป็นมะเร็งของแต่ละกลุ่ม พบว่าเลือดของคนกลุ่มที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 สูง มีคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าเลือดของคนกลุ่มที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 ต่ำ หากเทียบว่าคนที่ไขมันต่ำเป็นมะเร็ง 1.0 คนแล้ว คนที่ไขมันสูงกว่าก็เป็นมะเร็ง 1.43 คน (hazard ratio = 1.43) สื่อมวลชนฝรั่งก็ได้ช่องเฮโลประโคมข่าวกันใหญ่โตว่าผลวิจัยนี้สรุปว่าปลาและน้ำมันปลาแค้ปซูลทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ให้พวกผู้ชายระวังตัวให้ดี อย่าไปกินเข้า ซึ่งเป็นการขายข่าวแบบหลุดโลกไปไกลมาก
หลุดโลกแง่ที่ 1 คือเมื่อวิจัยพบ “ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง” เช่นพบว่าคนที่มีไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดมาก สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูง ไม่ได้หมายความว่าของสองสิ่งนั้นอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล คือไม่ได้หมายความว่าการกินปลามากทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก หรือไม่ได้หมายความว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นต้นเหตุให้ร่างกายสะสมไขมันโอเมก้า 3 ไว้ในเลือดมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าอะไรเป็นไก่ อะไรเป็นไข่ จากข้อมูลแค่ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง การจะบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไรในทางการแพทย์ต้องการข้อมูลมากกว่านั้นอีกมาก ซึ่งรวมไปถึงการพิสูจน์กลไกการเกิดความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันในร่างกายด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วย
นอกจากนี้ การได้ข้อมูลมาจากการวิจัยเชิงสังเกตโดยไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม ของสองสิ่งมันอาจมาสัมพันธ์กันเพราะปัจจัยกวนที่นักวิจัยไม่ทราบก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคนรู้ตัวว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็อาจจะขวนขวายหาน้ำมันปลามากินด้วยความหวังว่าน้ำมันปลาอาจช่วยรักษามะเร็งได้บ้าง ทำให้เลือดของคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีระดับไขมันโอเมก้า 3 สูง ก็เป็นไปได้ เพราะงานวิจัยนี้ไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม แต่ไปเอาข้อมูลของงานวิจัยอื่นที่เขาทำวิจัยเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการกินน้ำมันปลามาวิเคราะห์ จึงไม่มีทางทราบได้ว่ากลุ่มที่มีไขมันโอเมก้า 3 สูงนั้น มันสูงเพราะพวกเขากินน้ำมันปลามากกว่ากลุ่มที่มีไขมันโอเมก้าต่ำหรือเปล่า
นอกจากนี้ ในการวิจัยทั่วไป ยังมีความเป็นไปได้เสมอที่จะพบความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งโดยที่ทั้งสองสิ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลย เหมือนการพบคนสองคนยืนอยู่ใกล้กันในตลาด จะไปทึกทักว่าเพราะเขามายืนใกล้กันจึงเป็นญาติหรือเป็นเพื่อนกันได้ย่อมไม่ได้ ฉันนั้น
หลุดโลกในแง่ที่ 2 นี่เป็นการพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดกับมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการกินปลาหรือไม่กิน กินน้ำมันปลาแค้ปซูลหรือไม่กิน งานวิจัยนี้ไม่ได้มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับตรงนั้นเลย จะไปสรุปข้ามช็อตเป็นตุเป็นตะว่าควรกินนั่นไม่ควรกินนี่ได้อย่างไร ข้อมูลการกินปลา หรือกินน้ำมันปลาแค้ปซูล ว่าสัมพันธ์กับระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดอย่างไรยังเป็นเรื่องที่ความรู้แพทย์ยังมีน้อยมาก สมัยก่อนวงการแพทย์ก็เคยพลาดมาแล้ว คือเราเคยเหมาโหลแบบเดาเอาว่าคนกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่นไข่จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง แต่เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่ามันไม่เป็นความจริง เพราะเอาเข้าจริงๆความสัมพันธ์ระหว่างโคเลสเตอรอลในอาหารกับระดับโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นเป็นคนละเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กัน และมีปัจจัยกำหนดลึกซึ้งมากมายซึ่งสมัยก่อนเราไม่รู้
เรื่องไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดกับมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ หลักฐานระดับสูงไม่มีเลย เราจึงต้องอาศัยหลักฐานระดับการวิจัยเชิงระบาดวิทยา ซึ่งได้ผลเปะปะไปคนละทางสองทาง ยกตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ Charvarro กลับพบว่าหากระดับไขมันโอเมก้า 3 ชนิด DHA ในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลงถึง 53% เรียกว่าตรงกันข้ามกับงานวิจัยข้างบน
ถึงในแง่ของการกินปลากับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็เช่นกัน เรามีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยา เราทราบจากสถิติของมูลนิธิโรคทางเดินปัสสาวะแห่งโลก (WFU) ว่าอุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากสูงในสหรัฐ (83.8 ต่อแสน) ซึ่งคนกินปลาน้อย (ปีละ 12.7 กก./คน) แต่ต่ำในเอเชีย เช่นในญี่ปุ่นซึ่งคนกินปลามาก (ปีละ 70.9 กก./คน) อุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากก็ยังต่ำระดับ 22.7 ต่อแสนเท่านั้นเอง ข้อมูลนี้บ่งชี้อย่างหยาบๆไปทางว่ากินปลามากสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยเสียด้วยซ้ำ
ข้อสรุปของหมอสันต์ในประเด็นนี้ก็คือ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้มาบอกว่าการกินปลาหรือกินน้ำมันปลาแค้ปซูลจะทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นหรือเป็นน้อยลง ข้อสรุปแบบนี้น่าจะอนุโลมใช้ได้กับมะเร็งอื่นๆทุกชนิดด้วย เพราะยังไม่เคยมีหลักฐานระดับสูงใดๆมายืนยันเรื่องน้ำมันปลากับมะเร็งชนิดใดๆเลยไม่ว่าจะในแง่มุมไหน
ประเด็นที่ 7. น้ำมันปลาแบบแคปซูลรักษาโรคเส้นประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) ได้จริงหรือ
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะได้มีการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่นอร์เวย์เพื่อทดสอบความเชื่อข้อนี้ โดยเอาคนไข้โรค MS มา 92 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งกินน้ำมันปลา อีกกลุ่มกินน้ำมันหลอกนานสองปีกว่าแล้วตามดูความคืบหน้าของโรคด้วยการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) พบว่าโรคคืบหน้าไปในอัตราที่ไม่ต่างกันในทั้งสองกลุ่ม งานวิจัยนี้เป็นหลักฐานระดับสูงงานเดียวในเรื่องนี้ ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Archive of Neurology
ประเด็นที่ 8. น้ำมันปลาแบบแคปซูลรักษาโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้จริงหรือ
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะได้มีการทำวิจัยแบบสุ่มเอาคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมา 295 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 2 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันหลอก แล้วตามดูไป 18 เดือนแล้วให้ทำแบบทดสอบความจำแข่งกัน พบว่าอัตราการเสื่อมถอยของความจำและการทำงานของสมองไม่ได้ต่างกันเลยในทั้งสองกลุ่ม งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร JAMA
งานวิจัยข้างบนนั้นว่ากันเฉพาะน้ำมันปลาแคปซูลเฉยๆนะ ไม่เกี่ยวกับการกินปลาจริงๆเป็นตัวๆหรือกินผักผลไม้ ข้อมูลผลของการกินปลาและผักผลไม้มากกับการเกิดสมองเสื่อม หลักฐานที่เรามีอยู่เป็นผลวิจัยเชิงระบาดวิทยาซึ่งตามดูคนอายุเกิน 65 ปีที่สมองยังไม่เสื่อมจำนวน 8,085 คนพร้อมกับบันทึกอาหารการกินไปสี่ปี เมื่อจบงานวิจัยพบว่ามีคนเป็นสมองเสื่อมแบบต่างๆ 281 คน เมื่อวิเคราะห์อาหารการกินก็พบว่าคนที่ไม่เป็นสมองเสื่อมกินปลาและผักผลไม้มาก ขณะที่คนเป็นสมองเสื่อมกินปลาและผักผลไม้น้อย งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology เนื่องจากขณะนี้เราไม่มีหลักฐานระดับสูงกว่านี้ ก็ต้องเชื่อหลักฐานนี้ไปก่อนว่าการกินปลาจริงๆและกินผักผลไม้มากๆมีความสัมพันธ์กับการเป็นสมองเสื่อมน้อยลง
ประเด็นที่ 8. น้ำมันปลาแบบแคปซูลลดความดันเลือดได้จริงไหม
ตอบว่า ลดความดันได้จริงครับ แต่ลดได้น้อย จิ๊บจ๊อยมาก
งานวิจัยแบบเอาข้อมูลงานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มจาก 31 งานวิจัยมายำรวมกันแล้ววิเคราะห์ใหม่ (เมตาอานาไลซีส) ซึ่งการทำแบบนี้จะได้ข้อมูลจำนวนมากขึ้น และแม่นยำขึ้น พบว่าการกินน้ำมันปลาวันละไม่เกิน 3 กรัม จะลดความดันตัวบนลงได้ 0.7 ถึง 1.3 มม. แต่หากให้กินขนาดสูง 3.3-7 กรัมต่อวันจะลดความดันตัวบนลงได้ 1.6 ถึง 2.9 มม. ถ้าให้กินสูงหลุดโลกขึ้นไปถึงวันละ 15 กรัมต่อวันก็จะลดความดันตัวบนลงได้ 5.8 - 8.1 มม. จะเห็นว่าการจะกินน้ำมันปลาแคปซูลลดความดันให้ได้เป็นเนื้อเป็นหนังต้องกินแยะมาก (สิบห้าแคปซูลต่อวัน) จึงจะลดความดันได้พอเป็นเนื้อเป็นหนัง การลดความดันด้วยวิธีอื่นที่ง่ายกว่าเช่นกินอาหารที่มีผักผลไม้ให้ได้ถึงวันละ 5 เสริฟวิ่งสามารถลดความดันตัวบนได้ถึง 14 มม. ซึ่งลดได้ดีกว่าแยะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครเอาน้ำมันปลาแคปซูลมากินเพื่อลดความดันเลือด
ประเด็นที่ 9. ประโยชน์อื่นๆของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลมีไหม
ตอบว่ายังไม่ทราบครับ
ประโยชน์ของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลในด้านอื่นๆที่กล่าวอ้างกันในเน็ท เช่น รักษาโรคซึมเศร้า เสริมความจำให้คนหนุ่มคนสาว รักษาเด็กสมาธิสั้น ป้องกันสายตาเสื่อมในผู้สูงอายุ รักษาโรคลมชัก รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ล้วนแต่เป็นหลักฐานระดับการวิจัยเชิงสังเกต ไม่ใช่หลักฐานระดับการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ ผมจึงขออนุญาตตัดทิ้งไม่พูดถึง แต่ขอสรุปในภาพรวมว่าเรื่องเหล่านี้จริงหรือเท็จยังไม่มีใครทราบเพราะหลักฐานยังไม่พอที่จะสรุปได้
ประเด็นที่ 10. น้ำมันปลาแบบแคปซูลกินควบกับยาแอสไพรินจะมีอันตรายจากเลือดออกจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ ถ้าโด้สหรือขนาดของน้ำมันปลาไม่เกินวันละ 4 กรัม
อันนี้ผมตอบจากหลักฐานเท่าที่มีนะ คืองานวิจัยเชิงสังเกตที่วิเคราะห์การเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเลือดออกเพราะยาในคนไข้ 3 กลุ่มที่กินน้ำมันปลาวันละ 3 กรัม (บวกลบ 1.25 กรัม) ควบกับแอสไพรินเฉลี่ยวันละ 161 กรัม ควบกับคลอพิโดเกรล(พลาวิกซ์)เฉลี่ยวันละ 75 กรัม ทั้งควบสองตัวบ้าง ควบทั้งสามตัวบ้าง พบว่ามีคนเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออก 182 คน เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกพบว่าคนที่เลือดออกนี้หากแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันปลาควบ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้กินน้ำมันปลาควบ พบว่าอัตราการเกิดเลือดออกไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะควบสองอย่างหรือควบสามอย่าง ข้อมูลนี้ทำให้โครงการวิจัยใหม่ชื่อ REDUCE-IT ออกแบบการวิจัยให้คน 4,000 คน กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัมเพื่อเปรียบเทียบกับการกินน้ำมันหลอก เพราะข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าขนาดวันละ 4 กรัมเป็นขนาดที่ปลอดภัยจากเลือดออก แม้จะกินควบกับยาแอสไพรินและหรือคลอพิโดเกรล (พลาวิกซ์) ด้วยก็ตาม
ประเด็นที่ 11. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันปลาแค้ปซูลมีสารพิษปนอยู่หรือไม่
ตอบว่า "ก็ลองเอาให้เมียกินดูก่อนสิครับ"
อะจ๊าก..ก พูดเล่น
การจะรู้ได้มีสามวิธีครับ คือ
(1) ดูตรารับรองคุณภาพการผลิตที่เข้มงวดเรื่องระดับการปนเปื้อนได้มาตรฐาน เช่นตรา USP หรือตรา COA (Certificate of Analysis) เป็นต้น ถ้ามีตราพวกนี้ก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่งว่าการปนเปื้อนน้อย
(2) อ่านฉลากดูคำคุยโวของผู้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตที่ลงทุนแยกสารปนเปื้อนมากกว่าคู่แข่งก็จะคุยโวไว้ในฉลากว่าตัวเองผลิตมาด้วยกรรมวิธีอย่างนั้นอย่างนี้ อ่านดูแล้วชั่งน้ำหนักเอาเองว่าจริงหรือเท็จ
(3) ส่งตัวอย่างน้ำมันปลาแค้ปซูลไปวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสียเงินเองนะ
ประเด็นที่ 12. กินน้ำมันปลาแบบแคปซูลจะโดนพิษปรอทจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะในเชิงหลักฐานการแพทย์ ในโลกนี้ยังไม่เคยมีการรายงานว่ามีคนกินน้ำมันปลาแบบแคปซูลได้รับพิษจากปรอทในน้ำมันปลาจนเกิดอาการพิษแม้แต่เพียงรายเดียว ทั้งๆที่คนก็ตะบันกินน้ำมันปลาแค้ปซูลกันมาหลายสิบปีแล้ว อย่าลืมว่าหลักฐานในคนนี้เป็นหลักฐานระดับสูงสุดที่วงการแพทย์ใช้อยู่กับปัญหาสุขภาพทุกเรื่องนะครับ ไม่ใช่หลักฐานในห้องแล็บหรือหลักฐานเชิงคณิตศาสตร์
แม้ในเชิงคณิตศาสตร์ ก็ได้มีงานวิจัยที่ฮาร์วาร์ดซึ่งสุ่มเอาตัวอย่างน้ำมันปลาแค้ปซูลจากตลาดอเมริกัน 5 ยี่ห้อมาวิเคราะห์ปรอทตกค้างในน้ำมันปลาพบว่าทุกยี่ห้อมีระดับปรอทตกค้างต่ำในระดับต่ำมากจนตัดทิ้งได้ (ต่ำกว่า 6 ไมโครแกรมต่อลิตร) แต่ละแคปซูลให้ปรอทต่ำกว่าปริมาณที่รับมาแต่ละวันและที่มีอยู่แล้วในเลือดอย่างเทียบกันไม่ได้ และทีมผู้วิจัยได้แนะนำว่าผู้คนไม่ควรไปสติแตกกับปรอทตกค้างในน้ำมันปลาแบบแค้ปซูล ซึ่งผมเห็นด้วย
ในแง่ของการกินปลาทะเลโดยตรง งานวิจัยพบว่าปลาใหญ่ที่อยู่ท้ายๆของห่วงโซ่อาหารเช่นปลาฉลามมีปรอทสะสมมากที่สุด ส่วนปลาเล็กปลาน้อยและกุ้งซึ่งอยู่ต้นๆของห่วงโซ่อาหารมีปรอทสะสมน้อยที่สุด งานวิจัยปลาในตลาดพบว่าปลาแซลมอนและปลาทูน่ากระป๋องชนิดที่ได้จากปลาทูน่าขนาดเล็ก มีระดับปรอทต่ำที่ผู้บริโภคพึงสบายใจในเชิงคณิตศาสตร์ได้ ความจริงเรื่องปรอทนี้มันไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนทั่วไปดอก แต่คนที่ร่างกายอ่อนไหวต่อปรอทมากที่สุดคือเด็กและหญิงมีครรภ์ ทั้งสองกลุ่มนี้จึงควรอยู่ห่างๆปลาฉลามไว้เป็นดี
ประเด็นที่ 13. ปลาเนื้อแดงกับปลาเนื้อขาวอย่างไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน
ตอบว่าไม่ทราบครับ
งานวิจัยพบว่าในแง่ของการมีน้ำมันปลามากหรือน้อย ปลามีสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีน้ำมันปลามากซึ่งมักจะมีเนื้อออกสีครีมๆหรือแดงๆ (oily fish) เช่น ซาลมอน ทูน่า แฮริ่ง แองโชวี่ ซาร์ดีน แมคคาเรล ขณะที่ปลาเนื้อขาวทั่วๆไปมักมีน้ำมันปลาน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีหลักฐานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าปลาเนื้อขาวหรือเนื้อแดงกินแล้วจะให้ผลต่อสุขภาพแตกต่างกันเป็นประการใด แม้ว่าแพทย์มักแนะนำโดยการเดาเอาว่าปลาเนื้อแดงซึ่งมีน้ำมันปลามากน่าจะดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่จริงหรือไม่ยังไม่มีใครทราบ
ประเด็นที่ 14. การจะกินน้ำมันปลา จำเป็นต้องรู้เรื่อง ALA, EPA, DHA, DPA หรือเปล่า
ตอบว่าไม่จำเป็นครับ
แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ชอบหาความรู้ไร้สาระไว้ใส่บ่าแบกหาม ผมจะขยายความให้ฟังสักเล็กน้อย ส่วนท่านผู้อ่านท่านอื่นที่เห็นว่าในชีพอันแสนสั้นนี้ มิสมควรจะรับรู้อะไรที่ “เยอะ” เกินความจำเป็น ก็ให้ผ่านตรงนี้ไปได้เลย
คือกรดไขมันทั้งหลายนอกตัวเราแบ่งง่ายๆเป็นสองกลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1. ไขมันไม่จำเป็น (non essential fatty acid) ซึ่งหมายถึงไขมันที่ร่างกายเราเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานแล้วก็ทิ้งไป ถ้าไม่มีไขมันพวกนี้เราก็ยังอยู่ได้โดยไม่ตาย เพราะเราไปเอาคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทนก็ได้
กลุ่มที่ 2. ไขมันจำเป็น (essential fatty acid) คือกรดไขมันที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างคนเรานี้สร้างขึ้นเองไม่ได้ แต่ก็จำเป็นต้องมีเพราะไม่ได้จะเอามาเผาผลาญทำพลังงาน แต่เอามาเป็นส่วนประกอบของเซลทำให้เซลสำคัญต่างๆทำงานได้เป็นปกติ กรดไขมันจำเป็นนี้มีสองชนิด คือไขมันโอเมก้า 3 และไขมันโอเมก้า 6
ไขมันโอเมก้า 3 ยังแยกย่อยไปเป็นสี่ชนิดตามความยาวของสายโซ่โมเลกุลของมัน คือ
(1) ตัวที่โมเลกุลสั้นที่สุดเรียกว่ากรดอัลฟาไลโนเลนิก หรือ ALA ซึ่งเราได้มาจากทางพืช ความสำคัญของมันคือถ้าเรามี ALA นี้ตัวเดียวร่างกายก็เอาไปสร้างกรดไขมันโอเมก้า 3 อีก 3 ตัวที่เหลือซึ่งมีโมเลกุลยาวกว่าได้
(2) กรดไอโคซาเพนเทโนอิก หรือ EPE ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเซลสมอง ประสาท และจอประสาทตา ส่วนในอาหารนั้นมีมากในปลา
(3) กรดโดโคซาเฮกซีโนอิก หรือ DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเซลสมอง ประสาท และจอประสาทตา และในอาหารมีมากในปลาเช่นกัน
(4) กรดโดโคซาเพนเทโนอิก หรือ DPA ซึ่งเป็นโมเลกุลไขมันโอเมก้า 3 ที่วงการแพทย์ยังไม่เข้าใจคุณสมบัติของมันดีนัก รู้แต่ว่าในห้องทดลองมันช่วยชะลอการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัวเร็วเกินไป
ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของไขมันโอเมก้า 3 ที่มีอยู่แล้วในเซลร่างกายตามธรรมชาติ แต่สำหรับ DHA และ EPA ที่กินเสริมเข้าไปในรูปของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลนั้น วงการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ใดๆบอกได้เลยว่า ปริมาณหรือโด้สที่เหมาะสม และสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง DHA กับ EPA ควรจะเป็นเท่าใดจึงจะเป็นผลดีต่อร่างกายมากที่สุด และสัดส่วนที่ว่านั้นมันจะมีผลช่วยการทำงานของเซลร่างกายได้จริงแท้แค่ไหนก็ยังไม่รู้ ดังนั้นภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ที่วงการแพทย์มีขณะนี้ การพยายามกำหนดขนาดและสัดส่วนของ DHA กับ EPA ดังเช่นที่ผู้ผลิตน้ำมันปลาบางยี่ห้อพยายามทำจึงยังไม่มีประโยชน์หรือมีสาระสำคัญต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด
ประเด็นที่ 13. สำหรับคนไม่กินเนื้อสัตว์ อาหารพืชอะไรบ้างที่มีไขมันโอเมก้า 3 สูง
ไขมันโอเมก้า 3 ในธรรมชาตินี้พืชเป็นคนผลิตขึ้นนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหร่ายทั้งหลายในทะเล ปลาไปกินสาหร่ายเข้าก็ได้ไขมันโอเมก้า 3 มา สำหรับผู้ทานอาหารมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด อาหารพืชที่ให้ไขมันโอเมก้า 3 สูงได้แก่ วอลนัท เมล็ดแฟล็กซีด เมล็ดเจีย (chia เมล็ดพืชตระกูลมิ้นท์) น้ำมันคาโนลา สาหร่าย (เช่นสไปรูลินา) และมีอยู่จำนวนไม่มากนักในผักเขียวสีเข้มเช่นผักขม โหระพา ถั่วงอกเขียวสด เป็นต้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
.............................................
ข้อมูลเพิ่มเติม (10 สค. 59)
งานวิจัยใหม่ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Circulation (2 สค. 59) ได้เอาผู้ป่วยที่รอดตายจากหัวใจวาย (heart attack) จำนวน 360 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลอม แล้วใช้ MRI ตรวจติดตามการทำงานของหัวใจ พบว่ากลุ่มที่กินน้ำมันปลามีภาพการทำงานของหัวใจดีกว่า 6% และมีการลดพื้นที่แผล (scar) ลงได้มากกว่า 6% เมื่อเทียบกับกลุ่มกินน้ำมันปลอม
แม้ว่างานวิจัยนี้จะใช้เพียงภาพการทำงานของหัวใจ ไม่ได้ใช้อัตราตายเป็นตัวชี้วัด แต่ผลวิจัยที่ได้ก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับการกินน้ำมันปลาเพื่อรักษาโรคหัวใจโดยมีข้อแม้ว่าต้องกินถึงวันละ 4 กรัม
.................................................
บรรณานุกรม
1. Burr ML, Fehily AM, Gilbert JF, et al. Effects of changes in fat, fish, and fibre intakes on death and myocardial reinfarction: diet and reinfarction trial (DART). Lancet. 1989;2:757–761.
2. Singh RB, Niaz MA, Sharma JP, et al. Randomized, double-blind, placebocontrolled trial of fish oil and mustard oil in patients with suspected acute myocardial infarction: the Indian experiment of infarct survival-4. Cardiovasc Drugs Ther. 1997;11:485–491. 44.
3. Nilsen DW, Albrektsen G, Landmark K, et al. Effects of a high-dose concentrate of n-3 fatty acids or corn oil introduced early after an acute myocardial infarction on serum triacylglycerol and HDL cholesterol. Am J Clin Nutr. 2001;74:50–56.
4. Risk and Prevention Study Collaborative Group, Roncaglioni MC, Tombesi M, Avanzini F, Barlera S, Caimi V, Longoni P, Marzona I, Milani V, Silletta MG, Tognoni G, Marchioli R. n-3 fatty acids in patients with multiple cardiovascular risk factors. N Engl J Med. 2013 May 9; 368(19):1800-8.
5. Brasky TM, Darke AK, Song X, et al. Plasma phospholipid fatty acids and prostate cancer risk in the SELECT trial. J Natl Cancer Inst. 2013 Jul 10; (online).
6. World Foundation of Urology Prostate cancer prevention. Available at:www.prostatecancerprevention.net. Accessed June 22, 2015.
7. World Health Organization International Agency for Research on Cancer Globocan 2008, Cancer Fact Sheet. Prostate Cancer Incidence, Mortality and Prevalence Worldwide in 2008 Summary. Available at:http://globocan.iarc.fr. Accessed June 22, 2015.
8. Chavarro JE, Stampfer MJ, Li H, et al. A prospective study of polyunsaturated fatty acid levels in blood and prostate cancer risk. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2007;16(7):1364–1370.
9. Øivind Torkildsen, MD, PhD; Stig Wergeland, MD; Søren Bakke, MD; Antonie G. Beiske, MD, PhD; Kristian S. Bjerve, MD, PhD; Harald Hovdal, MD; Rune Midgard, MD, PhD; Finn Lilleås, MD; Tom Pedersen, MD; Bård Bjørnarå, MD; Frøydis Dalene, MD; Grethe Kleveland, MD; Jan Schepel, MD; Inge Christoffer Olsen, PhD; and Kjell-Morten Myhr, MD, PhD. "w-3 Fatty Acid Treatment in Multiple Sclerosis (OFAMS Study)" Archives of Neurology, April 2012, doi:10.1001/archneurol.2012.283. Accessed November 26th 2013.
10. Joseph F. Quinn, MD; Rema Raman, PhD; Ronald G. Thomas, PhD; Karin Yurko-Mauro, PhD; Edward B. Nelson, MD; Christopher Van Dyck, MD; James E. Galvin, MD; Jennifer Emond, MS; Clifford R. Jack Jr, MD; Michael Weiner, MD; Lynne Shinto, ND; Paul S. Aisen, MD. "Docosahexaenoic Acid Supplementation and Cognitive Decline in Alzheimer Disease - A Randomized Trial" JAMA. 2010;304(17):1903-1911. doi:10.1001/jama.2010.1510
11. Barberger-Gateau P, Raffaitin C, Letenneur L, Berr C, Tzourio C, Dartigues JF, Alpérovitch A. "Dietary patterns and risk of dementia: the Three-City cohort study." Neurology. 2007 Nov 13;69(20):1921-30.
12. Watson PD, Joy PS, Nkonde C, Hessen SE, Karalis DG. Comparison of bleeding complications with omega-3 fatty acids + aspirin + clopidogrel--versus--aspirin + clopidogrel in patients with cardiovascular disease. Am J Cardiol. 2009 Oct 15;104(8):1052-4. doi: 10.1016/j.amjcard.2009.05.055.
13. Measurement of Mercury Levels in Concentrated Over-the-Counter Fish Oil Preparations: Is Fish Oil Healthier Than Fish? Archives of Pathology and Laboratory Medicine: Vol. 127, No. 12. S. Foran, J. Flood, K. Lewandrowski
14. Paul J Sorgi, Edward M Hallowell, Heather L Hutchins and Barry Sears. "Effects of an open-label pilot study with high-dose EPA/DHA concentrates on plasma phospholipids and behavior in children with attention deficit hyperactivity disorder"Nutrition Journal 2007, 6:16 doi:10.1186/1475-2891-6-16. Accessed November 26th 2013.
15. Rajesh Narendran, William G. Frankle, Neale S. Mason, Matthew F. Muldoon, Bita Moghaddam. "Improved Working Memory but No Effect on Striatal Vesicular Monoamine Transporter Type 2 after Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acid Supplementation"PLOS One 2012; DOI: 10.1371/journal.pone.0046832. Acces
16. Blake Dornstauder, Miyoung Suh, Sharee Kuny, Frédéric Gaillard, Ian M. MacDonald, Michael T. Clandinin and Yves Sauvé."Dietary Docosahexaenoic Acid Supplementation Prevents Age-Related Functional Losses and A2E Accumulation in the Retina"Investigative Ophthalmology and Visual Science, June 2012, doi: 10.1167/iovs.11-8569. Accessed November 26th 2013.
17. Olivier Boucher, Matthew J Burden, Gina Muckle, Dave Saint-Amour, Pierre Ayotte, Eric Dewailly, Charles A Nelson, Sandra W Jacobson, and Joseph L Jacobson. "Neurophysiologic and neurobehavioral evidence of beneficial effects of prenatal omega-3 fatty acid intake on memory function at school age" Am J Clin Nutr, May 2011 vol. 93 no. 5 1025-1037. Accessed November 26th 2013.
18. Eric M. Ammann, MS, James V. Pottala, PhD, William S. Harris, PhD, Mark A. Espeland, PhD, Robert Wallace, MD, MSc, Natalie L. Denburg, PhD, Ryan M. Carnahan, PharmD, MS and Jennifer G. Robinson, MD, MPH. "Omega-3 fatty acids and domain-specific cognitive aging" Neurology, October 22, 2013 vol. 81 no. 17 1484-1491.
19. Heydari B, Abdullah H, et al. Effect of Omega-3 Acid Ethyl Esters on Left Ventricular Remodeling After Acute Myocardial Infarction The OMEGA-REMODEL Randomized Clinical Trial. . Circulation 2016 (published on line Aug 2, 6016) http://dx.doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.115.019949
ขอเล่าประวัติผมก่อนครับ คุณพ่อของผมเสียชีวิตแล้วด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาต สลับกับอัมพฤกษ์อยู่ 2 ปี ก่อนเสียชีวิตตอนอายุ 52 ปี คุณแม่ปัจจุบันอายุ 77 ปี เป็นเกือบทุกโรคครับ ความดัน เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม (ผ่าตัดเปลี่ยน) และโรคหัวใจ (บายพาส 3 เส้น) ปัจจุบันนั่งรถเข็น เดินได้บ้างเล็กน้อย
ตัวผมเองทำงานออฟฟิศ อายุ 45 ปี สูง 175 ซม.หนัก 85 กก. มีโรคประจำตัว ดังนี้ครับ
1. เป็นเก๊าท์ โดย Attack ครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว (วัดได้ 6-8 ปัจจุบันทานยา Allopulinol 100 mg วันละ 1 เม็ด)
2. ความดันโลหิตสูง 150/100 (ขณะทานยา Amlodipine 5 mg ½ เม็ดและ Atenolol 50 mg 1 เม็ด /วัน)
3. ไขมันพอกตับ และตับอักเสบ (SGPT = 50-100 กว่าๆต่อกันมากว่า 10 ปี)
4. ไตรกลีเซอไรด์สูง (200-350 ต่อกันกว่า 5 ปี)
5. HDL = 33 , LDL = 120
โชคดีที่ผมอ่านพบข้อความเรื่องที่คุณหมอแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ที่แชร์จากเพื่อนๆผ่าน Facebook ผมทำตามแต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ โดยลดแป้งและน้ำตาลแต่ยังไม่ลดไขมัน ทานผักผลไม้เกิน 5 เสิร์ฟวิ่งต่อวัน และออกกำลังกายบ้างเล็กน้อย ยังไม่ปรับการควบคุมอารมณ์(ทำยากที่สุด) และมีบ้างบางวันที่เกิดโยโย่ ยังไม่งดเหล้า เบียร์ (ประมาณ 2 ครั้ง/สัปดาห์) ในเวลา 4 เดือนน้ำหนักลง 12 กก.ครับ (จาก 85 กก. เป็น 73 กก.ในปัจจุบัน) โดยที่ผล
ตรวจเลือดหลังทำประมาณ 2 เดือน เป็นดังนี้
1. เก๊าท์ ไม่เปลี่ยนแปลง (ทานยา Allopulinol 100 mg วันละ 1 เม็ด)
2. ความดันลดเหลือ 110/80 (ขณะทานยาเท่าเดิม)
3. ตับอักเสบดีขึ้น (SGPT = 15)
4. ไตรกลีเซอไรด์เหลือ 97
5. HDL = 39 , LDL = 126
ทราบจากข้อเขียนเก่าของคุณหมอ ที่คุณหมอแนะนำให้ทานน้ำมันปลา ซึ่งผมดูจากกรรมพันธุ์รวมทั้งผลตรวจเลือดของผม ผมน่าจะมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสูงมากๆ คำถามคือผมควรทานน้ำมันปลาไหมครับ ถ้าควรๆทานวันละเท่าไหร่ ต้องดู DHA , EPA ไหมครับว่าร่างกายควรได้รับวันละกี่ mg มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังไหมครับ เช่น LDL สูงขึ้น , โลหะหนักจากวัตถุดิบ , อาการเลือดไหลไม่หยุด ถ้าผมต้องการให้แม่ (77 ปี), ภรรยา(32 ปี) , ลูกสาว (6 ปี) ทาน ควรไหมครับ ถ้าควร จะให้ทานปริมาณเท่าไหร่ ตัวคุณหมอทานอยู่ไหมครับ ยี่ห้ออะไรครับ (ขอโทษที่ละลาบละล้วงครับ)
ข้อเขียนของคุณหมอเปลี่ยนชีวิตผมไปในทางที่ดีขึ้นมากครับ คนก็ทักกันเยอะ (เรื่องลดนน.) ผลตรวจเลือดที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนี้ผมพยายามออกกำลังให้ได้ตามที่คุณหมอแนะนำ รวมทั้งพยายามควบคุมอารมณ์ให้ดีขึ้น ผมหวังว่าคงจะห่างจากโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และแน่นอนครับผมจะพยายามเผยแพร่ข้อเขียนของคุณหมอออกไปในวงที่กว้างขึ้น ขอขอบพระคุณแรงบันดาลใจจากคุณหมอมากๆครับ
ด้วยความเคารพนับถือ
... ....
แฟนคลับคุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์
......................................................
ตอบครับ
ผมเพิ่งเสร็จจากการทำแค้มป์สุขภาพให้กับผู้เกษียณอายุของสถาบันแห่งหนึ่ง ไปกินไปนอนอยู่ที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งที่นครนายกสามวันสามคืนรวด สนุกดี กลับมาเปิดคอมก็พบเจ้าของจดหมายท่านนี้ซึ่งเขียนมาทวงคำตอบเป็นครั้งที่สาม ประกอบกับมีจดหมายท่านอื่นอีกหลายท่านที่เขียนมาถามเรื่องน้ำมันปลาค้างอยู่ ประเด็นส่วนใหญ่คล้ายกันคืออ่านจากเน็ทแล้วคนโน้นว่าน้ำมันปลาดีคนนี้ว่าน้ำมันปลาชั่วสรุปแล้วมันอะไรกันแน่ ผมจึงจะรวบตอบซะเลยทีเดียวแบบเหมาเข่งให้ครบทุกประเด็น ถือว่าจดหมายถามเรื่องน้ำมันปลาได้รับการล้างบางย้อนหลังหมดเกลี้ยงในวันนี้แล้วนะครับ
ประเด็นที่ 1. การแพทย์เพื่อขายข่าว
ข่าวคือสินค้า นี่เป็นสัจจะธรรมมานมนาน ประเด็นคือปัจจุบันมีคนแข่งกันทำมาหากินกับข่าว “เยอะ” มาก คนเราเมื่อทำมาหากินกับสินค้า ก็ต้องเรียนรู้ว่าสินค้าของตัวหน้าตาแบบไหนขายได้ หน้าตาแบบไหนจะขายไม่ออก ซึ่งสูตรสำเร็จก็มีแล้ว แบบที่คนเขาพูดกันว่า “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียเงิน” และถ้าท่านเป็นคนที่อดทนเฝ้าดูละครน้ำเน่าทางโทรทัศน์ไทยติดต่อกันมานานสักสามสิบปีที่ผ่านมา ท่านก็จะเห็นว่าวรรณกรรมน้ำเน่าคลาสสิกของไทยจะถูกหมุนเวียนเอาขึ้นมาทำละครโทรทัศน์ซ้ำๆซากๆทุกๆ 5-10 ปี แต่ละรอบที่กลับมาก็จะเพิ่มจุดขายของยุคสมัยเข้าไป เช่นต้องมี ตบจูบ ตบจูบ หรือพระเอกต้องปล้ำนางเอก เป็นต้น (พระเอกบ้าอะไรวะ ปล้ำผู้หญิง หึ หึ ขอโทษ นอกเรื่อง) การสร้างจุดขายมันยังมีอีกหลายมุมนะ เช่นต้องหักมุม ต้องสร้างคนธรรมดาให้เป็นฮีโร่หรือไม่ก็เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจ ต้องถลกกระโปรง เอ๊ย ไม่ใช่เปิดโปงให้เซอร์ไพรส์หรือตระหนกตกใจ เช่นด้วยวิธีพูดความจริงครึ่งเดียว อีกครึ่งปิดไว้เพื่อให้เกิดจินตนาการทางร้าย เป็นต้น เหล่านี้คือวิธีทำมาหากินกับข่าว ซึ่งไม่ใช่ความลับอะไร เป็นที่รู้กันทั่ว ฝ่ายผู้ขายข่าวนั้นรู้ดีอยู่แล้วว่าตัวเองกำลังทำอะไร และผู้บริโภคก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ ผมเพียงแต่หยิบขึ้นมาพูดถึงเท่านั้น ไม่ถือเป็นผลงานระดับ “เปิดโปง” แต่อย่างใด
การแพทย์แผนปัจจุบันทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นธุรกรรมการขายข่าว พวกเราหมู่แพทย์ที่ทำวิจัยเรียกกิจกรรมในส่วนนี้แบบค่อนแคะว่า “Pop medicine” กล่าวคือทุกวันนี้สำนักงานข่าวฝรั่งใหญ่ๆไม่น้อยที่เข้ามามีเอี่ยวกับวารสารการแพทย์ซึ่งเป็นแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ้างก็ออกเงินให้ทำวิจัยเพื่อหาประเด็นไปทำข่าว บ้างก็เข้ามาถือหุ้น บ้างก็ลงทุนเปิดหัววารสารการแพทย์ใหม่ขึ้นมาซะเองเลย เกือบทุกสำนักงานข่าวต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นด๊อกเตอร์ที่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ คอยนั่งหาว่าแง่มุมไหนของผลวิจัยจะสามารถนำไปแง้ม ไปแพลม หรือไปเผยแพร่ในลักษณะที่จะกลายเป็นสินค้าข่าวขายดีได้บ้าง หากฟลุ้คๆสร้างสมัยนิยมหรือความบ้าเห่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นได้เหมือนจุดไฟให้ไหม้ฟางได้สำเร็จ ก็จะได้ทำมาหากินกับความบ้านั้นเป็นรอบๆไปจนกว่าไฟจะมอด ความที่ผู้บริโภคทั่วไปในโลกใบนี้เป็นคนสองบุคลิก คือด้านหนึ่งเป็นคนไม่เดียงสาเรื่องการจัดชั้นหลักฐานวิทยาศาสตร์เลยว่าผลวิจัยอย่างไหนมีน้ำหนักให้เชื่อถือได้แค่ไหน ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็ศรัทธาวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่งคือศรัทธาถึงระดับงมงายเลยทีเดียว ด้วยการที่มีผู้บริโภคอย่างนี้ การทำมาหากินแบบ Pop Medicine นี้ก็จึงทำมาค้าขึ้นเรื่อยมา มีข่าวมีประเด็นใหม่ๆทางด้านสุขภาพออกมาไม่เว้นแต่ละเดือน มุขนี้แป๊กแล้วก็หันไปเล่นมุขโน้น อย่างนี้เรื่อยไป
ประเด็นที่ 2. การแพทย์แบบตาบอดคลำช้าง
การแพทย์แผนปัจจุบันนี้รุ่งเรืองมาได้เพราะความเข้าใจสรีรวิทยาหรือระบบการทำงานของอวัยวะร่างกายมนุษย์ได้เกือบจะทะลุปรุโปร่ง จะมียกเว้นบ้างก็บางอวัยวะอย่างเช่นสมองเท่านั้นที่เรายังไม่เข้าใจมันดีนัก ซึ่งคงจะเป็นเพราะในสมัยกลางพวกพระซึ่งใหญ่อยู่ในยุโรปได้ผูกขาดเรื่องความคิดจิตใจไว้เล่นเสียพวกเดียวและห้ามไม่ให้พวกหมอเข้าไปยุ่งเด็ดขาด ถ้าข้ามแดนตรงนี้ก็จะเอากันถึงตายเลยทีเดียว วิชาแพทย์จึงอาจจะล้าหลังในเรื่องความคิดจิตใจไปบ้าง แต่ภาพรวมก็คือแพทย์รู้จักระบบร่างกายมนุษย์ดีไม่แพ้ช่างซ่อมรู้จักไส้ในของรถยนต์ โรคที่แก้ได้ด้วยความเข้าใจระบบร่างกายได้รับการแก้ไขไปเกือบหมด แม้กระทั่งความพิการของร่างกายที่เป็นมาตั้งแต่เกิดก็แก้ได้เสียเป็นส่วนใหญ่ ตอนนี้วงการแพทย์เหลือแต่ปัญหาที่เกิดจากสิ่งนอกร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาหาร สิ่งแวดล้อม และสไตล์การใช้ชีวิต ซึ่งมาก่อความเพี้ยนขึ้นในระบบแบบเนียนๆ คือแบบที่เรียกรวมๆว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เปรียบเหมือนช่างซ่อมรถยนต์ต้องมาเจอปัญหาน้ำมันไม่ตรงสเป๊ค หรือลูกค้าเอารถไปขับในที่ขี้ฝุ่นในมีเม็ดเล็กจนเล็ดผ่านไส้กรองเข้าไปได้ ความรู้ระบบเครื่องยนต์อย่างเดียวไม่พอแก้ปัญหา เขาต้องเรียนรู้ไกลไปถึงขี้ฝุ่นในอากาศ สารปนเปื้อนในน้ำมัน เขาต้องทดลองไปว่าน้ำมันแบบไหนจากแหล่งไหนทำให้เครื่องเป็นอย่างไร กว่าจะสรุปได้ก็ต้องลองผิดลองถูกไปอีกนานโขอยู่ การแพทย์เราก็เดินทางมาถึงตรงนี้ เราต้องเรียนรู้ว่าอาหาร สิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์แบบไหนมีผลต่อระบบร่างกายอย่างไร วิธีเรียนก็มีอย่างเดียว คือลองผิดลองถูก ปัญหามีอยู่เพียงแค่ว่าเรื่องนอกร่างกายคนที่จะต้องเรียนรู้มันแยะ การจะสรุปผลกระทบต่อร่างกายคนได้แต่ละเรื่องแต่ละประเด็นมันก็นานเป็นชั่วอายุคน แถมข้อมูลที่วิจัยได้ขั้นต้นจะเอาไปใช้เป็นฐานการวิจัยในขั้นที่สองก็มีข้อจำกัดอีก เพราะปัจจัยแวดล้อมเดิมๆเปลี่ยนไปหมดแล้วต้องมาจูนกันใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า ยกตัวอย่างง่ายเอาเรื่องน้ำมันปลาที่เราจะคุยกันวันนี้ก็แล้วกัน ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาเมื่อยี่สิบสามสิบปี่ก่อนบ่งชี้ว่าน้ำมันปลาลดปฏิกริยาการอักเสบในคนและชลอการแข็งตัวของเลือดและลดการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดลงได้ พอเราจะเอาความรู้เบื้องต้นนี้มาทำการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อยืนยัน ก็ปรากฏว่ามีปัจจัยกวนใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกเพียบ เช่น คนไข้สมัยนี้ล้วนกินยาลดไขมัน (statin) กันมากยิ่งกว่ากินขนมเสียอีก ยาแอสไพรินสมัยนี้คนทั่วไปก็กินกันเป็นว่าเล่นเช่นกัน ยาเหล่านี้ล้วนลดการอักเสบได้ ทำให้การทำวิจัยเพื่อพิสูจน์ว่าฤทธิ์ลดการอักเสบของน้ำมันปลามีอยู่จริงหรือเปล่าทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลยในทางปฏิบัติเพราะหาคนไข้ที่ไม่ได้รับยาต้านการอักเสบอื่นได้อยู่เลยมาวิจัยไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ทำให้การเสาะหาความรู้ใหม่ในทางการแพทย์ทุกวันนี้มีความคืบหน้าในระดับตาบอดคลำช้าง ผมจึงเรียกว่าเป็น “การแพทย์แบบตาบอดคลำช้าง” ไง ภายใต้ระบบการแพทย์แบบนี้ข้อมูลชิ้นเล็กๆที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละเดือนผู้เกี่ยวข้องจึงไม่พึงรีบ “กระต๊าก” ว่าเป็นสัจจะธรรม เหมือนเมื่อคนตาบอดคนหนึ่งคลำที่หางช้างพบดุ้นยาวๆปลายเป็นขนแล้วจะรีบสรุปว่าช้างคือแค่นี้ย่อมไม่ใช่แน่ ในฐานะผู้บริโภค เมื่อท่านรับทราบผลวิจัยใหม่ทางการแพทย์แต่ละครั้ง ให้ทำใจเหมือนได้ฟังคนตาบอดคนหนึ่งที่คลำหางช้างอยู่ร้องตะโกนว่า “ช้างเป็นดุ้นเล็กยาวมีขนที่ปลาย” ฟังแล้วท่านควรเฉยไว้ก่อน เดี๋ยวคนตาบอดอีกคนก็จะตะโกนอีกอย่าง ตามๆกันมา นานๆไปรูปลักษณ์ที่แท้จริงของช้างเป็นอย่างไรพวกคนตาบอดเขาก็คงจะสรุปกันออกมาจนได้ แต่นานแค่ไหนไม่รู้ ตอนนี้ให้ท่านใช้หลักฟังแล้วเฉยไว้ก่อน
ประเด็นที่ 3. ชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์
เมืองไทยเรานี้บางส่วนดูทันสมัยผู้คนค้นคว้าข้อมูลในเน็ทแล้วส่งต่อให้กันเป็นว่าเล่น แต่แท้จริงแล้วล้าหลัง เปิดดูหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ก็ยังมีข่าวผู้วิเศษหมอน้อยหมอเณรหลวงปู่เจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆอยู่ไม่ได้ขาด วิทยาศาสตร์ปลอม หมอเก๊ นักวิชาการเทียม ก็ยังทำมาค้าขายกันได้เอิกเกริกบนอินเตอร์เน็ทนั่นแหละ เพราะผู้คนแยกไม่ออกว่าอะไรคือคุณค่าแท้ อะไรคือคุณค่าเทียม การที่ผมจะพูดให้คนไทยวันนี้รู้จักการจำแนกหลักฐานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง มันอาจจะผิดที่ผิดเวลาไปหน่อย แต่ผมก็จะพูด เพราะผมเห็นว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น
คือสิ่งที่สื่อเอามาประโคมว่าเป็นผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น เจาะลึกลงไปแล้วมันมีระดับความน่าเชื่อถือต่างกัน เรียกว่ามีระดับชั้นของหลักฐาน (level of evidence) ต่างกัน ตั้งแต่เชื่อถือได้ 100% ไปจนถึงเชื่อถือได้ 0% ก็ล้วนจั่วหัวว่าเป็นผลวิจัยวิทยาศาสตร์ได้หมด พูดง่ายว่ามีทั้งจริงทั้งหลอก หลักฐานทางการแพทย์ที่เราใช้กันทั่วไปนี้ เราใช้กันแต่หลักฐานการวิจัยในคน ส่วนการวิจัยในสัตว์หรือในห้องทดลองเราไม่ได้เอามาใช้ในคน งานวิจัยในคนแบ่งแบบง่ายๆเป็นสองระดับ ตามความเชื่อถือได้ของมัน คือ
3.1 งานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม (RCT) คืองานวิจัยที่เอาคนจริงๆตัวเป็นๆมาจำนวนหนึ่ง จับฉลากสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินของจริง อีกกลุ่มหนึ่งให้กินของปลอมโดยไม่ให้รู้ว่าใครได้ของจริง ใครได้ของปลอม แล้วเอาผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน ภาษาหมอเรียกว่า randomized clinical trial เขียนย่อว่า RCT
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อราวยี่สิบปีมาแล้ว มีคนอยากรู้ว่าการกินปลามากช่วยลดการตายจากโรคหัวใจได้หรือเปล่าจึงทำการวิจัยชื่อ “อาหารและการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ” (Diet And Reinfarction Trial เขียนย่อว่า DART) โดยเอาผู้ชายที่เพิ่งเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาหมาดๆจำนวน 2,032 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งบังคับกินปลาที่มีน้ำมันมากสัปดาห์ละ 200 – 400 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารตามปกติของตน แล้วติดตามดูสองปีพบว่ากลุ่มที่ที่ถูกบังคับให้กินปลามากมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มที่กินอาหารตามกว่าปกติ 29% จึงสรุปว่าคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาแล้ว การกินปลามากถึง 200-400 กรัมต่อสัปดาห์ลดการตายลงได้
งานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มนี้ วงการแพทย์ถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด คือเป็นหลักฐานชั้นที่ 1
3.2 งานวิจัยเชิงสังเกต (observational) บางทีก็เรียกว่างานวิจัยเชิงระบาดวิทยา (epidermiologic) เป็นการวิจัยแบบตามไปดูคนสองกลุ่มที่กินหรืออยู่ต่างกัน โดยที่การจะกินจะอยู่ของแต่ละคนนั้นเจ้าตัวเขาเลือกเขาทำของเขาเองอยู่ก่อนแล้ว ผู้วิจัยไม่ได้สุ่มตัวอย่างเอาเขามาจับฉลากแยกกลุ่มแล้วบังคับให้ทำ งานวิจัยแบบนี้เป็นระดับที่ต้องฟังหูไว้หู เพราะการที่เขากินเขาอยู่ของเขาเองอยู่แล้วอาจมีปัจจัยกวนซ่อนอยู่เบื้องหลังเป็นตัวผลักดันให้เขาทำอย่างนั้น ทำให้ผลการวิจัยถูกตีความผิดเพี้ยนไปได้
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้ว เมื่อข้อมูลสถิติบอกว่าคนญี่ปุ่นที่ไปอยู่เกาะฮาวายเป็นโรคหัวใจตายกันมาก คนก็เพ่งเล็งว่าคงเป็นเพราะกาแฟ จึงทำการวิจัยโดยการตามดูคนญี่ปุ่นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว อีกกลุ่มหนึ่งคือคนที่ไม่ดื่มกาแฟ ตามดูไปได้สี่ปีก็พบว่ากลุ่มคนที่ดื่มกาแฟเป็นโรคหัวใจตายมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ดื่ม จึงสรุปตอนนั้นว่ากาแฟสัมพันธ์กับการตายจากโรคหัวใจมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ผิดความจริง
ถามว่าทำไมงานวิจัยเชิงระบาดวิทยาหรือเชิงสังเกตบางครั้งจึงให้ผลสรุปที่ผิดความจริงไปได้ ตอบว่าเพราะมันมีปัจจัยกวน (confound factor) ที่จำแนกคนออกเป็นสองกลุ่มแบบอัตโนมัติรอไว้ล่วงหน้าก่อนที่นักวิจัยจะตามไปดูแล้ว โดยที่ผู้วิจัยไม่ทราบ ในกรณีของงานวิจัยกาแฟนี้ปัจจัยกวนที่ว่านั้นคือการสูบบุหรี่ คือคนญี่ปุ่นที่เกาะฮาวายสมัยนั้นพวกที่ดื่มกาแฟมีเปอร์เซ็นต์คนสูบบุหรี่สูงกว่าพวกที่ไม่ดื่มกาแฟ ความเป็นจริงคือบุหรี่ต่างหากที่สัมพันธ์กับการตายจากหัวใจมากขึ้น ไม่ใช่กาแฟ เมื่อแยกเอาคนสูบบุหรี่ออกไปจากทั้งสองกลุ่ม ก็พบว่าผู้ดื่มกาแฟกับไม่ดื่มมีอัตราตายจากโรคหัวใจเท่ากัน นี่เป็นตัวอย่างพึงระวังในการแปลผลการวิจัยเชิงระบาดวิทยา เพราะในเรื่องร่างกายมนุษย์กับอาหารและสิ่งแวดล้อมนี้มีปัจจัยกวนแยะมาก ซึ่งหากไม่ได้ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม ก็อาจจะถูกปัจจัยกวนแบ่งกลุ่มให้แบบอัตโนมัติล่วงหน้าโดยผู้วิจัยไม่รู้ตัว แล้วผลที่ได้ก็จะเพี้ยนไปแบบนี้
อนึ่ง โปรดสังเกตว่าผมไม่ได้พูดถึงงานวิจัยที่ไม่ได้ทำในคนเลยนะ เช่นงานวิจัยในสัตว์ทดลอง งานวิจัยในห้องแล็บ เพราะเป็นหลักฐานวิจัยระดับต่ำที่วงการแพทย์ไม่ได้เอาผลมาใช้กับคน แต่ก็เป็นหลักฐานที่ถูกใช้อ้างกันมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีอ้างในอินเตอร์เน็ทเพื่อขายสินค้า ยกตัวอย่างเช่นมีคนสกัดเอาสารจากเปลือกผลไม้ชนิดหนึ่งไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงเซลมะเร็งในห้องแล็บ แล้วพบว่าสารสกัดนั้นยับยั้งการเติบโตหรือฆ่าเซลมะเร็งได้ ก็สรุปผลวิจัยว่าสารสกัดนั้นหากคนกินแล้วจะป้องกันมะเร็งได้และทำออกขายกันเอิกเกริก เป็นต้น
นอกจากนี้ข้อมูลในอินเตอร์เน็ทอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้เป็นหลักฐานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เลย เป็นแต่เพียงความเชื่อ หรือสมมุติฐาน หรือข้อสันนิฐาน หรือเรื่องเล่า (anecdotal) ซึ่งเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงบ้าง เป็นเรื่องที่กุขึ้นมาเพื่อขายของบ้าง บางทีก็อ้างงานวิจัยที่ทำกับกลุ่มประชากรหนึ่งซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆแบบหนึ่ง ไปใช้กับอีกกลุ่มประชากรหนึ่งซึ่งมีปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการวิจัยแตกต่างกันออกไป วิธีการอ้างแบบมั่วนิ่มนี้เรียกว่า extrapolation ซึ่งวงการแพทย์ไม่ได้นับเป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด
กล่าวโดยสรุป เมื่อได้ข้อมูลมาจากเน็ท ท่านจะต้องเจาะลึกกลั่นกรองลงไปให้ได้ก่อนว่ามันเป็นผลวิจัยระดับไหน เป็นการวิจัยในคนหรือไม่ ถ้าเป็น เป็นการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ หรือเป็นการติดตามสังเกตเชิงระบาดวิทยา ถ้าไม่ใช่การทดลองในคน เป็นการทดลองในสัตว์หรือในห้องทดลอง หรือว่าเป็นแค่คำบอกเล่าไร้สาระ คือจัดชั้นมันเสียก่อน แล้วให้น้ำหนักไปตามชั้นของมัน อะไรที่เป็นหลักฐานชั้นต่ำฟังแล้วก็ทิ้งได้เลย อะไรที่เป็นชั้นที่ควรฟังหูไว้หู ฟังแล้วก็เฉยไว้ก่อน ถ้าท่านเจาะลงไปไม่ได้ว่ามันเป็นหลักฐานชั้นสูงหรือชั้นต่ำ ให้ท่านนับเป็นหลักฐานชั้นต่ำไว้ก่อน โดยวิธีนี้ท่านก็จะไม่ต้องเป็นบ้าเพราะอินเตอร์เน็ท
ประเด็นที่ 4. น้ำมันปลาแค้ปซูลลดอัตราตายจากโรคหัวใจได้จริงหรือ
ถ้าคุณถามผมเมื่อสองปีก่อนผมจะตอบว่า “จริงครับ” แต่ถามผมตอนนี้ผมตอบว่า “น่าจะจริง” เพราะสองปีที่ผ่านมานี้มีหลักฐานใหม่ๆเกิดขึ้นซึ่งให้ผลสรุปขัดแย้งกับหลักฐานเดิมทำให้ความเชื่อมั่นที่ว่าน้ำมันปลาลดการตายจากโรคหัวใจได้ ถูกสั่นคลอนไปเล็กน้อย
เนื่องจากเรื่องน้ำมันปลากับโรคหัวใจนี้มีผลวิจัยมากพอควร ผมจึงจะตัดงานระดับวิจัยเชิงระบาดวิทยาทิ้งหมด จะพูดถึงแต่งานวิจัยชั้นหนึ่งที่ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) เท่านั้น ซึ่งแบ่งงานวิจัยระดับนี้ได้เป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ
พวกที่ 1. งานวิจัยที่สรุปผลได้ว่าน้ำมันปลาลดการตายจากโรคหัวใจได้จริง
1.1 งานวิจัย DART เอาผู้ชายที่เพิ่งเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาหมาดๆจำนวน 2,032 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งบังคับกินปลา (ปลาจริงๆ ไม่ใช่น้ำมันปลา) ที่มีน้ำมันมากสัปดาห์ละ 200 – 400 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารตามปกติของตน แล้วติดตามดูสองปีพบว่ากลุ่มที่ที่ถูกบังคับให้กินปลามากมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มที่กินอาหารตามกว่าปกติ 29% จึงสรุปว่าคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาแล้ว การกินปลามากถึง 200-400 กรัมต่อสัปดาห์ (ซึ่งทำให้ได้น้ำมันปลา 500-800 มก.ต่อวัน) ลดการตายจากโรคหัวใจลงได้
1.2 งานวิจัย ISIS ที่อินเดีย เอาคนไข้ที่รับไว้ด้วยโรคหัวใจในรพ.มาสุ่มแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่ม กลุ่มแรก ให้กินน้ำมันปลาแคปซูล 1.8 กรัมทุกวัน กลุ่มสอง ให้กินน้ำมันมัสตาร์ด 20 กรัมทุกวัน กลุ่มสาม ให้กินน้ำมันหลอก แล้วตามดูหนึ่งปีพบว่าพวกกินน้ำมันปลาเกิดหัวใจวายต่ำสุด (25%) พวกกินน้ำมันมัสตาร์ดเกิดรองลงมา (28%) พวกกินน้ำมันปลอมเกิดมากที่สุด (35%) จึงสรุปว่าน้ำมันปลาลดจุดจบแบบร้ายแรงของโรคหัวใจลงได้
1.3 งานวิจัย GISSI เอาไข้โรคหัวใจมา 11,324 คน จับฉลากแบ่งเป็นสี่กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ให้กินน้ำมันปลา 850 มก.ทุกวัน กลุ่มสองกินวิตามินอี. 300 มก.ทุกวัน กลุ่มสามกินทั้งสองอย่าง กลุ่มสี่กินแต่ยาหลอก แล้วตามดูสามปีครึ่งพบว่ากลุ่มที่กินน้ำมันปลาอย่างเดียวมีอัตราตายต่ำกว่ากลุ่มยาหลอก 20% การเสียชีวิตกะทันหันต่ำกว่ากลุ่มยาหลอก 45% ไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลง 4% แต่ขณะเดียวกันไขมันเลว (LDL) ก็เพิ่มขึ้น 2.5%
พวกที่ 2. งานวิจัยที่สรุปผลได้ว่าการกินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลไม่ลดการตายจากหัวใจ
2.1 งานวิจัยขนาดเล็กที่นอร์เวย์ เขาเอาคนไข้โรคหัวใจซึ่งเป็นคนนอร์เวย์มา 300 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลา 3.4 กรัมต่อวัน กลุ่มสองให้กินน้ำมันข้าวโพด 4 กรัมต่อวัน แล้วตามดูไปปีครึ่ง พบว่าทั้งสองกลุ่มเกิดจุดจบที่ร้ายแรงทางด้านหัวใจไม่ต่างกันเลย แพทย์ที่ยังศรัทธาน้ำมันปลาเม้นท์กันว่าคงเป็นเพราะชาวนอร์เวย์กินปลามากเป็นอาจิณอยู่แล้วมั้ง การให้กินน้ำมันปลาเพิ่มขึ้นจึงไม่เกิดผลอะไร แต่คำวิจารณ์นี้เป็นเพียงมั้งศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
2.2 งานวิจัยใหม่ขนาดใหญ่ทำที่อิตาลี่เพิ่งตีพิมพ์สดๆร้อนเมื่อปีกว่ามานี้เอง เขาเอาคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจจากคลินิก 860 แห่ง จำนวน 12,513 คน จับฉลากสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 1 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันหลอก (ซึ่งก็คือน้ำมันมะกอก) แล้วตามดูไป 5 ปีพบว่าอัตราตายและอัตราเกิดหัวใจวายและอัมพาตไม่ต่างกันเลย..แป่ว ผู้สันทัดกรณีก็เม้าท์กันไปว่าคงเป็นเพราะอาหารอิตาลี่ซึ่งใกล้เคียงกับอาหารเมดิเตอเรเนียนมีไขมันโอเมก้า 3 สูงอยู่แล้วบ้าง เพราะใช้น้ำมันมะกอกซึ่งมีผลดีต่อหัวใจอยู่ส่วนหนึ่งมาแทนน้ำมันหลอกในกลุ่มควบคุมทำให้มองความแตกต่างไม่เห็นบ้าง
จะเห็นว่าแม้หลักฐานระดับสูงเอง ก็ยังให้ผลขัดแย้งกัน เพราะแต่ละงานวิจัยก็ทำในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ข้อสรุปของหมอสันต์ในเรื่องนี้คือ โหลงโจ้งแล้วน้ำหนักก็ยังค่อนไปทางว่าการกินปลาช่วยลดการตายจากหัวใจขาดเลือดได้ ส่วนการกินน้ำมันปลาแค้ปซูลนั้นก็อาจจะ..อาจจะนะ อาจจะช่วยลดการตายจากหัวใจหลอดเลือดได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ค่อยได้อาหารที่ครบถ้วน หรือไม่ค่อยมีโอกาสได้กินปลา
ถามว่าตัวหมอสันต์เองกินน้ำมันปลาแค้ปซูลไหม ตอบว่าตัวหมอสันต์นั้นกำลังกินปลาจริงๆมากขึ้นด้วยการเข้าครัวทำอาหารเอง (เพิ่มเริ่ม คุยซะแล้ว) ส่วนน้ำมันปลาเป็นแค้ปซูลนั้นหมอสันต์ก็เคยกิน แต่ตอนนี้เลิกไม่กินแล้ว เพราะกินปลาจริงๆอร่อยกว่าแยะ ตัวท่านผู้อ่านเองหากเป็นโรคหัวใจอยู่ ควรกินปลาให้มากขึ้น แต่จะกินน้ำมันปลาแค้ปซูลหรือไม่กิน ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของท่านเถอะนะครับ
ทุกวันนี้สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) ยังแนะนำให้ประชาชนทุกคนทุกเพศทุกวัยกินปลาจริงๆอย่างน้อยสัปดาห์ละสองมื้อ (มื้อละราว 100 กรัม) ส่วนคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดไปเรียบร้อยแล้ว หากกินปลาไม่ได้มากตามที่แนะนำ AHA ก็แนะนำให้คุยกับหมอของท่านเอาเองว่าจะกินน้ำมันปลาเป็นแค้ปซูลเสริมดีไหม
ส่วนมาตรฐานในการป้องกันโรคหัวใจในคนที่เป็นโรคแล้ว (AHA/ACCF Secondary Prevention Guideline 2011) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ยังใช้กันอยู่ ก็ยังแนะนำให้คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดกินน้ำมันปลาแค้ปซูลเสริม 1 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นโปรดตระหนักด้วยว่ามาตรฐานฉบับปี 2011 นี้ออกมาก่อนที่ผลวิจัยครั้งใหม่ล่าสุดจากอิตาลี่ที่สรุปว่าน้ำมันปลาไม่ลดอัตราตายของโรคหัวใจและอัมพาตจะได้ตีพิมพ์(ปี 2013) ดังนั้นการประชุมตาบอดคลำช้าง.. เอ๊ย ไม่ใช่ การประชุมกำหนดมาตรฐานใหม่ของผู้เชี่ยวชาญของ AHA/ACCF ครั้งหน้า อนาคตของน้ำมันปลาแค้ปซูลจะรุ่งเรืองหรือรุ่งริ่ง ก็ยากที่จะคาดเดา แต่ทันทีที่ทราบข่าวแล้วผมรับปากว่าจะนำมาเล่าให้ท่านฟัง
อนึ่ง โปรดสังเกตว่าถ้าเป็นการกินปลาตัวจริง วงการแพทย์แนะนำให้คนทั่วไปไม่ว่าชายหญิงเด็กผู้ใหญ่ทุกคนกินได้หมด แต่ถ้าเป็นน้ำมันปลาแบบแค้ปซูล วงการแพทย์แนะนำให้เฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจแล้วเท่านั้นจึงจะกินนะครับ เพราะงานวิจัยการกินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลส่วนใหญ่ทำแต่ในคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นหากจะเอาน้ำมันปลาแค้ปซูลให้ลูก เมีย และแม่ยายกิน โดยที่พวกเธอไม่ได้เป็นโรคหัวใจและไม่มีปัจจัยเสี่ยง นั่นเป็นเรื่องของคุณเองนะครับ ไม่ใช่คำแนะนำของวงการแพทย์
ประเด็นที่ 5. โด้สของน้ำมันปลาแค้ปซูลที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร
ตอบว่าไม่มีใครทราบครับ
งานวิจัยเรื่องขนาดที่เหมาะสมของน้ำมันปลาแบบแคปซูล ในแง่ของผลดีต่อหัวใจ หากใช้ในขนาดต่ำๆระดับ 1 – 2 กรัมนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพอหรือยัง เพราะผลวิจัยขัดแย้งกันเอง บ้างก็ว่าโด้สขนาดนี้ใช้ได้แล้ว บ้างก็ว่าต่ำไปยังไม่ได้ผล ณ วันนี้ยังไม่มีใครตอบได้เด็ดขาดว่าโด้สที่พอดีของน้ำมันปลาแบบแคปซูลคือเท่าใด ข่าวดีก็คือขณะนี้มีงานวิจัยใหญ่อีกงานหนึ่งกำลังทำอยู่ชื่องานวิจัย REDUCE-IT (Reduction of Cardiovascular Events with EPA–Intervention Trial) โดยสุ่มเอาคนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและมีไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 200 มก.มาจำนวน 8,000 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันหลอก แล้วตามดูว่าน้ำมันปลาขนาดสูงถึงวันละ 4 มก.นี้จะลดการตายได้หรือเปล่า ผลจะเป็นอย่างไร อีกสักหกปีคงจะสรุปผลได้ว่าที่คนร่ำร้องว่าต้องให้โด้สน้ำมันปลาสูงๆนั้นมันจริงหรือเปล่า
ในระหว่างนี้ก็ตัวใครตัวมันไปก่อนนะ ใครใคร่กินน้อยก็กินวันละ 1 กรัมก็พอ ใครใคร่กินมากก็กินได้ถึงวันละ 4 กรัม ใครไม่อยากกินแคปซูลอะไรทั้งนั้นก็ไม่ต้องกิน แต่อย่างน้อยก็ควรกินปลาจริงๆเป็นอาหารให้มากเข้าไว้นะครับ เพราะหลักฐานระดับสูงล้วนสรุปผลได้ตรงกันว่ากินปลามากดีต่อสุขภาพแน่ๆ
ประเด็นที่ 6. กินน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ
หลายปีมาแล้ว มีงานวิจัยหนึ่งชื่อ “งานวิจัยดูผลการเสริมอาหารเซเลเนียมและวิตามินอีเพื่อป้องกันมะเร็ง” เรียกย่อว่า SELECT ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการกินเซเลเนียมเสริมไม่ได้ลดการเป็นมะเร็ง และการกินวิตามินอี.เสริมเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งเล็กน้อยด้วยซ้ำไป แต่ข้อสรุปของงานวิจัยนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะคุยกันหรอก ที่ผมพูดถึงงานวิจัยนี้เพราะหลายปีต่อมา คือประมาณปี 2013 ได้มีผู้เอาข้อมูลผลการตรวจไขมันของงานวิจัยนี้มาวิเคราะห์ในลักษณะการวิจัยเชิงสังเกต แล้วตีพิมพ์ผลการตรวจพบไว้เป็นงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในวารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติอเมริกันว่า เมื่อแบ่งตัวอย่างเลือดจากงานวิจัย SELECT ออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดต่ำ กับกลุ่มที่ระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดสูง แล้วดูสถิติการเป็นมะเร็งของแต่ละกลุ่ม พบว่าเลือดของคนกลุ่มที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 สูง มีคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าเลือดของคนกลุ่มที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 ต่ำ หากเทียบว่าคนที่ไขมันต่ำเป็นมะเร็ง 1.0 คนแล้ว คนที่ไขมันสูงกว่าก็เป็นมะเร็ง 1.43 คน (hazard ratio = 1.43) สื่อมวลชนฝรั่งก็ได้ช่องเฮโลประโคมข่าวกันใหญ่โตว่าผลวิจัยนี้สรุปว่าปลาและน้ำมันปลาแค้ปซูลทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ให้พวกผู้ชายระวังตัวให้ดี อย่าไปกินเข้า ซึ่งเป็นการขายข่าวแบบหลุดโลกไปไกลมาก
หลุดโลกแง่ที่ 1 คือเมื่อวิจัยพบ “ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง” เช่นพบว่าคนที่มีไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดมาก สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูง ไม่ได้หมายความว่าของสองสิ่งนั้นอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล คือไม่ได้หมายความว่าการกินปลามากทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก หรือไม่ได้หมายความว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นต้นเหตุให้ร่างกายสะสมไขมันโอเมก้า 3 ไว้ในเลือดมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าอะไรเป็นไก่ อะไรเป็นไข่ จากข้อมูลแค่ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง การจะบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไรในทางการแพทย์ต้องการข้อมูลมากกว่านั้นอีกมาก ซึ่งรวมไปถึงการพิสูจน์กลไกการเกิดความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันในร่างกายด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วย
นอกจากนี้ การได้ข้อมูลมาจากการวิจัยเชิงสังเกตโดยไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม ของสองสิ่งมันอาจมาสัมพันธ์กันเพราะปัจจัยกวนที่นักวิจัยไม่ทราบก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคนรู้ตัวว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็อาจจะขวนขวายหาน้ำมันปลามากินด้วยความหวังว่าน้ำมันปลาอาจช่วยรักษามะเร็งได้บ้าง ทำให้เลือดของคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีระดับไขมันโอเมก้า 3 สูง ก็เป็นไปได้ เพราะงานวิจัยนี้ไม่ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม แต่ไปเอาข้อมูลของงานวิจัยอื่นที่เขาทำวิจัยเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการกินน้ำมันปลามาวิเคราะห์ จึงไม่มีทางทราบได้ว่ากลุ่มที่มีไขมันโอเมก้า 3 สูงนั้น มันสูงเพราะพวกเขากินน้ำมันปลามากกว่ากลุ่มที่มีไขมันโอเมก้าต่ำหรือเปล่า
นอกจากนี้ ในการวิจัยทั่วไป ยังมีความเป็นไปได้เสมอที่จะพบความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งโดยที่ทั้งสองสิ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลย เหมือนการพบคนสองคนยืนอยู่ใกล้กันในตลาด จะไปทึกทักว่าเพราะเขามายืนใกล้กันจึงเป็นญาติหรือเป็นเพื่อนกันได้ย่อมไม่ได้ ฉันนั้น
หลุดโลกในแง่ที่ 2 นี่เป็นการพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดกับมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการกินปลาหรือไม่กิน กินน้ำมันปลาแค้ปซูลหรือไม่กิน งานวิจัยนี้ไม่ได้มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับตรงนั้นเลย จะไปสรุปข้ามช็อตเป็นตุเป็นตะว่าควรกินนั่นไม่ควรกินนี่ได้อย่างไร ข้อมูลการกินปลา หรือกินน้ำมันปลาแค้ปซูล ว่าสัมพันธ์กับระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดอย่างไรยังเป็นเรื่องที่ความรู้แพทย์ยังมีน้อยมาก สมัยก่อนวงการแพทย์ก็เคยพลาดมาแล้ว คือเราเคยเหมาโหลแบบเดาเอาว่าคนกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่นไข่จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง แต่เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่ามันไม่เป็นความจริง เพราะเอาเข้าจริงๆความสัมพันธ์ระหว่างโคเลสเตอรอลในอาหารกับระดับโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นเป็นคนละเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กัน และมีปัจจัยกำหนดลึกซึ้งมากมายซึ่งสมัยก่อนเราไม่รู้
เรื่องไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดกับมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ หลักฐานระดับสูงไม่มีเลย เราจึงต้องอาศัยหลักฐานระดับการวิจัยเชิงระบาดวิทยา ซึ่งได้ผลเปะปะไปคนละทางสองทาง ยกตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ Charvarro กลับพบว่าหากระดับไขมันโอเมก้า 3 ชนิด DHA ในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลงถึง 53% เรียกว่าตรงกันข้ามกับงานวิจัยข้างบน
ถึงในแง่ของการกินปลากับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็เช่นกัน เรามีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยา เราทราบจากสถิติของมูลนิธิโรคทางเดินปัสสาวะแห่งโลก (WFU) ว่าอุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากสูงในสหรัฐ (83.8 ต่อแสน) ซึ่งคนกินปลาน้อย (ปีละ 12.7 กก./คน) แต่ต่ำในเอเชีย เช่นในญี่ปุ่นซึ่งคนกินปลามาก (ปีละ 70.9 กก./คน) อุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากก็ยังต่ำระดับ 22.7 ต่อแสนเท่านั้นเอง ข้อมูลนี้บ่งชี้อย่างหยาบๆไปทางว่ากินปลามากสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยเสียด้วยซ้ำ
ข้อสรุปของหมอสันต์ในประเด็นนี้ก็คือ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้มาบอกว่าการกินปลาหรือกินน้ำมันปลาแค้ปซูลจะทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นหรือเป็นน้อยลง ข้อสรุปแบบนี้น่าจะอนุโลมใช้ได้กับมะเร็งอื่นๆทุกชนิดด้วย เพราะยังไม่เคยมีหลักฐานระดับสูงใดๆมายืนยันเรื่องน้ำมันปลากับมะเร็งชนิดใดๆเลยไม่ว่าจะในแง่มุมไหน
ประเด็นที่ 7. น้ำมันปลาแบบแคปซูลรักษาโรคเส้นประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) ได้จริงหรือ
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะได้มีการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่นอร์เวย์เพื่อทดสอบความเชื่อข้อนี้ โดยเอาคนไข้โรค MS มา 92 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งกินน้ำมันปลา อีกกลุ่มกินน้ำมันหลอกนานสองปีกว่าแล้วตามดูความคืบหน้าของโรคด้วยการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) พบว่าโรคคืบหน้าไปในอัตราที่ไม่ต่างกันในทั้งสองกลุ่ม งานวิจัยนี้เป็นหลักฐานระดับสูงงานเดียวในเรื่องนี้ ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Archive of Neurology
ประเด็นที่ 8. น้ำมันปลาแบบแคปซูลรักษาโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้จริงหรือ
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะได้มีการทำวิจัยแบบสุ่มเอาคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมา 295 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 2 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันหลอก แล้วตามดูไป 18 เดือนแล้วให้ทำแบบทดสอบความจำแข่งกัน พบว่าอัตราการเสื่อมถอยของความจำและการทำงานของสมองไม่ได้ต่างกันเลยในทั้งสองกลุ่ม งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร JAMA
งานวิจัยข้างบนนั้นว่ากันเฉพาะน้ำมันปลาแคปซูลเฉยๆนะ ไม่เกี่ยวกับการกินปลาจริงๆเป็นตัวๆหรือกินผักผลไม้ ข้อมูลผลของการกินปลาและผักผลไม้มากกับการเกิดสมองเสื่อม หลักฐานที่เรามีอยู่เป็นผลวิจัยเชิงระบาดวิทยาซึ่งตามดูคนอายุเกิน 65 ปีที่สมองยังไม่เสื่อมจำนวน 8,085 คนพร้อมกับบันทึกอาหารการกินไปสี่ปี เมื่อจบงานวิจัยพบว่ามีคนเป็นสมองเสื่อมแบบต่างๆ 281 คน เมื่อวิเคราะห์อาหารการกินก็พบว่าคนที่ไม่เป็นสมองเสื่อมกินปลาและผักผลไม้มาก ขณะที่คนเป็นสมองเสื่อมกินปลาและผักผลไม้น้อย งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology เนื่องจากขณะนี้เราไม่มีหลักฐานระดับสูงกว่านี้ ก็ต้องเชื่อหลักฐานนี้ไปก่อนว่าการกินปลาจริงๆและกินผักผลไม้มากๆมีความสัมพันธ์กับการเป็นสมองเสื่อมน้อยลง
ประเด็นที่ 8. น้ำมันปลาแบบแคปซูลลดความดันเลือดได้จริงไหม
ตอบว่า ลดความดันได้จริงครับ แต่ลดได้น้อย จิ๊บจ๊อยมาก
งานวิจัยแบบเอาข้อมูลงานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มจาก 31 งานวิจัยมายำรวมกันแล้ววิเคราะห์ใหม่ (เมตาอานาไลซีส) ซึ่งการทำแบบนี้จะได้ข้อมูลจำนวนมากขึ้น และแม่นยำขึ้น พบว่าการกินน้ำมันปลาวันละไม่เกิน 3 กรัม จะลดความดันตัวบนลงได้ 0.7 ถึง 1.3 มม. แต่หากให้กินขนาดสูง 3.3-7 กรัมต่อวันจะลดความดันตัวบนลงได้ 1.6 ถึง 2.9 มม. ถ้าให้กินสูงหลุดโลกขึ้นไปถึงวันละ 15 กรัมต่อวันก็จะลดความดันตัวบนลงได้ 5.8 - 8.1 มม. จะเห็นว่าการจะกินน้ำมันปลาแคปซูลลดความดันให้ได้เป็นเนื้อเป็นหนังต้องกินแยะมาก (สิบห้าแคปซูลต่อวัน) จึงจะลดความดันได้พอเป็นเนื้อเป็นหนัง การลดความดันด้วยวิธีอื่นที่ง่ายกว่าเช่นกินอาหารที่มีผักผลไม้ให้ได้ถึงวันละ 5 เสริฟวิ่งสามารถลดความดันตัวบนได้ถึง 14 มม. ซึ่งลดได้ดีกว่าแยะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครเอาน้ำมันปลาแคปซูลมากินเพื่อลดความดันเลือด
ประเด็นที่ 9. ประโยชน์อื่นๆของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลมีไหม
ตอบว่ายังไม่ทราบครับ
ประโยชน์ของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลในด้านอื่นๆที่กล่าวอ้างกันในเน็ท เช่น รักษาโรคซึมเศร้า เสริมความจำให้คนหนุ่มคนสาว รักษาเด็กสมาธิสั้น ป้องกันสายตาเสื่อมในผู้สูงอายุ รักษาโรคลมชัก รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ล้วนแต่เป็นหลักฐานระดับการวิจัยเชิงสังเกต ไม่ใช่หลักฐานระดับการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ ผมจึงขออนุญาตตัดทิ้งไม่พูดถึง แต่ขอสรุปในภาพรวมว่าเรื่องเหล่านี้จริงหรือเท็จยังไม่มีใครทราบเพราะหลักฐานยังไม่พอที่จะสรุปได้
ประเด็นที่ 10. น้ำมันปลาแบบแคปซูลกินควบกับยาแอสไพรินจะมีอันตรายจากเลือดออกจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ ถ้าโด้สหรือขนาดของน้ำมันปลาไม่เกินวันละ 4 กรัม
อันนี้ผมตอบจากหลักฐานเท่าที่มีนะ คืองานวิจัยเชิงสังเกตที่วิเคราะห์การเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเลือดออกเพราะยาในคนไข้ 3 กลุ่มที่กินน้ำมันปลาวันละ 3 กรัม (บวกลบ 1.25 กรัม) ควบกับแอสไพรินเฉลี่ยวันละ 161 กรัม ควบกับคลอพิโดเกรล(พลาวิกซ์)เฉลี่ยวันละ 75 กรัม ทั้งควบสองตัวบ้าง ควบทั้งสามตัวบ้าง พบว่ามีคนเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออก 182 คน เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกพบว่าคนที่เลือดออกนี้หากแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันปลาควบ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้กินน้ำมันปลาควบ พบว่าอัตราการเกิดเลือดออกไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะควบสองอย่างหรือควบสามอย่าง ข้อมูลนี้ทำให้โครงการวิจัยใหม่ชื่อ REDUCE-IT ออกแบบการวิจัยให้คน 4,000 คน กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัมเพื่อเปรียบเทียบกับการกินน้ำมันหลอก เพราะข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าขนาดวันละ 4 กรัมเป็นขนาดที่ปลอดภัยจากเลือดออก แม้จะกินควบกับยาแอสไพรินและหรือคลอพิโดเกรล (พลาวิกซ์) ด้วยก็ตาม
ประเด็นที่ 11. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันปลาแค้ปซูลมีสารพิษปนอยู่หรือไม่
ตอบว่า "ก็ลองเอาให้เมียกินดูก่อนสิครับ"
อะจ๊าก..ก พูดเล่น
การจะรู้ได้มีสามวิธีครับ คือ
(1) ดูตรารับรองคุณภาพการผลิตที่เข้มงวดเรื่องระดับการปนเปื้อนได้มาตรฐาน เช่นตรา USP หรือตรา COA (Certificate of Analysis) เป็นต้น ถ้ามีตราพวกนี้ก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่งว่าการปนเปื้อนน้อย
(2) อ่านฉลากดูคำคุยโวของผู้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตที่ลงทุนแยกสารปนเปื้อนมากกว่าคู่แข่งก็จะคุยโวไว้ในฉลากว่าตัวเองผลิตมาด้วยกรรมวิธีอย่างนั้นอย่างนี้ อ่านดูแล้วชั่งน้ำหนักเอาเองว่าจริงหรือเท็จ
(3) ส่งตัวอย่างน้ำมันปลาแค้ปซูลไปวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสียเงินเองนะ
ประเด็นที่ 12. กินน้ำมันปลาแบบแคปซูลจะโดนพิษปรอทจริงไหม
ตอบว่าไม่จริงครับ
เพราะในเชิงหลักฐานการแพทย์ ในโลกนี้ยังไม่เคยมีการรายงานว่ามีคนกินน้ำมันปลาแบบแคปซูลได้รับพิษจากปรอทในน้ำมันปลาจนเกิดอาการพิษแม้แต่เพียงรายเดียว ทั้งๆที่คนก็ตะบันกินน้ำมันปลาแค้ปซูลกันมาหลายสิบปีแล้ว อย่าลืมว่าหลักฐานในคนนี้เป็นหลักฐานระดับสูงสุดที่วงการแพทย์ใช้อยู่กับปัญหาสุขภาพทุกเรื่องนะครับ ไม่ใช่หลักฐานในห้องแล็บหรือหลักฐานเชิงคณิตศาสตร์
แม้ในเชิงคณิตศาสตร์ ก็ได้มีงานวิจัยที่ฮาร์วาร์ดซึ่งสุ่มเอาตัวอย่างน้ำมันปลาแค้ปซูลจากตลาดอเมริกัน 5 ยี่ห้อมาวิเคราะห์ปรอทตกค้างในน้ำมันปลาพบว่าทุกยี่ห้อมีระดับปรอทตกค้างต่ำในระดับต่ำมากจนตัดทิ้งได้ (ต่ำกว่า 6 ไมโครแกรมต่อลิตร) แต่ละแคปซูลให้ปรอทต่ำกว่าปริมาณที่รับมาแต่ละวันและที่มีอยู่แล้วในเลือดอย่างเทียบกันไม่ได้ และทีมผู้วิจัยได้แนะนำว่าผู้คนไม่ควรไปสติแตกกับปรอทตกค้างในน้ำมันปลาแบบแค้ปซูล ซึ่งผมเห็นด้วย
ในแง่ของการกินปลาทะเลโดยตรง งานวิจัยพบว่าปลาใหญ่ที่อยู่ท้ายๆของห่วงโซ่อาหารเช่นปลาฉลามมีปรอทสะสมมากที่สุด ส่วนปลาเล็กปลาน้อยและกุ้งซึ่งอยู่ต้นๆของห่วงโซ่อาหารมีปรอทสะสมน้อยที่สุด งานวิจัยปลาในตลาดพบว่าปลาแซลมอนและปลาทูน่ากระป๋องชนิดที่ได้จากปลาทูน่าขนาดเล็ก มีระดับปรอทต่ำที่ผู้บริโภคพึงสบายใจในเชิงคณิตศาสตร์ได้ ความจริงเรื่องปรอทนี้มันไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนทั่วไปดอก แต่คนที่ร่างกายอ่อนไหวต่อปรอทมากที่สุดคือเด็กและหญิงมีครรภ์ ทั้งสองกลุ่มนี้จึงควรอยู่ห่างๆปลาฉลามไว้เป็นดี
ประเด็นที่ 13. ปลาเนื้อแดงกับปลาเนื้อขาวอย่างไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน
ตอบว่าไม่ทราบครับ
งานวิจัยพบว่าในแง่ของการมีน้ำมันปลามากหรือน้อย ปลามีสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีน้ำมันปลามากซึ่งมักจะมีเนื้อออกสีครีมๆหรือแดงๆ (oily fish) เช่น ซาลมอน ทูน่า แฮริ่ง แองโชวี่ ซาร์ดีน แมคคาเรล ขณะที่ปลาเนื้อขาวทั่วๆไปมักมีน้ำมันปลาน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีหลักฐานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าปลาเนื้อขาวหรือเนื้อแดงกินแล้วจะให้ผลต่อสุขภาพแตกต่างกันเป็นประการใด แม้ว่าแพทย์มักแนะนำโดยการเดาเอาว่าปลาเนื้อแดงซึ่งมีน้ำมันปลามากน่าจะดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่จริงหรือไม่ยังไม่มีใครทราบ
ประเด็นที่ 14. การจะกินน้ำมันปลา จำเป็นต้องรู้เรื่อง ALA, EPA, DHA, DPA หรือเปล่า
ตอบว่าไม่จำเป็นครับ
แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ชอบหาความรู้ไร้สาระไว้ใส่บ่าแบกหาม ผมจะขยายความให้ฟังสักเล็กน้อย ส่วนท่านผู้อ่านท่านอื่นที่เห็นว่าในชีพอันแสนสั้นนี้ มิสมควรจะรับรู้อะไรที่ “เยอะ” เกินความจำเป็น ก็ให้ผ่านตรงนี้ไปได้เลย
คือกรดไขมันทั้งหลายนอกตัวเราแบ่งง่ายๆเป็นสองกลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1. ไขมันไม่จำเป็น (non essential fatty acid) ซึ่งหมายถึงไขมันที่ร่างกายเราเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานแล้วก็ทิ้งไป ถ้าไม่มีไขมันพวกนี้เราก็ยังอยู่ได้โดยไม่ตาย เพราะเราไปเอาคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทนก็ได้
กลุ่มที่ 2. ไขมันจำเป็น (essential fatty acid) คือกรดไขมันที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างคนเรานี้สร้างขึ้นเองไม่ได้ แต่ก็จำเป็นต้องมีเพราะไม่ได้จะเอามาเผาผลาญทำพลังงาน แต่เอามาเป็นส่วนประกอบของเซลทำให้เซลสำคัญต่างๆทำงานได้เป็นปกติ กรดไขมันจำเป็นนี้มีสองชนิด คือไขมันโอเมก้า 3 และไขมันโอเมก้า 6
ไขมันโอเมก้า 3 ยังแยกย่อยไปเป็นสี่ชนิดตามความยาวของสายโซ่โมเลกุลของมัน คือ
(1) ตัวที่โมเลกุลสั้นที่สุดเรียกว่ากรดอัลฟาไลโนเลนิก หรือ ALA ซึ่งเราได้มาจากทางพืช ความสำคัญของมันคือถ้าเรามี ALA นี้ตัวเดียวร่างกายก็เอาไปสร้างกรดไขมันโอเมก้า 3 อีก 3 ตัวที่เหลือซึ่งมีโมเลกุลยาวกว่าได้
(2) กรดไอโคซาเพนเทโนอิก หรือ EPE ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเซลสมอง ประสาท และจอประสาทตา ส่วนในอาหารนั้นมีมากในปลา
(3) กรดโดโคซาเฮกซีโนอิก หรือ DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเซลสมอง ประสาท และจอประสาทตา และในอาหารมีมากในปลาเช่นกัน
(4) กรดโดโคซาเพนเทโนอิก หรือ DPA ซึ่งเป็นโมเลกุลไขมันโอเมก้า 3 ที่วงการแพทย์ยังไม่เข้าใจคุณสมบัติของมันดีนัก รู้แต่ว่าในห้องทดลองมันช่วยชะลอการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัวเร็วเกินไป
ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของไขมันโอเมก้า 3 ที่มีอยู่แล้วในเซลร่างกายตามธรรมชาติ แต่สำหรับ DHA และ EPA ที่กินเสริมเข้าไปในรูปของน้ำมันปลาแบบแค้ปซูลนั้น วงการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ใดๆบอกได้เลยว่า ปริมาณหรือโด้สที่เหมาะสม และสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง DHA กับ EPA ควรจะเป็นเท่าใดจึงจะเป็นผลดีต่อร่างกายมากที่สุด และสัดส่วนที่ว่านั้นมันจะมีผลช่วยการทำงานของเซลร่างกายได้จริงแท้แค่ไหนก็ยังไม่รู้ ดังนั้นภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ที่วงการแพทย์มีขณะนี้ การพยายามกำหนดขนาดและสัดส่วนของ DHA กับ EPA ดังเช่นที่ผู้ผลิตน้ำมันปลาบางยี่ห้อพยายามทำจึงยังไม่มีประโยชน์หรือมีสาระสำคัญต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด
ประเด็นที่ 13. สำหรับคนไม่กินเนื้อสัตว์ อาหารพืชอะไรบ้างที่มีไขมันโอเมก้า 3 สูง
ไขมันโอเมก้า 3 ในธรรมชาตินี้พืชเป็นคนผลิตขึ้นนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหร่ายทั้งหลายในทะเล ปลาไปกินสาหร่ายเข้าก็ได้ไขมันโอเมก้า 3 มา สำหรับผู้ทานอาหารมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด อาหารพืชที่ให้ไขมันโอเมก้า 3 สูงได้แก่ วอลนัท เมล็ดแฟล็กซีด เมล็ดเจีย (chia เมล็ดพืชตระกูลมิ้นท์) น้ำมันคาโนลา สาหร่าย (เช่นสไปรูลินา) และมีอยู่จำนวนไม่มากนักในผักเขียวสีเข้มเช่นผักขม โหระพา ถั่วงอกเขียวสด เป็นต้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
.............................................
ข้อมูลเพิ่มเติม (10 สค. 59)
งานวิจัยใหม่ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Circulation (2 สค. 59) ได้เอาผู้ป่วยที่รอดตายจากหัวใจวาย (heart attack) จำนวน 360 คน มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลาวันละ 4 กรัม อีกกลุ่มหนึ่งให้กินน้ำมันปลอม แล้วใช้ MRI ตรวจติดตามการทำงานของหัวใจ พบว่ากลุ่มที่กินน้ำมันปลามีภาพการทำงานของหัวใจดีกว่า 6% และมีการลดพื้นที่แผล (scar) ลงได้มากกว่า 6% เมื่อเทียบกับกลุ่มกินน้ำมันปลอม
แม้ว่างานวิจัยนี้จะใช้เพียงภาพการทำงานของหัวใจ ไม่ได้ใช้อัตราตายเป็นตัวชี้วัด แต่ผลวิจัยที่ได้ก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับการกินน้ำมันปลาเพื่อรักษาโรคหัวใจโดยมีข้อแม้ว่าต้องกินถึงวันละ 4 กรัม
.................................................
บรรณานุกรม
1. Burr ML, Fehily AM, Gilbert JF, et al. Effects of changes in fat, fish, and fibre intakes on death and myocardial reinfarction: diet and reinfarction trial (DART). Lancet. 1989;2:757–761.
2. Singh RB, Niaz MA, Sharma JP, et al. Randomized, double-blind, placebocontrolled trial of fish oil and mustard oil in patients with suspected acute myocardial infarction: the Indian experiment of infarct survival-4. Cardiovasc Drugs Ther. 1997;11:485–491. 44.
3. Nilsen DW, Albrektsen G, Landmark K, et al. Effects of a high-dose concentrate of n-3 fatty acids or corn oil introduced early after an acute myocardial infarction on serum triacylglycerol and HDL cholesterol. Am J Clin Nutr. 2001;74:50–56.
4. Risk and Prevention Study Collaborative Group, Roncaglioni MC, Tombesi M, Avanzini F, Barlera S, Caimi V, Longoni P, Marzona I, Milani V, Silletta MG, Tognoni G, Marchioli R. n-3 fatty acids in patients with multiple cardiovascular risk factors. N Engl J Med. 2013 May 9; 368(19):1800-8.
5. Brasky TM, Darke AK, Song X, et al. Plasma phospholipid fatty acids and prostate cancer risk in the SELECT trial. J Natl Cancer Inst. 2013 Jul 10; (online).
6. World Foundation of Urology Prostate cancer prevention. Available at:www.prostatecancerprevention.net. Accessed June 22, 2015.
7. World Health Organization International Agency for Research on Cancer Globocan 2008, Cancer Fact Sheet. Prostate Cancer Incidence, Mortality and Prevalence Worldwide in 2008 Summary. Available at:http://globocan.iarc.fr. Accessed June 22, 2015.
8. Chavarro JE, Stampfer MJ, Li H, et al. A prospective study of polyunsaturated fatty acid levels in blood and prostate cancer risk. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2007;16(7):1364–1370.
9. Øivind Torkildsen, MD, PhD; Stig Wergeland, MD; Søren Bakke, MD; Antonie G. Beiske, MD, PhD; Kristian S. Bjerve, MD, PhD; Harald Hovdal, MD; Rune Midgard, MD, PhD; Finn Lilleås, MD; Tom Pedersen, MD; Bård Bjørnarå, MD; Frøydis Dalene, MD; Grethe Kleveland, MD; Jan Schepel, MD; Inge Christoffer Olsen, PhD; and Kjell-Morten Myhr, MD, PhD. "w-3 Fatty Acid Treatment in Multiple Sclerosis (OFAMS Study)" Archives of Neurology, April 2012, doi:10.1001/archneurol.2012.283. Accessed November 26th 2013.
10. Joseph F. Quinn, MD; Rema Raman, PhD; Ronald G. Thomas, PhD; Karin Yurko-Mauro, PhD; Edward B. Nelson, MD; Christopher Van Dyck, MD; James E. Galvin, MD; Jennifer Emond, MS; Clifford R. Jack Jr, MD; Michael Weiner, MD; Lynne Shinto, ND; Paul S. Aisen, MD. "Docosahexaenoic Acid Supplementation and Cognitive Decline in Alzheimer Disease - A Randomized Trial" JAMA. 2010;304(17):1903-1911. doi:10.1001/jama.2010.1510
11. Barberger-Gateau P, Raffaitin C, Letenneur L, Berr C, Tzourio C, Dartigues JF, Alpérovitch A. "Dietary patterns and risk of dementia: the Three-City cohort study." Neurology. 2007 Nov 13;69(20):1921-30.
12. Watson PD, Joy PS, Nkonde C, Hessen SE, Karalis DG. Comparison of bleeding complications with omega-3 fatty acids + aspirin + clopidogrel--versus--aspirin + clopidogrel in patients with cardiovascular disease. Am J Cardiol. 2009 Oct 15;104(8):1052-4. doi: 10.1016/j.amjcard.2009.05.055.
13. Measurement of Mercury Levels in Concentrated Over-the-Counter Fish Oil Preparations: Is Fish Oil Healthier Than Fish? Archives of Pathology and Laboratory Medicine: Vol. 127, No. 12. S. Foran, J. Flood, K. Lewandrowski
14. Paul J Sorgi, Edward M Hallowell, Heather L Hutchins and Barry Sears. "Effects of an open-label pilot study with high-dose EPA/DHA concentrates on plasma phospholipids and behavior in children with attention deficit hyperactivity disorder"Nutrition Journal 2007, 6:16 doi:10.1186/1475-2891-6-16. Accessed November 26th 2013.
15. Rajesh Narendran, William G. Frankle, Neale S. Mason, Matthew F. Muldoon, Bita Moghaddam. "Improved Working Memory but No Effect on Striatal Vesicular Monoamine Transporter Type 2 after Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acid Supplementation"PLOS One 2012; DOI: 10.1371/journal.pone.0046832. Acces
16. Blake Dornstauder, Miyoung Suh, Sharee Kuny, Frédéric Gaillard, Ian M. MacDonald, Michael T. Clandinin and Yves Sauvé."Dietary Docosahexaenoic Acid Supplementation Prevents Age-Related Functional Losses and A2E Accumulation in the Retina"Investigative Ophthalmology and Visual Science, June 2012, doi: 10.1167/iovs.11-8569. Accessed November 26th 2013.
17. Olivier Boucher, Matthew J Burden, Gina Muckle, Dave Saint-Amour, Pierre Ayotte, Eric Dewailly, Charles A Nelson, Sandra W Jacobson, and Joseph L Jacobson. "Neurophysiologic and neurobehavioral evidence of beneficial effects of prenatal omega-3 fatty acid intake on memory function at school age" Am J Clin Nutr, May 2011 vol. 93 no. 5 1025-1037. Accessed November 26th 2013.
18. Eric M. Ammann, MS, James V. Pottala, PhD, William S. Harris, PhD, Mark A. Espeland, PhD, Robert Wallace, MD, MSc, Natalie L. Denburg, PhD, Ryan M. Carnahan, PharmD, MS and Jennifer G. Robinson, MD, MPH. "Omega-3 fatty acids and domain-specific cognitive aging" Neurology, October 22, 2013 vol. 81 no. 17 1484-1491.
19. Heydari B, Abdullah H, et al. Effect of Omega-3 Acid Ethyl Esters on Left Ventricular Remodeling After Acute Myocardial Infarction The OMEGA-REMODEL Randomized Clinical Trial. . Circulation 2016 (published on line Aug 2, 6016) http://dx.doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.115.019949